ดัชนีเอช

(เปลี่ยนทางจาก H-index)

ดัชนีเอช หรือ เอช-อินเดกซ์ (h-index) เป็นตัวชี้วัดของนักวิจัยของผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์โดยอ้างถึงปริมาณผลงานและผลกระทบที่เกิดขึ้นในรูปแบบการอ้างถึง ดัชนีเอชมักถูกเทียบถึงผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลหรือนักวิจัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะมีค่าดัชนีเอชที่สูงตาม[1]

ดัชนีเอช และการคำนวณค่าอ้างอิงจากจำนวนผลงานวิจัย และการอ้างถึงผลงานวิจัย

ดัชนีเอชคำนวณจากผลงานวิจัยที่มีการอ้างอิงถึงที่มีผลกระทบต่อผู้อื่นในเชิงผลงานวิจัย[2] และถูกนำมาใช้เทียบนักวิจัยในหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยเดียวกัน[3] ดัชนีเอชได้ถูกเสนอแนะให้ใช้เป็นตัวชี้วัดผลงานวิจัยในปี 2548 โดย จอร์จ อี. เฮิร์ช นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก เป็นดัชนีแทนที่การวัดปริมาณผลงานวิจัยเพียงอย่างเดียว[4] ในบางครั้งดัชนีถูกเรียกว่าดัชนีเฮิร์ช (Hirsch Index) หรือเลขเฮิร์ช (Hirsch Number)

การคำนวณ h-index คำนวณได้จาก ค่าใดๆ ของจำนวนผลงานวิจัยมีค่าไม่ต่ำกว่าจำนวนการอ้างถึงของทุกงานวิจัยนั้นๆ

ดัชนีเอชในประเทศไทย แก้

ในการขอตำแหน่งศาสตราจารย์ ตามประกาศหากผู้ต้องการยื่นขอมีค่าดัชนีเอชไม่ต่ำกว่า 18 สามารถใช้ประกอบการยื่นขอได้ในกรณีพิเศษ[5]

อ้างอิง แก้

  1. Bornmann, Lutz; Daniel, Hans-Dieter (July 2007). "What do we know about the h-index?". Journal of the American Society for Information Science and Technology. 58 (9): 1381–1385. doi:10.1002/asi.20609.
  2. Suzuki, Helder (2012). "Google Scholar Metrics for Publications". googlescholar.blogspot.com.br.
  3. Jones, T.; Huggett, S.; Kamalski, J. (2011). "Finding a Way Through the Scientific Literature: Indexes and Measures". World Neurosurgery. 76 (1–2): 36–38. doi:10.1016/j.wneu.2011.01.015. PMID 21839937.
  4. Hirsch, J. E. (15 November 2005). "An index to quantify an individual's scientific research output". PNAS. 102 (46): 16569–72. arXiv:physics/0508025. Bibcode:2005PNAS..10216569H. doi:10.1073/pnas.0507655102. PMC 1283832. PMID 16275915.
  5. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/147/T_0020.PDF ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง]