อันดับปลาหนัง
อันดับปลาหนัง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสยุคปลาย-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาค้าวดำ (Wallagonia miostoma) ปลาหนังขนาดใหญ่ในวงศ์ Siluridae | |
ปลาซัคเกอร์ม้าลาย (Hypancistrus zebra) เป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์ Loricariidae นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้นใหญ่: | Osteichthyes |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับใหญ่: | Ostariophysi |
อันดับ: | Siluriformes Cuvier, 1817 |
วงศ์ | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (อังกฤษ: Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลากด
ลักษณะ
แก้ปลาในตระกูลนี้ เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ ปลาหลายชนิดในตระกูลนี้มีผิวหนังอ่อนนุ่ม แต่บางชนิดก็มีเกราะแข็งหุ้มร่างกาย เช่น ปลาเทศบาล และปลาแพะ ปลาหนังส่วนใหญ่มีหนวดใช้ช่วยหาอาหาร เป็นประสาทสัมผัสและเป็นปุ่มรับรส ซึ่งจำนวนหนวดจะแตกต่างกันไปตามชนิด โดยปลาหนังที่มีหนวดมากที่สุด จะมีหนวดสี่คู่ แบ่งเป็น หนวดที่รูจมูกหนึ่งคู่ หนวดที่ข้างปากหนึ่งคู่ และหนวดใต้คางสองคู่ นอกจากนี้แล้วผิวหนังของปลาหนังถือเป็นประสาทสัมผัสที่ดีมาก ใช้สำหรับการรับรู้รสและการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำ [3]
ปลาหนังเกือบทุกชนิด มีเงี่ยงแข็งบนครีบกระโดงหลังและครีบอก ซึ่งไว้ใช้ป้องกันตัว เงี่ยงของปลาหนังบางชนิดมีพิษเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
ปลาหนังมีถิ่นกำเนิดกว้าง สามารถพบได้ในทุกทวีป ยกเว้นแต่เพียงขั้วโลกใต้ ปลาส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น ปลาในวงศ์ปลากดทะเลและวงศ์ปลาดุกทะเล ซึ่งอาศัยในน้ำกร่อยและน้ำทะเลได้
วงศ์
แก้ตระกูลปลาหนังในปัจจุบัน สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ 35 วงศ์ ตัวอย่างวงศ์ที่สำคัญและพบในประเทศไทย ได้แก่
- วงศ์ปลาขยุย (Akysidae) (ปลาขยุย)
- วงศ์ปลาดัก (Amblycipitidae) (ปลาดัก)
- วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) (ปลาริวกิว, ปลาอุก)
- วงศ์ปลากด (Bagridae) (ปลาแขยง, ปลากด, ปลามังกง)
- วงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) (ปลากะแมะ)
- วงศ์ปลาดุก (Clariidae) (ปลาดุกด้าน, ปลาดุกอุย)
- วงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) (ปลาแค้ขี้หมู)
- วงศ์ปลาจีด (Heteropneustidae) (ปลาจีด)
- วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) (ปลาสังกะวาด, ปลาเผาะ, ปลาโมง, ปลาบึก, ปลาเทโพ, ปลาเทพา)
- วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) (ปลาดุกทะเล, ปลาปิ่นแก้ว)
- วงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) (ปลาสังกะวาด, ปลายอนทอง, ปลายอนโล่)
- วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) (ปลาก้างพระร่วง, ปลาเบี้ยว, ปลาสายยู, ปลาปีกไก่, ปลาชะโอน, ปลาค้าว)
- วงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) (ปลาค้างคาว, ปลายะคุย)
นอกจากนี้ ยังมีวงศ์ปลาหนังจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั่วไป คือ
- Callichthyidae (ปลาแพะ)
- Loricariidae (ปลาเทศบาล, ปลาซักเกอร์)
- Malapteruridae (ปลาดุกไฟฟ้า)
- Mochokidae (ปลากลับหัว)
- Pimelodidae (ปลาเรดเทลแคทฟิช, ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส[1])
Siluriformes |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 จาก Fishbase.org (อังกฤษ)
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ "สุดยอดสารคดีโลก : ชีวิตมหัศจรรย์ ตอน จักรวาลกว้างใหญ่". ไทยพีบีเอส. 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.[ลิงก์เสีย]