ยุคนีโอจีน
(เปลี่ยนทางจาก Neogene)
ยุคนีโอจีน 23.03 - 0 ล้านปีมาแล้ว | |
O2 เฉลี่ยในบรรยากาศในช่วงยุค | ประมาณร้อยละ 21.5 (ปริมาตร/ปริมาตร) [1] (108 % ของยุคปัจจุบัน) |
CO2 เฉลี่ยในบรรยากาศในช่วงยุค | ประมาณ 280 พีพีเอ็ม[2] (1 เท่าของยุคก่อนอุตสาหกรรม) |
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยในช่วงยุค | ประมาณ 14 °C [3] (สูงกว่าปัจจุบัน 0 °C) |
ยุคนีโอจีน (อังกฤษ: Neogene) เป็นช่วงธรณีกาล เริ่มต้นยุคที่ 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้วถึง 2.588 ล้านปีมาแล้วก่อนเข้าสู่ยุคควอเทอร์นารี[4] ยุคนีโอจีนเป็นยุคที่ถัดจากยุคพาลีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก ภายใต้ข้อเสนอของ International Commission on Stratigraphy (ICS) ยุคนีโอจีนประกอบไปด้วยสมัยไมโอซีนและสมัยไพลโอซีน[5]
ยุคนีโอจีนกินเวลาราว 23 ล้านปี ในยุคนั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกมีการวิวัฒนาการเป็นอันมาก ส่วนสิ่งมีชีวิตอื่นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางทวีปมีการเคลื่อนตัว เหตุการณ์ที่สำคัญคือเกิดการเชื่อมต่อระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ในตอนปลายของสมัยพลิโอซีน ภูมิอากาศค่อนข้างเย็นก่อนจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งในยุคควอเทอนารี่ มีการปรากฏตัวของบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กราฟปริมาณออกซิเจนในช่วง 1000 ล้านปี
- ↑ กราฟปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในตั้งแต่บรมยุคฟาเนอโรโซอิก
- ↑ กราฟอุณหภูมิโลกเฉลี่ยตั้งแต่ยุคบรรพกาล
- ↑ The ending of the Neogene and the Quaternary's right to exist is still debated among scientists.
- ↑ Lourens, L., Hilgen, F., Shackleton, N.J., Laskar, J., Wilson, D., (2004) “The Neogene Period”. In: Gradstein, F., Ogg, J., Smith, A.G. (Eds.), Geologic Time Scale Cambridge University Press, Cambridge.
ก่อนหน้า บรมยุคโพรเทอโรโซอิก |
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก 541 Ma - ปัจจุบัน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มหายุคพาลีโอโซอิก 541 Ma - 252 Ma |
มหายุคมีโซโซอิก 252 Ma - 66 Ma |
มหายุคซีโนโซอิก 66 Ma - ปัจจุบัน | ||||||||||
แคมเบรียน | ออร์โดวิเชียน | ไซลูเรียน | ดีโวเนียน | คาร์บอนิเฟอรัส | เพอร์เมียน | ไทรแอสซิก | จูแรสซิก | ครีเทเชียส | พาลีโอจีน | นีโอจีน | ควอเทอร์นารี |