ตั๋งอุ๋น
ตั๋งอุ๋น[a], ตงอุ่น[b], ตันอุ๋น[c] หรือ ตังอุ๋น[d] (เสียชีวิต ป.ธันวาคม ค.ศ. 246[6]) มีชื่อภาษาจีนกลางว่า ต๋ง ยฺหวิ่น (จีน: 董允) ชื่อรอง ซิวเจา (จีน: 休昭) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน บิดาของตั๋งอุ๋นคือตั๋งโหซึ่งเป็นขุนนางของจ๊กก๊กเช่นกัน ตั๋งอุ๋นยังเป็นหนึ่งในสี่ขุนนางที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับหัวหน้าขุนนางราชสำนักของจ๊กก๊กตั้งแต่ ค.ศ. 221 ถึง ค.ศ. 253 อีกสามคนคือจูกัดเหลียง เจียวอ้วน และบิฮุย[7]
ตั๋งอุ๋น (ต๋ง ยฺหวิ่น) | |
---|---|
董允 | |
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 244 – ค.ศ. 246 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ก่อนหน้า | บิฮุย |
ถัดไป | ลิหงี |
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 244 – ค.ศ. 246 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลผู้ช่วยเหลือรัฐ (輔國將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 243 – ค.ศ. 244 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลราชองรักษ์พยัคฆ์หาญ (虎賁中郎將) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 243 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ จือเจียง มณฑลหูเป่ย์ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 246[1] เฉิงตู มณฑลเสฉวน |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | ซิวเจา (休昭) |
ภูมิหลังครอบครัว
แก้บรรพบุรุษของตั๋งอุ๋นเดิมมาจากอำเภอกังจิว (江州 เจียงโจฺว; ปัจจุบันคือนครฉงชิ่ง) แต่ย้ายรกรากไปอยู่ที่อำเภอจือเจียง (枝江縣) ในเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครจือเจียง มณฑลหูเป่ย์ และกำหนดในอำเภอจือเจียงเป็นบ้านเกิดของตระกูล[8]
ตั๋งโหบิดาของตั๋งอุ๋นรับราชการเป็นขุนนางของเล่าเจี้ยง เจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ก่อนจะย้ายไปเป็นขุนนางของเล่าปี่ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก[9]
ในฐานะข้าราชบริพารของรัชทายาท
แก้ในปี ค.ศ. 221[10] หลังเล่าปี่ตั้งให้เล่าเสี้ยนบุตรชายเป็นรัชทายาท ได้ตั้งให้ตั๋งอุ๋นเป็นข้าราชพารของรัชทายาทที่แต่งตั้งใหม่[11]
ได้รับการยกย่องจากจูกัดเหลียง
แก้หลังจากเล่าเสี้ยนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 223 หลังจากการสวรรคตของเล่าปี่ผู้เป็นพระบิดา[12] พระองค์แต่งตั้งตั๋งอุ๋นให้เป็นขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง).[13]
ในปี ค.ศ. 227[12] จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กระดมกำลังทหารจากทั่วทั้งจ๊กก๊กเพื่อเตรียมการสำหรับการบุกวุยก๊กที่เป็นรัฐอริในปีถัดไป ขณะที่กำลังทหารรวมตัวอยู่ในพื้นที่เตรียมการในเมืองฮันต๋ง จูกัดเหลียงกังวลว่าเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์และไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอจะตัดสินใจอย่างเหมาะสมได้ จึงตัดสินใจให้ตั๋งอุ๋นรับผิดชอบกิจการภายในเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊ก เพราะจูกัดเหลียงเชื่อมั่นว่าตั๋งอุ๋นจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเชี่ยวชาญและเป็นกลาง[14]
