โซเฟียแห่งเดนมาร์ก

โซเฟียแห่งเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Sofie Eriksdatter และสวีเดน: Sofia Eriksdotter; ค.ศ. 1241 – ค.ศ. 1286) ทรงเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน

โซเฟียแห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
เจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก
Sophia of Sweden (1260) seal image 1905.jpg
ภาพแกะสลักพระราชินีโซเฟียบนตราพระราชลัญจกร
สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
ครองราชย์ค.ศ. 1261–1275
ก่อนหน้าคาทารีนา ซูเนอสด็อทเทอร์
ถัดไปเฮดวิกแห่งฮ็อลชไตน์
คู่อภิเษกพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
โซฟี อีริคสแด็ทเทอร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน (โดยประสูติ)
ยาลโบ (โดยเสกสมรส)
พระราชบิดาพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาจัตตาแห่งแซกโซนี
ประสูติค.ศ. 1241
สวรรคตค.ศ. 1286
(พระชนมายุราว 44-45 พรรษา)
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ภูมิหลังแก้ไข

เจ้าหญิงโซเฟียเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับจัตตาแห่งแซกโซนี เจ้าหญิงไม่มีพระเชษฐาหรืออนุชา แต่ทรงมีพระขนิษฐา 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก, เจ้าหญิงจัตตาและเจ้าหญิงอักเนส พระราชบิดาของพระนางทรงถูกลอบปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1250 เมื่อพระนางและพระขนิษฐายังทรงพระเยาว์ ด้วยกษัตริย์อีริคที่ 4 ทรงไร้พระราชโอรส ราชบัลลังก์จึงถูกส่งผ่านไปยังพระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก พระอนุชา และจากนั้นใน ค.ศ. 1252 พระอนุชาอีกองค์หนึ่งได้ครองราชย์ต่อคือ พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

อภิเษกสมรสแก้ไข

การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงโซเฟียแห่งเดนมาร์กกับพระเจ้าวัลเดมาร์แห่งสวีเดน เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสันติภาพระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดน ที่ดำเนินการโดยบีร์เยอ ยาร์ล พระราชบิดาของกษัตริย์วัลเดมาร์และเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งสวีเดนโดยพฤตินัย[1] ในค.ศ. 1254 บีร์เยอ ยาร์ลทำหน้าที่เป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 และพระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ และเมื่อกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 ทรงต้องการแรงสนับสนุนในการต่อต้านอาร์กบิชอปจาค็อบ เออลันด์เซนแห่งลุนด์ สนธิสัญญาการเป็นพันธมิตรเกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 1 กษัตริย์โฮกุนที่ 4 และบีร์เยอ ยาร์ล ในค.ศ. 1258 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์นี้ กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ทรงจัดแจงให้เจ้าหญิงโซเฟีย พระนัดดา หมั้นหมายกับกษัตริย์วัลเดมาร์แห่งสวีเดน พระโอรสในบีร์เยอ ยาร์ล และเจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก พระนัดดาอีกพระองค์หมั้นหมายกับเจ้าชายมักนุส พระราชโอรสในกษัตริย์โฮกุนที่ 4[2] เพื่อให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประทานอนุญาตให้มีการเสกสมรสแม้ว่าเป็นเครือญาติใกล้ชิดนี้ ซึ่งได้รับการอนุญาตจากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 4 ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1259 โดยต้องแลกกับชาวสวีเดนและเดนมาร์กต้องร่วมกันต่อสู้กับชาวลัทธิเพแกนข้างเคียง[3] ในพงศาวดารอีริค บรรยายว่าเมื่อเจ้าหญิงทรงได้รับแจ้งเกี่ยวกับการอภิเษกสมรส พระนางเสด็จออกจากห้องและไปยังห้องบรรทมของพระนาง และทรงตรัสทูลถามพระแม่มารีย์ผู้นิรมล ว่า "โปรดให้ข้าพเจ้ามีความสุขกับเขาและให้เขาอยู่กับข้าพเจ้าด้วย"[4]

