ปลาสังกะวาด
ปลาสังกะวาด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เทอริเทอรี - ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีสถานะภาพในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว | |
ภาพวาดพัฒนาการของปลาในสกุลนี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Pangasiidae |
สกุล: | Pangasius Valenciennes, 1840 |
ชนิดต้นแบบ | |
Pangasius buchanani Valenciennes, 1840 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด[1] ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius
มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน[2] มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร
เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก [3] นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด
ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่[4] และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง"[5] ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย"
ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย[6] และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่"
ชนิด
แก้- Pangasius bedado Roberts, 1999
- Pangasius bocourti Sauvage, 1880
- Pangasius conchophilus Roberts & Vidthayanon, 1991
- Pangasius djambal Bleeker, 1846
- Pangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
- Pangasius humeralis Roberts, 1989
- Pangasius hypophthalmus Sauvage, 1878
- Pangasius kinabatanganensis Roberts & Vidthayanon, 1991
- Pangasius krempfi Fang & Chaux, 1949
- Pangasius kunyit Pouyaud, Teugels & Legendre, 1999
- Pangasius larnaudii Bocourt, 1866
- Pangasius lithostoma Roberts, 1989
- Pangasius macronema Bleeker, 1851
- Pangasius mahakamensis Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
- Pangasius mekongensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
- Pangasius micronemus Bleeker, 1847
- Pangasius myanmar Roberts & Vidthayanon, 1991
- Pangasius nasutus (Bleeker, 1863)
- Pangasius nieuwenhuisii (Popta, 1904)
- Pangasius pangasius (Hamilton, 1822)
- Pangasius pleurotaenia Sauvage, 1878
- Pangasius polyuranodon Bleeker, 1852
- Pangasius rheophilus Pouyaud & Teugels, 2000
- Pangasius sabahensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
- Pangasius sanitwongsei Smith, 1931
- Pangasius tubbi Inger & Chin, 1959
อ้างอิง
แก้- ↑ จาก Fishbase.orrg
- ↑ หน้า 32 หนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547 ISBN 974-00-8733-8
- ↑ โอเมก้า 3 มีถมเถ กินปลา ต้านโรค แถม ไร้พุง จากกระปุกดอตคอม
- ↑ ความหมายของคำว่า สวาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ ความหมายของคำว่า สังกะวาด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ "เนื้อนุ่มหนังหนืดลูกผสมปลาบึก+แคชฟิช เปิดตัว"ปลามรกต"สินค้าใหม่ของCPF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-03-29.