ในฎีกาออกศึก (出師表 ชูชื่อเปี่ยว) ของจูกัดเหลียงได้ระบุชื่อของตั๋งอุ๋น บิฮุย และกุยฮิวจี๋ว่าเป็นตัวอย่างของขุนนางที่น่าเชื่อถือ จงรักภักดี และมีความสามารถ ซึ่งสามารถถวายคำปรึกษาที่ดีและช่วยเหลือเล่าเสี้ยนในการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น[15]
ในฐานะขุนนางมหาดเล็ก
แก้ต่อมาไม่นานจูกัดเหลียงเสนอชื่อตั๋งอุ๋นให้มีตำแหน่งเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และตั้งให้เป็นขุนพลราชองครักษ์ (中郎將 จงหลางเจี้ยง) และมอบหมายให้บัญชาการหน่วยราชองครักษ์พยัคฆ์หาญ[16] เนื่องจากกุยฮิวจี๋ที่เป็นเพื่อนขุนนางมหาดเล็กด้วยกันมักจะเป็นคนใจเย็นและไม่เผชิญหน้าเมื่อต้องติดต่อกับผู้คน ภาระในการถวายคำปรึกษาแก่จักรพรรดิเล่าเสี้ยนและการพูดในประเด็นที่ยากจึงตกอยู่ที่ตั๋งอุ๋นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีและพยายามอย่างถึงที่สุดในการวางแผนล่วงหน้าและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น[17]
ทัดทานพระประสงค์ของเล่าเสี้ยนที่จะเพิ่มสนม
แก้เมื่อเล่าเสี้ยนมีพระประสงค์จะมีสนมเพิ่ม ตั๋งอุ๋นทูลชี้แจงว่าสนมของเล่าเสี้ยนมีจำนวนเพียงพอแล้ว และทูลเตือนว่าตามแบบอย่างในประวัติศาสตร์ผู้ปกครองควรมีภรรยาน้อยไม่เกิน 12 คน นอกจากนี้ตั๋งอุ๋นยังทูลปฏิเสธอย่างหนักแน่นที่จะปฏิบัติตามรับสั่งของจักรพรรดิให้คัดเลือกหญิงมาเป็นสนม เล่าเสี้ยนไม่อาจได้สิ่งที่พระองค์ต้องการจึงทั้งไม่พอพระทัยและยำเกรงตั๋งอุ๋น[18]
ปฏิเสธไม่รับบรรดาศักดิ์
แก้เจียวอ้วน หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) และข้าหลวงมณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州刺史 อี้โจฺวฉื่อชื่อ) ครั้งหนึ่งเคยเขียนฎีกาถึงเล่าเสี้ยนแสดงความประสงค์จะออกจากราชการ และให้บิฮุยกับตั๋งอุ๋นมารับช่วงต่อ เจียวอ้วนยังเขียนด้วยว่า "(ตั๋ง) อุ๋นรับใช้ในพระราชวังมากหลายปีและสนับสนุนประคับประคองราชวงศ์อย่างสุดความสามารถ จึงควรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติสำหรับความดีความชอบ" แต่ตั๋งอุ๋นปฏิเสธไม่รับบรรดาศักดิ์[19]
คอยตรวจสอบฮุยโฮ
แก้เมื่อเล่าเสี้ยนมีทรงเจริญวัยขึ้น เริ่มโปรดขันทีในวังชื่อฮุยโฮซึ่งประจบประแจงจักรพรดิหวังจะขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีอำนาจมากขึ้นในราชสำนักจ๊กก๊ก[20] เมื่อตั๋งอุ๋นทราบเรื่องนี้ก็ทูลตำหนิจักรพรรดิอย่างเปิดเผยว่าแสดงออกซึ่งความลำเอียงต่อฮุยโฮ และก็ตำหนิพฤติกรรมขันทีฮุยโฮอย่างรุนแรง ฮุยโฮเกรงกลัวตั๋งอุ๋นจึงไม่กล้าก่อปัญหาใด ๆ และมีได้มีตำแหน่งสูงไปกว่าผู้ช่วยสำนักประตูเหลือง (黃門丞 หฺวางเหมินเฉิง) ในช่วงเวลาที่ตั๋งอุ๋นยังมีชีวิตอยู่[21]
ปฏิบัติต่อเพื่อนขุนนางด้วยความเคารพ
แก้ครั้งหนึ่งเมื่อตั๋งอุ๋นกำลังจะออกจากบ้านเพื่อออกไปท่องเที่ยวกับสหายคือบิฮุย ออจี้ และคนอื่นๆ ตั๋งอุ๋นได้ยินว่าเพื่อนขุนนางรุ่นเยาวชื่อ ต่ง ฮุย (董恢) มาเยี่ยมเพื่อหารือ เมื่อต่ง ฮุยเห็นว่าตั๋งอุ๋นมีกำหนดการอื่นอยู่แล้วและกำลังจะขึ้นรถม้า ต่ง ฮุนจึงบอกว่าตนจะกลับมาอีกครั้งในภายหลังและเตรียมจากลาออกไป[22]
