รถไฟฟ้าปารีส
รถไฟฟ้าปารีส (ฝรั่งเศส: Métro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของนวศิลป์ (Art Nouveau) มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง
รถไฟฟ้าปารีส | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||
เจ้าของ | RATP | ||
ที่ตั้ง | กรุงปารีส | ||
ประเภท | รถไฟใต้ดิน | ||
จำนวนสาย | 16 (สาย 1-14, 3 (2) และ 7 (2)) | ||
จำนวนสถานี | 303 | ||
ผู้โดยสารต่อวัน | 4,175,000 คน (2011) | ||
ผู้โดยสารต่อปี | 1.524 พันล้านคน (2011) | ||
การให้บริการ | |||
เริ่มดำเนินงาน | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1900 | ||
ผู้ดำเนินงาน | RATP | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 214 km (133 mi) | ||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) (รางมาตรฐาน) | ||
|
รถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา
ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา
กรุงปารีสเป็นเมืองที่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่หนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยสถานีกว่า 245 แห่งภายในเนื้อที่กรุงปารีส 41 ตารางกิโลเมตร (16 ตารางไมล์) แต่ละสายจะมีชื่อเป็นหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 และมีสายรองอีกสองสายคือ สาย 3 (2) และสาย 7 (2) สายรองทั้งสองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสาย 3 และ 7 แต่แยกตัวออกมาภายหลังในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2510 ตามลำดับ
รถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียว และเม็กซิโกซิตี และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า รองจากนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และโซล ทั้งนี้สถานีชาเตอแล-เลอาลยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
แต่ละสายจะมีเลขและสีในการบ่งบอก ส่วนทิศทางในการเดินทางเห็นได้จากสถานีปลายทางของแต่ละสาย
การใช้บริการ
แก้เวลาเปิดบริการ
แก้รถไฟฟ้าปารีสจะเปิดให้ใช้บริการในเวลา 05.00 น. จนถึง 01.00 น. ทุกวันและทุกสถานี รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายมักจะถูกเรียกว่า "balai" (ไม้กวาด) เนื่องจากได้กวาดผู้โดยสารชุดสุดท้ายของวันไปยังสถานีในเวลา 01.15 น. ทั้งนี้ในวันเสาร์และวันก่อนถึงวันหยุดเทศกาลจะเลื่อนเวลาปิดให้บริการไปอีก 1 ชั่วโมง และตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา รถไฟฟ้าปารีสได้เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมงในคืนวันศุกร์
รถไฟฟ้าปารีสยังเปิดตลอดเวลาในวันสิ้นปี วันดนตรีสากล วันนุยบล็องช์ และเทศกาลอื่น ๆ อีกด้วย
การใช้บริการ
แก้บัตรรถไฟสามารถซื้อได้จากแผงขายบัตรหรือเครื่องขายอัตโนมัติบริเวณทางเข้าสถานีรถไฟ เมื่อสอดบัตรบริเวณประตูทางเข้าอัตโนมัติแล้ว มันจะเปิดให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อไปยังชานชาลา หลังจากนั้นเครื่องจะให้บัตรรถไฟคืน
บัตรรถไฟ
แก้บัตรรถไฟมาตรฐานของรถไฟฟ้าปารีสคือ "บัตรรถไฟฟ้า t+" ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะเวลา 90 นาทีหลังจากเข้าชานชาลาและเดินทางได้เพียงรอบเดียว บัตรนี้สามารถใช้ได้ทั้งระบบรถไฟฟ้าปารีส รถเมล์ รถราง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ 1 ของรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ (RER) ทำให้เป็นการลดการโดยสารจากระบบการขนส่งแบบเดียวกัน (เช่น รถไฟฟ้า - รถไฟฟ้า, รถโดยสารประจำทาง - รถโดยสารประจำทาง, รถราง - รถราง) ให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นได้ ระหว่างรถโดยสารประจำทาง - รถราง, รถไฟฟ้า - รถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ พื้นที่ 1 เป็นต้น หรือสามารถซื้อ 10 ใบ ซึ่งเรียกว่า "การ์แน" (carnet)
ข้อมูลทางเทคนิค
แก้โดยรวม
แก้รถไฟฟ้าปารีสมีความยาวกว่า 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง 382 ป้ายจอดและ 62 ตัวเชื่อมระหว่างสาย ในที่นี้ไม่ได้รวมถึงระบบรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ ความยาวเฉลี่ยในแต่ละสถานีคือ 562 เมตร (1,845 ฟุต) รถไฟฟ้าจะจอดทุกสถานี แต่ละสายจะไม่มีการใช้ชานชาลาร่วมกัน แม้กระทั่งสถานีเชื่อมต่อก็ตาม ซึ่งก็เหมือนกับรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์
ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟฟ้าปารีสคือ 35 กม./ชม. (22 ไมล์/ชม.) และมีความเร็วสูงสุดคือ 70 กม./ชม. (44 ไมล์/ชม.) ยกเว้นรถไฟฟ้าอัตโนมัติ ไร้คนขับของสาย 14 ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 80 กม./ชม. รถไฟฟ้าปารีสโดยทั่วไปจะโดยสารทางฝั่งขวาเสมอ รางรถไฟใช้แบบรางมาตรฐานยุโรป ส่วนรางแบบขนส่งจะมีขนาดเล็กกว่าสายหลักของ SNCF ในแต่ละสายอาจจะมีตู้รถไฟฟ้าต่างกันจาก 3 จนถึง 6 ตู้ โดยแต่ละสายจะมีจำนวนตู้เท่ากัน และรับไฟฟ้ากระแสตรงขั้วบวกเพื่อขับเคลื่อนจากรางที่สาม (750v DC) ยกเว้นสายที่ใช้ล้อยาง ซึ่งจะรับพลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนจากรางตรงกลาง (750v DC) ซึ่งมีสาย 1, 4, 6, 11 และ 14 ใช้ล้อยาง
รถไฟฟ้าสายแรกสุดคือ สาย 1 ซึ่งขุดด้วยมือไปตามทางถนนช็องเซลีเซเป็นเส้นตรง พวกวิศวกรต้องขุดไปตามถนนหรือต้องปะกับสิ่งก่อสร้างใต้ดิน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบางสถานี (สาย 8 และสาย 13) มีชานชาลาที่ไม่ได้อยู่แนวเดียวกัน เพราะถนนข้างบนแคบเกินไปในการสร้างชานชาลาให้ตรงข้ามกัน
ล้อขับเคลื่อน
แก้ล้อขับเคลื่อนของรถไฟฟ้าปารีสนั้นมี 2 แบบ ได้แก่ ล้อเหล็ก (Matériel fer: MF) และล้อยาง (Matériel pneu: MP) โดยแต่ละรุ่นจะมีชื่อต่างกันโดยตั้งชื่อในปีที่ออกแบบ ไม่ใช่ปีที่ให้บริการเป็นครั้งแรก
- ล้อยาง
- ล้อเหล็ก
สายที่เปิดให้บริการ
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนในปารีส (รถเมล์, แอร์เออแอร์, รถไฟฟ้า) เก็บถาวร 2005-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)