ฉบับร่าง:สมปอง คล้ายหนองสรวง

  • ความคิดเห็น: อ้างอิงที่หนึ่งเสียเข้าไม่ได้ การเขียนไม่ใช่สารานุกรมเขียนไม่เป็นกลางเหมือนมาโฆษณาตัวบุคคลและที่สำคัญที่สุดคือหัวเรื่องไม่โดดเด่น ศาสตราจารย์ท่านนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอที่จะเป็นบทความในวิกิพีเดีย Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:10, 29 มีนาคม 2567 (+07)

ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง
ปีปฏิบัติงาน2 พฤษภาคม 2565 - ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อดีตผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการบริหารระบบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

การศึกษา แก้

ปีที่สำเร็จ ระดับปริญญา สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอก ชื่อสถาบัน ประเทศ
2533 ปริญญาตรี เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
2539 ปริญญาโท วิทยาศาสตร์ ชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
2545 ปริญญาเอก ชีวเคมี Protein chemistry & enzymology Kyushu Tokai University ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติการทำงาน แก้

ตำแหน่งบริหาร แก้

พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน แก้

  • ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)[1]

พ.ศ. 2564 – 2565 แก้

มิถุนายน พ.ศ. 2563 - 2565 แก้

มิถุนายน พ.ศ. 2562 - 2563 แก้

พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - มิถุนายน พ.ศ. 2563 แก้

พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 2561 แก้

ตุลาคม พ.ศ. 2556 - กันยายน พ.ศ. 2558 แก้

พ.ศ. 2554 - 2556 แก้

พ.ศ. 2551 - 2554 แก้

พ.ศ. 2549 - 2551 แก้

ตำแหน่งบริหารอื่น ๆ แก้

พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน แก้

  • อนุกรรมการด้านการพิจารณากรอบวงเงินและแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • อนุกรรมการด้านมาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
  • อนุกรรมการด้านการเงินและงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • อนุกรรมการด้านการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ ของสถาบันวัคซีนแห่งประเทศไทย
  • อนุกรรมการการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร ของกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
  • คณะทำงานติดตามและประเมินผลทางวิชาการโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • คณะทำงานของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ) ร่วมกับ ทปอ. วิจัย
  • คณะกรรมการบริหารสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย
  • คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่งบริหารอื่น ๆ แก้

  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ประจำภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550
  • ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาชีวเคมี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ผลงานด้านการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิต แก้

ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง เป็นอาจารย์นักวิจัย สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี ของการทำหน้าที่นี้ ท่านได้ทุ่มเท มุ่งมั่น และมีจิตวิญญาณของความเป็นครูในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการ โดยเริ่มจาก teaching-based learning ไปสู่ research-based learning หรือ evident-based learning ซึ่งเป็นหลักการสอนที่นำเอาผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเห็นผลสัมฤทธิ์การเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงของนักศึกษา นอกจากนี้ยังได้สร้างและผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สาขาชีวเคมีทั้งระดับปริญญาตรี จำนวนมากกว่า 200 คน ปริญญาโท จำนวน 16 คน และปริญญาเอก จำนวน 21 คน

ผลงานด้านการวิจัย แก้

ในด้านการเป็นนักวิจัยนั้น ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ภายใต้ระบบการเรียนการสอนแบบ research-based learning ซึ่งส่งผลให้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง นำส่งองค์ความรู้เชิงวิชาการเผยแพร่ในรูปแบบบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากกว่า 110 เรื่อง ซึ่งมีค่า H-index อยู่ที่ 23 และผลงานวิจัยถูกอ้างอิงทั้งสิ้นกว่า 1,246 ครั้ง ไม่แต่เพียงเท่านี้ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นยังสามารถเผยแพร่ในรูปแบบสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จำนวน 8 เรื่อง

ยิ่งไปกว่านั้น ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตกผลึกองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดในวงวิชาการ ทั้งในด้านของการเรียนการสอน และเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานการวิจัย ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับประเทศ จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งหมดโดยผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ จนสามารถผลิตหนังสือและตำราทางวิชาการจำนวน 5 เรื่อง โดยตำราวิชาการที่โดดเด่นคือ เปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน[4] มีเนื้อหาครอบคลุมประวัติการค้นพบเปปไทด์สมัยยุคทองของยาปฏิชีวนะ

