พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (ลาว: ພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ; ฝรั่งเศส: Parti révolutionnaire populaire lao; อังกฤษ: Lao People's Revolutionary Party, อักษรย่อ: LPRP) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งและบริหารประเทศลาวในปัจจุบัน
พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວ พักปะซาซนปะติวัดลาว | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | เจ้าสุภานุวงศ์ ไกสอน พมวิหาน |
เลขาธิการทั่วไป | ทองลุน สีสุลิด |
สมาชิกประจำ | บุนทอง จิดมะนี |
คำขวัญ | พรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีเกียรติสง่า ยั่งยืน! บรรเทาความทุกข์ยากความทุกข์จนทีละก้าว |
ก่อตั้ง | 22 พฤษภาคม 1955 |
ก่อนหน้า | พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน |
ที่ทำการ | นครหลวงเวียงจันทน์, ประเทศลาว |
หนังสือพิมพ์ | ปะซาซน |
ฝ่ายเยาวชน | สหภาพเยาวชนปฏิวัติประชาชนลาว |
ฝ่ายทหาร | กองทัพประชาชนลาว |
สมาชิกภาพ (ปี ค.ศ. 2021) | 348,686 |
อุดมการณ์ | ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิมากซ์-เลนิน แนวคิดไกสอน พมวิหาน รักชาติลาว (ชาตินิยมลาว) |
จุดยืน | ซ้ายจัด |
กลุ่มระดับสากล | การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์และแรงงานระหว่างประเทศ |
เพลง | "แองเตอร์นาซิอองนาล" *เพลงปฏิวัติ-สหาย (ไม่เป็นทางการ) |
สภาแห่งชาติ | 158 / 164
|
เว็บไซต์ | |
http://www.pccob.gov.la/ | |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองลาว รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้ภูมิหลัง ก่อตั้ง และการปฏิวัติประชาธิปไตยแห่งชาติ (ค.ศ. 1945–1975)
แก้พรรคที่มีมาก่อน LPRP คือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน (ICP) [1] ซึ่งก่อตั้งโดยผู้นำเวียดนามโฮจิมินห์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 เพื่อก่อตั้งองค์การคอมมิวนิสต์สากล (โคมินเทิร์น)[1] ทาง ICP มีเป้าที่ "จะขจัดระบอบศักดินา เพื่อแจกจ่ายที่ดินให้ผู้ไถนา เพื่อโค่นระบอบจักรวรรดินิยม และทำให้อินโดจีนเป็นเอกราช"[1] เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม ทำให้เดิม ICP มีชื่อว่า "พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม"[1] ซึ่งเปลี่ยนชื่อเพราะความไม่พอใจของโคมินเทิร์นต่อองค์การที่มีความเป็นชาตินิยมเวียดนาม[1] และความเชื่อที่ว่า แรงงานในเวียดนาม กัมพูชา และลาว มีความคล้ายคลังกันมากกว่า[1] ถึงกระนั้น พรรค ICP ยังคงอยู่จนกระทั่งยุบตัวลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤษจิกายน ค.ศ. 1945[1] ในตอนนั้น กลุ่ม ICP ไม่เคยมีสมาชิกเป็นชาวลาวหรือกัมพูชาเลย[1] ทำให้ใน ค.ศ. 1946 มีการจัดตั้ง ICP ใต้ดินเพื่อรับเลือกกลุ่มแกนนำคอมมิวนิสต์ชาวลาว[1] อย่างไรก็ตาม การไม่มีตัวแทนชาวลาวใน ICP ใต้ดินยังคงสร้างปัญหา และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 มีสมาชิก 81 คนจาก 2,091 คนที่เป็นชาวลาว[2]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 ICP ใต้ดินได้จัดงานสภาแห่งชาติครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคแรงงานเวียดนาม (WPV)[3] หลังจากนั้น พันธมิตรเวียด-ลาว-เขมรได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อลัทธิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกัน[3] ใน ค.ศ. 1952 ทาง WPV ได้จัดตั้งคณะกรรมการองค์การพรรคที่มีสมาชิกห้าคน: ไกสอน พมวิหาร (ในฐานะเลขาธิการ), หนูฮัก พูมสะหวัน, สีสะหวาด แก้วบุนพัน, บุน พูมมะหาไซ และคำเสน[4][3] สองปีต่อมา มีการจัดตั้งหน่วยลับคอมมิวนิสต์ทั่วลาว และในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1955 ได้มีการก่อตั้งสภาและพรรคประชาชนลาว (LPP)[5] อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน และ LPP เกือบถูกกำจัดจากการปราบปรามของรัฐบาลใน ค.ศ. 1959[5] เวียดนามเหนือเพิ่มการสนับสนุน LPP และปะเทดลาว[6] และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 พรรคนี้ได้ควบคุมเกือบครึ่งประเทศ[6]แม้ว่าจะเป็นแกนหลักในการก่อกำเริบใน ค.ศ. 1955 ถึง 1975 พรรคนี้ยังคงเป็นตนเองเป็นความลับ โดยมีชาวลาวเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่ามีพรรคหรือชื่อหัวหน้าพรรคในช่วงนั้น[7]
