มิโอริ โอคุโบะ
มิโอริ โอคุโบะ[a] (ญี่ปุ่น: 大久保美織; โรมาจิ: Ōkubo Miori; เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น มิโอริ (ญี่ปุ่น: みおり) เป็นอดีตไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) อีกทั้งยังเป็นอดีตรองกัปตันและอดีตสมาชิกของทีมบีทรี (Team BⅢ)
มิโอริ โอคุโบะ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | มิโอริ โอคุโบะ (大久保美織) |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2541 |
ที่เกิด | อิบารากิ , ประเทศญี่ปุ่น |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
ช่วงปี | พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ (2560–2562) iAM (2562–2566) AVELIA (2567-ปัจจุบัน) |
อดีตสมาชิก | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต , ทีมบีทรี |
ประวัติ
แก้มิโอริเกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2541 ที่เมืองสึคุบะ จังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น[1] ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ย้ายเข้ามาอยู่ประเทศไทยพร้อมครอบครัว เนื่องจากหน้าที่การงานของครอบครัว มิโอริเป็นลูกสาวคนเล็กจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน
ด้านการศึกษา มิโอริจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก 泰日協会学校 (โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น) จากนั้นสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก The American School of Bangkok (ASB) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขา Innovative Media Production (หลักสูตรนานาชาติ) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
อาชีพ
แก้ไอดอล
แก้มิโอริเป็นสมาชิกรุ่นที่ 1 ของวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48)
ในปี พ.ศ. 2560 มิโอริได้รับเลือกเป็นสมาชิกของทีมบีทรี (Team BⅢ) และในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการสับเปลี่ยนสมาชิกทีม ผลปรากฏว่ามิโอริก็ยังคงอยู่ในทีมบีทรีเช่นเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 มิโอริได้รับเลือกให้เป็นรองหัวหน้าทีมบีทรีคนใหม่ ต่อจาก เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ (เจนนิษฐ์) โดยจะเริ่มทำหน้าที่ในปี พ.ศ. 2566
ทีมบีทรีจะแสดงใน BNK48 Campus ที่มีที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ ซึ่งมีรายละเอียดสเตจดังต่อไปนี้
สเตจที่ | ชื่อสเตจ | Unit เพลงที่แสดง | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
1 | Party ga hajimaru yo | Classmate "เพื่อนคนพิเศษ" |
- | [2] |
Waiting Stage | BNK48 Waiting Stage | Yume e no route "หมื่นเส้นทาง" |
Center | [3] |
2 | Saishuu Bell ga Naru | Gomen ne Jewel "Jewel ในดวงใจ" |
- | [4] |
15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มิโอริได้ลงสมัครในงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึประจำซิงเกิลที่ 53 ของวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกวงใน 48 กรุ๊ป ทั้งหมดได้ลงเลือกตั้งและร่วมทำเพลงกับวงพี่สาวได้ ซึ่งผลของงานเลือกตั้งครั้งนี้ มิโอริไม่ได้ติดอันดับอยู่ใน 100 คน (Unranked)
14 มกราคม พ.ศ. 2562 มิโอริได้รับเชิญเข้าร่วมงานบรรลุนิติภาวะ (ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้หนุ่มสาวที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์)[5] ร่วมกับสมาชิกของวงเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ณ ศาลเจ้าคันดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[6]
26 มกราคม พ.ศ. 2562 งานประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำซิงเกิลที่ 6 มิโอริได้รับคะแนนอยู่ในอันดับที่ 20 (9,915 คะแนน) ซึ่งส่งผลทำให้มิโอริได้เป็นสมาชิกของเพลงรองในซิงเกิ้ลที่ 6 "ก็เพราะว่าชอบเธอ" และมีโอกาสยืนในตำแหน่งแถวหน้าของเพลงนี้อีกด้วย
