ชาวเซอร์แคสเซีย

(เปลี่ยนทางจาก Circassians)

ชาวเซอร์แคสเซีย (อังกฤษ: Circassian), ชาวเชียร์เคสส์ (อังกฤษ: Cherkess) หรือ ชาวอะดีเกยา (อะดีเกยาและคาบาร์เดีย: Адыгэхэр / Adıgəxər) คือกลุ่มชาติพันธุ์คอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเป็นชนพื้นเมืองและชนชาติที่มีถิ่นกำเนิดจากภูมิภาคเซอร์แคสเซียทางด้านเหนือของเทือกเขาคอเคซัส[28] การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซียซึ่งจักรวรรดิรัสเซียก่อขึ้นในช่วงสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ส่งผลให้ชาวเซอร์แคสเซียส่วนใหญ่ถูกเนรเทศจากบ้านเกิดในเซอร์แคสเซียไปยังตุรกีและส่วนอื่นของตะวันออกกลางสมัยใหม่ที่ซึ่งพวกเขารวมตัวกันมากที่สุดในปัจจุบัน[29] องค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทนประเมินในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ว่ามีชาวเซอร์แคสเซียจำนวนมากถึง 3.7 ล้านคนพลัดถิ่นอยู่ในกว่า 50 ประเทศ[30]

ชาวเซอร์แคสเซีย
แผนที่ประเทศที่มีชุมชนชาวเซอร์แคสเซียพลัดถิ่น
ประชากรทั้งหมด
ป. 5.3 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ตุรกี2,000,000–3,000,000 คน[1][2][3]
 รัสเซีย751,487 คน[4]
 จอร์แดน250,000 คน[5][3]
 ซีเรีย80,000–120,000 คน[3][6][7][8][9]
 อียิปต์50,000 คน
 เยอรมนี40,000 คน[3][10]
 ลิเบีย35,000 คน[11]
 อิรัก34,000 คน[12]
 สหรัฐ25,000 คน[12]
 ซาอุดีอาระเบีย23,000 คน
 อิหร่าน5,000–50,000 คน[13]
 อิสราเอล4,000–5,000 คน[14][15][16]
 อุซเบกิสถาน1,257 คน[17]
 ยูเครน1,000 คน[18]
 โปแลนด์1,000 คน[19][20][21]
 เนเธอร์แลนด์500 คน[22]
 แคนาดา400 คน[23]
 เบลารุส116 คน[24]
 เติร์กเมนิสถาน54 คน[25]
ภาษา
เซอร์แคสเซีย
(อะดีเกยา, คาบาร์เดีย)
ตุรกี, อาหรับ, รัสเซีย (ภาษาที่สอง)
ศาสนา
ส่วนใหญ่
ซุนนี
(ฮะนะฟี-มาตุรีดี, แนฆช์แบนดี)[13]
ส่วนน้อย
อิสลามนิกายอื่น ๆ, ศาสนาชาติพันธุ์,[26] คริสต์
(อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, โรมันคาทอลิก)[27]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
เซอร์แคสเซียเชื้อสายอาร์มีเนีย, อับคาเซีย, อาบาซา

ภาษาเซอร์แคสเซียเป็นภาษาบรรพชนของชาวเซอร์แคสเซีย[31] และศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักในหมู่พวกเขามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17[32] เซอร์แคสเซียถูกรุกรานซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่สมัยโบราณ ลักษณะภูมิประเทศอันโดดเดี่ยวประกอบกับความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่สังคมภายนอกมอบให้แก่ภูมิภาคนี้เป็นตัวหล่อหลอมเอกลักษณ์ชนชาติซอร์แคสเซียอย่างมากพอสมควร[33]

ธงประจำชนชาติเซอร์แคสเซียประกอบด้วยพื้นหลังสีเขียวที่มีรูปลูกธนูสามดอกไขว้กันอยู่ตรงกลาง รายล้อมด้วยรูปดาวสีทองสิบสองดวง รูปดาวเหล่านั้นเป็นตัวแทนของเผ่าชนเซอร์แคสเซียทั้งสิบสองเผ่าในประวัติศาสตร์ ได้แก่ Abzakh, Besleney, Bzhedugh, Hatuqway, Kabardian, Mamkhegh, Natukhaj, Shapsugh, Chemirgoy, Ubykh, Yegeruqway และ Zhaney[34]

