โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

โรงเรียนรัฐบาล

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 78 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร[1]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
Triamudomsuksanomklao School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
สถาปนา11 สิงหาคม พ.ศ. 2526
สี  สีฟ้า   สีชมพู
เพลงมาร์ชเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
สังกัดสพฐ.
ดอกไม้ชงโค เฟื่องฟ้าชมพู
เว็บไซต์http://www.tun.ac.th

คุณย่าฉวี ทัศนปรีดา มีความรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแผ่เมตตาบารมีคุ้มเกล้าฯ พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ในด้านการศึกษาของเยาวชน จึงได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินถมแล้วจำนวน 10 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา (ปัจจุบันมีเนื้อที่ 15 ไร่ 93 ตารางวา) เมื่อวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2526 เพื่อพระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการ และได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2526 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ตามความประสงค์ของคุณย่าฉวี ทัศนปรีดา ทั้งนี้ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้ง

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้

พระเกี้ยว

แก้

พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์

การได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ของ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ผู้ประสานงานในการก่อตั้งโรงเรียนนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นมงคลอันสูงส่งที่เราชาวเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าภาคภูมิใจในเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นลูกพระเกี้ยว

ประวัติโรงเรียน

แก้

กำเนิด

แก้

ด้วยนางฉวี ทัศนปรีดามีความรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงแผ่เมตตาบารมีคุ้มเกล้าฯ พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในด้านการศึกษาของเยาวชน จึงเกิดความศรัทธาเปี่ยมด้วยความจงรักภักดีที่จะได้มีโอกาสโดยเสด็จพระราชกุศล ด้วยการน้อมเกล้าฯถวายที่ดินถมแล้วติดริมถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) แขวงสะพานสูง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 โฉนดติดต่อกัน ได้แก่ โฉนดเลขที่ 60154-60157 รวมเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา มูลค่าในขณะนั้นประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ตามราคาประเมินของหัวหน้าเจ้าพนักงานที่ดินเขตบางกะปิ โดยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กรมธนารักษ์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2526 และขอพระบารมีปกเกล้าฯ พระราชทานที่ดินแปลงนี้ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา อันจะเกิดประโยชน์แก่การพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นได้ทั่วถึงยิ่งขึ้นไป

ทั้งนี้นางฉวี ทัศนปรีดา ได้มอบหมายให้นางอิราวดี นวมานนท์ ผู้เป็นหลานและเป็นกรรมการผู้หนึ่งของสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ติดต่อท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ในฐานะนายกสมาคมฯ ขอความอนุเคราะห์เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานราชเลขาธิการ ซึ่งคุณหญิงสุชาดาได้ติดต่อประสานงานมาโดยตลอด โดยได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำนางฉวี ทัศนปรีดา เข้าเฝ้าน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินเพื่อพระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระองค์ ในวันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

เริ่มเปิดสอน

แก้

เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานที่ดินแล้ว ได้ประกาศตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2526 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ตามความปรารถนาของเจ้าของที่ดินและได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียน ตามคำสั่งกรมสามัญศึกษา ที่ 2799/26 ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2526 ให้นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครองโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูใหญ่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นับเป็นผู้บริหารคนแรกของโรงเรียน

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2526 สำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนและส่วนประกอบอื่น ๆ เท่าที่จำเป็นก่อน เพื่อให้ทันเปิดรับนักเรียนในปีการศึกษา 2527 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 400 คน และเนื่องจากอาคารสถานที่ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง แต่มีสถานที่บางส่วนเสร็จเรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะดำเนินการได้ จึงได้ย้ายนักเรียนมาเรียนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าได้เจริญก้าวหน้า พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยในปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 4,000 คน ที่ดิน 15 ไร่เศษ มีอาคารเรียน 3 หลัง สูง 5 ชั้น มีห้องสมุด ห้องสารสนเทศ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สนามกีฬา ศูนย์ดนตรี ห้องเรียนตามกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ซึ่งมีความทันสมัย อีกทั้งยังมีโดมขนาดใหญ่อีก 2 หลัง ที่ติดตั้งพัดลมไอน้ำเอาไว้ ด้วยอาศัยผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า นักเรียน รวมถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาที่ร่วมกันพัฒนาจนเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าในปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร

แก้
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2533
2. นายเผดิม สุวรรณโพธิ์ พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2539
3. นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2543
4. นายสายัณห์ รุ่งป่าสัก พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2544
5. นางอ่องจิต เมธยะประภาส พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2546
6. นายยอร์ช เสมอมิตร พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2551
7. นายสรายุทธ ฟูทรัพย์นิรันดร์ พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555
8. ดร.กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2558
9. นายจิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2561
10. ดร.สมพร สังวาระ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565
11. นางบุสบง พรหมจันทร์ พ.ศ. 2565 – 2567
12. นายสุรศักดิ์ การุญ พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

เกียรติประวัติ

แก้
  • โรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่าง โครงการนำทางสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน และประชาชน (2529)
  • โรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่าง โครงการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน (2529)
  • โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา (2530)
  • โรงเรียนที่จัดบริการงานแนะแนวดีเด่นของโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย (2530)
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นขนาดใหญ่ (2530)
  • โรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่าง โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยโรงเรียน (2530)
  • โรงเรียนแม่แบบงานแนะแนว (2531)
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นขนาดใหญ่ (2531)
  • โรงเรียนดีเด่น ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของกรมการศาสนา และกระทรวงศึกษาธิการ (2532)
  • โรงเรียนที่มีผลงานดีเด่น โครงการอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน (2534)

ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง

แก้

รายชื่อคณะสีต่าง ๆ ในโรงเรียน

แก้
  • ราชพฤกษ์ (สีเหลือง)
  • จามจุรี (สีแดง)
  • นนทรี (สีเขียว)
  • ยูงทอง (สีส้ม)
  • อินทนิล (สีม่วง)

ประเภทห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[2]

แก้

แผนการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย[2]

แก้

รายนามกลุ่มโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

แก้
รายนามกลุ่มโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ลำดับ ชื่อสถาบัน ชื่อย่อ อักษรย่อ วันที่ก่อตั้ง วันที่ร่วมเครือข่าย สถานะ ที่ตั้ง
1. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เตรียมน้อมฯ ต.อ.น.
11 สิงหาคม พ.ศ. 2526 (41 ปี)
ประกาศจัดตั้ง เลขที่ 22/24 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240
2. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นวมินทร์ฯ เตรียมน้อมฯ น.ต.อ.น.
4 มีนาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
ประกาศจัดตั้ง เลขที่ 248/89 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240
3. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี เตรียมน้อมฯ กบินทร์ ต.อ.น.ก.
14 มีนาคม พ.ศ. 2538 (29 ปี)
ประกาศจัดตั้ง เลขที่ 560 หมู่ 9 ตำบลหนองกี่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110
4. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี เตรียมน้อมฯ นนท์ ต.อ.น.น. 4 เมษายน พ.ศ. 2521 (46 ปี) 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 (27 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนคลองพระอุดมวิทยาคม
เลขที่ 49/1 หมู่ 3 ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
5. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี เตรียมน้อมฯ ปทุม ต.อ.น.ป. 14 มีนาคม พ.ศ. 2538 (29 ปี) 12 กันยายน พ.ศ. 2548 (19 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนปทุมวิไลวิทยาคม
เลขที่ 11 หมู่ 2 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160
6. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เตรียมน้อมฯ สมุทร ต.อ.น.ส. 20 มีนาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี) 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (18 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
เลขที่ 18/1 หมู่ 15 ตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
7. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์ เตรียมน้อมฯ อุตรดิตถ์ ต.อ.น.อ. 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 (45 ปี) 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนอุตรดิตถ์วิทยา
เลขที่ 227/1 หมู่ 1 ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
8. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา เตรียมน้อมฯ โคราช ต.อ.น.นม. 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 (29 ปี) 9 มกราคม พ.ศ. 2552 (15 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนนครราชสีมาวิทยาลัย
เลขที่ 347 หมู่ 12 ถนนโคกกรวด-หนองปลิง ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280‎
9. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที เตรียมน้อมฯ กุนนที ต.อ.น.ท. 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี) 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (2 ปี) เปลี่ยนชื่อจาก
โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม
เลขที่ 199 ถนนรัชดาภิเษก แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.tun.ac.th/[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "หลักสูตรที่เปิดสอน". tun.ac.th. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′03″N 100°41′33″E / 13.784147°N 100.692523°E / 13.784147; 100.692523