19 เมษายน พ.ศ. 2563 งานประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำซิงเกิลที่ 9 มิโอริได้รับคะแนนอยู่ในอันดับที่ 27 (4,151 คะแนน) ซึ่งส่งผลทำให้มิโอริได้เป็นสมาชิกของเพลงรองในซิงเกิลที่ 9 "Hashire! Penguin (วิ่งไปสิ...เพนกวิน)"
9 เมษายน พ.ศ. 2565 งานประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำซิงเกิลที่ 12 มิโอริได้รับคะแนนอยู่ในอันดับที่ 15 (16,579.73 Tokens) ซึ่งส่งผลทำให้มิโอริได้เป็นเซ็มบัตสึเพลงหลักของซิงเกิ้ลที่ 12 "บีลีฟเวอส์" (Believers)
9 เมษายน พ.ศ. 2566 จากงานเป่ายิ้งฉุบเลือกเซ็มบัตสึ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขัน "เป่ายิ้งฉุบ" เพื่อเลือกเซ็มบัตสึในอัลบั้มที่ 4 ของวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) นั้น มิโอริได้มีการเป่ายิ้งฉุบทั้งหมด 2 รอบ โดยในรอบที่ 1 มิโอริเป่ายิ้งฉุบชนะ ทูแบม CGM48 (พิชชาพร วัฒนาทองทิน) และในรอบที่ 2 มิโอริเป่ายิ้งฉุบชนะ นิว BNK48 (ชัญญาภัค นุ่มประสพ) ซึ่งส่งผลทำให้มิโอริได้เป็นเซ็มบัตสึ ต่อจากนั้น ได้เป่ายิ้งฉุบเพื่อลุ้นเข้ารอบเป็น Janken Queen กับ ฟ้อนด์ BNK48 (ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา) ผลออกมาก็คือ มิโอริแพ้ฟ้อนด์ จึงต้องมารอแข่งขันอีกครั้ง เพื่อหาตำแหน่งลำดับ Position ในเพลง ซึ่งผลออกมาว่า มิโอริอยู่ในตำแหน่งลำดับที่ 14 ในอัลบั้มที่ 4 นี้
19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มิโอริเป็นตัวแทนของวงBNK48 ร่วมสัมภาษณ์ทางออนไลน์ ในงาน TIF ASIA TOUR 2023 (วันที่2) ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
3 กันยายน พ.ศ. 2566 มิโอริได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ของจังหวัดอิบารากิ โดยมีพิธีแต่งตั้งในงาน NIPPON HAKU BANGKOK 2023 ที่จัดขึ้นที่ห้างสยามพารากอน จ.กรุงเทพมหานคร
16 กันยายน พ.ศ. 2566 ในงาน 2-Shot ของอัลบั้มที่ 4 Gingham Check มิโอริได้ประกาศจบการศึกษาจากวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) และจะทำกิจกรรมร่วมกับวงจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566[7]
25 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทางวง BNK48 ได้มีการจัดพิธีจบการศึกษาให้กับมิโอริ โดยใช้ชื่องานว่า BNK48 Christmas Party 2023 & Miori's Graduation Ceremony โดยในงานจะแบ่งเป็น 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เป็นกิจกรรม Christmas Party สมาชิก BNK48 จะแข่งกันแต่งกายในชุดแฟนซี และมีการจับของขวัญเพื่อมอบให้แฟนคลับผู้โชคดี โดยมีมิโอริ และ เฌอปราง อารีย์กุล เป็นพิธีกร และในกิจกรรมที่ 2 เป็นกิจกรรม Miori's Graduation Ceremony หรือพิธีการจบการศึกษาของมิโอริ โดยมีการแสดงหลายเพลง เช่น เพลง Give Me Five! , Believers เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นเป็นต้น อีกทั้งยังมีสมาชิกรุ่นที่ 1 ที่จบการศึกษาไปก่อนหน้านี้เข้าร่วมพิธีอีกด้วย[8]
ผลงานเพลง
แก้บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
แก้ปี | ชื่อ | ซิงเกิล | อัลบั้ม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2560 | "Aitakatta อยากจะได้พบเธอ" | "อยากจะได้พบเธอ" | ริเวอร์ | [9] |
"Oogoe Diamond ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ" | ||||
"365วัน กับเครื่องบินกระดาษ" | ||||
"คุกกี้เสี่ยงทาย" | "คุกกี้เสี่ยงทาย" | [10] | ||
"BNK48" | ||||
2561 | "ประกายน้ำตาและรอยยิ้ม" | วันแรก | ||
"หมื่นเส้นทาง" | "เธอคือ...เมโลดี้" | จาบาจา | [11] | |
2562 | "ก็เพราะว่าชอบเธอ" | "บีกินเนอร์" | ||
"Reborn" | – | [12] | ||
