บุญผ่อง ละครโทรทัศน์ไทยทางช่องไทยพีบีเอส ออกอากาศในช่วงกลางปี พ.ศ. 2556

บุญผ่อง
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยฮั้ง มโนก้า
พัฒนาโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
กำกับโดยสมพร เชื้อบุญอุ้ม
แสดงนำเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
พลอย ศรนรินทร์
ฮิโระ ซะโนะ
นุสบา ปุณณกันต์
ปีเตอร์ ธูนสตระ
อริศรา วงษ์ชาลี
คะซุกิ ยะโนะ
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องฮิเดะกิ โมะริ
สินนภา สารสาส
มงคล อุทก
ดนตรีแก่นเรื่องปิดไทริโกะ โนะ โซะโยะคะเซะ (สายลม) โดย อิจิบังโมะชิ เท็ตสึยะ
ฮะนะซะกะริ (ดอกไม้บาน) โดย พลอย ศรนรินทร์[1]
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
อังกฤษ
ญี่ปุ่น
จำนวนตอน14 ตอน
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำกาญจนบุรี, สมุทรสงคราม
ความยาวตอน35 นาที/ตอน
ออกอากาศ
เครือข่ายไทยพีบีเอส
ออกอากาศ8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 –
20 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (พุธ, พฤหัสบดี 20.20-21.15 น.)
รีรัน: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556–30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (เสาร์, อาทิตย์ 11.05-12.00 น.)

เนื้อเรื่อง แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านทางประเทศไทย ทำให้ไทยได้รับผลกระทบจากสงครามไปด้วย มีการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐอเมริกา บุญผ่อง ชายหนุ่มผู้เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวสิริเวชชะพันธ์ แห่งตลาดปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รับสุรัตน์ ภรรยา และผณี ลูกสาววัย 9 ขวบ เพียงคนเดียวที่เดินทางหนีระเบิดจากพระนครมาอยู่ที่นี่

ที่กาญจนบุรี และราชบุรี ได้มีการเกณฑ์เชลยสงคราม ซึ่งเป็นทหารชาติตะวันตกฝ่ายสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อที่จะตัดผ่านไปประเทศพม่า เชลยหลายคนต้องล้มตายจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยโรคภัยต่าง ๆ จากป่าดิบชื้น รวมถึงการกินอยู่ที่ลำบาก และการถูกทรมานให้ทำงานตลอดวัน ตลอดคืน เป็นที่น่าหดหู่ใจอย่างมากต่อผู้พบเห็น รวมถึงบุญผ่อง บุญผ่องจึงตัดสินใจบางอย่างที่จะช่วยพวกเชลย แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตตนเองและครอบครัวก็ตาม บุญผ่องได้รับการติดต่อจากกองทัพญี่ปุ่นให้ไปส่งอาหารถึงในค่ายเชลย บุญผ่องจึงแอบส่งยาและของใช้ต่าง ๆ ใส่ลงไปในข้าวของเหล่านี้ แม้จะไม่เป็นที่เห็นด้วยจากครอบครัว รวมถึงเป็นที่สงสัยของทางญี่ปุ่น หลายต่อหลายครั้งมีการตรวจค้น แต่ก็ไม่พบเจอ ท้ายที่สุดเมื่อญี่ปุ่นสงสัยมากขึ้น บุญผ่องจึงให้ผณี ลูกสาวตัวเล็ก ๆ ของตนเองเป็นคนนำไปส่งให้ ด้วยผณีนั้นเป็นที่ผูกพันของ มิโยชิ นายทหารชาวญี่ปุ่นที่รักผณีเสมือนลูกสาวตนเองจริง ๆ จนก่อให้เกิดเป็นมิตรภาพต่างวัย

