ทางหลวง

(เปลี่ยนทางจาก Highway)

ทางหลวง คือ ถนนหรือเส้นทางซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นนอกจากทางรถไฟ ระบบทางหลวงของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า อินเตอร์สเตต เป็นระบบทางหลวงที่มียาวรวมทั้งหมดมากที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]โดยมีความยาวทั้งสิ้น 75,376 กม.(2004) ทางหลวงบางเส้นจะเชื่อมต่อระหว่างประเทศเช่น ยูโรเปียนรูท และถนนบางเส้นจะเชื่อมระหว่างเมืองหลวงของรัฐทั้งหมดในประเทศ เช่นใน ออสเตรเลียไฮเวย์ 1 ซึ่งเชื่อมตัวเมืองหลวงของรัฐทั้งหมดรอบประเทศออสเตรเลีย ถนนหลวงที่ยาวที่สุดในโลกคือ ทรานซ์-แคนาดาไฮเวย์ ซึ่งเริ่มจากเมือง วิกตอเรีย ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ของฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่าน 10 รัฐจนถึงเมืองเซนต์จอห์นในรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

ทางหลวงในชนบทสหรัฐอเมริกา

ทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549) หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย

การออกแบบทางหลวงจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันขึ้นไปขึ้นอยู่กับลักษณะถนน ความกว้างถนน และสภาพการสัญจร ทางหลวงสามารถมีได้ทั้งในลักษณะถนนสองเลน ถนนมีหรือไม่มีไหล่ทาง และผิวถนนของถนนเส้นเดียวกันที่ตำแหน่งต่างกัน จะมีลักษณะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมถนนเส้นนั้น

ทางหลวงในประเทศไทยได้รับการควบคุมโดยกรมทางหลวง โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษม เป็นถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มจากกรุงเทพมหานครถึงด่านพรมแดนจังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1,274 กิโลเมตร

ประวัติ แก้

เริ่มแรกมนุษย์ใช้ทางเท้า (traces) เดินไปมาหากัน ต่อมาเมื่อรู้จักใช้สัตว์เป็นพาหนะ จึงเปลี่ยนโดยใช้สัตว์ในการขับล้อเลื่อน เริ่มใช้ทางเกวียน ทางสร้างด้วยหินครั้งแรกเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 3500 พบใน เมโสโปเตเมีย ซึ่งสร้างด้วยหิน สมัยโรมันรุ่งเรืองชาวโรมันได้สร้างติดต่อระหว่างอาณาจักรต่างๆ ต่อมาเมื่อศตวรรษที่ 18 Tresaquet ชาวฝรั่งเศสได้เริ่มสร้างถนนให้ดีขึ้น โดยใช้หินมาถมเป็นชั้น ๆทำให้ถนนรับน้ำหนักและมีความทนทานมากขึ้น หลังจากนั้น John Macadam ชาวอังกฤษได้นำหินมาเรียงกันเป็นผิวทาง และให้รถม้าวิ่งบดทับให้แน่น ทางลักษณะนี้จึงให้ชื่อว่า Macadam ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ในสหรัฐอเมริกาการก่อสร้างทางเริ่มจากการปรับปรุงทางเก่าและเก็บค่าผ่านทาง (Turn Pike) ซึ่งอาจจะลงทุนโดยรัฐบาลหรือเอกชน ทางสายแรกสร้างระหว่างฟิลาเดเฟีย และเวอร์จิเนีย ต่อมาการสร้างทางหลวงถูกพัฒนามาเรื่อยๆ เช่น การนำแอสฟัลท์มาใช้ประกอบกับหินหรือมวลรวม ใช้ในลักษณะของ Mixed Inplace and Asphaltic Concrete หรือ ผิวทางคอนกรีตเสริมเหล็กปัจจุบัน และ Prestress Concrete ถูกนำมาใช้กับทางหลวง

สถิติ แก้

ดูเพิ่ม แก้

ทั่วไป แก้

แบ่งตามประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. CBC Archives (August 6, 2002). "Trans-Canada Highway: Bridging the Distance". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2006-12-20.
  2. Male, Andrew, National Highway One, Australian Broadcasting Corporation, retrieved 2007-10-02.
  3. CIA World Factbook. "Transportation:roadways".