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 หลังมีสงครามเป็นเวลาหลายปี มีการละเมิดสัญญาสงบศึกของรัฐบาลราชอาณาจักรลาว[8] ซึ่งคล้ายกับการคลี่คลายในเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1974 ถึง 1975 รัฐบาลราชอาณาจักรลาวเผชิญกับการก่อกบฏหลายครั้ง[9] ทำให้พรรคนี้ ซึ่งคือปะเทดลาว ควบคุมถนนที่มีเส้นทางไปที่เวียงจันทน์ ซึ่งตัดขาดเสบียงไปยังเมืองหลวง[9] ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วเมืองเวียงจันทน์ ทำให้มีรัฐมนตรี 5 คนลาออก[10] รัฐบาลจึงจัดการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1976 ซึ่งเป็นความพยายามในการรักษาพระมหากษัตริย์ครั้งสุดท้าย[11] ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ตัวแทนพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถทำให้พระมหากษัตริย์สละทรัพย์สินส่วนพระองค์และสละราชสมบัติ"ด้วยความสมัครใจ"[12] ทำให้พรรคนี้ได้จัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งชาติในวันที่ 1–2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 สภานี้ประกาศยุบราชอาณาจักรลาว ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชชนลาว และประกาศสิ้นสุดสงครามที่ดำรงเป็นเวลา 30 ปี[11]
พรรคการเมืองที่ปกครอง (ค.ศ. 1975–ปัจจุบัน)
แก้หลังรัฐบาลกษัตริย์ล่มสลาย และการยึดครองของพวกคอมมิวนิสต์ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน[13] และใน ค.ศ. 1980 ร้อยละ 10 ของประชากรได้หนีออกจากประเทศแล้ว[14] ในช่วงที่ได้อำนาจแรก ๆ พรรคนี้ยังคงอยู่แบบลับ ๆ[14] เช่น ในตอนนั้นผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักไกสอน พมวิหาน เลขาธิการทั่วไป LPRP[14] รัฐบาลใหม่ได้ปิดองค์กรข่าวอิสระอย่างรวดเร็ว[15] ส่วนองค์กรที่ไม่ถูกยุบจะถูกบังคับให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวลาวส้างซาด (LFNC) องค์กรมวลชนที่ควบคุมโดย LPRP[16]
ใน ค.ศ. 1978 ทาง LPRP ยังดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเกษตรแบบนารวม[17] เป้าหมายหลักสองอย่างของวิธีการทำนารวมคือ (1) ยกเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคลในพื้นที่ชนบท และ (2) สร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในพื้นที่ที่รัฐบาลราชอาณาจักรลาวเคยควบคุม[18] แต่ผลที่ออกมากลับตรงกันข้าม การทำนารวมดำเนินการไปได้ยาก และมีการต่อต้านนโยบายนี้ในบางพื้นที่[18] ผลที่ตามมา ทำให้คณะกรรมการกลาง LPRP ยกเลิกการทำนารวมใน ค.ศ. 1981[19] แล้วไปใช้เครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ[20] ใน ค.ศ. 1988 ไกสอน พมวิหารยอมรับว่าการทำนารวมเป็นความล้มเหลว[20] สองปีต่อมา ใน ค.ศ. 1990 สหกรณ์การเกษตรทั้งหมดล่มสลายไปจนเกือบหมด[21]
การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปส่งผลกระทบมาที่ลาวอย่างหนัก[22] นักศึกษาบางคนเริ่มวิจารณ์อำนาจของพรรค และเริ่มเรียกร้องให้นำระบบหลายพรรคมาใช้[22] พรรคประชาชนปฏิวัติลาวไม่ได้เปลี่ยนระบบ และทองสุก ไซสังคี (Thongsouk Saisangkhi) ร่วมกับLatsami Khamphoui รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผน กับPheng Sakchittaphong เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมถูกจับในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 14 ปีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1992[22] หลังจากนั้นในปีเดียวกัน การใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกล่าวว่าประเทศลาวเป็นเผด็จการประชาธิปไตยของปวงชนภายใต้การปกครองของ LPRP[23]
การบริหารของพรรคและรัฐยังคงทนมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[24] หลังดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปพรรคเป็นเวลา 14 ปี คำไต สีพันดอนลาออกใน ค.ศ. 2006 และจูมมะลี ไซยะสอนดำรงตำแหน่งต่อ 10 ปี[25] ใน ค.ศ. 2016 บุนยัง วอละจิดดำรงตำแหน่งนี้จนถึง ค.ศ. 2021[26] ปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือทองลุน สีสุลิด[27]
ดูเพิ่ม
แก้- พรรคประชาชนกัมพูชา พรรคที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1979
- พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1949
- พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา พรรคที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1965
- พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม พรรคที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1945
- พรรคแรงงานเกาหลี พรรคที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1946
อ้างอิง
แก้จำเพาะ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Zasloff 1973, p. 12.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 136.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Zasloff 1973, p. 13.
- ↑ Stuart-Fox 2008, p. 66.
