ซูส
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตามคติศาสนากรีกโบราณ ซูส หรือ ซิวส์ (อังกฤษ: Zeus; กรีกโบราณ: Ζεύς, อักษรโรมัน: Zeús [zdeǔ̯s] ซฺเดอุส) เป็นบิดาแห่งเทพและมนุษย์ (กรีกโบราณ: πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) เป็นเทวราชผู้ปกครองเทพเจ้าแห่งโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัว พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก
ซูส | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า สายฟ้า ฟ้าผ่า กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม | |
Jupiter de Smyrne ค้นพบในสเมอร์นาในปี 1680 | |
ที่ประทับ | ยอดเขาโอลิมปัส |
สัญลักษณ์ | สายฟ้า นกอินทรี กระทิงและโอ๊ก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ฮีรา ฯลฯ |
บุตร - ธิดา | แอรีส อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอโฟรไดที ไดอะไนซัส ฮีบี เฮอร์มีส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย ฮิฟีสตัส เพอร์ซิอัส ไมนอส มิวส์ คาริทีส เคทอร์ส |
บิดา-มารดา | โครนัสและรีอา |
พี่น้อง | เฮสเตีย เฮดีส ฮีรา โพไซดอน ดีมิเทอร์ |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | จูปิเตอร์[1] |
ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส[2]
วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์"[3] ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ"[4] เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ
สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta)[5] ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก์
ตำนานของเทพซูส
แก้กำเนิดของซูส
แก้ตำนานการถือกำเนิดของเทพซูสมีอยู่ว่า เทพีไกอาเทพมารดาแห่งผืนดิน ได้สมรสกับเทพยูเรนัสเทพแห่งท้องฟ้า และมีบุตรกลุ่มแรกคือ เหล่าเทพไททันซึ่งสร้างความภาคภูมิแก่เทพยูเรนัสมาก แต่ทว่าบุตรต่อ ๆ มาของเทพีไกอากลับอัปลักษณ์และน่ากลัว เช่น ยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาข้างเดียวกลางใบหน้า และอสุรกายน่าเกลียดต่าง ๆ ทำให้เทพยูเรนัสพิโรธโยนบุตรเหล่านั้นลงไปขังในคุกทาร์ทะรัสใต้พิภพ
เทพีไกอาแค้นเทพยูเรนัสมากจึงยุยงให้เหล่าเทพไททันก่อกบฏ ไม่มีเทพองค์ใดที่กล้าชิงบัลลังก์พระบิดายกเว้นเทพโครนัส และจากการช่วยเหลือจากเทพีไกอาทำให้เทพโครนัสชิงอำนาจได้สำเร็จ ทว่าเทพโครนัสไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะปลดปล่อยอสูรผู้เป็นน้อง เทพีไกอาจึงสาปแช่งว่าบุตรที่จะเกิดมาของโครนัสจะชิงอำนาจไปเหมือนกับที่เคยทำไว้กับบิดา
เทพโครนัสตระหนักมากเพราะหลังจากนั้นไม่นาน เทพีรีอา พระชายาก็ตั้งครรภ์ เมื่อได้ข่าวการประสูติ เทพโครนัสจึงบุกเข้าไปในตำหนักพระชายาและจับทารกผู้เป็นสายเลือดของตนกลืนลงท้องไป และครรภ์ต่อๆมาของเทพีรีอาก็เช่นกัน ส่งผลให้เทพีรีอาเศร้าเสียใจอย่างมาก
โครนัสให้กำเนิดบุตรและธิดารวมหกองค์ คือ เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน เฮรา ซูส ซึ่งพอกำเนิดมาได้ถูกโครนัสจับกลืนลงท้องไปแต่เนื่องด้วยซูสหนีออกมาได้ จึงรอให้ตัวเองโตแล้วกลับมาช่วยอีก 5 องค์ในภายหลัง เนื่องจาก เฮสเทีย เฮดีส ดีมิเตอร์ โพไซดอน และเฮรา เป็นเทพจึงไม่ตายตอนอยู่ในท้องของโครนัส
ซูสวัยเยาว์
แก้รีอาได้ซ่อนซูสไว้ถ้ำตั้งอยู่ที่เทือกเขาไอด้าในกรีก ตามเทพปกรณัมเล่าขานกันไว้หลายเรื่องราว ดังนี้:
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของไกอา
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของแซเทอร์ นามว่าอมัลธีอา โดยมีกลุ่มของคูรีเตส— เหล่าทหาร หรือเหล่าเทพเจ้าตัวเล็ก ๆ ที่ใช้หอกและโล่ห์มากระทบกันเกิดเสียงดังจนโครนัสไม่ได้ยินเสียงเด็กร้อง(ดู โครนูโคเปีย)
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของนางไม้นามว่า อดาแมนธีอา โครนัสได้ตั้งกฏเพื่อปกครอง ผืนดิน, ท้องฟ้า และท้องทะเล นางจึงซ่อนพระองค์ โดยการห้อยองค์หลวม ๆ ด้วยเชือกที่ผูกไว้กับต้นไม้ ทำให้พระองค์ไม่อยู่ในผืนดิน ท้องฟ้า และท้องทะเล ด้วยประการนี้ โครนัส ผู้เป็นบิดาจึงมองไม่เห็น
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของนางไม้ นามว่า ไซโนซูรา และด้วยความกตัญญู ภายหลังซูสโปรดให้นางสถิตย์ท่ามกลางดวงดาว
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของเมลิสซา ผู้ถนอมเลี้ยงดูซูสด้วยนมแพะและน้ำผึ้ง
- พระองค์โตมาในการเลี้ยงดูของครอบครัวเลี้ยงแกะ ภายใต้คำสัญญาที่ว่า แกะของพวกเขาจะปลอดภัยจากหมาป่า
มหาเทพ
แก้เมื่อซูสเติบโตถึงวัยหนุ่ม พระองค์ได้บังคับให้โครนัสสำรอกหินออกมา (หินตั้งอยู่ ณ ไฟโต ใต้หุบเขา ปาร์นาซัส เป็นสัญลักษณ์ของเหล่ามนุษย์, ออมฟาลอส) ตามมาด้วยเหล่าพี่น้องของพระองค์ บางตำนานกล่าวถึง มีทิส ว่าเป็นผู้ปรุงยาให้โครนัสสำรอกลูก ๆ ออกมา บ้างก็ว่า ซูสเป็นผู้ผ่าท้องของโครนัส แล้วพาพี่น้องออกมา รวมถึงปลดปล่อย ไจแอนเตส, ฮีคาโตนไคเรส และ ไซคลอปส์ จาก ขุมนรกทาร์ทารัส และสังหารผู้คุม แคมเป้
ด้วยความขอบคุณ เหล่าไซคลอปส์มอบ อัสนีบาต และ สายฟ้า หรือฟ้าผ่า ให้แก่ซูส ซึ่งก่อนหน้านี้ไกอานำไปซ่อนไว้ ซูสและพี่น้องทั้งหมด รวมถึงพวกไจแอนเตส ฮีคาโตนไคเรส และไซคลอปส์ได้ร่วมกันโค่นโครนัสและยักษ์ตนอื่น ๆ ในมหาสงคราม ไททันโนมาชี เหล่ายักษ์ที่พ่ายแพ้โดนส่งไปยังขุมนรกทาร์ทารัส แอตลาส ผู้นำของกลุ่มยักษ์ที่ต่อต้านซูส โดนโทษให้แบกท้องฟ้าไว้ตลอดเวลา
หลังเสร็จสิ้นสงครามครั้งนั้น ซูสได้ร่วมกันปกครองโลกกับพี่น้อง ซึ่งก็คือ โพไซดอน และ ฮาเดส ดังนี้: ซูสปกครองสวรรค์ โพไซดอนปกครองท้องทะเล และฮาเดสปกครองโลกหลังความตาย มารดาแห่งผืนดิน ไกอา ยอมรับไม่ได้ที่เป็นเช่นนั้น พระนางได้บันดาลให้ส่วนของโพไซดอนมีเหตุแผ่นดินไหว (โพไซดอน - เทพเจ้าแห่งแผ่นดินไหว) และทำให้ฮาเดสถูกกล่าวหาว่าทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย (อ่านได้ที่ เพนธัส)
ไกอาโกรธแค้นซูสที่สังหารเหล่ายักษ์ซึ่งเป็นลูกของนาง หลังจากซูสขึ้นปกครองเหล่าเทพ พระนางได้ปล่อยสัตว์ร้าย ไทฟอน และ เอไคนา แต่ซูสปราบไทฟอนและขังเขาไว้ใต้หุบเขาเอตน่า ส่วนเอไคนา พระองค์ปล่อยให้นางและลูกๆได้มีชีวิตอยู่ต่อไป
ซูสกับฮีรา
แก้ซูสเป็นทั้งน้องชายและคู่ครองของเฮรา บุตรของทั้งคู่คือ แอรีส, ฮีบี และ ฮีฟีสตัส, แต่ในบางตำนานเล่าว่า เทพเจ้าเหล่านี้เป็นบุตรของเฮราแต่ผู้เดียว บ้างก็กล่าวว่ามีบุตรสาวนามว่า อีไลธียา และ อีรีส เรื่องราวของซูสและนางไม้ รวมถึงการกำเนิดตระกูล เฮลเลนิค เป็นที่โด่งดังมาก ตำนานโอลิมเปียมีอ้างถึงการสมรสของซูสกับลีโต, ดีมีเตอร์, ไดโอนี และไมอา รวมถึงมนุษย์นาม ซีมีลี, ไอโอ, ยูโรปา และลีดา และแกนีมีด (ถึงแม้ว่าจะเป็นมนุษย์ ซูสก็ได้ประทานความอมตะให้แก่เขา)
ในหลายตำนานมักกล่าวถึงฮีราในเรื่องของความหึงหวงและแค้นเคืองต่อซูส เหล่าภรรยาลับและลูก ๆ ของพวกเขา ครั้งหนึ่งนางไม้ เอคโค ชวนพระนางคุยจนกระทั่งพระนางไล่ตามซูสไม่ทัน เมื่อพระนางทราบความจริงได้สาปเอคโคให้พูดได้แต่เพียงเสียงตามผู้อื่นเท่านั้น
การโค่นอำนาจไททันโครนอส
แก้ความคับแค้นใจทำให้เทพีรีอาตัดสินใจเก็บบุตรคนสุดท้องเอาไว้ โดยแสร้งส่งก้อนหินห่อผ้าให้เทพโครนัสไป ทารกซูสถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยเทพีไกอาผู้เป็นย่าได้นำทารกซีอุสไปซ่อนไว้ในหุบเขาดิกเทอ ในเกาะครีต ซีอุสกินอาหารคือน้ำผึ้งและน้ำนมจากนิมฟ์ครึ่งแพะที่ชื่อว่า อะมาลไธอา ซึ่งในภายหลังซีอุสได้ได้สร้างนางให้เป็นกลุ่มดาวแพะ หรือกลุ่มดาวมกรในจักรราศีและมีครึ่งเทพครึ่งแพะแห่งป่าที่เล่นฟลุทอยู่ตลอดเวลาชื่อแพนเป็นผู้ให้การศึกษา เมื่อซีอุสเติบใหญ่แข็งแรงจึงหวนกลับไปแก้แค้นโครนอสผู้เป็นเทพบิดาตามคำร้องขอของเทพีมารดา
รีอาได้หลอกให้โครนอสกินยาที่จะทำให้สำรอกบุตรที่เคยกลืนออกมา ด้วยความเป็นเทพเจ้าทำให้เหล่าเทพที่ถูกกลืนลงไปไม่ตายซ้ำยังเติบโตขึ้น เรียงลำดับได้ดังนี้
1.เทพีเฮสเตีย เทพีแห่งไฟและเทพีผู้คุ้มครองครอบครัว เป็นเทพีครองพรหมจรรย์ 2.เทพี ดิมีเตอร์ เทพีแห่งพันธุ์พืช ธัญญาหารและการเพาะปลูก มีธิดากับเทพซูสหนึ่งองค์คือ เทพีเพอร์ซิโฟเน หรือ โพรเซอพิน่าผู้เป็นชายาของฮาเดส 3.เทพี ฮีรา เทพีแห่งการสมรส เป็นมเหสีของเทพซูส ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องหึงหวง มีโอรสและธิดากับเทพซูส 3 องค์คือ เฮฟเฟสตุส ฮีบีกับ อาเรส 4.เทพเฮดีส เจ้าแห่งโลกบาดาล ปกครองยมโลก มีเทพีเพอร์เซฟะนีเป็นมเหสี 5.เทพโพไซดอน เจ้าแห่งท้องทะเล ปกครองน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนและน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ มีเทพีแอมฟิไทรท์ หรือ อัมฟิตรีติ เป็นมเหสี
เมื่อเทพทั้งห้าได้ออกมาจากท้องของโครนัสแล้วจึงร่วมกับซูสปราบโครนัสและส่งโครนัสไปขังไว้ที่ทาร์ทะรัส ซูสได้รับตำแหน่งเทพผู้นำของเหล่าเทพ เนื่องจากการจับฉลากแบ่งหน้าที่ของทั้งสามพี่น้อง และได้พาเหล่าเทพทั้งหลายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัส แม้ว่าเหล่าเทพทุกองค์จะยอมยกตำแหน่งผู้นำให้กับซูสในทีแรก แต่ในตอนหลังเหล่าเทพต่าง ๆ ก็ต่างพากันหาหนทางในการยึดอำนาจมาเป็นของตนเองอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮราผู้เป็นชายาของซูส ได้พยายามที่จะรวบรวมเหล่าเทพเพื่อก่อการกบฏอยู่เสมอ แต่ในท้ายที่สุดซูสก็สามารถที่แก้ไขปัญหา และจับตัวนางมาลงโทษได้อยู่เสมอ
ชายาและบุตรของซูส
แก้ชายาที่เป็นเทพ
ชายา | บุตร/ธิดา |
---|---|
อาอิกซ์ | อาจิพาน |
อานานกี | มอยรี หรือ เฟต |
ไดโอนี | แอโฟรไดที |
ไกอา | 1. โอริออน
2. มาเนส บิดาแห่งอาทีส |
ดิมีเทอร์ | 1. เพอร์เซฟะนี
|
ฮีรา | 1. อาเรส
2. ไอไลธีเอีย 3. ฮีบี 4. ฮิฟีสตัส |
อีออส | 1. เออร์ซา
2. คาเรอี |
เอริส | ไลมอส |
ลีโต | 1. อพอลโล
2. อาร์ทิมิส |
ไมอา | เฮอร์มีส |
เมทิส | อะธีนา |
นีโมซีเน่ | มิวส์
1. คัลลิโอพี 2. คลิโอ 3. เอราโต 4. ยูเทอเพ 5. เมลโพมีนี 6. โพลิฮิมเนีย 7. เทอร์พซิคอเร 8. ธาเลีย 9. ยูเรเนีย |
เพอร์ซิโฟเน | 1. ซากริอุส
2. เมลิโนอี |
ซีลีนี | 1. เออร์ซา
3. แพนเดีย |
ธีมิส | 1. อัสทราเอีย
2. เนเมซิส 3. โฮรี |
ชายาที่เป็นมนุษย์/นิมฟ์/และอื่นๆ
แอจิน่า | แออาคัส |
อัลค์เมนา | เฮราคลีส |
อันติโอพี | 1. อัมฟีออน
2. ซีธุส |
คาลิสโต | อาร์คัส |
คาร์มี | ไบรโตมาทิส |
ดานาอี | เพอร์ซิอุส |
เอลารา | ทีทีอัส |
อีเล็กตรา | 1. ดาร์ดานัส
2. อิอาซิออน |
ยูโรปา | 1. ไมนอส
2. ราดามันธิส 3. ซาเพดอน |
ยูริโนมี | คาริเทส หรือ เกรซ
1. อากลาเอีย 2. ยูโฟรซินี 3. ธาเลีย |
ฮิมาเลีย | 1. โครนิออส
2. สปาร์ไทออส 3. ไคทอส |
ไอโอดามี | ธีบี |
ไอโอ | 1. เอพาฟุส
2. เคโรเอสซ่า |
ลามิอา | |
ลาโอดาเมีย | ซาร์เพดอน |
ลีดา | 1. โพลีดิวซีส (พอลลักซ์)
2. แคสเตอร์ |
แมรา | โลครุส |
ไนโอบี | 1. อาร์กัส
2. เพลาสกัส |
โอเธรอิส | เมไลเธอุส |
โพลอูโต | แทนทาลัส |
พดากี | 1. บาลิอุส
2. แซนทัส |
เฟียรฮ์รา | เฮลเลน |
ซีมีลี | ไดโอไนซูส |
ทาอีกีที | ลาซีดาอีมอน |
มารดาที่ไม่รู้จัก | ลิทาอี |
มารดาที่ไม่รู้จัก | ทีเช่ |
มารดาที่ไม่รู้จัก | อาที |
| บาส เซอร์รี่ | 1. บาซีส | [[ปอนด์ ลิลลี่] | 1. ลิตสติก
อ้างอิง
แก้- ↑ Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
- ↑ Hamilton, Edith (1942). Mythology (1998 ed.). New York: Back Bay Books. p. 467. ISBN 978-0-316-34114-1.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Iliad, หนงสือ 1.503; 533
- ↑ พอซาเนียส, 2. 24.2.
- ↑ Νεφεληγερέτα. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project.
- ↑ Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.; Johannes Hahn: Gewalt und religiöser Konflikt; The Holy Land and the Bible เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .