ณปภัช วรพฤทธานนท์
ณปภัช วรพฤทธานนท์ (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2546) ชื่อเล่น จ๋า เป็นนักแสดงและเป็นอดีตไอดอล เป็นที่รู้จักจากละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน เป็นอดีตไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) และเป็นอดีตสมาชิกทีมบีทรี (Team BIII) และทีมเอ็นไฟว์ (Team NV)
ณปภัช วรพฤทธานนท์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | 20 มกราคม พ.ศ. 2546 |
รู้จักในชื่อ | จ๋า |
ที่เกิด | จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
ช่วงปี | พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2562) iAM (พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565) |
อดีตสมาชิก | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต |
ประวัติ
แก้ณปภัช วรพฤทธานนท์ ชื่อเล่น จ๋า (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2546) เป็นหนึ่งในสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตรุ่นที่ 1 เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย [1] ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2]
อาชีพ
แก้นักแสดง
แก้เข้าสู่วงการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2555 กับละครเรื่อง ขุนเดช โดยรับบทเป็น ทิพย์[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2557 ณปภัชแสดงละครเรื่อง บ้านของเรา และรับบทเป็นเด็กกำพร้าในละครเรื่อง พราว[1] รวมถึงได้รับบทเป็น หนูลี (วัยเด็ก) ในละครเรื่อง ลีลาวดีเพลิง ได้เป็นนักแสดงสมทบในละครเรื่อง แหวนทองเหลือง และได้เข้าร่วมแสดงในรายการเด็กอัจฉริยะท้าประลอง ช่อง 3[1] ถัดมาใน พ.ศ. 2559 ณปภัชเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการแสดงละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน โดยรับบทเป็น ปัทมา ธรรมคุณ[4] ในปีต่อมา ณปภัชรับรางวัลเกียรติบัตรเด็กและเยาวชนดีเด่น ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2560[5]
ปี พ.ศ. 2562 ได้ร่วมแสดงละครเรื่อง เขาวานให้หนูเป็นสายลับ [6] รับบทเป็นนักแสดงสมทบชื่อว่า อะตอม ในตอนที่ 2 ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างมาจากงานเขียนของนามปากกา พัดชา ซึ่งถูกนำมาสร้างใหม่เป็นครั้งที่ 3
ปี พ.ศ. 2563 ได้ร่วมแสดงในละครเรื่อง ห้องนี้ไม่มีห่วย ออกอากาศทางช่อง GMM25 และ Netflix เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียนสตรีสมมุติแห่งหนึ่ง ที่แบ่งชั้นนักเรียนตามเกรดคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ห้อง A ซึ่งผลการเรียนดีเด่น ไล่ไปจนถึงห้อง F ที่ผลการเรียนต่ำสุด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำภายในโรงเรียน โดยณปภัชได้รับบทเป็น น้ำแข็ง[7] นักเรียนห้อง A ที่เป็นลูกไล่ประจำกลุ่มกรรมการนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน
ไอดอล
แก้ณปภัชเข้าร่วมการออดิชันในช่วงปี พ.ศ. 2559 และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรุ่นแรกของวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รวมถึงได้รับเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์เพลง "พลิ้ว" ในซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย ร่วมกับ ปณิศา ศรีละเลิง (มายด์) ในปีถัดมา[8]
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562 ในงานประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำซิงเกิลที่ 6 ณปภัชได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 24 ด้วยคะแนน 7,270 คะแนน ซึ่งจะได้ร่วมร้องเพลงรองในซิงเกิ้ลที่ 6[9]
นอกจากนี้ณปภัชได้รับโอกาสในการเป็นสมาชิกวงย่อยพิเศษ มิมิกูโมะ (Mimigumo) ร่วมกับ มิวสิค แพรวา สุธรรมพงษ์ และ ไข่มุก วรัทยา ดีสมเลิศ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 ในงาน Nippon Haku 2019[10]
ผลงาน
แก้ผลงานเพลง
แก้BNK48
แก้ปี | เพลง | ซิงเกิ้ล | อัลบั้ม | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2560 | "Aitakatta (อยากจะได้พบเธอ)" | อยากจะได้พบเธอ | ริเวอร์ | ||
"Oogoe Diamond (ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ)" | |||||
"365 Nichi no Kamihikouki (365 วันกับเครื่องบินกระดาษ)" | |||||
"Skirt, Hirari (พลิ้ว)" | คุกกี้เสี่ยงทาย | เซ็นเตอร์ ร่วมกับ ปณิศา ศรีละเลิง | [11] | ||
2561 | "Shonichi (วันแรก)" | วันแรก | |||
"Sakura no Hanabiratachi (ความทรงจำและคำอำลา)" | |||||
"Kimi wa Melody (เธอคือ...เมโลดี้)" | เธอคือ...เมโลดี้ | จาบาจา | |||
"Yume e no Route (หมื่นเส้นทาง)" | |||||
2562 | "Kimi no Koto ga Suki Dakara (ก็เพราะว่าชอบเธอ)" | บีกินเนอร์ | |||
"Reborn" | — | [12] | |||
"77 no sutekina machi e (77 ดินแดนแสนวิเศษ)" | 77 ดินแดนแสนวิเศษ | วาโรตะพีเพิล | [13][14] | ||
2563 | "Wink wa Sankai (วิ้งค์ 3 ครั้ง)" | เฮฟวีโรเทชัน | เซ็นเตอร์ | [15] | |
2564 | "Only today (Acapella Version)" | ดีอะ | กิงงัมเช็ก | [16] | |
2565 | "Make Noise" | "บีลีฟเวอส์" | [17] |
ผลงานการแสดง
แก้มิวสิกวิดีโอ
แก้ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
2560 | "อยากจะได้พบเธอ" (เพลงประกอบ โปรเจกต์ เอส เดอะซีรีส์ ตอน Shoot! I Love You) |
วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์ แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ |
[18] |
2561 | "ชู้กะชู้" | พงศ์จักร พิษฐานพร | [19] |
"วันแรก" | ไพรัช คุ้มวัน | [20] | |
"เธอคือ...เมโลดี้" | บิณฑ์ บัวหมื่นชล | [21] | |
"บีเอ็นเค เฟสติวัล" | ณัฐ ยศวัฒนานนท์ ณัฐพร เยี่ยมฉวี |
[22] | |
2562 | "ก็เพราะว่าชอบเธอ" | อัตตา เหมวดี | [23] |
"Reborn" | วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ มิโอริ โอคุโบะ |
[24] | |
"77 ดินแดนแสนวิเศษ" | ภัทร เลิศอนันต์ | [25][14] | |
"หัวใจไวรัส" | Skanbombomb | [26] | |
2563 | "วิ้งค์ 3 ครั้ง" | ณัฐพงษ์ อรุณเนตร์ | [15] |
2565 | "Make Noise" | บิณฑ์ บัวหมื่นชล | [27] |
ละครโทรทัศน์ / ซีรีส์
แก้ปี | เรื่อง | เครือข่าย | บทบาท | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2554 | รักนี้...ไม่มีวันจาง | ช่อง 9 | ตุ๊กตา | [28] |
กุหลาบร้ายกลายรัก | ช่อง 3 | เนตรชนก (วัยเด็ก) | ||
ดวงตาในดวงใจ | ช่อง 3 | เพลงพิณ (วัยเด็ก) | ||
2555 | ขุนเดช | ช่อง 7 | ทิพย์ | |
2556 | หน้าต่างสีรุ้ง | Thai PBS | ชมพู่ | [29] |
2557 | บ้านของเรา | ช่อง 7 | ||
พราว | เด็กกำพร้า | |||
ลีลาวดีเพลิง | หนูลี (วัยเด็ก) | |||
2558 | แหวนทองเหลือง | ช่อง 8 | ||
2559 | ขมิ้นกับปูน | ช่อง 7 | ปัทมา ธรรมคุณ (ปัท) (วัยเด็ก) | [30] |
กำไลมาศ | ช่อง 3 | หม่อมเจ้าหญิงภรณี (วัยเด็ก) | ||
มนต์รักสองฝั่งคลอง | พีพีทีวี | หลินจี้ (ลูกสาวแก้มบุ๋ม) (รับเชิญ) | ||
2562 | เขาวานให้หนูเป็นสายลับ | ช่อง 3 | อะตอม (รับเชิญตอนที่ 2) | [31] |
2563 | The Underclass ห้องนี้ไม่มีห่วย | จีเอ็มเอ็ม 25,เน็ตฟลิกซ์ | น้ำแข็ง | [7] |
2566 | ของขวัญ | Thai PBS |
ภาพยนตร์
แก้ปี | เรื่อง | ค่าย | ผู้กำกับ | บทบาท | ผู้จัดจำหน่าย | วันที่ฉาย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2561 | BNK48: Girls Don't Cry | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ แซลมอน เฮ้าส์ แพลน บี มีเดีย เวรี่ แซด พิคเจอร์ส |
นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ | ตัวเอง | จีดีเอช ห้าห้าเก้า | 16 สิงหาคม | [32] |
2563 | BNK48: One Take | ไอแอม ฟิล์ม | มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล | ตัวเอง | 18 มิถุนายน (เน็ตฟลิกซ์) | [33] |
พิธีกร
แก้ปี | ชื่อ | เครือข่าย | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2559 | ครอบครัวข่าวเช้า | ช่อง3 | พิธีกรประจำช่วงย่อย "เด็กคิดเด็กทำ" ในช่วง "ช่วยคิดช่วยทำ" | [34] |
2560 | สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 | เนชั่นทีวี | [35] |