สมเด็จพระราชินีแก้ไข

ตามพงศาวดารอีริค ระบุว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์และเจ้าหญิงโซเฟียจัดขึ้นใน ค.ศ. 1260 ที่อิมนิงเงอ (ที่เออนิงเงในเออเดสเฮิก) ได้รับการบรรยาว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่มีลานประลองฝีมือ การเต้นรำ การละเล่นและบทกวี พระนางโซเฟียทรงได้รับรายได้จากมัลเมอและเทรเลบอรย์ รวมถึงทองและเงินในฐานะเป็นสินสอดของพระนาง[5] อย่างไรก็ตามสถานะของพระนางนั้นดีขึ้นกว่าช่วงที่ทรงหมั้นเล็กน้อย บีร์เยอ ยาร์ล พระสัสสุระของพระนางได้สมรสกับอดีตสมเด็จอาสะใภ้ของพระนาง คือ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งเดนมาร์ก เม็ชทิลท์แห่งฮ็อลชไตน์ พระราชินีม่ายของพระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก และพระนางต้องทรงรับอดีตสมเด็จอาสะใภ้พระองค์นี้ในฐานะพระสัสสุ ซึ่งกษัตริย์อเบลเคยถูกชี้ชัดว่าวางแผนปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระนาง[6] ในช่วงเวลานั้น สมเด็จอาอีกพระองค์หนึ่งของโซเฟียคือ พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์กสวรรคต และพระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระโอรสได้ขึ้นสืบบัลลังก์ ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย สมเด็จอาสะใภ้อีกพระองค์หนึ่ง พระนางมาร์เกเรเธทรงปฏิเสธที่จะยอมรับสิทธิในมรดกของเจ้าหญิงโซเฟียจนกระทั่ง ค.ศ. 1263[7]

สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงได้รับการบรรยายจากพงศาวดารว่าทรงมีความสนพระทัยการเมือง มีพระสิริโฉมที่น่าภาคภูมิใจ ทรงมีวาจาปราศรัยที่คมคาย และทรงสนพระทัยหมากรุก[8] ไม่ค่อยมีใครทราบรายละเอียดของพระนางมากนัก แต่มีการรักษาตราพระราชลัญจกรของพระนางในฐานะสมเด็จพระราชินีไว้ เช่นเดียวกับมีการระบุชื่อนางสนองพระโอษฐ์ของพระนางสองคน ได้แก่ มาร์กาเรทา รังน์ฮิลสด็อทเทอร์ และอิงกริด[9]

ในค.ศ. 1266 พระสวามีของพระนางได้เป็นพระมหากษัตริย์ โดยพฤตินัย หลังจากการถึงแก่กรรมของบีร์เยอ ยาร์ล พระราชชนกของพระองค์ และพระชนนีเลี้ยงคือ พระนางเม็ชทิลท์ได้เสด็จออกจากสวีเดน ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์วัลเดมาร์กับเหล่าพระราชอนุชาของพระองค์ สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงยืนข้างฝ่ายพระราชสวามี และมีรายงานว่าพระนางทรงทำให้ความขัดแย้งระหว่างพระราชสวามีและพระราชอนุชาของกษัตริย์เลวร้ายลงด้วยการที่ทรงดูถูกพวกพระราชอนุชา พระนางทรงเรียก ดยุกมักนุส บีร์เยอส์สัน ว่า "เค็ท-ลาเบอเทอร์" (มักนุสคนไร้ฝีมือ) และดยุกอีริค บีร์เยอส์สัน ว่า "อีริค อัลส์ อินเท็ด" (อีริคผู้ไม่มีอะไรเลยสักอย่าง)[10]