ชาวเซอร์แคสเซียมีบทบาทสำคัญในพื้นที่ที่พวกเขาเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ในตุรกี ผู้ที่มีพื้นเพมาจากเซอร์แคสเซียมีอิทธิพลอย่างมากตั้งแต่ที่พวกเขามาถึง โดยมีส่วนสำคัญในการทำสงครามประกาศอิสรภาพตุรกี[35] และอยู่ในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับหัวกะทิของหน่วยข่าวกรองตุรกี[36] ในจอร์แดน พวกเขามีส่วนในการก่อตั้งนครอัมมานสมัยใหม่[37][38] และยังคงมีบทบาทสำคัญในประเทศสืบมา ในลิเบีย พวกเขาดำรงตำแหน่งทางทหารระดับสูง ในอียิปต์ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง[39] และยังมีส่วนร่วมในภาคธุรกิจในสมัยการปกครองของมุฮัมมัด อะลี บาชา[40][41][42]

พื้นที่เซอร์แคสเซียตามประวัติศาสตร์ถูกทางการสหภาพโซเวียตและทางการรัสเซียแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐอะดีเกยา, สาธารณรัฐคาบาร์ดีโน-บัลคาเรีย, สาธารณรัฐคาราชาเยโว-ซีร์คัสเซีย และดินแดนครัสโนดาร์ รวมถึงส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของดินแดนสตัฟโรปอลในปัจจุบัน ดังนั้นชาวเซอร์แคสเซียจึงได้รับการกำหนดชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ ชาวอะดีเกยา ในสาธารณรัฐอะดีเกยา, ชาวคาบาร์เดีย ในสาธารณรัฐคาบาร์ดีโน-บัลคาเรีย, ชาวเชียร์เคสส์ ในสาธารณรัฐคาราชาเยโว-ซีร์คัสเซีย และชาว Shapsugh ในดินแดนครัสโนดาร์ แม้ว่าโดยเนื้อแท้แล้วทั้งสี่กลุ่มจะเป็นชนกลุ่มเดียวกันก็ตาม ทุกวันนี้ชาวเซอร์แคสเซียประมาณ 800,000 คนยังคงอยู่ในพื้นที่เซอร์แคสเซียตามประวัติศาสตร์ ในขณะที่อีก 4,500,000 คนอาศัยอยู่ที่อื่น[43]

อ้างอิง แก้

  1. Richmond, Walter (2013). The Circassian Genocide. Rutgers University Press. p. 130. ISBN 978-0813560694.
  2. Danver, Steven L. (2015). Native Peoples of the World: An Encyclopedia of Groups, Cultures and Contemporary Issues. Routledge. p. 528. ISBN 978-1317464006.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Zhemukhov, Sufian (2008). "Circassian World Responses to the New Challenges" (PDF). PONARS Eurasia Policy Memo No. 54: 2. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  4. "Национальный состав населения". Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
  5. "Израйльский сайт ИзРус". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2013. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
  6. "Syrian Circassians returning to Russia's Caucasus region". TRTWorld. TRTWorld and agencies. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016. Currently, approximately 80,000 ethnic Circassians live in Syria after their ancestors were forced out of the northern Caucasus by Russians between 1863 and 1867.
  7. "Syria" เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Library of Congress
  8. "Независимые английские исследования". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
  9. "single | The Jamestown Foundation". Jamestown. Jamestown.org. 7 May 2013. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
  10. Lopes, Tiago André Ferreira. "The Offspring of the Arab Spring" (PDF). Strategic Outlook. Observatory for Human Security (OSH). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
  11. "Via Jamestown Foundation". Jamestown. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2012. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
  12. 12.0 12.1 "Adyghe by country". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 8 April 2013.
  13. 13.0 13.1 "Circassians in Iran". Caucasus Times. 9 February 2018.
  14. Besleney, Zeynel Abidin (2014). The Circassian Diaspora in Turkey: A Political History. Routledge. p. 96. ISBN 978-1317910046.
  15. Torstrick, Rebecca L. (2004). Culture and Customs of Israel. Greenwood Publishing Group. p. 46. ISBN 978-0313320910.
  16. Louër, Laurence (2007). To be an Arab in Israel. Columbia University Press. p. 20. ISBN 978-0231140683.
  17. "Всесоюзная перепись населения 1989 года. Национальный состав населения по республикам СССР" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2012. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  18. "The distribution of the population by nationality and mother tongue". 2001.ukrcensus.gov.ua. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  19. "Circassian Princes in Poland: The Five Princes, by Marcin Kruszynski". www.circassianworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  20. "Polish-Circassian Relation in 19th Century, by Radosław Żurawski vel Grajewski". www.circassianworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  21. "Polonya'daki Çerkes Prensler: Beş Prens". cherkessia.net. 26 December 2011. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  22. Zhemukhov, Sufian, Circassian World: Responses to the New Challenges, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2009
  23. Hildebrandt, Amber (14 August 2012). "Russia's Sochi Olympics awakens Circassian anger". CBC News.
  24. "Национальный статистический комитет Республики Беларусь" (PDF) (ภาษาเบลารุส). Statistics of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2013.
  25. "Итоги всеобщей переписи населения Туркменистана по национальному составу в 1995 году" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  26. 2012 Survey Maps เก็บถาวร 2017-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "Ogonek". No 34 (5243), 27 August 2012. Retrieved 24 September 2012.
  27. James Stuart Olson, บ.ก. (1994). An Ethnohistorical dictionary of the Russian and Soviet empires. Greenwood. p. 329. ISBN 978-0-313-27497-8. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
  28. Minahan, James (2010). One Europe, Many Nations: A Historical Dictionary of European National Groups. Greenwood Press. p. 12. ISBN 9780313309847.
  29. "International Circassian Association". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 April 2014.
  30. Unrepresented Nations and Peoples Organization (1998). Mullen, Christopher A.; Ryan, J. Atticus (บ.ก.). Yearbook 1997. The Hague: Kluwer Law International. pp. 67–69. ISBN 978-90-411-1022-0.
  31. Hewitt, George (2005). "North West Caucasian". Lingua. 115 (1–2): 17. doi:10.1016/j.lingua.2003.06.003. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  32. "Главная страница проекта 'Арена' : Некоммерческая Исследовательская Служба СРЕДА". Sreda.org. 19 October 2012. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
  33. Bashqawi, Adel (15 September 2017). Circassia: Born to Be Free. ISBN 978-1543447644.
  34. Gammer, Mos%u030Ce (2004). The Caspian Region: a Re-emerging Region. London: Routledge. p. 67.
  35. Ünal, Muhittin (1996). Kurtuluş Savaşında Çerkeslerin Rolü. ISBN 9789754065824.
  36. Çerkeslerin MİT İçindeki Yeri
  37. Hamed-Troyansky 2017, pp. 608–10.
  38. Hanania 2018, pp. 1–2.
  39. Lewis, Martin W. The Circassian Mystique and its Historical Roots. Retrieved 18 May 2015.
  40. Afaf Lutfi Sayyid-Marsot, "Egypt in the reign of Muhammad Ali Pasha", pp. 123–124.
  41. Yunan Labib Rizk, The making of a king เก็บถาวร 2008-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Al-Ahram Weekly, 762, 29 September – 5 October 2005.
  42. Goldschmidt, Arthur Jr. (2000). Biographical Dictionary of Modern Egypt. Lynne Rienner Publishers. p. 1. ISBN 978-1-55587-229-8. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015.
  43. "Итоги Всероссийской переписи населения 2010 года в отношении демографических и социально-экономических характеристик отдельных национальностей. Приложение 2. Национальный состав населения по субъектам Российской Федерации" (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.