ไกสอน พมวิหาน เอกสารไทยบางแห่งสะกดว่า ไกรสร พรหมวิหาร (ลาว: ໄກສອນ ພົມວິຫານ; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2463 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535) เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวคนแรก และนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และต่อมาในปีพ.ศ. 2534 ได้เป็นประธานาธิบดีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อพ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานของไกสอน พมวิหาน อยู่ทุกแขวงทุกเมืองทั่วประเทศ และมีรูปของเขาปรากฏบนธนบัตรสกุลเงินกีบของลาวด้วย

ไกสอน พมวิหาน
ໄກສອນ ພົມວິຫານ
เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม ค.ศ. 1955 – 29 มีนาคม ค.ศ. 1991
ประธานาธิบดีเจ้าสุภานุวงศ์
ก่อนหน้าสถาปนาพรรค
ถัดไปตนเอง (ในฐานะประธาน)
ประธานคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าตนเอง (ในฐานะเลขาธิการใหญ่)
ถัดไปคำไต สีพันดอน
ประธานาธิบดีลาว คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม ค.ศ. 1991 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992
นายกรัฐมนตรีตนเอง
คำไต สีพันดอน
ประธานพรรคตนเอง
ก่อนหน้าเจ้าสุภานุวงศ์
ถัดไปหนูฮัก พูมสะหวัน
นายกรัฐมนตรีลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
8 ธันวาคม ค.ศ. 1975 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1991
ประธานาธิบดีเจ้าสุภานุวงศ์
ตนเอง
รองนายกรัฐมนตรี
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าสถาปนาสาธารณรัฐ
เจ้าสุวรรณภูมา (ราชอาณาจักร)
ถัดไปคำไต สีพันดอน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เหงียน กาย ซ็อง

13 ธันวาคม ค.ศ. 1920(1920-12-13)
บ้านนาแซง แขวงสุวรรณเขต อาณาจักรหลวงพระบาง อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992(1992-11-21) (71 ปี)
นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
สัญชาติลาว
ศาสนาพุทธเถรวาท
พรรคการเมืองประชาชนปฏิวัติลาว
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สมาคมวัยหนุ่มกู้ชาติเวียดมินห์ (ค.ศ. 1944–1945)
ลาวอิสระ (ค.ศ. 1945–1949)
คู่สมรสทองวิน พมวิหาน (สมรส 1954)
บุตร
บุพการี
  • ล้วน พมวิหาน (บิดา)
  • ดก พมวิหาน (มารดา)
การศึกษาลีเซดูว์พรอแต็กตอรา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอินโดจีน
อาชีพนักข่าว นักการเมือง

ประวัติ

แก้

ไกสอน พมวิหาน มีชื่อภาษาเวียดนามว่า เหงียน กาย ซ็อง (เวียดนาม: Nguyen Cai Song)[1] หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เหงียน จี๊ มืว (Nguyễn Trí Mưu ) เป็นบุตรของนายล้วน หรือเหงียน จี๊ ลวาน (เวียดนาม: Nguyễn Trí Loan) เป็นชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ข้าราชการแปลภาษาที่สำนักงานผู้สำเร็จรัฐการฝรั่งเศสประจำแขวงสุวรรณเขต กับนางดก มารดาชาวลาว[2][3] เกิดที่บ้านนาแซง เมืองคันธบุรี (ปัจจุบันคือเมืองไกสอน พมวิหาน) แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว มีน้องสาวสองคน คือ นางสุวรรณทอง อาศัยอยู่ในประเทศไทย และนางกองมณี อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา[3]

เมื่ออายุ 7 ปี ได้เข้าเรียนโรงเรียนประถมศึกษาภาษาลาวที่บ้านเหนือ (ปัจจุบันคือบ้านไซยะพูม) ต่อมาเข้าเรียนโรงเรียนประถมภาษาฝรั่งเศสที่บ้านใต้ (บ้านท่าแฮ่) เมื่อเรียนจบชั้นประถมเมื่อปี ค.ศ. 1934 ได้เข้าเรียนมัธยมศึกษาที่ลีเซดูว์พรอแต็กตอรา (Lyceé du Protectorat ) กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อเรียนจบวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1942 ได้สอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาแพทย์ตามคำแนะนำของพ่อ แต่เมื่อได้เรียน เนื่องจากวิชาดังกล่าวไม่ถูกกับบุคลิก และความชอบในวิชาชีพ เขาจึงได้เปลี่ยนมาเรียนวิชากฎหมายแทน