ในขณะที่พระนางโซเฟีย และพระนางอิงเงอบอร์ก พระขนิษฐาได้เสกสมรสกับกษัตริย์ ส่วนพระขนิษฐาอีกสองพระองค์คือ เจ้าหญิงจัตตา และเจ้าหญิงอักเนส ถูกบังคับให้ถือครองตนเป็นนางชีในเดนมาร์กโดยผู้สำเร็จราชการมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เหล่าเจ้าหญิงกลุ่มนี้เสด็จออกจากเดนมาร์ก ในค.ศ. 1271 เจ้าหญิงจัตตาและเจ้าหญิงอักเนสได้หลบหนีออกมาจากคอนแวนต์ในรอสคิลด์และเสด็จหนีไปพึ่งพระเชษฐภคินีซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีสวีเดน[11] เจ้าหญิงทั้งสองได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในราชสำนักสวีเดน แต่กษัตริย์วัลเดมาร์กลับทรงลับลอบมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเจ้าหญิงจัตตา[12] ซึ่งอาจถึงกับมีพระบุตรในค.ศ. 1273[13] เรื่องอื้อฉาวนี้ไม่เพียงแต่เป็นการผิดประเวณีเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมประเวณีในเครือญาติด้วย เนื่องจากถือว่า น้องสาวของคู่สมรสก็เปรียบเหมือนกับน้องสาวแท้ๆ ด้วย ส่งผลให้กษัตริย์วัลเดมาร์ต้องเสด็จจาริกแสวงบุญไปยังกรุงโรมเพื่อขอการอภัยโทษจากสมเด็จพระสันตะปาปา[14] ไม่ว่าพระองค์จะเดินทางไปแสวงบุญจริงหรือไม่[15] ตามพงศาวดารได้ระบุพระราชดำรัสของพระราชินีโซเฟียที่ว่า "ข้าฯ จะไม่มีวันหมดสิ้นซึ่งความเศร้าโศก ขอสาปแช่งในวันนั้น วันที่น้องสาวของข้าฯ ได้เดินทางเหยียบแผ่นดินสวีเดน"[16]

ใน ค.ศ. 1274 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในสวีเดน เมื่อเหล่าพระราชอนุชาของกษัตริย์ คือ ดยุกมักนุสและดยุกอีริค ได้ท้าทายราชบัลลังก์ของกษัตริย์วัลเดมาร์[17] หลังจากยุทธการที่โฮวาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1275 ดยุกมักนุสได้ประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน มีบันทึกอย่างโด่งดังว่าข่าวการประกาศตนมาถึงสมเด็จพระราชินีโซเฟียขณะที่ทรงเล่นหมากรุกอยู่[18] กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงใช้พระราชินีโซเฟียในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมโยงพันธมิตรที่สำคัญคือกษัตริย์เดนมาร์กและกษัตริย์นอร์เวย์ในการต่อต้านมักนุส แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ พระองค์จึงพยายามสร้างพันธมิตรกับบรันเดินบวร์ค และเหล่าเจ้าผู้ครองนครทางตอนเหนือของเยอรมนี ด้วยการให้เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กแห่งสวีเดน พระราชธิดาองค์ใหญ่เสกสมรสกับเกอร์ฮาร์ดที่ 2 เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์-พลุนและทรงจำนำเกิตลันด์ไว้ที่บรันเดินบวร์ค[19] สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงสนับสนุนพระราชสวามีในช่วงเวลานี้ ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1277 พระนางและกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารวางจำนำเกาะเกิตลันด์ให้แก่บรันเดินบวร์คที่เมืองโคเปนเฮเกน[20]

บั้นปลายพระชนม์ชีพแก้ไข

ใน ค.ศ. 1278 สุดท้ายกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงสละราชบัลลังก์อย่างถาวรแก่พระอนุชาที่ครองราชย์เป็น กษัตริย์มักนุสที่ 3 และทรงรับตำแหน่ง quondam rex (อดีตพระมหากษัตริย์) และทรงได้รับที่ดินศักดินาเวสเตร์เยิตลันด์และเอิสเตร์เยิตลันด์ อดีตกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงย้ายมาประทับในเดนมาร์กในค.ศ. 1280 ในขณะที่อดีตพระราชินีโซเฟียยังประทับอยู่ในสวีเดน[21] จากจุดนี้ทั้งสองพระองค์ทรงแยกกันประทับ[22]

