ชงโค
ชงโค | |
---|---|
ชงโค | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | Caesalpinioideae |
เผ่า: | Cercideae |
สกุล: | Bauhinia |
สปีชีส์: | B. purpurea |
ชื่อทวินาม | |
Bauhinia purpurea L. |
ชงโค มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกงและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ดังนี้ : ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) กะเฮอ สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ในสหรัฐอเมริกานิยมปลูกกันที่รัฐฮาวาย, รัฐแคลิฟอร์เนีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา และทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัส ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชุ่มชื้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างรูปทรงไม่แน่นอน ใบเดี่ยว เรียงสลับ เป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก คล้ายใบติดกันหรือใบแฝด มีขนาดประมาณ 20 ซม. ดอกสีชมพูอมม่วง, สีม่วงสดคล้ายกล้วยไม้ และสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดวัน ดอกบานเต็มที่ขนาด 6-8 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีจำนวนดอกน้อย เกสรตัวผู้ 3 อัน ขนาดไม่เท่ากัน ออกดอกเกือบตลอดปี ออกดอกมากในฤดูหนาว การขยายพันธุ์ใช้การตอนกิ่ง ปักชำและเพาะเมล็ด
ประโยชน์
แก้ใช้รากเป็นยาขับลม เปลือกเป็นยาแก้ท้องร่วง มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย พอกฝี สารสกัดเอทานอล 50% ของชงโค เพิ่มระดับฮอร์โมนไทรอกซินในหนูทดลอง มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง[1]
สัญลักษณ์
แก้- ดอกไม้ ประจำเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- ต้นไม้ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดอกไม้ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
- ต้นไม้ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
- ต้นไม้ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนโชคชัยสามัคคี อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนปิยะบุตร์
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
- ต้นไม้ประจำโรงเรียนศิริมาตย์เทวี จังหวัดเชียงราย
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนเทพลีลา
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนพานพิเศษพิทยา จังหวัดเชียงราย
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนชุมชนวัดบางโค จังหวัดนนทบุรี
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม จังหวัดลำปาง
- ดอกไม้ประจำกลุ่มลูกเสือ จังหวัดนนทบุรี
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนแม่เมาะวิทยา จังหวัดลำปาง
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนบ้านดุงวิทยา จังหวัดอุดรธานี
- ดอกไม้ประจำโรงเรียนบางน้ำเปรี้ยววิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา
อ้างอิง
แก้- ↑ ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์. สารทุติยภูมิและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสกุลชงโค [ลิงก์เสีย] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หน้า 116 - 130