การเรียนวิชากฎหมาย ทำให้เขาได้เรียนรู้กลไกการปกครองแบบหัวเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขบวนการต่อสู้ของนักเรียนนักศึกษาที่รักชาติต้านลัทธิล่าเมืองขึ้น ในช่วงนั้น ขบวนการเวียดมินห์ ภายใต้การนำพาของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน โดยประธานโฮจิมินห์ ไกสอนได้ศึกษาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ เช่น เลอทราวาย (Le Travail ), หนังสือทฤษฎีปฏิวัติ ซึ่งในนั้นรวมทั้งมติของกองประชุมสากลคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1919 และหนังสืออื่น ๆ เกี่ยวกับโซเวียต เงื่อนไข และสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งการต่อสู้ของเวียดมินห์ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแนวคิด และเส้นทางชีวิตของเขา เขาเคยมีความเห็นว่า การเคลื่อนไหวของเวียดมินห์ได้ทำให้เขาเกิดแนวคิดรักชาติและอยากให้ประเทศเป็นเอกราช

ค.ศ. 1944 ไกสอนได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมวัยหนุ่มกู้ชาติเวียดมินห์ เขาได้ร่วมกิจกรรมของสมาคมนี้อย่างมากมาย ทำให้เขาได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวของเวียดมินห์ มาถึงเวลานี้ ไกสอน พมวิหาน ไม่เพียงแต่เป็นนักรักชาติที่มีสติตื่นตัวแล้วเท่านั้น แต่หากยังมีแนวคิดปฏิวัติอีกด้วย

ค.ศ. 1945 สภาพการของโลกได้ผันแปรไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อชะตากรรมของบรรดาประชาชาติอินโดจีน ต้นเดือนมีนาคม 1945 ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้จัดกองประชุมขึ้น เพื่อตระเตรียมเงื่อนไขอันจำเป็นให้แก่การลุกฮือขึ้นยึดอำนาจการปกครอง เอาเอกราชแห่งชาติมาให้บรรดาประเทศในอินโดจีน

วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองทัพแดงโซเวียตได้รับชัยชนะกองทัพฟาสซิสต์เยอรมัน ทำให้เป็นโอกาสอันอำนวยสำหรับการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจได้เกิดขึ้นสำหรับประชาชนในแหลมอินโดจีน ไกสอนซึ่งก็มาถึงสุวรรณเขตไม่กี่วันก็ได้เคลื่อนไหวค้นหานักรักชาติในขบวนการลาวอิสระ ทั้งดำเนินการปลุกระดมและจัดตั้งชาวหนุ่มลาวและเวียดนามต่างด้าวเข้าร่วมในขบวนการต่อสู้ยึดอำนาจที่สุวรรณเขต

ตามบทเขียนของสีซะนะ สีสาน ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าร่วมในขบวนนั้นให้รู้ว่า "ในขณะนั้น สหายไกสอน พร้อมด้วยคณะผู้แทนชาวสุวรรณเขต ได้ไปหาพวกญี่ปุ่น และทวงให้ญี่ปุ่นมอบอำนาจให้แก่ชาวลาว ในที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1945 พวกญี่ปุ่นก็ได้ยอมมอบปืน 120 กระบอก พร้อมลูกปืนหลายหีบให้แก่ชาวสุวรรณเขต กองกำลังประกอบอาวุธประชาชนได้รับการจัดตั้งขึ้นในทันที และพร้อมกันนั้น ประธาน ไกสอน และผู้เขียน (สีซะนะ) ก็ได้พากันออกไปบ้านบอกให้บรรดากำลังประกอบอาวุธ "ลาวอิสระ" เข้ามาสุวรรณเขต เพื่อสมทบกับกำลังประกอบอาวุธประชาชนที่ได้จัดตั้งไว้ก่อนแล้วให้เป็นกำลังประกอบอาวุธอันเดียวกัน ภายหลังที่การยึดอำนาจเรียบร้อยแล้ว ท่านไกสอน พมวิหาน ก็ได้รับผิดชอบแผนกแถลงข่าวของแขวง"

วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 พวกทหารฝรั่งเศสได้บุกโจมตีเข้าตัวเมืองสุวรรณเขต พวกเขาได้ถูกตอบโต้คืนอย่างแข็งแรงจากกำลังประกอบอาวุธประชาชน ต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 เขาได้เป็นเจ้าการเคลื่อนไหวปลุกระดม และจัดตั้งมวลชนชาวสุวรรณเขตเกือบ 2,000 คนเข้าร่วมในพิธีต้อนรับเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ที่ได้เดินทางมาจากประเทศเวียดนาม ผ่านสุวรรณเขต เพื่อไปเข้าร่วมในคณะรัฐบาลลาวอิสระที่เวียงจันทน์

ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1945 เขาได้ออกเดินทางจากสุวรรณเขตไปฮานอย เพื่อรวบรวมชาวลาวที่อาศัยอยู่เวียดนามเข้าร่วมการต่อสู้ เวลาอยู่ฮานอย เขาได้เข้าทำงานที่วิทยุกระจายเสียงเวียดนาม ภาคภาษาลาว ทำหน้าที่เขียนบทข่าวโฆษณา เขียนบทวิจารณ์ แปลข่าวจากภาษาเวียดนามและภาษาฝรั่งเศสมาเป็นภาษาลาว บางครั้งเขายังเป่าแคนออกทางวิทยุกระจายเสียงอีก ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1946 ไกสอนได้เข้าร่วมทำงานในคณะติดต่อลาว-เวียดนามที่ฮานอย องค์การนี้เป็นองค์การรวบรวบคนลาวที่อยู่ฮานอยและแขวงต่าง ๆ ของเวียดนาม เพื่อจัดตั้งองค์การกู้ชาติของคนลาวที่อยู่ในเวียดนามหรือที่อพยพไปเวียดนาม

