ปลาน้ำฝายหลังดำ

(เปลี่ยนทางจาก Sikukia stejnegeri)
ปลาน้ำฝายหลังดำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Sikukia
สปีชีส์: S.  stejnegeri
ชื่อทวินาม
Sikukia stejnegeri
Smith, 1931

ปลาน้ำฝายหลังดำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sikukia stejnegeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบได้ไม่บ่อยนัก มีลำตัวแบนข้าง ท่อนหางยาว นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันบาง ๆ เหมือนวุ้นหุ้มอยู่รอบตา ไม่มีหนวด ครีบมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ลำตัวมีสีขาวเงิน ครีบหลังมีแถบสีดำที่โคนและปลายครีบ ขอบบนและล่างครีบหางมีลายสีดำ และที่ฐานครีบมีลายสีดำจาง ๆ ครีบอื่นสีจางใส

มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ทั้ง แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน

เป็นปลาที่ถูกค้นพบและอนุกรมวิธานเป็นครั้งแรก โดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันที่เข้ามารับราชการในประเทศไทย ที่คลองสีกุก ในเขตจังหวัดชัยนาท เมื่อปี ค.ศ. 1931 และถูกตั้งชื่อสกุลเป็นสกุลใหม่ด้วย โดยให้ชื่อสอดคล้องกับสถานที่ที่ค้นพบเจอ

เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น โดยที่ภาษาอีสานเรียกว่า "หมากมั่ง"[1]

อ้างอิง

แก้
  1. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 174 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้