ปีเอตะ[1] (อิตาลี: Pietà; ละติน: pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน

"ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล

คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ์...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน"

ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16[2] ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู

รูปปั้นปีเอตะที่สำคัญ แก้

มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี แก้

ปีเอตะ ชิ้นที่สำคัญที่สุดคืองานประติมากรรมหินอ่อนของมีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี (ไมเคิลแองเจลโล) เป็นรูปพระแม่มารีย์ประทับบนแท่นหิน ขณะที่รองรับพระศพของพระบุตรไว้ในท่าพาดบนตักหลังจากที่ถูกนำลงจากไม้กางเขน ปีเอตะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นจากหินอ่อนบริสุทธิ์ สูง 5 ฟุต 9 นิ้ว มีเกลันเจโลสร้างปีเอตะขึ้นตามสัญญาว่าจ้างจากสำนักวาติกันแห่งกรุงโรม เพื่อให้มาประดิษฐานที่มหาวิหารนักบุญเปโตร โดยใช้เวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1494-1501 เมื่อส่งมอบผลงาน ปีเอตะได้สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้ที่ได้ยลความงามของปีเอตะเป็นอย่างมาก ด้วยความสมจริงทั้งในส่วนของรายละเอียด รอยยับต่าง ๆ และอีกหลาย ๆ องค์ประกอบที่ทำให้ปีเอตะมีความงดงามอย่างยิ่ง จนมีผู้กล่าวว่าปีเอตะมิน่าจะถูกสลักขึ้นจากฝีมือมนุษย์ และอาจจะเป็นด้วยสาเหตุนั้นเองที่ทำให้มีเกลันเจโลพอใจในผลงานนี้ จนลอบมาสลักชื่อไว้ที่ผลงาน ทั้ง ๆ ที่ในผลงานอื่น ๆ ของเขา ไม่มีชิ้นใดที่เขาสลักชื่อเอาไว้เลย ปัจจุบันปีเอตะยังคงตั้งอยู่ที่มหาวิหารนักบุญเปโตรเช่นเดิม

ลุยส์ จิเมเนซ แก้

ประติมากรชาวอเมริกันสลับเพศขององค์ประกอบ และผสมวัฒนธรรมเม็กซิโกที่ผสมผสานกับตำนานอัซเตก (Aztec) เป็นรูปนักรกำลังอุ้มคนรักที่ตายไป ทำให้เป็นอนุสาวรีย์ปีเอตะใหญ่อยู่ที่เมืองแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก

เอริค สลัทสกี แก้

สลัตสกีปีเอตะ (Slutsky Pietà) เป็นภาพเขียนร่วมสมัยโดยศิลปินชาวแคนาดา ชื่อเอริก สลัตสกี (Erik Slutsky) สลัตสกีใช้ปีเอตะมีเกลันเจโลเป็นฐานโดยพยายามใช้สถานะการณ์ความขัดแย้งสมัยปัจจุบันเป็นปัจจัย พระแม่มารีย์ของสลัทสกีแต่งตัวแบบคลุมหน้าอย่างผู้หญิงมุสลิม "แม่แห่งคริสต์ศาสนา" อุ้มร่างของพระเยซูซึ่งเป็นชาวยิว หัวใจของรูปนี้คือความรวมกันของศาสนาหลักสามศาสนาในรูปเดียวกันเพราะศาสนาทั้งสามไม่มีศาสนาที่สามารถหลีกเลื่ยงจากความความเศร้าโศกจากการสูญเสียสิ่งที่รักไป

อ้างอิง แก้

  1. ตารางเทียบเสียงสระภาษาอิตาลี ราชบัณฑิตยสถาน
  2. G Schiller, Iconography of Christian Art, Vol. II,1972 (English trans from German), Lund Humphries, London, pp. 179-181, figs 622-39, ISBN 853313245

ภาพ แก้