 
ไกสอน พมวิหานต้อนรับกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลลาวจากเยอรมันตะวันออก
 
ไกสอน พมวิหานและทูตเยอรมันตะวันออกขณะดูงานการเกษตรในประเทศลาว

ไกสอนในยุคต่อสู้กับพวกจักรวรรดินิยมล่าเมืองขึ้นทั้งเก่าและใหม่ ร่วมกับผู้นำคนอื่น ๆ ได้แก่ เจ้าสุภานุวงศ์, หนูฮัก พูมสะหวัน, คำไต สีพันดอน ไกสอนเป็นผู้นำในการต่อสู้ทางการทหารเข้ามาในภารกิจปลดปล่อยชาติ โดยใช้ยุทธวิธี "บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น" สร้างตั้งพรรคประชาชนลาว โดยเขาเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคนแรก โดยในช่วงนั้นพรรคดำเนินงานอย่างปิดลับ โดยแนวลาวฮักซาดเป็นตัวแทนให้กับพรรค จนสามารถปลดปล่อยประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์ จนประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ. 2518 พรรคจึงดำเนินงานอย่างเปิดเผย เขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2535

ไกสอน พมวิหาน เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล และพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งแรกที่จังหวัดหนองคาย และเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาวด้วย แต่เขาถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานาธิบดีคนต่อมาจึงได้ร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพแทน

พ.ศ. 2553 เป็นปีที่ไกสอน พมวิหาน มีอายุครบ 90 ปี พรรคและรัฐบาลลาวได้จัดงานเฉลิมฉลอง โดยเฉพาะครอบครัวพมวิหาน นำโดยนางทองวิน พมวิหาน ภริยา ได้จัดพิธีอุทิศส่วนกุศลที่บ้านของเขา ในวันที่ 9 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีการสวดพระปริตมงคล ตอนเช้าถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ 9 รูป ส่วนงานที่เป็นรัฐพิธี จัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม

ปัจจุบันอัฐิของเขาได้ประดิษฐานไว้ร่วมกับผู้นำในอดีตคนอื่น ๆ ณ สุสานแห่งชาติ หลัก 24 เมืองไซทานี นครหลวงเวียงจันทน์[4]

อนุสรณ์สถานไกสอน พมวิหาน

แก้

อนุสรณ์สถานไกสอน พมวิหาน ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือท่าด่านประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นอนุสรณ์สถานของไกสอน พมวิหาน อดีตประธานาธิบดีซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวลาว เพราะได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศไว้เป็นจำนวนมาก โดยเป็นผู้นำในการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสและการปกครองระบอบกษัตริย์ที่มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ปัจจุบันประชาชนชาวลาวโดยเฉพาะในแขวงบ่อแก้ว เดินทางไปเคารพอนุสรณ์สถานของเขาอย่างสม่ำเสมอ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เวียดนาม:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -   เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราทอง

อ้างอิง

แก้
  1. Asia & Pacific Review Published by World of Information, 1994, ISBN 0-7494-1069-8, pg 117
  2. ປະຫວັດປະທານ ໄກສອນ ພົມວິຫານ (PDF). ກະຊວງປ້ອງກັນປະເທດ.
  3. 3.0 3.1 Dommen, Arthur J. (2001). The Indochinese Experience of the French and the Americans: Nationalism and Communism in Cambodia, Laos, and Vietnam. Indiana University Press. p. 181. ISBN 0-253-33854-9.
  4. Tappe, Oliver (6 April 2012). "Revolutionary remains". New Mandala (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 23 February 2021.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นายไกสอน พมวิหาน, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๒ ง, ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๖๓๒
  6. Dorticós Osvaldo (1976-09-09). "Discurso pronunciado en la ceremonia de imposición de la Orden Jose Martí a Kaysone Phomvihane, el 8 de septiembre de 1976". Granma. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2015-03-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ไกสอน พมวิหาน ถัดไป
พูมี วงวิจิด
(รักษาการ)
   
ประธานาธิบดีลาว
(15 สิงหาคม พ.ศ. 253421 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
  หนูฮัก พูมสะหวัน
ไม่มี    
เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
(22 มีนาคม พ.ศ. 2498 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2534)
  ตำแหน่งประธานพรรค
ไกสอน พมวิหาน
ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่
ไกสอน พมวิหาน
   
ประธานคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
(29 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
  คำไต สีพันดอน
เจ้าสุวรรณภูมา    
นายกรัฐมนตรีลาว
(8 ธันวาคม พ.ศ. 251815 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
  คำไต สีพันดอน

แม่แบบ:ประธานาธิบดีลาว

แม่แบบ:ปี