ทางด่วนในประเทศจีน

โครงข่ายทางด่วนของประเทศจีน เป็นระบบรวมของทางด่วนระดับชาติและระดับมณฑลของประเทศจีน โดยสิ้นปี ค.ศ. 2017 โครงข่ายทางด่วนของประเทศจีนมีระยะทางรวมทั้งหมด 136,000 กิโลเมตร ซึ่งถ้าวัดจากระยะทางก็เป็นระบบทางด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำหน้าระยะทางทั้งหมดของระบบทางหลวงอินเตอร์สเตตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2011[1] ระบบทางด่วนในระดับชาติรู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า ระบบทางหลวงสายหลักแห่งชาติ (จีนตัวย่อ: 中国国家高速公路网; จีนตัวเต็ม: 中國國家高速公路網; พินอิน: Zhōngguó Guójiā Gāosù Gōnglùwǎng; อังกฤษ: National Trunk Highway System) ซึ่งย่อได้เป็น NTHS[2] ประกอบด้วย ทางด่วนที่มีเส้นทางแบบรัศมีออกจากปักกิ่ง ซึ่งเป็นเมืองหลวง 7 สาย, ทางด่วนเหนือ-ใต้ 11 สาย และทางด่วนตะวันออก-ตะวันตก 18 สาย นับเป็นกระดูกสันหลังของโครงข่ายทางด่วนของประเทศ เส้นทางกระดูกสันหลังนี้รู้จักกันในชื่อ โครงข่าย 71118 (จีนตัวย่อ: 71118网; จีนตัวเต็ม: 71118網; พินอิน: 71118 wǎng)[3] นอกจากนี้ ในแต่ละเขตการปกครองระดับมณฑลของประเทศจีนก็มีระบบทางด่วนเป็นของตัวเอง

เส้นทางในเมืองของทางด่วนจี 4 ปักกิ่ง–ฮ่องกง–มาเก๊า ในตงกว่าน มณฑลกวางตุ้ง
แผนที่ทางด่วนในประเทศจีน

ทางด่วนสายแรกที่ได้มีบันทึกไว้ในประเทศจีน ย้อนกลับไปเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้วในสมัยราชวงศ์ฉิน เมื่อจักรพรรดิพระองค์แรก จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้สร้างทางหลวงรัฐระยะทาง 750 กิโลเมตร เชื่อมต่อจากเมืองหลวงชื่อเสียนหยางไปยังพรมแดนทางด้านเหนือของออร์ดอส เพื่อเป็นการวางแผนป้องกัน[4] ต่อมา ทางหลวงแห่งชาติจีนสมัยใหม่สายแรกที่ก่อสร้างระดับดิน คือ ทางด่วนเซี่ยงไฮ้–เจียติ้ง เปิดใช้บริการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1988[5][หมายเหตุ 1] มีระยะทาง 17.37 กิโลเมตร (10.79 ไมล์) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางด่วนของเซี่ยงไฮ้ ช่วงต้นของยุค 1990 ก็จะเห็นการเริ่มต้นของแผนขนาดใหญ่ของประเทศที่จะพัฒนาโครงข่ายถนน[2] โดยในปี ค.ศ. 1999 โครงข่ายนี้ได้มีระยะทางมากกว่า 10,000 กิโลเมตร (6,200 ไมล์)[6] สำหรับเส้นทางของทางด่วนสายหลักหลายสายจะขนานไปกับเส้นทางเดิมของทางหลวงแห่งชาติจีน

หมายเหตุ แก้

  1. ทางด่วนเซี่ยงไฮ้–เจียติ้งนี้เป็นทางด่วนสายแรกที่สร้างในจีนแผ่นดินใหญ่ ยกเว้นไต้หวัน (ดูที่สถานะทางการเมืองของไต้หวัน) เช่นเดียวกันกับฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งในเวลานั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษและโปรตุเกสตามลำดับ ถ้ารวมไต้หวันด้วย ทางด่วนสายแรกที่เปิดให้บริการในจีนสมัยใหม่ก็คือ ทางหลวงหมายเลข 1 รู้จักกันในชื่อ ทางด่วนจงชาน ซึ่งเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1974

อ้างอิง แก้

  1. "我国高速公路通车里程位居世界第一 骨架网络正加快贯通". 第一财经日报. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24.
  2. 2.0 2.1 Li, Si-ming and Shum, Yi-man. Impacts of the National Trunk Highway System on accessibility in China เก็บถาวร 2010-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Transport Geography.
  3. 国家高速公路网规划 (National Trunk Highway System Planning). 13 January 2005. (จีน)
  4. "Exhibition unveils China's ancient "state highway" in Qin Dynasty". Xinhua. 2016-10-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-30. สืบค้นเมื่อ 2016-10-26.
  5. 国内首条取消收费高速公路改建工程启动. News.cn. (จีน)
  6. National Bureau of Statistics of China เก็บถาวร 2009-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้