นักแสดง แก้

ตัวละคร นักแสดง
บุญผ่อง เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
ผณี พลอย ศรนรินทร์
มิโยชิ ฮิโระ ซะโนะ
สุรัตน์ นุสบา ปุณณกันต์
ฉวี อริศรา วงษ์ชาลี
ไซโตะ คะซุกิ ยะโนะ
เวรี่ ปีเตอร์ ธูนสตระ
ไมเคิล คิริน ไซมอน ยัง
รำเพย ณัฏฐนันท์ เกียรติดาฐนิต
ยิ้ม นันทิยา ศรีอุบล
แผน (น้องชายบุญผ่อง) กฤษฎี พวงประยงค์
ขุนสิริเวชชะพันธ์ (หมอเขียน-พ่อบุญผ่อง) ธวัชวงศ์ ปิยะเกศิน
ลำเจียก (แม่บุญผ่อง) อำภา ภูษิต
บุหงา (น้องสาวบุญผ่อง) ปรียาพร ร่มเย็น
บุบผา (น้องสาวบุญผ่อง) จีน ฮอยล์
กระแต นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ
หนุน ธนัทภัทร อยู่เย็น
มร.เคจี (หัวหน้าองค์กรวี) เคน สตรุทเกอร์
ประชา (สมาชิกขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น) ชลัฏ ณ สงขลา (นักแสดงรับเชิญ)
ยายรำเพย ฉันทนา กิติยพันธ์ (นักแสดงรับเชิญ)
มือปืน สถาพร นาควิไลโรจน์ (นักแสดงรับเชิญ)

เบื้องหลัง แก้

บุญผ่อง เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงของบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ อดีตนักธุรกิจชาวกาญจนบุรี ที่ให้ความช่วยเหลือเชลยสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทรงรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ด้วยการแอบส่งยาและข้าวของต่าง ๆ ให้ จนได้รับการยกย่องจากหลายชาติที่เป็นชาติสัมพันธมิตรในภายหลังสงครามยุติ จนได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษสะพานข้ามแม่น้ำแคว" หรือ "วีรบุรุษช่องเขาขาด"[2]

บทละครได้ถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ด้วยระยะเวลาการเขียนยาวนานกว่า 5 ปี โดยผ่านคำให้สัมภาษณ์ของ ผณี ศุภวัฒน์ (สิริเวชชะพันธ์) บุตรสาวของบุญผ่องที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ซึ่งกลายมาเป็นตัวละครสำคัญในเรื่องด้วย และลำไย สิริเวชชะพันธ์ น้องสะใภ้ของบุญผ่อง

การถ่ายทำถ่ายในสถานที่จริง และอีกหลายสถานที่ ร่วมด้วยนักแสดงหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายภาษา จนเมื่อละครเปิดตัวเป็นครั้งแรก มีงานแถลงข่าวเปิดตัวในวันที่ 25-26 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่จังหวัดกาญจนบุรี สถานที่เกิดเหตุจริง[3] และมีรอบเปิดตัวสำหรับสื่อมวลชน ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด แคราย[4]

และก่อนที่ละครจะออกอากาศ ได้มีการเผยแพร่สารคดี "ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ" เป็นการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ชมก่อนที่จะละครจะเริ่มต้น[5]

อ้างอิง แก้

  1. บทสัมภาษณ์ในรายการ เปิดบ้านไทยพีบีเอส ตอน "เพลงประกอบละครบุญผ่อง" ทางไทยพีบีเอส: เสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2556
  2. "กิน-ดื่ม-เที่ยว : เที่ยวทั่วไทยเที่ยวทั่วโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-06-26.
  3. "ไทยพีบีเอสยกทัพนักแสดง พลิกหน้าประวัติศาสตร์ เปิดตัวละครโทรทัศน์แห่งปี "บุญผ่อง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-06-26.
  4. ภาพบรรยากาศงานเปิดตัวละคร "บุญผ่อง" รอบสื่อมวลชน[ลิงก์เสีย]
  5. ละครบุญผ่อง : ไม้หมอนสุดท้าย บนทางสายมรณะ (02 พ.ค. 2556)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้