รายการโทรทัศน์
แก้ปี | ชื่อ | เครือข่าย | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2560 | LET' S GO TOKYO | ช่องเวิร์คพอยท์ | รายการพิเศษ | [36] |
BNK48 Senpai | ช่อง 3 เอสดี | [37] | ||
BNK48 Show | [37] | |||
2561 | Victory BNK48 | ช่องเวิร์คพอยท์ | [38] |
พากย์เสียง
แก้ปี | ชื่อ | วันที่เผยแพร่ | ผลิตโดย | บทบาท | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2561 | แอป BNK48 Star Keeper | 22 ธันวาคม | Igloo Studio | ตัวเอง | [39][40] |
รางวัล
แก้- รางวัลเกียรติบัตรเด็กและเยาวชนดีเด่น ครั้งที่ 9 ประจำปี 2560 จัดโดย สมาคมคนของแผ่นดิน ร่วมกับ กลุ่มวิทยาลัยในเครือ-ไทยเทค รับมอบเกียรติบัตรจาก ดร. วีระกุล อรัณยะนาค ศึกษาธิการภาค 1 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[41]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ทำความรู้จัก! จ๋า BNK48 สาวสวยมากความสามารถ". campus.campus-star. campus.campus-star. 2018-01-29.
- ↑ "คุยกับ "พี่จ๋า BNK48" ไอดอลคนเก่ง ว่าที่นิสิตเภสัชฯ จุฬาฯ พร้อมแชร์เทคนิคการเรียนเพื่อคณะในฝัน". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-08.
- ↑ "คาแรคเตอร์ตัวละคร ขุนเดช". musicblog.gmember.com. Gmember. 2012-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.
- ↑ "จ๋า BNK48 จากเด็กขี้อาย สู่การเป็นไอดอลเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจเหมือนอย่างที่รุ่นพี่เคยทำไว้". thestandard.co. thestandard.co. 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-04.
- ↑ "สวยเก่งเพอร์เฟ็กต์! แก้ว-เฌอปราง-จ๋า BNK48 ดีกรีบัณฑิตเกียรตินิยม และเยาวชนต้นแบบดีเด่น". teen.mthai.com. Mthai. 2018-01-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-30.
- ↑ "โอตะรอเลย! จ๋า ยศสินี โพสต์ให้รอลุ้นหลังจีบ จ๋า bnk48 เล่นละคร!". dara.trueid.net. True ID. 2019-02-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-05-04.
- ↑ 7.0 7.1 "เรื่องย่อ "The Underclassห้องนี้...ไม่มีห่วย"". mgronline.com. 2020-07-07.
- ↑ "BNK48 จัดคอนเสิร์ตอำลา 'คิตแคต' อย่างอบอุ่น". Voice TV. 2017-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- ↑ "BNK48 6th SINGLE SENBATSU GENERAL ELECTION". BNK48 Office. 2019-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-30. สืบค้นเมื่อ 2019-05-04.
- ↑ "WORLD ORDER และวงไอดอล BNK48 ปิดฉากส่งท้ายความสนุกงาน "NIPPON HAKU BANGKOK 2019" วันสุดท้าย". BrickinfoTV.com. 2019-09-01.
- ↑ 「Skirt, Hirari –พลิ้ว–」from BNK48 Mini Live and Handshake / BNK48 เรียกข้อมูลเมื่อ 2017-11-21
- ↑ "BNK48 ประกาศเปิดตัวอัลบั้มที่ 2 ของวง โดยเพิ่มเพลงใหม่ 2 เพลง : ปูเป้, ฟ้อนด์, รินะ ได้เป็น Center !!". Mangozero.com. khajochi. 2019-04-07. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ "BNK48 ประกาศซิงเกิ้ล 7 กับ 24 เมมเบอร์ คามิ 7 กุมารไลน์ ครบทีม! เพลง 77 ดินแดนแสนวิเศษ". Music.trueid.net. ALL ABOUT MUSIC. 2019-10-20. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ 14.0 14.1 "ซิงเกิลใหม่ BNK48 "77 ดินแดนแสนวิเศษ" หวังชวนเที่ยวไทย แย้ม "เฌอปราง-จิ๊บ" มีเพลงเดี่ยว". Mgronline.com. ผู้จัดการออนไลน์. 2019-10-31. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ 15.0 15.1 【MV Full】Wink wa 3 Kai - วิ้งค์ 3 ครั้ง / BNK48, สืบค้นเมื่อ 2021-10-05
- ↑ 【Performance Video】Only today (Acapella Version) / BNK48, สืบค้นเมื่อ 2021-10-05
- ↑ 【MV full】Make noise / BNK48, สืบค้นเมื่อ 2022-09-04
- ↑ "BNK48 สุดปลื้ม! ร่วมงาน GDH ในเอ็มวี อยากจะได้พบเธอ ประกอบซีรีส์ Shoot! I Love You (คลิป)". music.trueid.net. Bangkok: True Digital & Media Platform. 2017-11-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-25.
- ↑ ""ชู้กะชู้" พร้อมมิวสิกวิดีโอพิเศษที่มีลูกศิษย์ BNK48 ครบ 26 คน". dailynews. bangkok: dailynews. 2018-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24.
- ↑ "ข้อจำกัดของ BNK48 เมื่อแปลเพลง 'วันแรก' เป็นไทย ทำไมไม่ติดหูเท่า 'คุกกี้เสี่ยงทาย'". gmlive.com. Bangkok: GMLive. 2018-03-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-30. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24.
- ↑ "[MV Full] Kimi wa Melody เธอคือ…เมโลดี้". youtube.com. Bangkok: BNK48. 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-09-15.
- ↑ "[MV Full] BNK Festival / BNK48". youtube.com. BNK48. 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 2018-11-22.
- ↑ "[MV Full] Kimi no Koto ga Suki Dakara ก็เพราะว่าชอบเธอ / BNK48". youtube.com. BNK48. 2019-03-26. สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
- ↑ "【MV Full】Reborn / BNK48". Youtube.com. BNK48. 2019-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ "【MV Full】77 no Suteki na Machi e –77 ดินแดนแสนวิเศษ– / BNK48". Youtube.com. BNK48. 2019-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
- ↑ [MV Full] Heart Gata Virus -หัวใจไวรัส- / Mimigumo, สืบค้นเมื่อ 2021-10-05
- ↑ 【MV full】Make noise / BNK48, สืบค้นเมื่อ 2022-09-04
- ↑ บทความพิเศษ. [1] (2554). "สวนดอกร้อยดวงใจ ปี 4 สร้างละคร รักนี้...ไม่มีวันจาง ถ่ายทอดชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย", ข่าวสารคณะแพทย์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 26 (9), 11-13. เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-01-08
- ↑ "ละคร หน้าต่างสีรุ้ง". Facebook. หน้าต่างสีรุ้ง ละคร. 2016-12-25. สืบค้นเมื่อ 2019-01-08.
- ↑ โดนัท แนะนำเพื่อนๆ นักแสดงในกอง “ขมิ้นกับปูน” เรียกข้อมูลเมื่อ 2016-17-21
- ↑ โอตะรอเลย! จ๋า ยศสินี โพสต์ให้รอลุ้นหลังจีบ จ๋า bnk48 เล่นละคร!
- ↑ "แฟนคลับเก็บตังค์รอเลยจ้า! "เต๋อ นวพล" กำกับหนังสารคดี BNK48 คาดเข้าฉายกลางปีนี้". prachachat.net. Bangkok: Matichon. 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
- ↑ "One Take ภาพยนตร์สารคดีเรื่องที่ 2 ของ BNK48 เตรียมเข้าฉายแบบ Exclusive บน Netflix 18 มิถุนายนนี้". thestandard.co. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ เด็กคิดเด็กทำ Playlists on youtube เรียกข้อมูลเมื่อ 2016-06-15
- ↑ สารคดีเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 on youtube เรียกข้อมูลเมื่อ 2017-10-23
- ↑ "LET' S GO TOKYO - EP.01 - 13 ก.พ. 60". WorkpointOfficial. 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2019-01-09.
- ↑ 37.0 37.1 "Idol News BNK48 กางแผนโปรโมท …ตั้งเป้าไอดอลอันดับ 1 ของประเทศไทย!". megaxgame.com. 2017-02-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-12-25.
- ↑ "WorkPoint เผยตัวอย่างรายการ Victory BNK48". beartai.com. @bigpigs. 2018-06-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-25.
- ↑ "BNK48 Star Keeper". play.google.com. Google Play. 2018-12-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2018-12-22.
- ↑ "BNK48 เปิดตัวแอป BNK48 Star Keeper เกมมือถือของตัวเองเป็นครั้งแรก". blognone.com. Blognone. 2018-12-23. สืบค้นเมื่อ 2018-12-23.
- ↑ สวยเก่งเพอร์เฟ็กต์! แก้ว-เฌอปราง-จ๋า BNK48 ดีกรีบัณฑิตเกียรตินิยม และเยาวชนต้นแบบดีเด่น เก็บถาวร 2020-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลเมื่อ 2017-01-30