รัฐไบเอิร์น

รัฐสหพันธในทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี
(เปลี่ยนทางจาก Bavaria)

ไบเอิร์น (เยอรมัน: Bayern) หรือในภาษาอังกฤษเรียก บาวาเรีย (อังกฤษ: Bavaria) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น (เยอรมัน: Freistaat Bayern, [ˈfʁaɪʃtaːt ˈbaɪɐn] ( ฟังเสียง); บาวาเรีย: Freistoot Boarn) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ถือเป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน[4] มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวไบเอิร์น 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน

เสรีรัฐไบเอิร์น

Freistaat Bayern (เยอรมัน)
Freistoot Bayern (บาวาเรีย)
ธงเสรีรัฐไบเอิร์น

ธงเสรีรัฐไบเอิร์น
ธง
ตราราชการของเสรีรัฐไบเอิร์น
ตราอาร์ม
เพลง: Bayernhymne (เยอรมัน)
"สดุดีไบเอิร์น"
แผนที่
พิกัด: 48°46′39″N 11°25′52″E / 48.77750°N 11.43111°E / 48.77750; 11.43111
ประเทศเยอรมนี
เมืองหลวงมิวนิก
การปกครอง
 • องค์กรลันท์ทาคแห่งรัฐไบเอิร์น
 • มุขมนตรีMarkus Söder (ซีเอสยู)
 • พรรคการเมืองซีเอสยู / เอฟดับเบิลยู
 • สมาชิกบุนเดิสทาค6 คน (จาก 69 คน)
พื้นที่
 • รวม70,550.19 ตร.กม. (27,239.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019-12-31)[1]
 • รวม13,124,737 คน
 • ความหนาแน่น186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมบาวาเรีย
ประชากร
 • ภาษาทางการ
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัส ISO 3166DE-BY
GRP (nominal)€633 billion (2019)[2]
GRP per capita€48,000 (2019)
NUTS RegionDE2
HDI (2018)0.947[3]
very high · 6th of 16
เว็บไซต์https://www.bayern.de

บาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป และถือเป็นรัฐเยอรมันที่มั่งคั่งรัฐหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาในปีค.ศ. 1806 บาวาเรียยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียภายใต้ระบอบกษัตริย์ และเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันในปีค.ศ. 1871 เมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าลูทวิชที่ 3 แห่งบาวาเรีย จำยอมต้องสละราชสมบัติ บาวาเรียจึงปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐนับตั้งแต่นั้น โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น

การปกครอง

แก้

ส่วนการปกครองไบเอิร์นนำโดยมุขมนตรีเสรีรัฐไบเอิร์น (Ministerpräsident des Freistaates Bayern) ซึ่งมาจากการลงมติของสภารัฐไบเอิร์น มีวาระดำรงตำแหน่งห้าปี มุขมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งรองมุขมนตรีจำนวนหนึ่งคน รัฐมนตรีว่าการทบวงจำนวนสิบเอ็ดคน รัฐมนตรีว่าการเฉพาะกิจไม่เกินหกคน

ส่วนการปกครองไบเอิร์นประกอบด้วย[5]

  • ทำเนียบว่าการรัฐ (Staatskanzlei)
  • ทบวงมหาดไทย กีฬา และบูรณาการ (Staatsministerium des Innern, für Sport und Integration)
  • ทบวงการที่อยู่อาศัย การโยธา และคมนาคม (Staatsministerium für Wohnen, Bau und Verkehr)
  • ทบวงยุติธรรม (Staatsministerium der Justiz)
  • ทบวงการศึกษาและวัฒนธรรม (Staatsministerium für Bildung und Kultus)
  • ทบวงวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Staatsministerium für Wissenschaft und Kunst)
  • ทบวงการคลังและเคหการ (Staatsministerium der Finanzen und für Heimat)
  • ทบวงเศรษฐกิจ พัฒนาการภูมิภาค และพลังงาน (Staatsministerium für Wirtschaft, Landesentwicklung und Energie)
  • ทบวงสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองผู้บริโภค (Staatsministerium für Umwelt und Verbraucherschutz)
  • ทบวงอาหาร เกษตรกรรม และป่าไม้ (Staatsministerium für Ernährung, Landwirtschaft und Forsten)
  • ทบวงครอบครัว แรงงาน และสังคม (Staatsministerium für Familie, Arbeit und Soziales)
  • ทบวงสุขภาพและบริบาล (Staatsministerium für Gesundheit und Pflege)
  • ทบวงกิจการดิจิทัล (Staatsministerium für Digitales)

เขตการปกครอง

แก้
 
ส่วนภูมิภาคของรัฐบาวาเรีย

รัฐไบเอิร์นแบ่งออกเป็น 7 ส่วนภูมิภาคเทียบเท่าจังหวัดที่เรียกว่า เรกีรุงชเบเซิร์ค อันประกอบด้วย:

  1. โอเบอร์ฟรังเคิน (Oberfranken)
  2. มิทเทิลฟรังเคิน (Mittelfranken)
  3. อุนเทอร์ฟรังเคิน (Unterfranken)
  4. ชวาเบิน (Schwaben)
  5. โอเบิร์พฟัลทซ์ (Oberpfalz)
  6. โอเบอร์ไบเอิร์น (Oberbayern)
  7. นีเดอร์ไบเอิร์น (Niederbayern)

เมืองใหญ่

แก้

รายชื่อเมืองใหญ่สุดในรัฐไบเอิร์น

เมือง ส่วนภูมิภาค ประชากร
(2000)
ประชากร
(2015)
เปลี่ยนแปลง
(%)
มิวนิก โอเบอร์ไบเอิร์น 1,210,223 1,450,381 +19.8
เนือร์นแบร์ค มิทเทิลฟรังเคิน 488,400 509,975 +4.3
เอาคส์บวร์ค ชวาเบิน 254,982 286,374 +12.6
เรเกินส์บวร์ค โอเบิร์พฟัลทซ์ 125,676 145,465 +16.0
อิงก็อลชตัท โอเบอร์ไบเอิร์น 115,722 132,438 +14.8
เวือทซ์บวร์ค อุนเทอร์ฟรังเคิน 127,966 124,873 -2.3
เฟือร์ท มิทเทิลฟรังเคิน 110,477 124,171 +12.7
แอร์ลังเงิน มิทเทิลฟรังเคิน 100,778 108,336 +7.5
ไบร็อยท์ โอเบอร์ฟรังเคิน 74,153 72,148 −2.7
บัมแบร์ค โอเบอร์ฟรังเคิน 69,036 73,331 +5.8
อชัฟเฟินบวร์ค อุนเทอร์ฟรังเคิน 67,592 68,986 +2.0
ลันทซ์ฮูท อุนเทอร์ไบเอิร์น 58,746 69,211 +17.9
เค็มพ์เทิน ชวาเบิน 61,389 66,947 +9.1
โรเซินไฮม์ โอเบอร์ไบเอิร์น 58,908 61,844 +4.9
น็อย-อุล์ม ชวาเบิน 50,188 57,237 +14.1
ชไวน์ฟวร์ท อุนเทอร์ฟรังเคิน 54,325 51,969 −4.4

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Bevölkerung: Gemeinden, Geschlecht, Quartale, Jahr". Bayerisches Landesamt für Statistik und Datenverarbeitung (ภาษาเยอรมัน). August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  2. "GDP NRW official statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
  3. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  4. "State population". Portal of the Federal Statistics Office Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-04-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-25.
  5. "Staatsministerien – Bayerisches Landesportal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 April 2021.