- ↑ 5.0 5.1 Zasloff 1973, p. 14.
- ↑ 6.0 6.1 Zasloff 1973, pp. 14–5.
- ↑ "Lao People's Revolutionary Party - LPRP". Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
- ↑ Brown & Zasloff 1976, p. 193.
- ↑ 9.0 9.1 Brown & Zasloff 1976, p. 194.
- ↑ Brown & Zasloff 1976, p. 195.
- ↑ 11.0 11.1 Brown & Zasloff 1976, p. 197.
- ↑ Brown & Zasloff 1976, pp. 196–7.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, pp. 176–7.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Stuart-Fox 2008a, p. 177.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 178.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 179.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 191.
- ↑ 18.0 18.1 Stuart-Fox 2008a, p. 193.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 194.
- ↑ 20.0 20.1 Stuart-Fox 2008a, p. 195.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 196.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Stuart-Fox 2008a, p. 200.
- ↑ Stuart-Fox 2008a, p. 201.
- ↑ Wescott 2003, p. 246.
- ↑ Gunn 2007, p. 183–4.
- ↑ Gunn 2017, p. 206.
- ↑ "Laos Communist Party names PM Thongloun as new leader". Reuters. 15 January 2021. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.
บรรณานุกรม
แก้หนังสือ:
- Wescott, Clay (2003). "Combating Corruption in Southeast Asia". ใน Frank-jurgen Richter & John Kidd (บ.ก.). Fighting Corruption In Asia: Causes, Effects And Remedies. World Scientific. ISBN 978-9814486934.
- Son, Bui Ngoc (2020). Constitutional Change in the Contemporary Socialist World. Oxford University Press. ISBN 978-0198851349.
- Stuart-Fox, Martin (2002). Buddhist Kingdom, Marxist State: The Making of Modern Laos (2nd ed.). University of Michigan. ISBN 978-9748496481.
- Stuart-Fox, Martin (2008a). A History of Laos (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0521597463.
- Stuart-Fox, Martin (2008b). Historical Dictionary of Laos. Scarecrow Press. ISBN 978-0-81086-411-5.
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548
วิทยานิพนธ์:
- Punya, Supitcha (January 2019). Restructuring Domestic Institutions: Democratization and Development in Laos (PDF) (วิทยานิพนธ์). Humboldt University of Berlin.
- Soukamneuth, Bounlonh J. (August 2006). The Political Economy of Transition in Laos: From Peripheral Socialism to the Margins of Global Capital (PDF) (วิทยานิพนธ์). Cornell University.
วารสาร:
- Creak, S.; Sayalath, S. (2017). "Regime Renewal in Laos: The Tenth Congress of the Lao People's Revolutionary Party" (PDF). Southeast Asian Affairs: 177–200. doi:10.1355/9789814762878-014.
- Creak, Simon; Barney, Keith (2018). "Conceptualising Party-State Governance and Rule in Laos". Journal of Contemporary Asia. 48 (5): 693–716. doi:10.1080/00472336.2018.1494849. S2CID 158403649.
- Gunn, Geoffrey (2007). "Laos in 2006: Changing of the Guard". Asian Survey. University of California Press. 47 (1): 183–188. doi:10.1525/as.2007.47.1.183. JSTOR 10.1525/as.2007.47.1.183.
- Gunn, Geoffrey (2017). "Laos in 2016: Difficult History, Uncertain Future". Asian Survey. University of California Press. 57 (1): 206–210. doi:10.1525/as.2017.57.1.206. JSTOR 26367743.
- High, Holly (2013). "LAOS IN 2012: In the Name of Democracy". Southeast Asian Affairs. ISEAS–Yusof Ishak Institute: 137–152. JSTOR 23471141.
- Meng, Ng Shui (1993). "LAOS 1992: At the Crossroads". Southeast Asian Affairs. ISEAS–Yusof Ishak Institute. 1993: 185–200. doi:10.1355/SEAA93J. JSTOR 27912075.
- Stuart-Fox, Martin (Autumn 1983). "Marxism and Theravada Buddhism: The Legitimation of Political Authority in Laos". Pacific Affairs. University of British Columbia. 56 (3): 428–454. doi:10.2307/2758191. JSTOR 2758191.
- Stuart-Fox, Martin (2007). "LAOS: Politics in a Single-party State". Southeast Asian Affairs. ISEAS–Yusof Ishak Institute. 2007: 161–180. doi:10.1355/SEAA07H. JSTOR 27913331.
- Yamada, Norihiko (2018). "Legitimation of the Lao People's Revolutionary Party: Socialism, Chintanakan Mai (New Thinking) and Reform". Journal of Contemporary Asia. 58 (5): 717–738. doi:10.1080/00472336.2018.1439081. S2CID 158837854.
- Brown, MacAlister; Zasloff, Joseph J. (1976). "Laos in 1975: People's Democratic Revolution — Lao Style". Asian Survey. University of California Press. 16 (2): 193–199. doi:10.2307/2643148. JSTOR 2643148.
รายงาน:
- Zasloff, Joseph J. (Autumn 1973). "THE PATHET LAO: Leadership and Organization" (PDF). Defense Advanced Research Projects Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-13.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)