ตั๋งอุ๋นจึงหยุดต่ง ฮุยไว้พูดว่า "ข้าพเจ้าเพียงแค่ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนเท่านั้น เห็นว่าท่านเดินทางมาที่นี่เพื่อแบ่งปันความคิดเห็นที่ยอดเยี่ยม คงเป็นการเสียมารยาทที่จะเพิกเฉยต่อท่านเพียงเพราะจะออกไปเที่ยวกับเพื่อน"[23] ตั๋งอุ๋นจึงลงจากรถ บิฮุยและคนอื่น ๆ ก็ยกเลิกการไปท่องเที่ยวเช่นกัน ตั๋งอุ๋นได้รับการยกย่องในเรื่องทัศนคติที่สุภาพและให้เกียรติต่อเพื่อนขุนนางและผู้มีความสามารถ[24]
ในฐานะหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ
แก้ตั๋งอุ๋นได้รับตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นขุนพลผู้ช่วยเหลือรัฐ (輔國將軍 ผู่กั๋วเจียงจฺวิน) ในปี ค.ศ. 243[25] ในปีถัดมา ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ในขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) ตั๋งอุ๋นยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของบิฮุยที่ดำรงตำแหน่งมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)[26]
การเสียชีวิตและสิ่งสืบเนื่อง
แก้ตั๋งอุ๋นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 246[1] เวลานั้นผู้คนในจ๊กก๊กขนานนามให้จูกัดเหลียง เจียวอ้วน บิฮุย และตั๋งอุ๋นเป็นสี่อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊ก[27]
หลังจากตั๋งอุ๋นเสียชีวิต เฉิน จือซึ่งเป็นขุนนางที่จักรพรรดิเล่าเสี้ยนทรงโปรดได้มาแทนที่ตั๋งอุ๋นในตำแหน่งขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) เฉิน จือผูกมิตรกับขันทีฮุยโฮเพื่อครอบงำอำนาจการเมืองในจ๊กก๊ก ทั้งคู่มีอำนาจร่วมกันจนกระทั่งเฉิน จือเสียชีวิตในปี ค.ศ. 258 ทำให้ฮุยโฮกุมอำนาจแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากเฉิน จือกลายเป็นหนึ่งในขุนนางคนโปรดของเล่าเสี้ยน เล่าเสี้ยนจึงค่อย ๆ ไม่พอพระทัยต่อตั๋งอุ๋นและเห็นว่าตั๋งอุ๋น "เย่อหยิ่งและไร้มารยาท" เฉิน จือและฮุยโฮมักจะทูลใส่ร้ายตั๋งอุ๋นให้เล่าเสี้ยนทำให้เล่าเสี้ยนเกลียดตั๋งอุ๋นมากยิ่งขึ้น[28] การเสียชีวิตของตั๋งอุ๋นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขึ้นมามีอำนาจของฮุยโฮ และทำให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงในราชสำนักจ๊กก๊กขยายตัวมากขึ้น ผู้คนในรัฐจ๊กก๊กปรารถนาอยากให้ช่วงเวลาที่ตั๋งอุ๋นยังมีอำนาจกลับคืนมา[29]
ทายาท
แก้หลานชายของตังอุ๋นชื่อ ต่ง หง (董宏) รับราชการเป็นเจ้าเมืองปาเส (ปาซี) ในยุคราชวงศ์จิ้น[30]
คำวิจารณ์
แก้ตันซิ่วผู้เขียนชีวประวัติตั๋งอุ๋นในจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) ประเมินตั๋งอุ๋นไว้ว่า "ตั๋งอุ๋นแก้ไขนายเมื่อนายทำผิด สีหน้าแสดงออกซึ่งความชอบธรรม... ถือเป็นหนึ่งในขุนนางที่ดีที่สุดของจ๊กก๊ก ร่วมด้วยตั๋งโห เล่าป๋า ม้าเลี้ยง และตันจิ๋น"[31]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 78[2]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 66[3]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70[4]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ([延熈]九年,卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่ม 39.
