กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 (อังกฤษ: Border Patrol Police Sub-Division 22) เป็นกองกำกับการในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ตั้งอยู่ที่ ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22
ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ประเทศ ไทย
หน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รูปแบบกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ขึ้นกับกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2
กองบัญชาการค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คำขวัญเสียสละ อดทน ดำรงตนอย่างมีเกียรติ
ชื่อสามัญกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ชื่อย่อกก.ตชด.22
โครงสร้างหน่วย
กำลังพล1,120 นาย
กองร้อย7 กองร้อย
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพันตำรวจเอก กวีพงษ์ ชลการ, ผกก.ตชด.22
ความสำคัญ
วันสถาปนา6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525; 41 ปีก่อน (2525-11-06)
เว็บไซต์
www.bpptr2.go.th
ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ส่วนหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี
แผนที่
พิกัด15°15′30″N 104°50′41″E / 15.258340°N 104.844638°E / 15.258340; 104.844638 (ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
ประเภทค่ายตำรวจตระเวนชายแดน
ประวัติศาสตร์
สร้าง17 มีนาคม พ.ศ. 2531; 36 ปีก่อน (2531-03-17)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22

ประวัติ

แก้

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 แต่เดิมคือ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 3 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ในพื้นที่ของค่ายฝึกอาวุธพิเศษและพลร่ม ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่เมื่อก่อตั้งทั้งสิ้น 70 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา[1] รับผิดชอบพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจชายแดนภาคอีสาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการยุบรวมกองกำกับการตำรวชตระเวนชายแดนเขต 2 มาขึ้นกับเขต 3 ทำให้มีพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีก 2 จังหวัดคือ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดพระนครก้บกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 3[2]

ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการก่อตั้งกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 ตั้งอยู่ ณ จังหวัดอุดรธานี มีอำนาจหน้าที่ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 3 จึงได้ขึ้นตรงกับกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2[2]

ค่ายได้รับการพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ให้ชื่อว่า ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันครบรอบ 120 ปีวันคล้ายวันประสูตร รวมถึงมอบหมายให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้แทนพระองค์เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 3 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน 6 แผนก 7 กองร้อย รับผิดชอบพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดร้อยเอ็ด[2]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับโครงสร้างภายในเป็น 5 งาน 7 กองร้อย และ 1 กลุ่มงาน และมีการปรับพื้นที่รับผิดชอบในปี พ.ศ. 2555 ให้เหลือเพียง 4 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร[2]

โครงสร้าง

แก้

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 มีโครงสร้าง ดังนี้

งานฝ่ายอำนวยการ

แก้

งานฝ่ายอำนวยการ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ประกอบไปด้วย[3]

  • งานธุรการ กำลังพล วินัย และสวัสดิการ
  • งานการข่าว
  • งานแผนงานและงบประมาณ
  • งานส่งกำลังบำรุง
  • งานการเงิน
  • งานจิตอาสาพระราชทานและกิจการพลเรือน
  • กลุ่มงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด

กองร้อยสนับสนุน

แก้

กองร้อยสนับสนุน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ประกอบไปด้วย[3]

  • กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 221
  • กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 222 – รับผิดชอบงานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  • กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 223

กองร้อยปฏิบัติการ

แก้
 
ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 กำลังให้สัญญาณลงจอดแก่เฮลิคอปเตอร์ในจังหวัดอำนาจเจริญ

กองร้อยปฏฺบัติการ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ประกอบไปด้วย[3]

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

แก้

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 มีโรงเรียนในสังกัด 15 โรงเรียน อยู่ภายใต้การดูแลของกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 222 มีดังนี้

  1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านศรีสวัสดิ์ – ยโสธร[4]
  2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ – ศรีสะเกษ[5]
  3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนพิทักษ์ปัญญา – อุบลราชธานี[6]
  4. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร – อุบลราชธานี[7]
  5. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด – อุบลราชธานี[8]
  6. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ เนวิน สคริมชอว์ – อุบลราชธานี[9]
  7. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เอไอเอ ประเทศไทย (บ้านบ๋าฮี) – อุบลราชธานี[10]
  8. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม – อุบลราชธานี[11]
  9. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชุมชนป่าหญ้าคา – อุบลราชธานี[12]
  10. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบรรจบพันบ้านปากลา – อุบลราชธานี[13]
  11. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปูนอินทรีย์ 50 ปี (บ้านห้วยกระแสน) – อำนาจเจริญ[14]
  12. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบัวพัมนา – อุบลราชธานี[15]
  13. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง – อำนาจเจริญ[16]
  14. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ – อุบลราชธานี[17]
  15. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย – อำนาจเจริญ[18]

ภารกิจ

แก้

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 มีกำลังพลตามอัตรา 1,120 นาย มีภารกิจหลักในการป้องกันชายแดนของประเทศไทย โดยพื้นที่รับผิดชอบมีเขตติดต่อกันกับ 2 ประเทศความยาวรวมประมาณ 558 กิโลเมตร (347 ไมล์) ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่จังหวัดศรีสะเกษจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร (120 ไมล์) และประเทศลาว ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีถึงจังหวัดอำนาจเจริญ ระยะทางประมาณ 368 กิโลเมตร (229 ไมล์)[3] โดยมีคุณลักษณะพื้นฐานในการปฏิบัติการคือการปฏิบัติการรบในหน่วยขนาดเล็กได้แบบกับทหาร การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้แบบเดียวกับตำรวจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน[2]

สำหรับภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ[3]

เขาพระวิหาร

แก้

นอกจากนี้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ยังเป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังเข้าดูแลพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร และขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับ หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี[3][19] ในชื่อว่า ที่ทำการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 (เขาพระวิหาร) ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 202 ผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ซึ่งมีกองร้อยเฉพาะกิจปฏิบัติงานอยู่ 2 กองร้อยคือ กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 201 และกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 202[20] ซึ่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารหลักออกมาจากพื้นที่ตามข้อตกลงระหว่างหว่างไทยและกัมพูชาขณะนั้น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ได้จัดกำลังเข้าไปประจำการเพื่อรักษาอธิปไตยจำนวน 4 กองร้อย เป็นกำลังพลจากหน่วยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 จังหวัดอุบลราชธานี, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 จังหวัดสกลนคร, และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จังหวัดอุดรธานี[21]

กองกำลังสุรนารี

แก้
 
กองกำกับการตำรวตระเวนชายแดนที่ 22 เป็นอีกหน่วยหลักในการวางกำลังในพื้นที่เขาพระวิหาร

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ขึ้นตรงทางยุทธการปฏิบัติการกับหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี โดยแบ่งโครงสร้างของกำลัง[3][19] ดังนี้

  • ที่ทำการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2
  • กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 1
    • กองบังคับการกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 1
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 1
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 2
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 3
  • กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 2
    • กองบังคับการกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 2
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 1
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 2
    • หมวดเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 3

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 ทำบุญ เปิดอาคารดำรงราชานุภาพ". ok-esan.com. สืบค้นเมื่อ 2024-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ครบรอบ 66 ปี 'ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ' กก.ตชด.22 อุบลราชธานี". www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 2024-07-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 บทบรรยายและภาพประกอบ วีดีทัศน์แนะนำหน่วย กก.ตชด.22 (2023-03-27), แนะนำหน่วย กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22, สืบค้นเมื่อ 2024-07-21
  4. "ยโสธร – มูลนิธิโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (มรช) ในพระราชูปถัมภ์".
  5. "กรมอนามัย ชู รร.ตชด.บ้านหนองใหญ่ ศรีสะเกษ ต้นแบบโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ". อนามัยมีเดีย.
  6. "อุบลฯมอบรถจักรยาน ตามโครงการมอบจักรยาน ปันรัก สู่น้องนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน". ubonratchathani.prd.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "มูลนิธิอิออนประเทศไทย สนับสนุน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร อุบลราชธานี". pineapplenewsagency.com.
  8. "วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านคำสะอาด จ.อุบลราชธานี | กรุงเทพประกันชีวิต". www.bangkoklife.com.
  9. "เปลี่ยนภาพนักรบชายแดน ทำเพื่อเด็ก….ลุยป่ายางเติมการศึกษา | กสศ". 2020-01-07.
  10. "กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เอไอเอ ประเทศไทย (บ้านบ๋าฮี)". mgronline.com. 2019-10-01.
  11. "รายงานพิเศษ : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม จ.อุบลราชธานี ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชนและชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร". www.naewna.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "ผบ.ร้อย ตชด. น้ำใจงาม ควักเงินส่วนตัวมอบทุนเด็กยากไร้ เยียวยาครอบครัว". www.thairath.co.th. 2015-11-12.
  13. Pansuwan, Veerasak. "รร.ตชด.บรรจบพันบ้านปากลา ตั้งกลุ่ม 'แสงแรกริมโขง' ทำข้าวเกรียบสมุนไพร พัฒนาอาชีพให้คนในชุมชน". เดลินิวส์.
  14. "ปูนซีเมนต์นครหลวง ส่งมอบโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปูนอินทรี 50 ปี เพิ่มโอกาสการศึกษาให้เยาวชนพื้นที่ห่างไกล". mgronline.com. 2024-05-21.
  15. "โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านหนองบัวพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ". www.prd.go.th.
  16. ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-07-22). ""กรมสมเด็จพระเทพฯ" เสด็จฯโรงเรียนตชด.บ้านห้วยฆ้อง จ.อำนาจเจริญ". thansettakij.
  17. "'กรมสมเด็จพระเทพฯ' ทรงติดตามการดำเนินงาน รร.ตชด.บ้านท่าแสนคูณ อุบลราชธานี". bangkokbiznews. 2021-06-17.
  18. "BPPbotanical". bppbotanical.ilab-ubu.net.
  19. 19.0 19.1 รายงานการประชุมบริหารกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ครั้งที่ 9/2565 (PDF). กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. 2565. pp. 7–8.
  20. admin. "ผกก.ตชด.22 ตรวจเยี่ยมกำลังพลบริเวณปราสาทพระวิหาร ชื่นชมกำลังพลทุกนายปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งเพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทย – สถานีโทรทัศน์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ".
  21. "ตชด.ไทย 4 กองร้อยรวมพล "กันทรลักษ์" จ่อเข้าพื้นที่ "เขาวิหาร"". mgronline.com. 2012-07-17.