โลกิยนิยม

(เปลี่ยนทางจาก ฆราวาสนิยม)

โลกิยนิยม[1] หรือ ฆราวาสนิยม[2] (อังกฤษ: secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครอง สถาบันการเมือง หรือสถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา

ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย "โลกิยนิยม" จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนหรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอนหรือความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และไม่มีการมอบอภิสิทธิ์หรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง "โลกิยนิยม" หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา[3]

โลกิยนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความงมงายและสิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาโลกิยนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมัน เช่น จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส, เอปีโกโรส; จากผู้รู้รอบด้านของยุคทองของอิสลาม เช่น อิบน์ รุชด์; จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนี ดีเดอโร, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน, ทอมัส เพน; และจากนักคิดเสรี (freethinkers) นักอไญยนิยม หรือนักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์, รอเบิร์ต จี. อิงเกอร์ซอลล์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรม ศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561. 404 หน้า. หน้า 320. ISBN 978-616-389-078-8
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2550. หน้า 345.
  3. Kosmin, Barry A. "Contemporary Secularity and Secularism." Secularism & Secularity: Contemporary International Perspectives. Ed. Barry A. Kosmin and Ariela Keysar. Hartford, CT: Institute for the Study of Secularism in Society and Culture (ISSSC), 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้