จนถึงปัจจุบันที่มีปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน การค้นพบเปปไทด์ต้านจุลชีพในกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานทั้งในระดับยีนและโปรตีน รวมทั้งข้อมูลทางชีวโมเลกุล โดยจัดแบ่งโปรตีนและเปปไทด์ออกเป็นกลุ่มตามโครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างของเปปไทด์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลไกการทำลายเซลล์เมมเบรนของเชื้อก่อโรค

นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเนื้อหาเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides database) เพื่อให้สามารถสืบค้นเปปไทด์ออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการออกแบบเปปไทด์ให้มีฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยอาศัยซอฟท์แวร์ และข้อมูลทางสถิติจากฐานข้อมูล ตลอดจนข้อมูลเชิงบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้เปปไทด์ต้านจุลชีพทั้งทางด้านคลินิก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และเวชสำอาง และการนำเปปไทด์ไปใช้ประโยชน์ในแง่ของการนำไปใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะเพื่อลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อก่อโรคในปัจจุบัน อีกทั้งยังบ่งชี้แนวทางการใช้ประโยชน์เปปไทด์ต้านจุลชีพเพื่อรักษาหรือทำลายเซลล์อื่น อาทิ เซลล์มะเร็ง และการรักษาโรคผิวหนัง ตลอดจนแนวทางในการศึกษาวิจัยเปปไทด์จากจระเข้เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างยั่งยืน

ผลงานด้านการสร้างเครือข่ายอาจารย์นักวิจัยกับภาคเอกชน แก้

ปัจจุบันศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโปตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดไปเป็นนวัตกรรมในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมออกสู่ท้องตลาด โดยร่วมมือกับบริษัท ศรีราชาโมด้า จำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ เลือดจระเข้โมด้าพลาส

นอกจากนี้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเปปไทด์ที่ได้จากไข่ขาวของไข่ไก่ ภายใต้ชื่อโครงการ เปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ จากอุตสาหกรรมไก่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าไข่ไก่และแก้ไขปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด โดยร่วมมือกับบริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญจาก 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการผลิตนวัตกรรมทางด้านการส่งเสริมสุขภาพเชิงพาณิชย์ได้อย่างมากมาย

เหนือสิ่งอื่นใดนั้นศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ยังมุ่งมั่นและทุ่มเทสนับสนุนอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม ให้มีความเจริญก้าวหน้าในสายงานวิชาการอีกด้วย โดยการหาแหล่งทุนเพื่องานวิจัย เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงทุนสนับสนุนการฝึกอบรม และสัมมนาวิชาการต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทักษะในงานวิจัย และเพิ่มเครือข่ายงานวิจัยในอนาคต เพื่อสร้าง Career Path ที่ชัดเจนให้กับนักวิจัย

ผลงานด้านการบริหารงานวิจัย แก้

ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง เริ่มดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารในตำแหน่ง รองหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาจึงก่อตั้งศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ

ลำดับต่อมาศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลักดัน ขับเคลื่อน และบริหารงบประมาณด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดอันดับด้านวิจัยและนวัตกรรมเป็น 1 ใน 4 ของประเทศไทย

นอกจากนี้ศาสตราจารย์สมปอง คล้ายหนองสรวง ยังดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และรักษาการรองผู้อำนวยการ ฝ่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้บริหารและจัดการงานวิจัยด้านการสร้างองค์ความรู้และพัฒนานักวิจัยในระดับประเทศเป็นงบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพจำนวนกว่า 3,000 คน และดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านการบริหารระบบงบประมาณ และตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการบริหารระบบงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำหน้าที่ในการแปลงแผนงานสู่การปฏิบัติ โดยการผลักดัน ขับเคลื่อนระบบงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพเข้าสู่กองทุนฯ เป็นจำนวน 32,471 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 ปี

รางวัลสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. [ผู้บริหาร,https://pmu-hr.or.th/pmub-director/,หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)]
  2. [ทำเนียบคณบดี,https://sc.kku.ac.th/sciweb/dean-history.php ,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  3. [ผู้บริหาร,http://procci.kku.ac.th/welcome/detail/Executive ,ศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  4. [หนังสือเปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน โดย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง, https://sc2.kku.ac.th/biochem/index.php/th/download-resource/60-2018-06-15-07-10-56]
  5. [Hall of Fame, https://sc.kku.ac.th/sciweb/hall-of-fame.php?id=1&idt=1 ,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]
  6. [ศิษย์เก่าดีเด่นประเภทวิชาการ/วิจัย, https://gralumni.mahidol.ac.th/distinguished-alumni2556-2560/,ประจำปี 2560]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจําปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒ เล่มที่ ๐๑๕/๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑ เล่มที่ ๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