การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 จัดขึ้นรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024 และรอบที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 เพื่อเลือกตั้งทั้ง 577 ที่นั่งของสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส
ค.ศ. 2024

← ค.ศ. 2022 30 มิถุนายน 2024 (รอบที่ 1)
7 กรกฎาคม 2024 (รอบที่ 2)
ครั้งถัดไป →
← สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 16
สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 17 →

ทั้ง 577 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ
ต้องการ 289 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน49,339,714
 
ผู้นำ กาบรีแยล อาตาล จอร์ดัน บาร์เดลลา
พรรค เรอแนซ็องส์ แนวร่วมแห่งชาติ
พันธมิตร ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ[a] ไม่ได้เข้าร่วมพันธมิตร เสนอผู้สมัครด้วยพรรคเดียว
เลือกตั้งล่าสุด 150 ที่นั่ง, 23.9% 82 ที่นั่ง, 16.2%
ที่นั่งก่อนหน้า 172 89

 
ผู้นำ มานูเอล บงพาร์ด เอริก ซิออตติ
พรรค ลาฟร็องแซ็งซูมีซ เลเรปูว์บลีแก็ง
พันธมิตร แนวร่วมประชาชนใหม่[b] สหภาพขวาและกลาง[c]
เลือกตั้งล่าสุด 66 ที่นั่ง, 15.9% 61 ที่นั่ง, 7.1%
ที่นั่งก่อนหน้า 75 62

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งรอบที่หนึ่ง

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งรอบที่สอง

องศ์ประกอบของสมัชชาแห่งชาติหลังการเลือกตั้ง

หน้าที่ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

กาบรีแยล อาตาล
เรอแนซ็องส์



การเลือกตั้งครั้งนี้ได้จัดขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ประกาศยุบสภาชุดที่แล้วในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 ซึ้งเกิดขึ้นจากพ่ายแพ้อย่างหนักของพันธมิตรฝ่ายประธานาธิบดีในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปในวันเดียวกัน

นับเป็นครั้งที่ 6 ในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ที่มีกฤษฎีกายุบสภาล่างโดยใช้มาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส การยุบสภาล่าสุดเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1997 ในช่วงสมัยแรกของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก ซึ้งผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตรฝ่ายซ้ายหลายพรรคที่นำโดย ลียอแนล ฌ็อสแป็ง เลขาธิการแรกพรรคสังคมนิยมในขณะนั้น ได้ชัยชนะที่นั่งส่วนใหญ่จึงกลายเป็นฝ่ายข้างมาก และต่อจากนั้น ฌ็อสแป็งก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว

เบื้องหลัง

แก้

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ค.ศ. 2022

แก้

หลังจากแอมานุแอล มาครง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นสมัยที่ 2 การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติก็ตามมาในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตร อ็องซ็องบล์ (Ensemble) ซึ้งเป็นพันธมิตรฝ่ายสนับสนุนเสียงข้างมากของประธานาธิบดีและนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช (LREM) (ต่อมาพรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรอแนซ็องส์) ได้สูญเสียเสียงข้างมากในสภาล่าง ซึ้งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ค.ศ. 1997 ที่ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งไม่สามารถครองเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์ในสมัชชาแห่งชาติได้

ในขณะเดียวกัน กลุ่มฝ่ายค้านหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ พันธมิตรทางฝ่ายซ้าย สหภาพประชาชนนิเวศน์วิทยาและสังคมใหม่ (Nouvelle Union Populaire écologique et sociale, นูแวลยูนียงโป๊บปูแลร์เอโกโลชีกเอโซเซียล หรือย่อเป็น NUPES, นูเพส) ซึ้งนำโดยพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ (LFI) และทางฝ่ายขวาจัด พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (RN) ซึ้งนำโดยมารีน เลอ แปน ก็ได้มีนั่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์

การเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสในรัฐสภายุโรป ค.ศ. 2024

แก้

ฝรั่งเศสมีการเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสเป็นผู้แทนราษฎรในรัฐสภายุโรปในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 เพื่อเลือก 81 คนจากทั้งหมด 720 สมาชิกในรัฐสภานั้น

ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฎว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาตินำโดยจอร์ดัน บาร์เดลลา ได้รับ 30 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือคะแนนกว่า 31.3% ขณะที่ทางฝ่ายประธานาธิบดีด้วยพันธมิตรเบอซวงโดโรป (Besoin d'Europe) ซึ้งนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคเรอแนซ็องส์ (RE) นั้น ได้รับ 13 ที่นั่งเท่านั้น ซึ้งเป็นความพ่ายแพ้อย่างหนักจากฝ่ายนั้น

ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้มีการรับรองจากกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม แอมานุแอล มาครง ออกแถลงการในทีวีประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติชุดที่ได้รับเลือกตั้งในปีค.ศ. 2022 และจัดขึ้นการเลือกตั้งครั้งใหม่ด้วยรอบที่หนึ่งในวันที่ 30 มิถุนายน และรอบที่สองในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้[1][2][3][4]

ระบบการเลือกตั้ง

แก้

สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 577 คน ซึ้งเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ได้รับการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี โดยระบบสองรอบในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกเดียว

ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่คะแนนเสียงรวมมากกว่า 25% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนจะได้รับการเลือกตั้งในรอบแรก แต่หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากก็จัดขึ้นรอบที่สองระหว่างผู้สมัครสองคนอันดับต้น ๆ บวกกับผู้สมัครคนอื่นที่ได้รับคะแนนเสียงรวมมากกว่า 12.5% ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียน

อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในรอบที่สองจะได้รับเลือก

พรรคการเมืองและพันธมิตร

แก้

พันธมิตรพรรคการเมือง

แก้
ชื่อ พรรคการเมืองร่วม ผู้นำ
  แนวร่วมประชาชนใหม่[5][6]
Nouveau Front populaire (NFP)
ลาฟร็องแซ็งซูมีซ ผู้นำโดยร่วมโดยผู้นำทุกพรรคหลัก
ศูนย์นิเวศวิทยา
นักนิเวศวิทยา–พรรคเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป
เฌเนราซียงส์
รุ่นนิเวศวิทยา
พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
พรรคสังคมนิยม
และ 38 พรรคเล็ก
รวม 16 พรรคเล็กที่ส่งผู้สมัครและ 22 พรรคเล็กที่สนับสนุนพันธมิตร
  ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ
Ensemble pour la République (ENS)
เรอแนซ็องส์ กาบรีแยล อาตาล
  • นายกรัฐมนตรีคนที่ 26
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติและเยาวชน
  • อดีตโฆษกรัฐบาล
  • อดีตเลขาธิการแห่งรัฐถึงอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติและเยาวชน
ขบวนการประชาธิปไตย
โฮรีซงส์
พรรคหัวรุนแรง
สหภาพเดโมแครตและอิสระ

พรรคการเมืองหลักที่ไม่ร่วมในพันธมิตร

แก้
ชื่อพรรค อดุมการณ์ ผู้นำ
  แนวร่วมแห่งชาติ
Rassemblement national (RN)
ขวาจัด
ชาตินิยม, ต่อต้านการย้ายถิ่นเข้าประเทศ, ความไม่เชื่อในสหภาพยุโรป
จอร์ดัน บาร์เดลลา
  พิชิตชัยอีกครั้ง!
Reconquête! (R!)
ขวาจัด
ชาตินิยม, อนุรักษนิยมชาติ, ต่อต้านการย้ายถิ่นเข้าประเทศ, ต่อต้านอิสลาม
เอริก เซมูร์
  • นักเขียน
  เลเรปูว์บลีแก็ง
Les Républicains (LR)
ขวา
อนุรักษนิยม, ลัทธินิยมโกล
เอริก ซิออตติ
  • สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
  เดอบูลาฟร็องส์
Debout la France ! (DLF)
ขวาถึงขวาจัด
อธิปไตย, ลัทธินิยมโกล, อนุรักษนิยมชาติ
นีกอลา ดูว์ปง-แอญ็อง
  • สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
พรรคหัวรุนแรงซ้าย
Parti radical de gauche (PRG)
ซ้ายกลาง
ลักธิหัวรุนแรง, ฆราวาสนิยม, ลัทธิเสรีนิยมสังคม
กิโยม ลาครัวซ์

ผลสำรวจ

แก้
 
กราฟแสดงคะแนนความนิยมในพันธมิตรหรือพรรคการเมือง

ผลการเลือกตั้ง

แก้

ภาพร่วม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. พันธมิตรในการเลือกตั้งนี้รวบร่วมพรรคเรอแนซ็องส์ พรรคขบวนการประชาธิปไตย และพรรคโฮรีซงส์ พรรคหัวรุนแรง และสหภาพเดโมแครตและอิสระ
  2. พันธมิตรในการเลือกตั้งนี้รวบร่วมพรรคลาฟร็องแซงซูมีซ นักนิเวศวิทยา–พรรคเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส พรรคสังคมนิยม และ 16 พรรคเล็ก
  3. พันธมิตรนี้รวบร่วมพรรคเลเรปูว์บลีแก็ง พรรคสหภาพเดโมแครตและอิสระ และ พรรคผู้กลาง

อ้างอิง

แก้
  1. "ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยุบสภา เตรียมเลือกตั้งใหม่ หลังแพ้ศึกชิงเก้าอี้รัฐสภายุโรป". www.thairath.co.th. 2024-06-10.
  2. ""มาครง" ประกาศยุบสภา หลังแพ้ศึกเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป". Thai PBS.
  3. "มาครงจี้ชาวฝรั่งเศส 'เลือกให้ถูกต้อง' หลังยุบสภา". bangkokbiznews. 2024-06-10.
  4. "มาครงประกาศยุบสภา ฝรั่งเศสเตรียมเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติทันทีหลังการเลือกตั้งสหภาพยุโรป". 2024-06-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Législatives 2024 : PS, PCF, EELV et LFI annoncent "des candidatures uniques" dans "chaque circonscription" - France Bleu". ici par France Bleu et France 3 (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-06-10.
  6. "Quelques jours pour faire front populaire - La France insoumise" (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-06-10.