โอ๊ก
โอ๊ก | |
---|---|
ใบและผลของ Quercus robur | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fagales |
วงศ์: | Fagaceae |
สกุล: | Quercus L. |
Species | |
โอ๊ก (oak) หรือ ก่อ เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มในสกุล Quercus (/ˈkwɜːrkəs/;[1] ภาษาละติน "oak tree") มี 600 สปีชีส์ โอ๊กอาจจะหมายถึงพืชบางชนิดในสกุล Lithocarpusด้วย พืชสกุลนี้เป็นพืชพื้นเมืองในซีกโลกเหนือ แพร่กระจายตั้งแต่เขตที่อากาศหนาวเย็นไปจนถึงเขตร้อนในเอเชียและอเมริกา
การจักจำแนก
แก้ต้นโอ๊กเป็นพืชมีดอก สกุลของโอ๊กแบ่งออกเป็น 2 สกุลย่อย และมีการแบ่งเป็นส่วน:
สกุลย่อย Quercus
แก้สกุลย่อยQuercus แบ่งได้เป็น:
- ส่วน Quercus ( Lepidobalanus หรือ Leucobalanus), เป็นกลุ่มของโอ๊กขาวในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ ผลแก่ภายใน 6 เดือน รสหวานหรือออกขมเล็กน้อย ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ใบไม่มี bristle ที่ส่วนโค้งด้านบน
- ส่วน Mesobalanus, โอ๊กฮังการีและพืชใกล้เคียงในยุโรปและเอเชีย ผลแก่ภายใน 6 เดือน รสขม ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ส่วน Mesobalanus ใกล้เคียงกับส่วน Quercus และบางครั้งรวมกันได้
- ส่วน Cerris, โอ๊กตุรกีและพืชใกล้เคียงในยุโรปและเอเชีย ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ปลายใบแหลมมี bristles ที่ส่วนโค้งด้านบน
- ส่วน Protobalanus,โอ๊กลีฟแคนยอนและพืชใกล้เคียงในสหรัฐและเม็กซิโก ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลมีขน ปลายใบแหลมมี bristles ที่ส่วนโค้งด้านบน
- ส่วน Lobatae (Erythrobalanus), โอ๊กแดงในอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลมีขน ผลที่เป็นนัทจริงๆมีเปลือกหุมที่บาง ใบมี spiny bristles ที่ปลาย
มีสปีชีส์ของต้นโอ๊กที่หายากและจัดจำแนกไม่ได้ เช่น : Quercus coccinea Quercus muehlenbergii และ Quercus stellata[2]
สกุลย่อย Cyclobalanopsis
แก้- โอ๊กที่พบในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ผลัดใบ สูง 10–40 m ต่างจากสกุลย่อย Quercus ที่เปลือกผลเป็นรูปถ้วย และอยู่เป็นกลุ่ม แม้จะไม่พบทุกสปีชีส์ Flora of China เก็บถาวร 2006-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ได้แยก Cyclobalanopsis เป็นสกุลต่างหากแต่นักวิชาการกลุ่มอื่นจัดให้เป็นสกุลย่อยของQuercus มี 150 สปีชีส์ ซึ่งพบในญี่ปุ่นตอนใต้ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ไปจนถึงจีนตอนใต้ ทางเหนือของอินโดจีนไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก
ความสำคัญทางวัฒนธรรม
แก้สัญลักษณ์ประจำชาติ
แก้โอ๊กเป็นไม้ประจำชาติของหลายประเทศ เป็นสัญลักษณ์ของเยอรมันโบราณ (Donar Oak) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ต่อมาเป็นต้นไม้ประจำชาติของเยอรมนี กิ่งโอ๊กยังพบในเหรียญของเงิน สกุล มาร์กเยอรมัน และ ยูโร[3] ใน พ.ศ. 2547 Arbor Day Foundation[4] ได้เสนอให้โอ๊กเป็นต้นไม้ประจำชาติของสหรัฐ และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สภาได้อนุมัติให้ต้นโอ๊กเป็นไม้ประจำชาติ[5]
ประเทศอื่น ๆ ที่ได้กำหนดให้โอ๊กเป็นไม้ประจำชาติได้แก่ อังกฤษ, เอสโทเนีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, มอลโดวา, โรมาเนีย, แลตเวีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์ สหรัฐอเมริกา, เวลส์, กาลิเซีย, บัลแกเรียและ เซอร์เบีย.[6]
การใช้ประโยชน์
แก้ไม้โอ๊กมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.75 g/cm3, ตรงและแข็ง ทนต่อแมลงและเชื้อราเนื่องจากมีแทนนินมาก จึงนิยมนำมาทำเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่ยุคกลาง ใช้ทำถังไม้โอ๊กสำหรับหมักไวน์
อ้างอิง
แก้- ↑ Sunset Western Garden Book, 1995:606–607
- ↑ Carpenter, Paul (1990). Plants in the Landscape. New York: W.H. Freeman and Company. p. 73.
- ↑ Schierz, Kai Uwe (2004). "Von Bonifatius bis Beuys, oder: Vom Umgang mit heiligen Eichen". ใน Hardy Eidam; Marina Moritz; Gerd-Rainer Riedel; Kai-Uwe Schierz (บ.ก.). Bonifatius: Heidenopfer, Christuskreuz, Eichenkult (ภาษาเยอรมัน). Stadtverwaltung Erfurt. pp. 139–45.
- ↑ "Trees – Arbor Day Foundation". Arborday.org. สืบค้นเมื่อ 2010-04-27.
- ↑ "Oak Trees". arborday.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-09. สืบค้นเมื่อ 2010-04-27.
- ↑ "Oak as a Symbol". Venables Oak. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 26 September 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Flora of China – Cyclobalanopsis
- Flora Europaea: Quercus
- Oaks from Bialowieza Forest เก็บถาวร 2008-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Common Oaks of Florida เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Oaks of the world
- The Global Trees Campaign เก็บถาวร 2012-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Red List of Oaks and Global Survey of Threatened Quercus
- Janka Hardness Scale เก็บถาวร 2016-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – The Janka Hardness Scale for many Exotic and Domestic species