2008 TC3
2008 TC3 (ชื่อรหัสชั่วคราวตามโครงการสำรวจท้องฟ้าคาทาลินา ว่า 8TA9D69) เป็นอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2 - 5 เมตร (6.6 - 16 ฟุต) ที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 2:46 น. ตามเวลามาตรฐาน (หรือเวลา 5:46 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศซูดาน) และเผาไหม้กลายเป็นจุณก่อนจะตกลงกระทบพื้น[2]
ทางที่ถูกคาดการณ์ของอุกกาบาตในเส้นสีแดง พร้อมกับจุดที่คาดว่าจะตกโดย METEOSAT IR (จุดสีส้ม) และจุดที่พบแสงระเบิด (สีเขียว) | |
การค้นพบ | |
---|---|
ค้นพบโดย: | Catalina Sky Survey |
ค้นพบเมื่อ: | 6 ตุลาคม ค.ศ.2008, 06:39 UTC |
ชื่อตามระบบ MPC: | 2008 TC3 |
ชื่ออื่น ๆ: | Near-Earth object (NEO), Apollo asteroid |
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: | F/M |
ลักษณะของวงโคจร[1] | |
ต้นยุคอ้างอิง 7 ตุลาคม ค.ศ.2008 (JD 2454746.5) | |
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 1.71644 AU (256.776 Gm) |
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 0.899957 AU (134.6317 Gm) |
ระยะจุดใกล้ศูนย์กลางวงโคจรที่สุด: | 3.57975 AU (535.523 Gm) |
กึ่งแกนเอก: | 1.308201 AU (195.7041 Gm) |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.312065 |
เดือนทางดาราคติ: | 1.50 yr (546.53 d) |
มุมกวาดเฉลี่ย: | 330.7541° |
ความเอียง: | 2.54220° |
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 194.101138° |
Longitude of the periastron: | 234.44897° |
ลักษณะทางกายภาพ | |
มิติ: | 4.1 เมตร |
พื้นที่ผิว: | 0.1 ±0.03 |
มวล: | 80 ตัน (80000 กิโลกรัม) |
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | ~1.5 กรัม/เซนติเมตร3 |
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | 0.6587071°/วัน |
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: | 0.0269409 h (1.61645 min)[1] |
อัตราส่วนสะท้อน: | 30.4[1] |
การค้นพบ
แก้ผู้ค้นพบอุกกาบาตนี้คือเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ประจำศูนย์สำรวจท้องฟ้าคาทาลินา (Catalina Sky Survey : CSS) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 1.564 เมตร ที่ภูเขาเลมมอน ทางตอนเหนือของทัคสัน รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา ประมาณ 1 วันก่อนการเข้าชน[3][4] อุกกาบาตมีขนาดเล็กมากและมีสีดำมืด ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก[5]
อุกกาบาตนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัตถุท้องฟ้าชนิดแรกที่มีการพบเห็นก่อนจะเข้ามาถึงโลก[6] ระบบตรวจจับในการป้องกันทางอวกาศทั้งหมดรายงานการสังเกตการณ์พบ คำนวณวงโคจร และคาดการณ์การชนของอุกกาบาต มีการแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครสังเกตการณ์ในการเฝ้าติดตามการเคลื่อนที่ มีรายงานทางดาราศาสตร์กว่า 570 ชิ้นและภาพถ่ายอีกเป็นจำนวนมากที่ส่งเข้ามายังศูนย์ดาวเคราะห์ขนาดเล็ก (Minor Planet Center) ภายในเวลาไม่ถึง 19 ชั่วโมง CLOMON 2 semi-automatic monitoring system แห่งมหาวิทยาลัยปิซา เป็นผู้ทำนายการชนกับโลก[7][8] พร้อมกันกับ Sentry system ของ Jet Propulsion Laboratory การสังเกตการณ์สเปคตรัมดำเนินการโดยเหล่านักดาราศาสตร์ที่ La Palma หมู่เกาะคานารี โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิลเลียม เฮอร์เชล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "JPL Small-Body Database Browser: (2008 TC3)" (last observation: October 7, 2008; arc: 1 day). Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ March 28, 2016.
- ↑ ฟิล เพลต (2008-10-06). "Incoming!!!". Bad Astronomy. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Williams, Gareth Veronica (2008-10-06). "MPEC 2008-T50". Minor Planet Center. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Huntington, Jenny (2008-10-07). "Small Asteroid Enters Earth’s Atmosphere เก็บถาวร 2008-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". eFluxMedia. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Ceck, Alexis (2008-10-07). "Asteroid To Entertain Viewers เก็บถาวร 2008-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". eFluxMedia. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ Roylance, Frank (2008-10-07). "Predicted meteor may have been sighted", MarylandWeather. Retrieved on 2008-10-08.
- ↑ "NEODys Main Risk Page". เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.
- ↑ "NEODys 2008 TC3 page". เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-10-08.