2563 | "Hashire! Penguin (วิ่งไปสิ...เพนกวิน)" | "Heavy Rotation" | วาโรตะพีเพิล | |
2564 | "Only Today (Acapella Version)" | "ดีอะ" | Gingham Check | |
2565 | "Sayonara Crawl" | "ซาโยนาระครอวล์" | ||
"Believers" | "บีลีฟเวอส์" | |||
"Jiwaru Days" | "จิวารุเดส์" | BNK48 1st Generation Special Single | ||
"Pioneer" | ||||
"Sakura no kimi narou" | ||||
2566 | "Iiwake Maybe" | "อีวาเกะเมย์บี" | Gingham Check | |
"สัญญานะ" | "สัญญานะ" | |||
"ดาวดวงแรก (Hajimete no Hoshi)" | ||||
"สุดท้ายที่อยากบอก (Tsuyosa to Yowasa no Aida de)" | ||||
"Gingham Check" | " Gingham Check" | |||
Give Me Five! | "Kibouteki refrain" | #Sukinanda |
- ตัวหนา = มิโอริเป็น Center เพลง
เพลงพิเศษ
แก้ปี | ชื่อ | ร่วมกับ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2563 | "心でふれて" ("หัวใจใกล้กัน" ฉบับภาษาญี่ปุ่น) | อิซึรินะ, ซัทจัง, มิวสิค ไข่มุก, จ๋า |
บทเพลงพิเศษส่งแรงใจให้ทีมแพทย์ ผู้ที่ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา |
2565 | "未来を描いて" (วาดฝัน) | อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | Theme Song งาน Nippon Haku Bangkok 2022 [13] |
ผลงานการแสดง
แก้ละครเวที
แก้มิโอริมีโอกาสได้รับเลือกให้เป็นเซ็มบัตสึของ “Gekidan Renacchi Sousenkyo” หรืองานเลือกตั้งของเรนัจจิ (Kato Rena)[14] จากการออดิชั่นร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ใน 48 Group ซึ่งมิโอริเป็นสมาชิกนอกเกาะญี่ปุ่นเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกในครั้งนี้ จากโอกาสในครั้งนี้ ทำให้มิโอริได้มีโอกาสไปแสดงละครเวทีร่วมกับสมาชิกรุ่นพี่จาก 48 Group
ละครเวทีที่มิโอริได้ไปแสดงคือเรื่อง Romeo and Juliet (ロミオ&ジュリエット) โดยรับบทเป็น เบนโวลิโอ (ベンヴォーリオ)[15] จากทีม 白組(Shirogumi) / White Team ซึ่งทำการแสดงในวันที่ 9 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ที่โรงละคร AiiA 2.5 Theater Tokyo ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[16]
ละครโทรทัศน์ / ซีรีส์
แก้ปี | ชื่อ | บทบาท | ช่องทางออกอากาศ | วันแรกที่ออกอากาศ | ผู้กำกับ |
---|---|---|---|---|---|
2563 | The Underclass ห้องนี้ไม่มีห่วย | มี่จัง | GMM25 Netflix |
5 กรกฎาคม 2563 | ภาส พัฒนกำจร |
ภาพยนตร์
แก้ปี | ชื่อ | ค่าย | ผู้กำกับ | บทบาท | วันที่เข้าฉาย | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2561 | BNK48: Girls Don't Cry | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ แซลมอน เฮ้าส์ แพลน บี มีเดีย เวรี่ แซด พิคเจอร์ส |
นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ | ตัวเอง | 16 สิงหาคม | [17] | |
2563 | ไทบ้าน x BNK48 จากใจผู้สาวคนนี้ | ไอแอม ฟิล์ม เซิ้ง โปรดักชั่น แอนด์ ออแกไนเซอร์ |
สุรศักดิ์ ป้องศร, ธิติ ศรีนวล | รับเชิญ | 23 มกราคม | ||
BNK48: One Take | ไอแอม ฟิล์ม | มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล | ตัวเอง | 18 มิถุนายน | ภาคต่อจาก BNK48: Girls Don't Cry | [18] |
ผลงานอื่น ๆ
แก้แบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador)
แก้ปี | รายการ | อ้างอิง |
---|---|---|
2566 | ทูตการท่องเที่ยวจังหวัดอิบารากิ (Ibaraki prefecture Brand Ambassador) | [19] |
พรีเซนเตอร์ (Presenter)
แก้ปี | รายการ | อ้างอิง |
---|---|---|
2561 | Lotte Toppo | [20] |
Toyota Yaris Ativ | [21] |
ผู้กำกับ (Producer)
แก้ในอัลบั้ม JABAJA ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ 2 ของวง มิโอริมีโอกาสได้รับหน้าที่เป็น Producer กำกับ Music Video ของเพลง Reborn ร่วมกับ วฑูศิริ ภูวปัญญาศิริ (ก่อน) ซึ่งเผยแพร่ทาง Youtube เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562[22]
รายการโทรทัศน์
แก้ปี | ชื่อรายการ | วันที่ออกอากาศ | ช่องที่ออกอากาศ | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2560 | BNK48 Senpai | 1 มีนาคม – 29 มีนาคม | ช่อง 3 เอสดี | ||
BNK48 Show | 9 กรกฎาคม – 26 พฤศจิกายน | รายการวาไรตี้ | |||
2561 | วิกทอรีบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต | 3 กรกฎาคม – 25 ธันวาคม | ช่องเวิร์คพอยท์ | [23] | |
2562 | ii ne JAPAN | 24 กุมภาพันธ์ – 19 พฤษภาคม | ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี | รายการท่องเที่ยว จัดรายการร่วมกับ น้ำหนึ่ง, เนย, ออม, ผักขม, เค้ก |
[24] |
หมายเหตุ
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสภา: มิโอริ โอกูโบะ
อ้างอิง
แก้- ↑ MIORI มิโอริ โอคุโบะ MIORI OHKUBO
- ↑ รีวิว 1st Stage PARTY ga Hajimaru yo การแสดงสดครั้งแรกใน Theater ของ BNK48
- ↑ BNK48 Waiting Stage Setlist
- ↑ BNK48 ประกาศทีม NV พร้อม Shuffle สมาชิกจากทีม BIII เข้าสู่ทีมใหม่ และการแสดงเธียเตอร์เพลงใหม่ถึง 2 ชุด
- ↑ 20+ 成人の日
- ↑ ""มิโอริ" เป็นสาวแล้ว! 1 เดียวจาก BNK48 ร่วมวันบรรลุนิติภาวะ AKB48". mgronline.com. MGR Online. 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
- ↑ มิโอริได้ประกาศจบการศึกษาจากวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48)
- ↑ มิโอริ ประกาศจบการศึกษาจาก BNK48
- ↑ อยากฟิน-ต้องซื้อ! BNK48 เปิดจองซิงเกิ้ลเดบิวต์ ‘Aitakatta อยากจะได้พบ(เธอ)’
- ↑ "ที่มาและความเชื่อเรื่อง คุกกี้เสี่ยงทาย (Fortune Cookie)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-04.
- ↑ BNK48 ทำเซอร์ไพรส์อีกชุด ประกาศ เซ็มบัตสึเพลง Yume e no Route : หมื่นเส้นทาง & โครงการพิเศษคอนเสิร์ตที่ Produced โดย PupeBNK48
- ↑ BNK48 ประกาศอัลบั้ม 2 เปิดตัว 2เพลงใหม่ Jabaja เพลงหลัก และการมาของ Reborn!
- ↑ มิโอริ BNK48 ร่วมงาน STAMP กับเพลง “วาดฝัน” เตรียมร้องสดในงาน NIPPON HAKU BANGKOK 2022 วันที่ 2 ก.ย.นี้
- ↑ "รู้จัก Sakura No Hanabiratachi เพลงกำเนิด 48Group ในวันที่มิโอริ BNK48 ติดเลือกตั้งเรนัจจิ". gmlive.com. Bangkok: BNK48. 2018-02-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "劇団れなっち「ロミオ&ジュリエット」". nelke.co.jp. Bangkok: BNK48. 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.
- ↑ "AKB48劇団れなっち『ロミオ&ジュリエット』「個性あるメンバーたちの化学反応、両方楽しめる」". okmusic.jp. Bangkok: BNK48. 2018-05-10. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.
- ↑ Girls Don’t Cry : ตัวตนคืออะไร ในโลกที่หมุนไปด้วยการตีมูลค่าความนิยม
- ↑ "One Take ภาพยนตร์สารคดีเรื่องที่ 2 ของ BNK48 เตรียมเข้าฉายแบบ Exclusive บน Netflix 18 มิถุนายนนี้". thestandard.co. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ 令和5年度「いばらき大使」の委嘱について[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รู้ไหมฉันโอชิใคร? Lotte Toppo หลักไมล์สำคัญที่วัดความแมสของ BNK48". gmlive.com. GM Live. 2018-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.
- ↑ "โตโยต้า ฉลองความสำเร็จ Yaris ATIV ยอดขายสูงสุดในตลาดรถอีโคคาร์ซีดาน พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ "BNK 48"". toyota.co.th. TOYOTA. 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
- ↑ ได้เวลาปล่อยของ “BNK48” ปล่อย Trailer “REBORN” สร้างเซอร์ไพรส์ก่อน-มิโอริ BNK48 กำกับด้วยตัวเอง
- ↑ "WorkPoint เผยตัวอย่างรายการ Victory BNK48". beartai.com. @bigpigs. 2018-06-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-25.
- ↑ "BNK48出演、北海道ロケの番組『ii ne JAPAN』2/24放送". bnktyo.site. ii ne Japan. 2019-01-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-23.