พระนางโซเฟียทรงได้รับตำแหน่ง regina quondam (อดีตสมเด็จพระราชินี) และ senior regina (สมเด็จพระราชินีอาวุโส)[23] พระนางได้รับการกล่าวถึงในเอกสารการทำธุรกิจหลายฉบับ เช่น พระนางทรงบริจาคเงินจากรายได้ที่ได้จากการค้าปลาแซลมอนในนอร์เชอปิง บริจาคแก่อารามสแคนนิงเง ค.ศ. 1283 ในปีถัดมา เมื่อศาลราชสำนักเดนมาร์กที่นูบอร์กได้ตัดสินเรื่องมรดกของพระนางและเหล่าพระขนิษฐา และสิทธิแก่พวกพระนางในการเข้าถึงดินแดนทั้งหมดของพระราชบิดาของพระนางในเดนมาร์ก ในเวลาเดียวกันกษัตริย์มักนุสได้ประกาศว่าอดีตกษัตริย์วัลเดมาร์ พระเชษฐาของพระองค์ไร้ความสามารถในการจัดการธุรกิจและทรัพย์สินของพระองค์เองได้ (ในที่สุดกษัตริย์ก็สั่งคุมขังพระเชษฐาใน ค.ศ. 1288) ไม่มีการระบุชัดเจนว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่ออดีตพระราชินีโซเฟียอย่างไร แต่กษัตริย์มักนุสได้เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทรัพย์สินของอดีตกษัตริย์วัลเดมาร์และทรงเป็นผู้ปกครองของเหล่าพระธิดาของอดีตพระราชินีโซเฟีย ที่ทรงจัดการการเสกสมรสของเหล่าเจ้าหญิง[24]

อดีตสมเด็จพระราชินีโซเฟียสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1286 บางแหล่งข้อมูลระบุว่าพระศพถูกฝังที่อารามวเรตา บางแหล่งระบุว่าฝังที่อารามริงสเต็ดในเดนมาร์ก พระสวามีของพระนางถูกคุมขังใน ค.ศ. 1288 และทรงประทับร่วมกับพระสนมอย่างเปิดเผยในที่คุมขังที่สะดวกสบายจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1302

พระราชโอรสธิดาแก้ไข

สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงมีพระราชโอรสธิดา 6 พระองค์

พงศาวลีแก้ไข

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คนุต ลาวาร์ด
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อิงเงอบอร์กแห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. โวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
9. โซเฟียแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ริเชซาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าอาฟงซูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าซังชูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. มาทิลดาแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
5. บึเร็งการียาแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา
 
 
 
 
 
 
 
11. ด็อลซาแห่งอารากอน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เปโตรนิยาแห่งอารากอน
 
 
 
 
 
 
 
1. โซเฟียแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. อัลเบร็ชท์ เดอะ แบร์
 
 
 
 
 
 
 
12. แบร์นฮาร์ทที่ 3 ดยุกแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. โซฟีแห่งวินเซนบวร์ค
 
 
 
 
 
 
 
6. อัลเบร็ชท์ที่ 1 ดยุกแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ดยุกมิเอสโกที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. ยูดิธตาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. แอร์เฌแบ็ตแห่งฮังการี
 
 
 
 
 
 
 
3. จัตตาแห่งแซกโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เลโอพ็อลท์ที่ 5 ดยุกแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
14. เลโอพ็อลท์ที่ 6 ดยุกแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. อิโลนาแห่งฮังการี
 
 
 
 
 
 
 
7. อักเนสแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ไอแซค โคมเนนอส วาตัทเซส
 
 
 
 
 
 
 
15. เธโอโดรา แองเจลินา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. แอนนา โคมเนเน แองเจลินา
 
 
 
 
 
 

อ้างอิงแก้ไข

เชิงอรรถแก้ไข

  1. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  2. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  3. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  4. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  5. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  6. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  7. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  8. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  9. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  10. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  11. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  12. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  13. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  14. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  15. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  16. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  17. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  18. Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien (Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden)
  19. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  20. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  21. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  22. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  23. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.
  24. Sophia, urn:sbl:6154, Svenskt biografiskt lexikon (art av Dick Harrison), hämtad 2016-09-06.

อ้างอิงแก้ไข

  • Christer Öhman (Swedish): Helgon, bönder och krigare. Berättelser ur den svenska historien [Saints, farmers and warriors. Stories from the history of Sweden]