- ↑ ("พระเจ้าเล่าเสี้ยนแจ้งดังนั้น ก็ปรึกษากับขุนนางทั้งปวงแล้วให้ตั๋งอุ๋นไปเกลี้ยกล่อมเอาใจอุยเอี๋ยนไว้ ตั๋งอุ๋นก็กราบถวายบังคมลาไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
- ↑ ("ฝ่ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนพึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่ได้ฟังนั้นก็ตกใจ ขณะนั้นขงเบ้งมิได้มาเฝ้าหลายวัน แล้วจึงให้คนใช้ไปเชิญมหาอุปราชหวังจะคิดราชการ คนใช้รับสั่งไปแล้วกลับมาทูลว่า มหาอุปราชป่วยอยู่เข้ามามิได้ พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ยินดังนั้นก็ยิ่งตกใจนัก ครั้นรุ่งขึ้นวันหนึ่งจึงใช้ตงอุ่นเตาเขงที่ปรึกษาสองคน ออกไปเยี่ยมดูมหาอุปราชป่วยเปนไร แล้วเล่าความทั้งนั้นให้ฟังด้วย ตงอุ่นเตาเขงรับสั่งแล้วก็ไปถึงที่บ้านมหาอุปราช") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
- ↑ ("ขงเบ้งจึงทำเรื่องราวกราบทูลพระเจ้าเล่าเสี้ยนเปนใจความว่า ข้าพเจ้าขงเบ้งขอทูลให้ทราบ ด้วยพระเจ้าเล่าปี่ทำการปราบแผ่นดินยังไม่ราบคาบยังเปนสามก๊กอยู่ก็สวรรคตเสียแล้ว อันเมืองเสฉวนนี้ก็เปนเมืองน้อย จะตั้งมั่นเปนเมืองหลวงนั้นไม่ได้ ขอพระองค์เร่งดำริห์อย่านอนพระทัย บัดนี้ขุนนางทั้งปวงซึ่งมีสติปัญญา แลทหารซึ่งมีฝีมือก็ตั้งใจสนองพระคุณโดยสุจริตอยู่สิ้น กุยฮิวจี๋หนึ่ง บิฮุยหนึ่ง ตันอุ๋นหนึ่ง สามคนนี้เปนขุนนางผู้ใหญ่ เอียทงหนึ่ง ตันจิ๋นหนึ่ง เจียวอ้วนหนึ่ง สามคนนี้เปนนายทหารเอก มีฝีมือเข้มแขงรู้การสงครามเคยทำศึกได้ชัยชนะมาเปนอันมาก คนเหล่านี้พระเจ้าเล่าปี่ก็ไว้พระทัยนับถือมาแต่ก่อน ควรที่พระองค์จะปรึกษาหารือกิจราชการด้วย") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
- ↑ ("หุยวุยเสนาบดีผู้ใหญ่จึงว่า เตียวอ้วนตังอุ๋นมีสติปัญญาฝีมือรบพุ่งก็กล้าเปนทหารเอกของเราก็ตายเสียแล้ว ในเมืองเราหามีคนดีไม่ จะยกไปบัดนี้เห็นจะไม่สำเร็จ อย่าเพ่อเบาแก่ความ ให้ได้ท่วงทีแล้วจึงยกไปทำการ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.
- ↑ หฺวาหยางกั๋วจื้อเล่มที่ 7 ระบุว่าทั้งเจียวอ้วนและตั๋งอุ๋นเสียชีวิตในเดือน 11 ของศักราชเหยียนซีปีที่ 9 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายนถึง 25 ธันวาคม ค.ศ. 246 ในปฏิทินเกรโกเรียน ([延熙九年]冬十有一月,大司马琬卒,谥曰恭侯。“中”〔尚〕书令董允亦卒。)
- ↑ de Crespigny (2007), p. 155.
- ↑ (董和字幼宰,南郡枝江人也,其先本巴郡江州人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (董允字休昭,掌軍中郎將和之子也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ Sima (1084), vol. 69.
- ↑ (先主立太子,允以選為舍人,徙洗馬。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ 12.0 12.1 Sima (1084), vol. 70.
- ↑ (後主襲位,遷黃門侍郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (丞相亮將北征,住漢中,慮後主富於春秋,朱紫難別,以允秉心公亮,欲任以宮省之事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (上疏曰:「侍中郭攸之、費禕、侍郎董允等,先帝簡拔以遺陛下,至於斟酌規益,進盡忠言,則其任也。愚以為宮中之事,事無大小,悉以咨之,必能裨補闕漏,有所廣益。若無興德之言,則戮允等以彰其慢。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (亮尋請禕為參軍,允遷為侍中,領虎賁中郎將,統宿衞親兵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (攸之性素和順,備員而已。獻納之任,允皆專之矣。允處事為防制,甚盡匡救之理。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (後主常欲采擇以充後宮,允以為古者天子后妃之數不過十二,今嬪嬙已具,不宜增益,終執不聽。後主益嚴憚之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (尚書令蔣琬領益州刺史,上疏以讓費禕及允,又表「允內侍歷年,翼贊王室,宜賜爵土以襃勳勞。」允固辭不受。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (後主漸長大,愛宦人黃皓。皓便僻佞慧,欲自容入。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (允常上則正色匡主,下則數責於皓。皓畏允,不敢為非。終允之世,皓位不過黃門丞。) Sanguozhi vol. 39.
- ↑ (允甞與尚書令費禕、中典軍胡濟等共期游宴,嚴駕已辦,而郎中襄陽董恢詣允脩敬。恢年少官微,見允停出,逡巡求去, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (... 允不許,曰:「本所以出者,欲與同好游談也,今君已自屈,方展闊積,捨此之談,就彼之宴,非所謂也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (乃命解驂,禕等罷駕不行。其守正下士,凡此類也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (延熈六年,加輔國將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ ([延熈]七年,以侍中守尚書令,為大將軍費禕副貳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (華陽國志曰:時蜀人以諸葛亮、蔣琬、費禕及允為四相,一號四英也。) อรรถาธิบายหฺวาหยางกั๋วจื้อในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (自祗之有寵,後主追怨允日深,謂為自輕,由祗媚茲一人,皓搆閒浸潤故耳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (陳祗代允為侍中,與黃皓互相表裏,皓始預政事。祗死後,皓從黃門令為中常侍、奉車騎都尉,操弄威柄,終至覆國。蜀人無不追思允。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (允孫宏,晉巴西太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ↑ (評曰: ... 董允匡主,義形于色, ... 皆蜀臣之良矣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า, กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.