ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Ooooooòojkddff สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Ooooooòojkddff! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 16:16, 17 เมษายน 2560 (+07)ตอบกลับ

"ไม่มีเลือกตั้งใหม่" แก้

อยากทราบว่าคุณเป็นนักกฎหมาย หรือ กกต. หรือว่าไงครับ ถึงบัญญัติคำว่า "ไม่มีการเลือกตั้งใหม่" แปลว่าอะไร กฎหมายห้ามเลือกตั้งใหม่ก่อนสภาหมดวาระหรือไง หรือถ้าไม่มีความรู้จริงก็อยู่นิ่ง ๆ ไว้ครับ คนจะได้ไม่ตั้งคำถามถึงสติปัญญา Horus (พูดคุย) 14:12, 27 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

เพิ่มอ้างอิง แก้

เวลาเพิ่มเนื้อหาที่มีการอัปเดตอย่างรวดเร็ว และต้องการความแม่นยำอย่าวข่าวการเมือง เวลาลงข้อมูลอะไรก็ฝึกใส่แหล่งอ้างอิงให้เป็นนิสัยหน่อยครับ จะได้รู้ว่าข้อมูลไม่ได้เมค ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นจะต้องมาคอยเช็กข้อมูลตลอด Horus (พูดคุย) 16:43, 12 มกราคม 2566 (+07)ตอบกลับ

คาดว่า ลาออก แก้

เนื่องจากการคาดการณ์ โดยใช้เหตุผลต่างๆ มาประกอบ น่าจะยังไม่เพียงพอ ในการแก้ไขบทความนะครับ การไปร่วมเปิดตัวกับพรรคการเมืองใหม่ ยังไม่ได้หมายความว่าเขาจะลาออกจาก ส.ส. หรือลาออกจาก พรรคเก่าแล้ว ควรรอแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชุดเจนก่อน จะดีกว่านะครับ Pongsak ksm (คุย) 11:08, 3 มีนาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

โอเคครับ จะว่าไปแล้ว ผมเพิ่งมาสังเกตว่าข้อมูลของส.ส.ที่ไปเปิดตัวพรรคอื่นในเว็บของรัฐสภาค่อยๆหายไปเรื่อย อยากจะขอความเห็นว่า ถ้าสภาสิ้นสุดวาระแล้วไม่มีข่าวการลาออกอย่างเป็นทางการของส.ส.ที่ข้ามพรรค เราจะจัดการข้อมูลของส.ส.ส่วนนี้อย่างไรครับ
หมายเหตุ ตามรัฐธรรมนูญส.ส.ที่ย้ายพรรคโดยที่ดำรงสมาชิกภาพได้อยู่คือส.ส.ที่ถูกขับออกจากพรรคที่สังกัดเดิม หากส.ส.ลาออกจากตำแหน่ง หรือพรรคที่สังกัดเดิมจะต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพทันที Ooooooòojkddff (คุย) 21:02, 4 มีนาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

พรรคภูมิใจไทยชนะเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เมื่อไรครับ แก้

จะทำอะไรอ้างอิงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ด้วยครับ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2562 ไม่ใช่อยากใส่อะไรก็ใส่ การกำหนดพรรคใดได้ที่นั่งจากพรรคใด เขตใดเลือกตั้งใหม่ ต้องอ้างอิงจากปี พ.ศ. 2562 เขตใหม่ในปี พ.ศ. 2566 มันแค่ 3 เขต แต่คุณใส่เขตใหม่ 7 - 8 เขต มันเป็นไปได้ไหม ส่วนพรรคที่เปนเจ้าของที่นั่งเดิมก็ต้องได้จำนวนเท่ากับ ที่นั่งที่ชนะ แต่ละพรรค ไม่ใช่กำหนดพรรคใดก็ได้ ทำตามด้วยครับ ไม่งั้นผมส่งเรื่องให้แบนเพราะก่อกวน นำข้อมูลผิดๆลงเผยแพร่ RKC Vakwai (คุย) 21:13, 8 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ ก่อนอื่น ต้องขอบคุณที่ชี้แจงในสิ่งที่คุณพบ ผมขอชี้แจงต่อประเด็นทั้งหมด ดังนี้ครับ
1. พรรคที่ได้นั่งก่อนการเลือกตั้งก่อนหน้าการเลือกตั้งปี 2566 ผมอ้างอิงจากทั้งการเลือกตั้งใหญ่ใน 2562 การเลือกตั้งซ่อมหลักสี่-จตุจักร 2565 และการย้ายสังกัดก่อนการยุบสภา ซึ่งที่พรรคภูมิใจไทยได้ที่นั่งในกทม. มีเหตุจากการที่ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ย้ายเข้าไปสังกัดหลังพรรคถูกยุบ ซึ่งพวกเราเองก็ไม่อยากเขียนไว้ในส่วนของพรรคที่เคยได้ที่นั่ง (แต่นี่เป็นความจริงที่หน้ากระอักกระอ่วน)
2. อย่างที่ผมเขียนไว้ในหน้าเนื้อหาว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนี้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งเขตเลือกตั้งเดิมบางเขตที่ถูกยุบ เขตเกิดใหม่ และการขีดกำหนดพื้นที่เลือกตั้งใหม่ที่ผิดแปลกไปจากการเลือกตั้งในครั้งก่อนเป็นอย่างมาก ทำให้มีเขตเลือกตั้งใหม่ที่เป็นเขตใหม่จริงๆเกินจำนวนที่นั่งที่เพิ่มขึ้นมาตามโควต้า หากพิจารณาอย่างละเอียด ตามที่ผมเขียนรายละเอียดในหน้าเพจแล้ว ผมเชิญคุณมาร่วมพิจารณาการคำนวนเปรียบเทียบการแบ่งเขตเลือกตั้งระหว่างปี 2562 และ 2566 ในหน้าการอภิปรายของเพจนี้แล้ว แต่ไม่มีความรับตอบจากคุณ และดูเหมือนคุณจะไม่สนใจคำอธิบายของผมเขียนในเพจด้วยซ้ำไป ทั้งๆที่คุณร่วมแก้ไขในส่วนที่ผมพิมพ์เนื้อหาลงไปด้วย นี่คือไฟล์ที่ผมใช้คำนวณนี่คือไฟล์ที่ผมใช้คำนวณเปรียบเทียบ เชิญร่วมตรวจสอบได้เลยครับ[1]
หากคุณได้รับข้อความนี้ ช่วยพิจารณาไฟล์ที่ผมส่งมาก่อนด้วย และผมยินดีพูดคุยต่อครับ
ขอบคุณ และขออภัยที่ต้องพูดตรงๆ ครับ Ooooooòojkddff (คุย) 10:34, 9 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ต่อความเห็นของคุณ ผมขอแยกออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ประเด็นพรรคที่เคยชนะเลือกตั้ง
ในใจลึกๆ ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูดไป แต่ในขณะเดียวกัน ผมเองก็เขียนระบุสถานการณ์ทั้งหมดเพจการเลือกตั้ง 2562 ไปแล้ว เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐาน ผมอยากสอบถาม editor คนอื่นๆที่มีส่วนในการแก้ไขเพจนี้ต่อประเด็นปัญหานี้ เพื่อรวบรวมความเห็นในชุมชนเพื่อหาทางออกในการสร้างบรรทัดฐานในการเขียนต่อไป คุณมีความเห็นด้วยต่อข้อเสนอนี้หรือไม่
ประเด็นที่ 2 ประเด็นการเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งระหว่างการเลือกตั้งปี 2562 และ2566
ในประเด็นนี้ ผมเข้าใจวิธีการคิดของคุณ แต่วิธีการคิดนี้ซับซ้อน และไม่สอดคล้องกับวิธีการแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผล ดังนี้
1. หลักการแบ่งเขตเลือกตั้ง ถึงแม้ว้าจะมีข้อบังคับให้รักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของพื้นที่เขตการปกครอง แต่การแบ่งเขตเลือกตั้งจะต้องทำให้จำนวนประชากรภายในเขตการเลือกตั้งให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด กล่าวคือจำนวนประชากรในเขตเลือกตั้งจะต้องสามารถคำนวณค่าความต่างกับจำนวนประชากรต่อเขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครโดยเฉลี่ยไม่ให้น้อยกว่า หรือมากกว่า 10% ดังนั้นการเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งระหว่างปี 2562 และ 2566 ต้องถือเอาจำนวนประชากรที่มีสัญชาติไทยเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ความเปลี่ยนแปลงในการแบ่งเขตเลือกตั้ง
ในเวลาเดียวกัน นักวิชาการอย่าง ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ ได้กล่าวถึงการแบ่งเลือกตั้งในลักษณะนี้ว่าเป็นความตั้งใจของกกต.ที่ต้องการแบ่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว เพราะพื้นที่เขตขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานครมีจำนวนประชากรเกินเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ ทำให้ต้องมีการแยกเขตออกเป็นแขวง
2. หลักการพิจารณาที่คุณใช้มีความไม่เป็นเอกภาพ และไม่สมเหตุสมผลกล่าวคือ
2.1 การใช้หลักเกณฑ์มีความไม่เสมอภาคกัน กล่าวคือ ในการให้เหตุผลต่อเขตที่มีความเห็นต่างจากผมในบางเขตเลือกตั้ง มีเน้นการใช้ปัจจัยด้านใดด้านหนึ่งโดยละเลยอีกปัจจัยหนึ่ง เช่น กรณีเขตบางแคที่ไม่ใช้ปัจจัยในแง่ขนาดพื้นที่ แต่กลับเน้นปัจจัยตัวบุคคลมากกว่า ทั้งๆที่ พื้นที่เขตบางแคซีกบน (เขตที่ 29) มีพื้นที่มากกว่าเขตบางแคซีกล่าง (เขตที่ 30) ซึ่งสมควรให้เขตบางแคซีกบนเป็นเขตเลือกตั้งที่มีความเชื่อมโยงกับเขตเลือกตั้งบางแคในการเลือกตั้งปี 2562
2.2 การพิจารณาในปัจจัยพื้นที่โดยภาพรวมมากเกินไป โดยไม่ให้ความสำคัญในแง่ของความต่อเนื่องของความเปลี่ยนแปลงของเขตเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถชี้แจงความเปลี่ยนแปลงของเขตเลือกตั้งได้แต่ในการวิเคราะห์ในรายละเอียดกลับใช้พื้นที่โดยรวม มากกว่าพื้นที่ที่เหลือจากเขตเดิม เช่น การพิจารณาเขตเลือกตั้งที่ 5 ของปี 2566 ซึ่งเขตดังกล่าวควรจะเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ใช้ขนาดพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ในการพิจารณาแทน โดยไม่ใช้การประกอบร่างงของเขตเลือกตั้งในการพิจารณา
2.3 การยึดการหลักเช่นนี้ทำให้มีความลำบากในการวางตำแหน่งพรรคเจ้าของที่นั่งเดิมในพื้นที่เขตเดิม เช่นกรณีเขตที่ 5 ของปี 2566 เมื่อคุณพิจารณาว่าวังทองหลางคือเขตอิทธิพลของพลังประชารัฐ ทำให้เกิดเก้าอี้ทับซ้อนเขตที่ 13 ซึ่งมีรากฐานของเขตเดิมร่วมกัน คือเขตลาดพร้าว วังทองหลาง หรือเขตที่ 8 ในปี 2562 (กรณีที่นั่งทับซ้อนมีมากกว่า 1 กรณี ยิ่งไปกว่านั้น หลักที่คุณใช้ยังทำให้เกิดความไขว้เขวในการพิจารณาพรรคเจ้าที่นั่งเดิม โดยจะเห็นได้จากการที่คุณแก้ไขพรรคเจ้าของพื้นที่ไปมาเพื่อครบจำนวนที่นั่งที่ชนะในการเลือกตั้งครั้งผ่านมา
2.4 การเปรียบเทียบโดยใช้ตัวบุคคลเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะในบางครั้งตัวบุคคลสามารถโยกไปลงเขตเลือกตั้งอื่นด้วยเหตุผลทางการเมืองต่างๆ เช่นเพื่อความได้เปรียบในคะแนนเสียงหรือขยายฐานคะแนนเสียงเป็นต้น เราสามารถเห็นได้จากกรณีคุณอนุสรณ์ ปั้นทอง ที่ต้องเลือกลงเขตเลือกตั้งที่มีแขวงอนุสาวรีย์ของเขตบางเขนเป็นเพราะฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยมีความแข็งแรงกว่าแขวงท่าแร้ง
3. ประเทศไทยเป็นประเทศที่ในการเมืองระดับชาติใช้ระบบพรรคการเมืองเป็นหลัก การใช้ตัวบุคคลในการพิจารณาพรรคเจ้าของพื้นที่ซึ่งหมายรวมเจ้าพื้นที่ในอดีตก่อนการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ยิ่งพอใช้หลักดังกล่าวในพิจารณาพรรคเจ้าของพื้นที่อย่างกรณีเขตเลือกตั้งที่ 18 ผมมองว่าไม่สมเหตุสมผลเป็นอย่างมาก
4. การใช้ประวัติเขตเลือกตั้งในครั้งนี้ก่อนปี 2562 สามารถใช้เพื่อช่วยเป็นreferences ในการวิเคราะห์ได้แต่ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นกรอบในการหาเจ้าของพื้นที่เดิมเพื่อเชื่อมโยง เพราะการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงควรทำเป็นครั้งต่อครั้ง
5. การยุบเขต และเพิ่มเขตอย่างไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในการแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเรื่องปกติ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ผมเคยมีความคิดอย่างที่คุณคิด แต่เมื่อผมเปลี่ยนมาใช้วิธีจำนวนประชากรเป็นเกณฑ์ จึงทำให้ผมพบความจริงในข้อนี้ ผมจะขอยกตัวอย่าง 3 กรณีประกอบซึ่งรวมถึงพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้
กรณีที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งปี 2562
เขตเลือกตั้งนี้เกิดใหม่โดยเป็นการรวมตัวของพื้นที่จากเขตเลือกตั้งต่างๆในปี 2557 เขตราชเทวีจากเขตเลือกตั้งที่ 5 เขตพญาไทจากเขตเลือกตั้งที่ 6 และแขวงจตุจักร กับแขวงจอมพลจากเขตเลือกตั้งที่9 มาประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ในเวลานั้น โดยมีพื้นฐานจากเขตเลือกตั้งที่ 4 และ 3 จากเขตเลือกตั้งในปี 2544-2548 และ 2549 ตามลำดับ แต่เมื่อเขตดังกล่าวกลับเป็นเขตเลือกตั้งโดยว่างเว้นจากการเป็นเขตเลือกตั้งมา 13 ปี จึงทำให้สถานะของเขตนี้คือเขตใหม่ ทว่าเขตดังกล่าวได้ถูกยุบในครั้งการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยพื้นที่ต่างๆถูกนำไปรวมกับเขตเลือกตั้งอื่นๆที่มีสัดส่วนพื้นที่เดิมคงเหลือสูงกว่า โดยเขตราชเทวีถูกนำมารวมกับเขตที่ 2 เขตพญาไทถูกนำรวมกับเขตเลือกตั้งที่ 6 และแขวงจตุจักรกับแขวงจอมพลถูกนำมารวมกับเขตที่ 8 นับได้ว่าเป็นกรณีสำคัญที่ชี้ขาดถึงเขตที่ยุบไป อันยังผลให้โควต้าเขตเลือกตั้งใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาโดยละเอียดโดยใช้จำนวนประชากรเป็นหลักเกณฑ์
กรณีที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 2 สมุทรปราการ นับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562
กรณีนี้เป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจของการยุบเพื่อตั้งเขตเลือกตั้งใหม่ การเลือกตั้งในปี 2557 การแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ ดังนี้
เขตที่ 1: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลบางโปรงตำบลบางด้วน ตำบลปากน้ำ ตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ และตำบลแพรกษาใหม่) เขตที่ 2: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลสำโรงเหนือ ตำบลเทพารักษ์ และตำบลแพรกษา) เขตที่ 3: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลบางเมืองใหม่ ตำบลบางเมือง และตำบลท้ายบ้านใหม่)
ทว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งในปี 2562 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น โดยเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการเปลี่ยนไปเป็นเป็นดังนี้
เขตที่ 1: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลบางโปรง ตำบลบางด้วน ตำบลปากน้ำ ตำบลท้ายบ้าน และตำบลบางเมือง) เขตที่ 2: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลท้ายบ้านใหม่ ตำบลแพรกษา ตำบลแพรกษาใหม่ ตำบลบางปูใหม่ และตำบลบางปู) เขตที่ 3: อำเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตำบลบางเมืองใหม่ ตำบลเทพารักษ์ และตำบลสำโรงเหนือ)
เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ของจำนวนประชากร จะพบว่าพื้นที่ต่างๆเขตเลือกตั้งที่ 3 ในปี 2557 ถูกกระจายไปอยู่ในเขตต่างๆ ในปี 2562 รวมถึงเขตเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการรวมตัวของตำบลแพรกษาใหม่และบางปูใหม่จากเขตที่ 1 ตำบลแพรกษาจากเขตที่ 2 ตำบลท้ายบ้านใหม่จากเขตที่ 3 และตำบลบางปูจากเขตที่ 5 ของปี 2557 ดังนั้น เขตที่ 3 ของปี 2557 ถูกแยกกระจาย และถึงแม้ว่าเขตที่ 2 ของปี 2562 จะมีตำบลท้ายบ้านใหม่ของเขตที่ 3 เดิม แต่มีสัดส่วนพื้นที่เดิมคงเหลือน้อยเมื่อเทียบกับตำบลอื่นๆ ดังนั้นเขตเลือกตั้งที่ 2 สมุทรปราการในปี 2562 จึงกลายเป็นเขตใหม่ และยังถูกใช้เป็นเขตเลือกตั้งถึงปัจจุบัน
กรณีที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 7 และ 8 นนทบุรี ของการเลือกตั้งปี 2566
ความเปลี่ยนแปลงของเขตเลือกตั้งที่ผิดรูปจากเดิมมาอีกตัวอย่างหนึ่งกรณีเขตเลือกตั้งเหล่านี้ ก่อนหน้านี้ ในเขตอำเภอไทรน้อย และอำเภอบางบัวทองถูกจัดพื้นที่เป็นเขตที่ 5 และ 6 ตามลำดับ แต่เมื่อมีการปรับเพิ่มเขตเลือกตั้งเป็น 8 ทำให้ต้องแบ่งเขตเลือกตั้งอีกครั้ง ในชั้นต้นผมคาดหวังจะมีการแบ่งเขตโดยมีฐานจากเขตเดิมให้ได้มากที่สุด ทว่าการแบ่งเขตที่ขึ้นชี้ให้เห็น แทบไม่เค้าโครงของเขตเดิม และการเป็นการนำพื้นเขตเลือกตั้งเดิมในส่วนต่างๆมายำเข้าด้วยกัน จนไปเหลือเค้าโครงเขตเดิมอยู่ต่อไป (สัดส่วนพื้นที่คงเหลือเดิมต่ำกว่า ร้อยละ 50) ทำให้เกิดเขตเลือกตั้งใหม่มากถึง 4 เขตในการเลือกตั้งในครั้งนี้
กรณีศึกษาทั้งหมดผ่านการคำนวณพิจารณาทั้งสิ้น จนผมได้ข้อเสนอเหมือย่างที่ว่าข้างต้น
6. การแบ่งเขตที่มักเกิดกรณีข้อ 5 เป็นเพราะกกต.แบ่งเขตโดยแบ่งเรียงไล่ตั้งแต่อำเภอตัวเมืองแล้วไล่ไปเรื่อยๆ จนทำให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นเสมอ จนบางครั้งก็เหตุเขตเลื่อนในบางครั้ง เขตเลื่อนหมายถึงเขตเลือกตั้งที่ยังคงรักษาจำนวนประชากรในพื้นที่คงเหลือเดิมไว้อย่างเห็นได้ชัดแต่มีการเพิ่มพื้นที่ใหม่ จนทำให้เห็นลักษณะพื้นที่มีการขยับเขยื้อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนไม่สามารถมองว่าเป็นเขตเดิมได้ด้วยตาเปล่า
ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่ดีที่สุดคือการใช้จำนวนประชากรอันเป็นเกณฑ์ที่สอดคล้องกับหลักการแบ่งตามรัฐธรรมนูญทุกประการ และช่วยให้ภาพการเกิดขึ้นของเขตเลือกตั้งได้ดีที่สุด
สำหรับกรณีรายเขตเลือกตั้ง คุณอย่างให้ผมชี้แจงเขตไหนเป็นพิเศษบอกได้เลยครับ Ooooooòojkddff (คุย) 18:21, 12 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
เวลาพิมพ์โต้ตอบ ช่วยกดตอบกลับเพื่อตอบกลับด้วยครับ Ooooooòojkddff (คุย) 18:24, 12 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ผมขอแย้งครับว่า สส.เจ้าของพื้นที่ต้องเป็นตัวหลักในการพิจารณาด้วยครับ ไม่งั้นจะขัดแย้งจากความเป็นจริง ถ้าบอกว่าเขตเลือกตั้งนี้พรรคเจ้าของพื้นที่เป็นพรรคหนึ่ง สส.พรรคนั้นไม่ลงสมัคร ไปลงสมัครเขตเลือกตั้งอีกเขตหนึ่ง อ้าว! แล้วเขตการเลือกตั้งนั้นพรรคนั้นเป็นเจ้าของพื้นที่จริงหรือครับ เรื่องกลยุทธการชนะผมไม่มองตรงนั้น เพราะ ถ้าพรรคจะส่งลงเขตเลือกตั้งนี้แสดงว่า เขตเลือกตั้งนั้นต้องมีพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงของ สส. อยู่ครับ เมื่อพิจารณาร่วมกับลักษณะพื้นที่ มันบอกได้ดีกว่า วัดแต่สัดส่วนประชากรต่อเขตนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ตัวอย่างง่ายๆ ครับ เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ข่าวที่ใดก็บอกรักษาที่นั่ง แต่พี่บอกอันนี้ไม่ใช่ มันเขตเลือกตั้งใหม่ มันขัดแย้งความจริงไหมครับ ถ้าบอกเขตนี้ เขตเลือกตั้งใหม่ อย่างนี้เขต ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ก็ต้องเขตเลือกตั้งใหม่สิ เพราะมันไม่เหมือนเดิม บางขุนเทียน เหลือแขวงเดียว แต่พี่บอกไม่ใช่ คนนี้รักษาที่นั่งได้ เห็นไหมครับมันไม่ตรงกับความจริง ตัวอย่างอีกอัน คุณบอกเขตเลือกตั้งที่ 32 เพื่อไทย เจ้าของพื้นที่เดิม ทั้งที่แขวงจากหลายๆ เขตมารวมกัน มันไม่ใช่มันแทบไม่ตรงกับของปี 2562 เลย และเขตแบบนี้ถ้าใช้ common sense มันดูออกว่า นี้ไม่ใช่การแบ่งเขตที่เหมือนกับเขตที่ผ่านมา เพราะ ไม่เคยมีการรวมหลายๆแขวง จากคนละเขตมาอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียว ดูอย่างไรก็ชี้ชัดว่านี้ละเขตเลือกตั้งใหม่ที่ กกต. เพิ่ม การใช้เครื่องมือวัดเพียงตัวเดียวและชี้เลย ผมว่าไม่ถูกต้อง ความคลาดเคลื่อนสูงมาก แต่ถ้าใช้หลายเครื่องมือร่วมกันตีความ ร่วมกันวัด มันลดความคลาดเคลื่อนให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้นครับ ที่ผมแก้ล่าสุด เพราะ ดูแล้วมันขัดแย้งกับ สส. เจ้าของพื้นที่เดิมละครับ มันไม่ตรงกับความจริง ภาดา วรกานนท์ ใครๆก็ทราบว่า มาในฐานะแชมป์เก่า เจ้าของพื้นที่เดิม RKC Vakwai (คุย) 22:46, 12 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
ขออภัยที่มาตอบช้าครับ
ต่อข้อโต้แย้งนี้ ผมขอตอบดังนี้ครับ
การที่ผมใช้ประชากรเป็นเกณฑ์หลักในเปรียบเทียบเพราะว่าการใช้จำนวนประชากรในพื้นที่เพื่อไม่ให้ถือเอาเจ้าที่นั่งเดิม มีความยึดโยงกับตัวบุคคลมากเกินไป ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเมื่อมีการใช้เกณฑ์ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียวในการพิจารณาโดยผู้แก้ไขบางคน(ไม่มีบัญชีวิกิ) เราจะพบว่าในบางครั้งมีเจ้าของพื้นที่เดิมข้ามไปลงรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งอื่น ซึ่งในเขตเลือกตั้งนั้นมีสัดส่วนพื้นที่คงเหลือจากเขตเดิมต่ำกว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์จึงกลายเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยทำความเข้าใจถึงการข้ามไปลงเขตอื่นของเจ้าของพื้นที่เดิม ยกตัวอย่างเช่น กรณี ศรัษณวุฒิ ศรัษณเกตุ ที่เลือกจะลงสมัครในเขตที่ 3 ทั้งที่มีพื้นที่เดิมเพียงแค่อำเภอพิชัย (ยกเว้นตำบลนาอิน และตำบลนางยาง) ซึ่งมีสัดส่วนพื้นที่เดิมไม่ถึง 40% ในขณะที่ส่งลูกสาวของตนลงพื้นที่เดิมเหลืออยู่ในเขตที่ 2 ดังนั้นเพื่อรักษาความเป็นกลางในการพิจารณาที่นั่งเดิม จึงควรยึดสัดส่วนประชากรในพื้นที่เดิมเป็นหลัก เพื่อมิให้ถูกปัจจัยทางการเมืองบิดพริ้วตามความแปรผันทางการเมืองผ่านตัวบุคคล เพราะบางครั้งตัวบุคคลก็กล้าลงในพื้นที่ที่แทบจะไม่เคยมีฐานเสียงเดิมของตัวเองเลย การที่คุณพูดว่ากลยุทธ์หรือปัจจัยในการตัดสินใจของนักการเมืองไม่ใช่สิ่งสำคัญแต่คุณกลับกล่าวอ้างเป็นเหตุผลในการอธิบายเขตเลือกตั้งเดิมผ่านตัวบุคคลจึงดูย้อนแย้ง
สำหรับในเคสย่อยที่คุณเห็นแย้ง ผมขอตอบดังนี้
กรณีของเขตคุณณัฐชาถือว่าเป็นเขตเดิม ต่อให้จำนวนแขวงในการเขตเลือกตั้งเดิมจะเหลือแขวงเดียวแต่จำนวนประชากรคงเหลือในเขตเลือกตั้งมีสัดส่วนเกิน 50% (ประชากรคงเหลือในพื้นที่มีประมาณ 120,000 คน) จึงถึงว่าเป็นเขตเดิม
ในขณะที่กรณีเขตเดิมของภาดาท์ ซึ่งหากยึดเขตพญาไทเป็นเขตหลัก จะการพิจารณาเขตหลักเขตอื่นๆจะเพียนไปด้วย เขตดินแดงซึ่งประชากรมากกว่ากลับไม่ใช่เขตหลัก จะทำให้เขตหลักกลายเป็นประชากรน้อยกว่าแทนถ้าหากยึดเขตพญาไทเป็นเขตหลักของเขต 6 เขตห้วยขวางจะกลายเป็นเขตหลักของเขตที่ 5 ทั้งๆที่มีประชากรน้อยกว่าเขตดินแดงซึ่งพึงต้องเป็นเขตหลัก ในกรณีนี้ หากยึดเอาเขตที่มีประชากรมากกว่าเป็นเขตหลักจะพบว่าภาดาท์จำเป็นต้องลงในเขตนี้ต่อให้จะเหลือพื้นที่เดิมพญาไทซึ่งมีประชากรน้อยกว่าดินแดง
ในเวลาเดียวกัน มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่ว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนี้มีความพยายามที่จะทำมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับเขตเลือกตั้งในปี 2554-57 เท่าที่จะเป็นไปได้ ทว่าระหว่างปี 57-66 เขตเลือกตั้งมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างไม่อยู่ยั้ง จนทำให้เราต้องพิจารณาในกรณีของเขตที่ 24 และ32 ต่อไป
หากไล่พิจารณาในเขตนี้ เราจะต้องเริ่มกล่าวเขตที่ 24 และเขตที่ 31 ของปี 54-57 ได้ เขตเหล่านี้ได้กลายเป็น เขตที่ 22 และ 29 ตามลำดับ โดยในเขตเลือกตั้งภาษีเจริญ (29) มีการปรับพื้นที่โดยนำเขตบางกอกใหญ่ให้แก่เขตเลือกตั้งคลองสาน-ธนบุรี (22) ซึ่งถูกแบ่งแขวงในเขตธนบุรีออกไป อนึ่งนี่เป็นครั้งที่เกิดเขตเลื่อนครั้งแรก เมื่อมีการแบ่งเขตใหม่ในครั้งนี้ เขตเลือกตั้งภาษีเจริญ ถูกแยกออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ แขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวางของเขตภาษีเจริญ อยู่ในเขตที่ 30 ส่วนที่ 2 คือแขวงคลองชักพระ แขวงบางพรม และแขวงบางระมาดอยู่ในเขตที่ 31 และ ส่วนที่ 3 แขวงปากคลองภาษีเจริญ แขวงคูหาสวรรค์ แขวงบางจาก และแขวงคลองขวางของเขตภาษีเจริญ ประกอบกับแขวงบางเชือกหนังของเขตตลิ่งชันอยู่ในเขตที่ 32 ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีสัดส่วนพื้นที่เดิมคือ 42.65, 24.21, 33.14 ตามลำดับ ทั้งหมดต่ำกว่าครึ่งหนึ่งทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันเขตของเท่าพิภพเดิมถูกแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนคลองสานกับตลาดพลู (เขต 24) กับบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี 3 แขวง ซึ่งมีสัดส่วนพื้นที่เดิม 43.74 และ56.26 ตามลำดับ กลับ กลายเป็นว่าพื้นที่ที่เหลือเดิมของเท่าพิภพ ณ ปัจจุบัน มีอยู่เพียงไม่ถึงครึ่งในขณะที่พื้นที่โซนบางกอกใหญ่กลายเป็นพื้นที่เดิมที่มีสัดส่วนมากกว่าอันทำให้พื้นที่เขตเลือกตั้งถูกเลื่อน แต่ตัวเท่าพิภพเองเลือกที่จะลงเขตคลองสานเพราะมีความได้เปรียบในแง่ของคะแนนเสียงและทีมงานที่ใกล้ชิดพื้นที่มากกว่า
เมื่อมาพิจารณากับพื้นที่ในเขตเลือกตั้งรูปแบบใหม่จะพบว่าในเขตเลือกตั้งที่ 30 จำนวนประชากรในพื้นที่ 3 แขวงในซีกตะวันตกของเขตภาษีเจริญกลายเป็นสัดส่วนน้อย เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรในพื้นที่ของเขตบางแคซีกล่าง ในขณะที่พื้นที่เขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี 3 แขวงยังคงเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนประชากรในพื้นที่มากเมื่อผ่านการคำนวณแล้ว ต่อให้เขตเลือกตั้งดังกล่าวจะมีความแปลกประหลาดตรงที่เกิดจากการรวมตัวของ 11 แขวงจาก 5 เขตการปกครอง อนึ่ง เกณฑ์ที่ผมในการระบุว่าเป็นเขตใหม่อยู่ในเกณฑ์ที่ว่าการรวมตัวของจำนวนประชากรส่วนน้อยที่ถูกนำออกจากเขตเดิม
การที่คุณกล่าวไว้การกำหนดเขตของผมไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ผมคิดว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละครั้งก็มีความพยายามที่จะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่บ้างแล้ว สำหรับกรณีของกรุงเทพมหานครที่จำนวนประชากรมีความผันแปรได้ตลอดเวลาในแต่ละเขตการปกครองจึงเป็นหนึ่งในจังหวัดที่เป็นกรณียกเว้น การแบ่งเขตเลือกตั้งจึงออกมาไม่เหมือนกันในแต่ละครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นเขตเลือกตั้งบางเขตเกิดขึ้นแล้วก็ถูกยุบไปได้ตลอดเวลา
กล่าวสรุป ผมคิดว่าเขต 5 ในปี 62 คือ เขต 6 ในปี 66 เขต 22 ในปี 62 คือเขต 32 ในปี 66 ส่วน เขต 24 และ30 คือเขตใหม่ เขต 6 ในปี 62 ถูกยุบ ส่วนเขตของคุณอนุสรณ์ ประเด็นพอจะอรุ่มอร่วยได้บ้าง แต่สัดส่วนประชากรในพื้นที่เขตของแขวงท่าแร้งมีมากกว่าของแขวงอนุสาวรีย์ คุณอนุสรณ์เลือกที่จะลงในเขตเลือกตั้งแขวงอนุสาวรีย์เพราะฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยในแขวงนี้แข็งกว่าแขวงท่าแร้ง
ท้ายที่สุด ตัวบุคคลย่อมมีความคิดอ่านของตนในการทำการเมือง หากใช้เกณฑ์ตัวบุคคลในการเทียบก็นับได้ว่าเป็นอคติในตัว เพราะตัวบุคคลนั้นล้วนเห็นข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของตนเองและยินดีที่จะเลือกพื้นที่ที่มีข้อได้เปรียบมากกว่าข้อเสียเปรียบ การเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งจึงควรดำเนินไปด้วยความเป็นกลางปราศจากอคติทางการเมืองที่แฝงในปัจจัยของตัวบุคคล Ooooooòojkddff (คุย) 13:28, 23 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
คุณมีข้อโต้แย้งอีกไหมครับ หากคุณไม่กล่าวอะไรเพิ่ม ผมถือว่ายอมรับในหลักการที่ผมเสนอนะครับ Ooooooòojkddff (คุย) 10:32, 30 มิถุนายน 2566 (+07)ตอบกลับ
สิ่งที่ผมเห็นต่างกับคุณมีตรงนี้
1. ผมไม่เห็นคำเชิญของคุณร่วมพิจารณาการคำนวนเปรียบเทียบการแบ่งเขตเลือกตั้งระหว่างปี 2562 และ 2566 ในหน้าการอภิปรายของเพจ เพราะ ผมสังเกตุจากสัญญาณเตือนที่เพจของผมมันไม่เด้งเตือน ถ้าส่งคำเชิญส่งที่ส่วนพูดคุยของเพจผมเลยครับ
2. ผมใช้การเปรียบเทียบเขตเลือกตั้งระหว่าง ปี 2562 และ 2566 จากพื้นที่ในเขตการเลือกตั้งที่ดูแลและลักษณะผู้สมัคร สส. ว่ามีผู้สมัคร สส. เจ้าของพื้นที่ที่เคยชนะเลือกตั้งในปีใดปีหนึ่งหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น ปี 2562 อาจย้อนไปปี 2554 หรือเก่ากว่านั้น แล้วเทียบกับพื้นที่ดูแลของอดีต สส. คนนั้นกับการเปลี่ยนผ่านพื้นที่ อดีต สส. ที่ชนะการเลือกตั้งใกล้เคียงกับพื้นที่ดูแลของ ว่าที่ สส. ปัจจุบันคนใดมากที่สุด ก็ยกให้เป็นพรรคเจ้าของพื้นที่เดิมครับ
3. ส่งผลให้ พรรคที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ไม่มีทางที่จะเป็นพรรคเจ้าของพื้นที่เดิม ฉะนั้น พรรคภูมิใจไทย ตัดไปได้เลย อย่าให้เห็นชื่อพรรคนี้อีก
4. เขตเลือกตั้งที่ผมเห็นต่างจากคุณดังนี้
4.1) เขตเลือกตั้งที่ 5 เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์) ซึ่งลักษณะพื้นที่ไปตรงเขตเลือกตั้งที่ 7 ในการเลือกตั้งปี 2554 ตาม link :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2554 ซึ่งพรรคเจ้าของพื้นที่ พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งปี 2562 ได้แยกเขตวังทองหลางไปรวมกับ เขตลาดพร้าว ในเขตเลือกตั้งที่ 8 ส่วนเขตห้วยขวางไปรวมกับ เขตดินแดง ในเขตเลือกตั้งที่ 5 แล้วการเลือกตั้งปี 2566 จึงนำเขตห้วยขวาง รวมกับ เขตวังทองหลางอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของพื้นที่ เขตเลือกตั้งที่ 8 คือ พรรคพลังประชารัฐ ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 5 คือ พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้มาจาก พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งคู่ ยังตัดสินจากเส้นทางพรรคเจ้าของพื้นที่ไม่ได้จากเส้นทางการเปลี่ยนแปลงพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง จึงมาตัดสินจากพื้นที่ของเขตเลือกตั้งที่ 1 ปี 2566 ว่าพรรคใดควรเป็นเจ้าของพื้นที่ เขตห้วยขวาง มีพื้นที่ดูแล 15.033 ตร.กม. ส่วน เขตวังทองหลาง มีพื้นที่ดูแล 19.265 ตร.กม. เมื่อหักจากแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ที่ยกเว้น ทำให้เขตวังทองหลาง เหลือพื้นที่ดูแล 15.2 ตร.กม. เขตวังทองหลางมีอิทธิพลมากกว่าในพื้นที่ดูแล จึงให้ พรรคพลังประชารัฐ เป็นเจ้าของพื้นที่เดิมในเขตเลือกตั้งที่ 5
4.2) เขตเลือกตั้งที่ 8 เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม) เขตหลักสี่ (เฉพาะแขวงทุ่งสองห้อง) เขตนี้ต้องยึดเขตจตุจักรเป็นหลัก เพราะตัดไปแค่ 2 แขวง ในขณะที่เขตหลักสี่มีแค่แขวงเดียวจึงไม่มีอิทธิพลในพื้นที่มากนัก เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง ปี 2562 คือ เขตเลือกตั้งที่ 9 ที่พรรคพลังประชารัฐเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม แม้มีเลือกตั้งซ่อมในเขตนี้ แล้วคนในพรรคเพื่อไทยเป็นแทน แต่แทนในนาม สส. พลังประชารัฐ ในช่วงอายุที่เหลือ จึงยึดพรรคพลังประชารัฐเป็นหลักในการเป็นตัวแทนเจ้าของพื้นที่เดิม
4.3) เขตเลือกตั้งที่ 12 เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน) เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง) และเขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว) เขตนี้พื้นที่มากที่สุดคือ เขตบางเขน ในแขวงท่าแร้ง ซึ่งมีพื้นที่ถึง 23.717 ตร.กม. รองลงมาคือ แขวงออเงิน ของสายไหม และแขวงจระเข้บัว ของลาดพร้าวตามลำดับ แต่พรรคเจ้าของพื้นที่เดิมอย่าง อนุสรณ์ ปั้นทอง จากพรรคเพื่อไทยไปอยู่เขตเลือกตั้งที่ 9 พร้อมกับสังเกตุลักษณะผู้สมัคร สส. ที่ไม่มี สส. เจ้าของพื้นที่เดิมเลย จึงตีความได้ว่า เขตเลือกตั้งที่ 12 เป็นเขตเลือกตั้งใหม่ที่ทาง กกต. เพิ่มขึ้นมา
4.4) เขตเลือกตั้งที่ 18 เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงลำต้อยติ่ง แขวงลำผักชี และแขวงโคกแฝด) เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว) และเขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) โดยเขตหนองจอก มีพื้นที่ในเขตเลือกตั้งมากที่สุด คือ 80.671 ตร.กม. รองลงมาคือ แขวงแสนแสบจากมีนบุรีที่ 35.186 ตร.กม. และแขวงลำปลาทิวจากลาดกระบัง อยู่ที่ 33.752 ตร.กม. โดยเจ้าของพื้นที่ที่มาสมัครในเขตเลือกตั้งนี้คือ ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยได้รับการเลือกตั้งใน เขตหนองจอก ในเลือกตั้ง ปี 2554 มาก่อน จึงยึดพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคเจ้าถิ่นเดิมในเขตเลือกตั้งนี้
4.5) เขตเลือกตั้งที่ 21 เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง) และเขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน) โดยเขตประเวศมีพื้นที่ 52.490 ตร.กม. หักแขวงหนองบอนที่ยกเว้น ทำให้เขตประเวศเหลือพื้นที่ 37.977 ตร.กม. ในขณะที่ แขวงทับช้าง จากเขตสะพานสูงมีพื้นที่ 10.968 ตร.กม. ทำให้ต้องอ้างพรรคการเมืองเจ้าถิ่นที่อยู่เขตประเวศที่มีการยกเว้นแขวงเหมือนกัน คือ เขตการเลือกตั้งที่ 20 ในการเลือกตั้ง ปี 2562 ดังนั้น พรรคก้าวไกล ที่สมัยพ.ศ. 2562 เป็นพรรคอนาคตใหม่เป็นเจ้าของพื้นที่ตามอิทธิพลพื้นที่ของเขตประเวศจากขนาดพื้นที่
4.6) เขตเลือกตั้งที่ 22 เขตสวนหลวงและเขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน) โดยเขตสวนหลวงมีพื้นที่ 23.678 ตร.กม. ซึ่งมากกว่าแขวงหนองบอน ของเขตประเวศ มีพื้นที่เพียง 14.513 ตร.กม. เลลยต้องอิงกับพรรคการเมืองเจ้าของพื้นที่เดิมของเขตสวนหลวง ซึ่งก็คือ พรรคก้าวไกล ที่ตอนนั้นเป็นพรรคอนาคตใหม่
4.7) เขตเลือกตั้งที่ 24 เขตคลองสาน เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ) และเขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก) มีลักษณะคล้ายกับเขตเลือกตั้งที่ 22 ในการเลือกตั้ง ปี 2562 แถมมี สส. เจ้าของพื้นที่เดิมอย่าง เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร จากพรรคก้าวไกลสมัครอยู่ จึงตีความได้ว่า พรรคเจ้าของพื้นที่เดิมคือ พรรคก้าวไกล ในรูปของพรรคอนาคตใหม่ ปี 2562
4.8) เขตเลือกตั้งที่ 29 เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองค้างพลู) และเขตบางแค (เฉพาะแขวงบางไผ่และแขวงบางแคเหนือ) อันนี้ต้องพิจารณาเขตเลือกตั้งที่ 30 ควบคู่ ซึ่งเขตเลือกตั้งที่ 30 มีเจ้าของพื้นที่เดิมอย่าง สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา จากพรรคเพื่อไทยลงสมัครเขตนี้ ในขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 29 ไม่มีผู้สมัคร สส. ที่เป็นเจ้าของพื้นที่เดิมลงสมัครในเขตการเลือกตั้งนี้เลย จึงตีความได้ว่า เขตเลือกตั้งที่ 29 เป็นเขตเลือกตั้งใหม่ที่ทาง กกต. เพิ่มขึ้นมา
4.9) เขตเลือกตั้งที่ 30 เขตบางแค (เฉพาะแขวงหลักสองและแขวงบางแค) และเขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง) จากข้อที่ 4.8) ที่มี อดีต สส. เจ้าของพื้นที่ปี 2562 ลง จึงทำให้เขตการเลือกตั้งที่ 30 เจ้าของพื้นที่เดิมคือ พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เขตใหม่ที่ กกต. ทำขึ้น
4.10) เขตเลือกตั้งที่ 32 เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ) เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง) เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง) และเขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช) ลักษณะเหมือนเขตเลือกตั้งที่ 12 เอาหลายแขวงในแต่ละเขตมารวมกัน ลักษณะการรวมแบบนี้ไม่เคยมีเขตเลือกตั้งใดมีมาก่อน จึงตีความได้ว่า เขตเลือกตั้งที่ 32 เป็นเขตเลือกตั้งใหม่ที่ทาง กกต. เพิ่มขึ้นมา
นี้คือความคิดเห็นที่ผมคิดต่าง ถ้าเห็นแย้งตรงที่ใด บอกได้เลยครับ และที่ผมกำหนดมามันลงกับจำนวน สส. ในปี 2562 ในแต่ละพรรคด้วยครับ เชิญนับได้เลย
RKC Vakwai (คุย) 3:22, 10 มิถุนายน 2566 (+07)

ก่อนจะแก้พรรคเจ้าของที่นั่งเดิมเป็นของพรรคภูมิใจไทย บอกความแตกต่างของ ภาดา วรกานนท์, จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ และ ร้อยตำรวจตรี มณฑล โพธิ์คาย ให้ได้ก่อน แก้

ทำไมคุณถึงตัดสิน 3 กรณีนี้ต่างกันครับ นี้ยังไม่รวมกับของ เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และ ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ต่างกันอีก ตอบตรงนี้ให้ก่อน แล้วถึงค่อยเปลี่ยน เพราะหลักพื้นที่คุณมันขัดแย้งกันเอง ถ้าจะเอาหลักการพรรคล่าสุดที่ สส.เจ้าของพื้นที่ สังกัดก่อนเลือกตั้ง มันควรต้องแบบนี้ในกล่องสรุปที่นั่งเลือกตั้ง

กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
 
← พ.ศ. 2562 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[1] ครั้งต่อไป →

33 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ลงทะเบียน4,461,071
ผู้ใช้สิทธิ73.89% (  1.38 pp)
  First party Second party Third party
 
พรรค ก้าวไกล เพื่อไทย รวมไทยสร้างชาติ
เลือกตั้งล่าสุด 9[b] 9 0
ที่นั่งก่อนหน้า 4[c] 10[d] 3[a]
ที่นั่งที่ชนะ 32 1 0
ที่นั่งเปลี่ยน   23   8 -
คะแนนเสียง 1,397,554 639,998 513,416
% 44.14 20.21 16.21

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
พรรค ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ชาติไทยพัฒนา
เลือกตั้งล่าสุด 0 12 0
ที่นั่งก่อนหน้า 8[f] 3[g] 1[e]
ที่นั่งที่ชนะ 0 0
ที่นั่งเปลี่ยน     12  
คะแนนเสียง 77,532 82,895 10,039
% 2.45 2.62 0.23

 
ผลการเลือกตั้งตามเขตเลือกตั้ง
  •   พรรคก้าวไกล
  •   พรรคเพื่อไทย

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รวมไทยสร้างชาติ[h]

นายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง

ยังไม่ประกาศ

อธิบายถ้านับตามเกณฑ์ พรรคล่าสุดที่ สส.เจ้าของที่นั่งเดิม สังกัดก่อนการเลือกตั้ง

พรรคก้าวไกล เหลือ 4 ที่นั่ง ไม่ใช่แค่ ร้อยตำรวจตรี มณฑล โพธิ์คาย เขตที่ 22 โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี เขตที่ 26 ที่คุณท่องเป็นนกแก้ว นกขุนทอง ยังมี สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ย้ายไปพรรคเพื่อไทย และทศพร ทองศิริ ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติด้วย

พรรคเพื่อไทย มี 10 ที่นั่งเหมือนกับคุณ ไม่ใช่แค่ สุรชาติ เทียนทอง ชนะเลือกตั้งซ่อม แต่ สส.นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ และ การุณ โหสกุล ได้ย้ายออกไปอยู่พรรคไทยสร้างไทย และประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ย้ายไปพรรคภูมิใจไทยด้วย (ทราบหรือเปล่าครับ) แต่ได้ กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ จากพรรคพลังประชารัฐ และ จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ จากพรรคอนาคตใหม่ ย้ายเข้ามา

พรรคพลังประชารัฐ มีแค่ 3 ที่นั่ง แทบเป็นพรรคมีแต่ สส.เจ้าของที่นั่งเดิมย้ายออก กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ไปพรรคเพื่อไทย พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์, กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา, ภาดาท์ วรกานนท์, กษิดิ์เดช ชุติมันต์ และ จักรพันธ์ พรนิมิตร ไปพรรคภูมิใจไทย, ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ โดนศาลสั่งจำคุก 1 ปี ข้อหาเสียบบัตรแทนกัน https://thestandard.co/supreme-court-of-politicians-thanikan-pornpongsarot-judge/ และไม่ได้เลือกตั้งซ่อม, สิระ เจนจาคะ อันคุณคงทราบ เพราะ รู้เรื่องเลือกตั้งซ่อม และฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์, ประสิทธิ์ มะหะหมัด ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ นอกจากนี้ไม่มี สส.เจ้าของที่นั่งเดิมจากพรรคอื่นย้ายเข้ามาเลย

พรรครวมไทยสร้างชาติ มี 3 ที่นั่ง จาก ทศพร ทองศิริ จากพรรคอนาคตใหม่ ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ และ ประสิทธิ์ มะหะหมัด จากพรรคพลังประชารัฐ ย้ายเข้ามา

พรรคชาติไทยพัฒนา มี 1 ที่นั่ง จาก สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ จากพรรคอนาคตใหม่ (ทราบหรือเปล่าครับ)

พรรคภูมิใจไทย มี 8 ที่นั่ง จาก ร้อยตำรวจตรี มณฑล โพธิ์คาย และ โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี จากพรรคอนาคตใหม่ (อันนี้คุณทราบ), ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ จากพรรคเพื่อไทย, พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์, กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา, ภาดาท์ วรกานนท์, กษิดิ์เดช ชุติมันต์ และ จักรพันธ์ พรนิมิตร จากพรรคพลังประชารัฐ ย้ายเข้ามา

คุณว่าวุ่นวายไหมครับ แก้ข้อมูลกันเป็นมือเป็นประวิง ฉะนั้นยึดตามคุณ NorthernTH พูดเนี่ยตรงกับความเป็นจริง และไม่ต้องแก้ข้อมูลเยอะแล้วครับ อย่าลืมปีพ.ศ. 2566 ไม่ใช่ปีแรกที่มีการย้ายพรรค จะแก้ต้องแก้ถึง พ.ศ.2518 โน่น ปีแรกที่มีการเลือกตั้ง สส. ในกรุงเทพฯ RKC Vakwai (คุย) 19:35, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

ผมว่าผมทำตามหลักการของคุณ@NorthernTH แล้วนะครับ แต่คุณดูเหมือนจะไม่อ่านอย่างละเอียด เอาเป็นว่าผมไล่ลำดับก็แล้วกันครับ
เขต 1 : คุณกานต์กนิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 1/66)
เขต 2 : คุณพัชรินทร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 2/66)
เขต 3 : คุณวรรณวรี ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 3/66)
เขต 4 : คุณกรณิศ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 4/66)
เขต 5 : คุณประเดิมชัย ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 6/66)
เขต 6 : คุณภาดาท์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขตถูกยุบ /66)
เขต 7 : คุณธณิกานต์ ถูกศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 7/66)
เขต 8 : คุณกษิดิ์เดช ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 13/66)
เขต 9 : คุณสิระ ถูกศาลตัดสิทธิ์ทางการเมือง คุณสุรชาติได้รับเลือกตั้งซ่อม อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 8/66)
เขต 10 : คุณการุณ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 10/66)
เขต 11 : คุณอนุดิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 11/66)
เขต 12 : คุณอนุสรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 9 หรือ 12/66)
เขต 13 : คุณฐิติภัสร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 14/66)
เขต 14 : คุณพลภูมิ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 15/66)
เขต 15 : คุณชาญวิทย์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 19/66)
เขต 16 : คุณจิรายุ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 16/66)
เขต 17 : คุณศิริพงษ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 17/66)
เขต 18 : คุณธีรรัตน์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 20/66)
เขต 19 : คุณประสิทธิ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 21/66)
เขต 20 : คุณมณฑล ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 22/66)
เขต 21 : คุณสมเกียรติ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 23/66)
เขต 22 : คุณเท่าพิภพ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 32/66)
เขต 23 : คุณโชติพิพัฒน์ ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 26/66)
เขต 24 : คุณทศพร ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 25/66)
เขต 25 : คุณณัฐชา ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 27/66)
เขต 26 : คุณวัน อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 28/66)
เขต 27 : คุณจิรวัฒน์ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 31/66)
เขต 28 : คุณณัฐพงษ์ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 29/66)
เขต 29 : คุณสุภาภรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขตถูกยุบ หรือ 30/66)
เขต 30 : คุณจักรพันธ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 33/66)
ผมว่าคุณใจเย็นๆ และเช็คข่าวประกอบด้วยน่าจะดีนะครับ ผมเป็น Editor ร่วมในสภาชุดที่ 25 มาแล้ว ผมย่อมทราบสถานะและข้อกฎหมาย หลายคนที่ผมแท็คมาร่วมต่างก็เคยทำในหน้านั้นมาแล้วทั้งนั้น ผมว่าคุณต้องเปิดใจบ้าง ผมเปิดใจ และพยายามหาทางออกร่วมกันแล้ว หวังว่าคุณจะทำสิ่งนี้เพื่อลดประเด็นพิพาทเช่นเดียวกัน Ooooooòojkddff (คุย) 20:12, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
คุณอาจจะไม่ทราบทางคนที่ทำก่อนหน้าผม เขาก็ยึดนี้นะครับ ย้อนไปดูได้ Ooooooòojkddff (คุย) 20:24, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)ตอบกลับ
  1. "ด่วน! กกต.เคาะเลือกตั้ง 2566 อาทิตย์ที่ 14 พ.ค.รับสมัคร ส.ส. 3-7 เม.ย." PPTV. 2023-03-21. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help)


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน