วงศ์ปลาสวาย
วงศ์ปลาสวาย | |
---|---|
ปลาสวาย (Pangasius hypophthalmus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Pangasiidae |
สปีชีส์: | 30 ชนิด ดูในรายละเอียด |
สกุล | |
3 สกุล ดูในรายละเอียด | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาในวงศ์ปลาสวาย |
วงศ์ปลาสวาย (อังกฤษ: Shark catfish) เป็นปลาหนัง มีรูปร่างเพรียว ส่วนท้องใหญ่ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวโต ตาโต มีหนวด 2 คู่ รูจมูกช่องหน้าและหลังมีขนาดเท่ากัน ครีบไขมันและครีบท้องเล็ก ฐานครีบก้นยาว กระเพาะขนาดใหญ่รียาว มี 1–4 ตอน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pangasiidae (/แพน-กา-ซิ-อาย-ดี/)
พบขนาดตั้งแต่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เช่น ปลาสังกะวาดท้องคม หรือ ปลายอนปีก (Pangasius pleurotaenia) จนถึง 3 เมตรใน ปลาบึก (Pangasianodon gigas) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การกระจายพันธุ์จากอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะบอร์เนียวในอินโดนีเชีย
เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หรือ หอยฝาเดียว นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีพฤติกรรมกินซากอีกด้วย ทั้งซากพืชและซากสัตว์ เช่น ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei)
มีทั้งหมด 30 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด ซึ่งปลาที่มีขนาดเล็กจะเรียกชื่อซ้ำซ้อนในแต่ละชนิดว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" จัดเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคและรู้จักกันดี และจากการศึกษาล่าสุด พบว่าเนื้อปลาในวงศ์ปลาสวายนี้มีโอเมกา 3 มากกว่าปลาทะเลเสียอีก โดยเฉพาะอย่าง ปลาสวาย (P. hypophthalmus) มีโอเมกา 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม[1]
อนุกรมวิธาน
แก้30 ชนิด ใน 3 สกุล:
- สกุล Helicophagus
- Helicophagus leptorhynchus Ng & Kottelat, 2000
- Helicophagus typus Bleeker, 1858
- ปลาสวายหนู, Helicophagus waandersii Bleeker, 1858
- สกุล Pangasianodon
- ปลาบึก, Pangasianodon gigas (Chevey, 1931)
- ปลาสวาย, Pangasianodon hypophthalmus (Sauvage, 1878)
- สกุล Pangasius
- Pangasius bedado Roberts, 1999
- ปลาเผาะ, Pangasius bocourti Sauvage, 1880
- ปลาโมง, Pangasius conchophilus Roberts & Vidthayanon, 1991
- Pangasius djambal Bleeker, 1846
- Pangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
- Pangasius humeralis Roberts, 1989
- Pangasius kinabatanganensis Roberts & Vidthayanon, 1991
- ปลายาว, Pangasius krempfi Fang & Chaux, 1949
- Pangasius kunyit Pouyaud, Teugels & Legendre, 1999
- ปลาเทโพ, Pangasius larnaudii Bocourt, 1866
- Pangasius lithostoma Roberts, 1989
- ปลาสังกะวาดเหลือง, Pangasius macronema Bleeker, 1851
- Pangasius mahakamensis Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
- Pangasius mekongensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
- ปลาสังกะวาดท้องโต, Pangasius micronemus Bleeker, 1847
- Pangasius myanmar Roberts & Vidthayanon, 1991
- Pangasius nasutus (Bleeker, 1863)
- Pangasius nieuwenhuisii (Popta, 1904)
- ปลาสวายหางเหลือง, Pangasius pangasius (Hamilton, 1822)
- ปลาสังกะวาดท้องคม, Pangasius pleurotaenia Sauvage, 1878
- ปลาสังกะวัง, Pangasius polyuranodon Bleeker, 1852
- Pangasius rheophilus Pouyaud & Teugels, 2000
- Pangasius sabahensis Gustiano, Teugels & Pouyaud, 2003
- ปลาเทพา, Pangasius sanitwongsei Smith, 1931
- Pangasius tubbi Inger & Chin, 1959
อ้างอิง
แก้- ↑ "กินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Family Pangasiidae - Shark catfishes. FishBase