รุกขเทวดา

(เปลี่ยนทางจาก นางไม้)

รุกขเทวดา (บาลี: รุกฺขเทวตา) คือเทวดาที่สิงสถิตอยู่ตามไม้ต้น[1] คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาถือว่ารุกขเทวดาอยู่จำพวกเดียวกับพระภูมิ[2] และเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา[3]

รุกขเทวดาตามคติพม่า

ส่วน นางไม้ เป็นผีผู้หญิงที่สิงสถิตตามต้นไม้ใหญ่[4] ศาสนาพุทธถือว่านางไม้เป็นคนธรรพ์ที่ถือกำเนิดอยู่ภายในต้นไม้ และต่างจากรุกขเทวดาตรงที่ เมื่อต้นไม้ที่สิงสถิตนั้นล้มลง รุกขเทวดาจะย้ายไปอาศัยต้นไม้อื่นต่อ แต่นางไม้ยังคงสถิตในต้นไม้นั้นเรื่อยไปแม้ไม้นั้นจะถูกแปรรูปแล้วก็ตาม[5]

นางไม้ตามความเชื่อของไทย จัดเป็นสตรีสาวสวย ไว้ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉวียงบ่า นุ่งผ้าจีบงดงาม แต่นางไม้ในความเชื่อของชาวตะวันตก หรือที่เรียกว่า "นิมฟ์" มักจะไม่นุ่งห่มเสื้อผ้าอาภรณ์ อาจจะเป็นในแง่ของผีที่ไม่มีความก้าวหน้าด้านการแต่งตัวเคยแต่งกายอย่างไรก็แต่งเช่นนั้น ไม่สวมเสื้อหรือรองเท้า แต่จะสวมหมวกหรือมงกุฎอยู่เสมอไม่ถอดออก[6]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1,006
  2. ปกิณณกวรรควรรณนา:๑. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑
  3. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ, หน้า 103
  4. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 619
  5. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ, หน้า 106-7
  6. ผีสางเทวดา, หน้า 25-26
บรรณานุกรม
  • เสฐียรโกเศศผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ : เอเธนส์บุ๊คส์ (1997), 2549. 80 หน้า.
  • พระสัทธัมมโชติกะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546. 254 หน้า.
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4