ปีเอตะ (มีเกลันเจโล)

ประติมากรรมโดยมีเกลันเจโล

ปีเอตะ (ภาษาอิตาลี: [pjeˈta], อังกฤษ: The Pity; 1498–1499) เป็น งานประติมากรรมสลักสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำขึ้นโดย มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี และตั้งอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตร ที่นครรัฐวาติกัน โดยเป็นงานชิ้นแรกที่ถูกทำขึ้นโดยศิลปินในหัวเรื่องนี้ รูปสลักถูกสั่งทำให้กับพระคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Jean de Bilhères ซึ่งเคยเป็นตัวแทนในกรุงโรม งานประติมากรรมถูกทำขึ้นจากหินอ่อนคาราร่า (Carrara marble) เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับงานศพของพระคาร์ดินัล ทว่าถูกย้ายไปยังที่อยู่ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่โบสถ์น้อยแห่งแรกทางด้านขวาของทางเข้ามหาวิหาร ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเป็นผลงานชิ้นเดียวที่มีเกลันเจโลได้ลงชื่อไว้

ปีเอตะ ผลงานของมีเกลันเจโล ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน

ผลงานอันโด่งดังชิ้นนี้ แสดงร่างกายของพระเยซู บนตักของมารีย์ ผู้เป็นมารดา หลังจากการตรึงที่กางเขน หัวเรื่องนี้กำเนิดที่ทางเหนือ และเป็นที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น ทว่ายังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศอิตาลี การตีความ ปีเอตะ ของมีเกลันเจโล นับเป็นเรื่องใหม่ในงานประติมากรรมของอิตาลี โดยถูกนับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่คงความสมดุลระหว่างอุดมคติของความงามในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและธรรมชาตินิยม

คำบรรยาย

แก้
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  Michelangelo's Pietà, Smarthistory

โครงร่างมีรูปทรงพีระมิด และจุดยอดตรงกับหัวของมารีย์ รูปสลักมีขนาดกว้างขึ้นลงมาตามชุดกระโปรงของมารีย์จนสุดที่ฐานหินของกอลกอธา (Golgotha) รูปทรงไม่ได้ตามสัดส่วน ด้วยความยากที่จะแสดงร่างกายทั้งตัวของชายซึ่งโตเต็มวัย บนตักของผู้หญิง ส่วนใหญ่ของร่างกายมารีย์ถูกปกคลุมด้วยผ้า และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่แลดูเป็นธรรมชาติ มีเกลันเจโลตีความ ปีเอตะ ได้ต่างออกไปจากศิลปินคนอื่น ๆ ด้วยความที่เขาแกะสลักมารีย์ในวัยสาว แทนที่หญิงอายุประมาณ 50 ปี[1]

รอยของการตรึงที่กางเขนมีเพียงรอยตะปูเล็ก ๆ และบาดแผลบนตัวของพระเยซูเท่านั้น

ใบหน้าของพระเยซูไม่ได้มีสัญญาณของพระทรมาน มีเกลันเจโลไม่ต้องการให้ ปีเอตะ ในแบบของเขาแสดงถึงความตาย ทว่าอยากให้แสดงถึง "ทัศนวิสัยทางศาสนาของการละทิ้ง และหน้าตาอันสงบนิ่งของลูกชาย"[2] และแสดงถึงพิธีมหาสนิทระหว่างมนุษย์และพระเจ้าผ่านทางการล้างบาปของพระเยซู

มารีย์ที่อ่อนเยาว์

แก้

พระแม่มารีถูกแสดงในรูปแบบของมารดาที่มีความอ่อนเยาว์ ซึ่งมีลูกชายอายุประมาณ 33 ปี นับเป็นรูปแบบของเธอในพระทรมานของพระเยซูที่พบได้ทั่วไปในเวลานั้น คำอธิบายต่าง ๆ ได้รับการเสนอขึ้น หนึ่งในนั้นกล่าวว่าความอ่อนเยาว์ของเธอเปรียบเสมือนความบริสุทธิ์ที่ไม่อาจถูกทำลาย ดั่งที่มีเกลันเจโลเองได้กล่าวไว้ต่อ Ascanio Condivi ผู้เป็นทั้งผู้เขียนชีวประวัติและเพื่อนประติมากรของเขา

"รู้หรือไม่ว่าหญิงพรหมจารีคงความสาวได้มากกว่าหญิงสาวผู้ไม่บริสุทธิ์? ลองคิดดูว่าจะมากกว่าเพียงใดในกรณีของพระแม่มารี ผู้ไม่เคยประสบกับกามตัณหา ที่อาจเปลี่ยนแปลงร่างกายของเธอ?"

— "Do you not know that chaste women stay fresh much more than those who are not chaste? How much more in the case of the Virgin, who had never experienced the least lascivious desire that might change her body?"


ประวัติหลังการสร้างเสร็จ

แก้

การแกะสลักผลงานใช้เวลาไม่ถึงสองปี.[3] หลังเสร็จสมบูรณ์ บ้านหลังแรกของ ปีเอตะ อยู่ที่โบสถ์น้อยของ Santa Petronilla สุสานแบบโรมันซึ่งอยู่ใกล้มุขข้างโบสถ์ด้านใต้ของมหาวิหารนักบุญเปโตร เป็นที่ที่พระคาร์ดินัลเลือกไว้เป็นที่ฝังศพ ต่อมาโบสถ์น้อยได้ถูกรื้อถอนโดยบรามันเตขณะสร้างมหาวิหารใหม่ จอร์โจ วาซารี กล่าวไว้ว่า ไม่นานหลังนำ ปีเอตะ ไปวาง มีเกลันเจโลไปได้ยิน (หรือถามผู้เยี่ยมชมเกี่ยวกับประติมากร) คนบอกว่าเป็นผลงานของประติมากรอีกคนหนึ่งที่ชื่อว่า Cristoforo Solari จากนั้นมิเกอันเจโล จึงไปลงชื่อบนประติมากรรม[4] มีเกลันเจโลแกะสลักว่า MICHAELA[N]GELUS BONAROTUS FLORENTIN[US] FACIEBA[T] (มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี ชาวฟลอเรนซ์ เป็นผู้แกะสลัก) บนสายสะพายซึ่งพาดอยู่บนหน้าอกของมารีย์ โดยเป็นผลงานชิ้นเดียวที่เค้าได้เซ็นชื่อลงไป วาซารียังรายงานอีกว่ามีเกลันเจโลเสียใจในความความทะนงตนของตนเองและสาบานว่าจะไม่ลงชื่อบนผลงานชิ้นอื่นอีก[5][6]

ความเสียหาย

แก้
 
รายละเอียดของความเสียหายบนรูปแกะสลัก พฤษภาคม พ.ศ. 2515

ปีเอตะ ได้รับความเสียหายเรื่อยมา นิ้วทั้งสี่บนมือข้างซ้ายของมารีย์หักขณะเคลื่อนย้าย และถูกซ่อมแซมใน พ.ศ. 2279 โดย Giuseppe Lirioni ความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (วันอาทิตย์ของเทศกาลเพนเทคอสต์) นักธรณีวิทยาที่มีการอาการทางจิตชาวออสเตรเลียซึ่งเกิดในประเทศฮังการี ชื่อว่า Laszlo Toth เดินเข้าไปในโบสถ์น้อยและโจมตีงานประติมากรรมด้วยค้อน และตะโกนว่า "ฉันคือพระเยซู ฉันได้ฟื้นคืนจากความตายแล้ว!"[7] ด้วยการทุบทั้งสิบห้าครั้ง แขนของมารีย์ในส่วนข้อศอกลงไปได้หลุดออก จมูกเธอได้หัก และเปลือกตาข้างหนึงแหว่ง ผู้เห็นเหตุการณ์เก็บชิ้นส่วนหินอ่อนที่กระเด็นออกมาจำนวนหนึ่งไป จากนั้นหินอ่อนบางส่วนถูกนำมาคืน ทว่าหลายชิ้นรวมไปถึงจมูกของมารีย์ได้หายไป โดยต่อมาได้ถูกซ่อมโดยการตัดนำชิ้นส่วนหินอ่อนมาจากหลังของเธอ

หลังการโจมตี ผลงานได้ถูกซ่อมแซมอย่างหนัก และส่งกลับไปยังมหาวิหารนักบุญเปโตร ตั้งไว้ทางด้านขวาของทางเข้า และถูกปกป้องโดยบานกระจกกันกระสุน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Chapel of the Pieta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-28.
  2. "Pietà by Michelangelo St. Peter in Vatican Rome". Romaviva.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-18. สืบค้นเมื่อ 2014-05-18.
  3. "The Pieta by Michelangelo". www.statue.com. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.
  4. William E. Wallace, 1995 Life and Early Works (Michelangelo: Selected Scholarship in English) ISBN 0-8153-1823-5 page 233
  5. "The Divine Michelangelo – overview of Michelangelo's major artworks". BBC Press Office. สืบค้นเมื่อ 2008-12-08.
  6. Aileen June Wang (2004). "Michelangelo's Signature". สืบค้นเมื่อ June 23, 2010.
  7. "Time Essay: Can Italy be Saved from Itself?". Time Magazine U.S. Time Inc. June 5, 1972. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-13. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.

บรรณานุกรม

แก้
  • Pope-Hennessy, John (1996). Italian High Renaissance and Baroque Sculpture. London: Phaidon
  • Hibbard, Howard. 1974. Michelangelo. New York: Harper & Row.
  • Matthew 13:55–56 Passage Lookup – New International Version BibleGateway.com
  • Wallace, William E. (2009). Michelangelo; the Artist, the Man, and his Times. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 05211119940521111994

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้