กมล จิระพันธุ์วาณิช

กมล จิระพันธุ์วาณิช (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2475) นักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 8 สมัย

กมล จิระพันธุ์วาณิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มีนาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
พรรคการเมืองชาติไทย (2526–2551)
ภูมิใจไทย (2556–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพยงค์ จิระพันธุ์วาณิช

ประวัติ

แก้

กมล จิระพันธุ์วาณิช เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2475[1]ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นบุตรของนายสุวรรณ กับนางช้อย จิระพันธุ์วาณิช[2] สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากไต้หวัน สมรสกับ นางพยงค์ จิระพันธุ์วาณิช มีบุตร คือ นายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี[3] และ นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต 3 พรรคภูมิใจไทย[4]

การทำงาน

แก้

กมล จิระพันธุ์วาณิช อดีตเป็นนักธุรกิจเกี่ยวกับการตีเหล็ก และ ศูนย์การค้าในจังหวัดลพบุรี[5] และยังประกอบกิจการค้าข้าว ในชื่อ "ท่าข้าวจิระพันธุ์วาณิช"[6]

งานการเมือง

แก้

กมลลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 จากการชักชวนของพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 8 ครั้ง

ปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

กมล จิระพันธุ์วาณิช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. พ่อนายกอบจ.ลพบุรีเผยรู้จักมือยิงดีจาก โพสต์ทูเดย์ ข่าวการเมือง สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2564
  4. เร่งหาสาเหตุ!! เพลิงไหม้บ้านพ่อ สส.พรรคภูมิใจไทย เจ็บ 2 คน[ลิงก์เสีย]
  5. สัมภาษณ์ นายกมล จิระพันธุ์วาณิช อดีต ส.ส.พรรคชาติไทย จ.ลพบุรี
  6. รายละเอียด ผู้ประกอบการท่าข้าว[ลิงก์เสีย]
  7. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข เล่มที่ ๑ หน้า ๑ ลำดับที่ ๒๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐) เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙ ลำดับที่ ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