พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (14 มกราคม ค.ศ. 1131 - 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1182) ทรงเป็นที่รู้จักในพระนามว่า วัลเดมาร์มหาราช (เดนมาร์ก: Valdemar den Store) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ค.ศ. 1146 จนกระทั่งสวรรคตในปีค.ศ. 1182 รัชกาลของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 เป็นรัชสมัยที่รุ่งเรืองของเดนมาร์ก และเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรส[1]

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
พระบรมราชานุสาวรีย์กษัตริย์วัลเดมาร์มหาราช ณ จัตุรัสเมืองริงสเต็ด
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์1154 – 12 พฤษภาคม 1182
ก่อนหน้าสเวนที่ 3
ถัดไปคนุดที่ 6
ประสูติ14 มกราคม ค.ศ. 1131(1131-01-14)
ชเลสวิช, เดนมาร์ก
สวรรคต12 พฤษภาคม ค.ศ. 1182(1182-05-12) (51 ปี)
ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก, วอร์ดิงบอร์ก, เดนมาร์ก
ฝังพระศพโบสถ์นักบุญเบ็นท์, ริงสเต็ด, เดนมาร์ก
คู่อภิเษกเจ้าหญิงโซเฟียแห่งมินสก์
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
วัลเดมาร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาเจ้าชายคนุต ลาวาร์ด ดยุกแห่งชเลสวิช
พระราชมารดาเจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระราชประวัติ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

วัยเยาว์ แก้

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 เป็นพระราชโอรสในเจ้าชายคนุต ลาวาร์ด ดยุกแห่งชเลสวิช กับเจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ เจ้าชายคนุด ลาวาร์ดทรงเป็นผู้มีความกล้าหาญและเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน เจ้าชายคนุดเป็นพระราชโอรสในกษัตริย์อีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ต่อมาเจ้าชายคนุดได้ถูกปลงพระชนม์โดยกษัตริย์มักนุส ผู้แข็งแกร่งแห่งสวีเดน พระญาติและเป็นศัตรูของเจ้าชายคนุด ซึ่งทั้งสองพระองค์มีสิทธิในราชบัลลังก์เดนมาร์ก เจ้าชายคนุดสิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่วันก่อนที่เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กจะมีพระประสูติกาลเจ้าชายวัลเดมาร์ในปีค.ศ. 1131 เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ เป็นพระราชธิดาในแกรนด์ปรินซ์มิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟและเจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอร์สด็อทเทอร์แห่งสวีเดน เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กตั้งพระนามพระราชโอรสตามพระอัยกา คือ วลาดิเมียร์ที่ 2 โมโนมักห์ แกรนด์ปรินซ์แห่งเคียฟ

ด้วยที่ทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และศัตรูผู้มีสิทธิในบัลลังก์องค์อื่นๆต่างมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจ้าชายวัลเดมาร์จึงถูกนำพระองค์ไปอภิบาลที่เมืองริงสเต็ด ในสำนักของเคานท์อัสเซอร์ ริกแห่งเฟ็นเนสรีฟ (ราวค.ศ. 1080 - 1151) ขุนนางชาวเดนมาร์ก อัสเซอร์เป็นสมาชิกตระกูลไฮวด์ และเป็นตระกูลที่ทำการอบรมเลี้ยงดูเจ้าชายคนุด ลาวาร์ด พระราชบิดาของพระองค์ด้วย เจ้าชายวัลเดมาร์ทรงได้รับการอบรมเลี้ยงดูพร้อมๆกับเหล่าบุตรชายของอัสเซอร์ ซึ่งรวมทั้ง อับซาลอน (ราวค.ศ. 1128 - 1201) ผู้ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นพระสหายสนิทและที่ปรึกษาของพระองค์ที่ทรงไว้วางพระทัยมากที่สุด ภายหลังเขาได้รับตำแหน่งบิชอปแห่งมุขมณฑลรอสคิลด์ในช่วงปีค.ศ. 1158 - 1192 และอาร์กบิชอปแห่งลุนด์ตั้งแต่ค.ศ. 1178 จนกระทั่งเขาเสียชีวิต[2][3][4]

ต่อสู้เพื่อราชบัลลังก์ แก้

ในปีค.ศ. 1146 เมื่อเจ้าชายวัลเดมาร์มีพระชนมายุได้ 15 พรรษา กษัตริย์อีริคที่ 3 แห่งเดนมาร์กสละราชบัลลังก์และทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ได้แก่

เจ้าชายวัลเดมาร์เองก็ทรงตรึงกำลังอยู่ที่คาบสมุทรจัตแลนด์และส่วนหนึ่งของดัชชีชเลสวิชที่ซึ่งเป็นดินแดนที่พระองค์ได้มาจากการสืบทอดมรดก สงครามกลางเมืองชิงบัลลังก์ครั้งนี้กินเวลายาวนานถึงสิบปี และในปี 1154 เจ้าชายวัลเดมาร์ก็สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก

ในปีค.ศ. 1157 กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ตัดสินใจที่จะแบ่งประเทศออกเป็นสามราชอาณาจักร กษัตริย์สเวนที่ 3 ได้ทำการจัดงานเลี้ยงขึ้นที่รอสคิลด์ในวันที่ 9 สิงหาคม เพื่อเชิญกษัตริย์คนุดที่ 5 และกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 มาร่วมงานเพื่อเจรจาสันติภาพ กษัตริย์วัลเดมาร์เสด็จมาพร้อมกับอับซาลอน ที่ปรึกษาคนสนิท แต่ในความเป็นจริงแล้วกษัตริย์สเวนที่ 3 ทรงตั้งพระทัยที่จะใช้งานเลี้ยงนี้สังหารกษัตริย์ทั้งสอง กษัตริย์คนุดที่ 5 ถูกปลงพระชนม์ในงานเลี้ยงโดยทหารของกษัตริย์สเวน ส่วนกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 และอับซาลอนสามารถหลบหนีไปได้ เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า "งานเลี้ยงเลือดที่รอสคิลด์" (Bloodfeast of Roskilde) กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงหลบหนีกลับคาบสมุทรจัตแลนด์ได้ กษัตริย์สเวนจึงรีบระดมกองทัพรุกรานคาบสมุทรจัตแลนด์ทันที ยุทธการกราเธอฮีทเกิดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1157 และเป็นจุดจบของสงครามกลางเมืองเดนมาร์ก กษัตริย์สเวนที่ 3 สวรรคตในสนามรบ โดยพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเหล่าชาวนาราษฎรของกษัตริย์วัลเดมาร์ ที่จับกุมพระองค์และสังหารเสียขณะที่ทรงหลบหนีออกจากสมรภูมิและม้าของพระองค์ติดอยู่ในพรุ จากเหตุการณ์นี้กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าศัตรูผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ทุกคน จึงทำให้พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กเพียงพระองค์เดียว[5]

ครองราชย์แต่เพียงผู้เดียว แก้

 
กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 และบิชอปอับซาลอน ในช่วงยึดครองอาร์โกนาของชาวเวนด์ และบีบบังคับให้พวกเขายอมสวามิภักดิ์ พร้อมนับถือศาสนาคริสต์

ในปีค.ศ. 1158 อับซาลอนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งรอสคิลด์ และกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาและสหายสนิท พระองค์ทรงจัดระเบียบและฟื้นฟูเดนมาร์กที่บอบช้ำจากสงครามขึ้นมาใหม่ พระองค์ทรงสร้างปราสาทชอนเดนบอร์กให้เป็นป้อมปราการบนช่องแคบอัลส์ ที่เชื่อมต่อกับเกาะอัลส์[6] พระองค์ทรงคิดค้นกลยุทธ์การบุกจู่โจมแบบไวกิงซึ่งเป็นรูปแบบชาวสแกนดิเนเวียสมัยโบราณเพื่อจัดการกับชาวเวนด์ทางใต้ ซึ่งมีการปรับกองทหารม้าหนักให้มีความเหมาะสมในการโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งจะได้รับการปรับปรุงต่อมาในรัชกาลถัดไปคือ พระเจ้าคนุตที่ 6[7]

จากการปลุกเร้าของอับซาลอน กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงประกาศสงครามกับชาวเวนด์ซึ่งมักปล้นสะดมตามชายฝั่งทะเลเดนมาร์ก พวกเขาอาศัยอยู่บริเวณพอเมอเรเนียและเกาะรือเกินในทะเลบอลติกและคุกคามชาวเดนส์ในแถลทะเลบอลติก ซึ่งชาวเวนด์มีจำนวนมากกว่าชาวเดนส์เป็นจำนวน 2 ต่อ 1 ดังนั้นในเวลาไม่ช้า ชาวเดนส์ก็เริ่มบุกชายฝั่งของชาวเดนส์กลับบ้าง จนกระทั่งได้ชัยชนะในการยึดเกาะรือเกิน ซึ่งได้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการโจมตีชาวเวนด์ต่อๆ ไป อิทธิพลของเดนมาร์กได้กระจายไปถึงทั้งพอเมอเรเนียและโอบอทริเทส ทั้งสองถูกปล้นสะดมโดยชาวเดนส์อยู่เนืองๆ ในปีค.ศ. 1168 เมืองหลวงของชาวเวนด์ คือ อาร์โกนาได้ถูกยึดครอง และชาวเวนด์ยอมนับถือศาสนาคริสต์และยอมสวามิภักดิ์ต่อเดนมาร์ก ราวในปีค.ศ. 1170 กองเรือเล็กของเดนมาร์ก (นำโดยกษัตริย์วัลเดมาร์และอับซาลอน) ได้เคลื่อนผ่านช่องน้ำโอเดอร์ กองทัพเดนส์ได้ถูกซุ่มโจมตีโดยกองทัพและกองเรือชาวเวนด์ที่นำโดยกาซีมีร์ที่ 1 ดยุกแห่งพอเมอเรเนียยุทธการสะพานยูลิน (วอลินในปัจจุบัน) ดยุกหวังหยุดยั้งการรุกรานของชาวเดนส์ แต่ชาวเดนส์สามารถชิงไหวชิงพริบเหนือชาวเวนด์ได้ และบดขยี้กองทัพพร้อมกองเรือของเขา สาเหตุก็เพราะเรือของเดนมาร์กได้บรรทุกทหารม้ามาด้วยจึงสามารถจัดการได้[8] ในปีค.ศ. 1175 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 1 ทรงสร้างปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ให้เป็นป้อมปราการป้องกัน และเป็นฐานในการโจมตีเมืองตามชายฝั่งเยอรมัน[9]

ในปีค.ศ. 1180 เกิดความไม่สงบแพร่ขยายไปทั่วแคว้นที่ร่ำรวยอย่าง สคาเนีย ประชาชนต้องการให้กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงปลดผู้ว่าการที่มาจากคาบสมุทรจัตแลนด์ที่พวกเขามองว่าเป็น "ชาวต่างชาติ" และแต่งตั้งขุนนางจากจังหวัดในแคว้นสคาเนียแทน พวกเขายังปฏิเสธที่จะจ่ายทศางค์แก่ศาสนจักรด้วย เมื่อกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้อง พวกเขาจึงลุกฮือขึ้นปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีและทศางค์ ประชาชนมีจำนวนมากทำให้กษัตริย์ไม่ทรงสามารถรวบรวมกองทัพของพระองค์ได้เพียงพอ พระองค์ยังทรงเรียกไพร่พลจากเบลกิงด้วย กองทัพมาถึงในยุทธการไดซีอา พระองค์บดขยี้ผู้ประท้วงและหลังจากนั้นพวกเขาก็ยอมจ่ายภาษีอีกครั้ง แม้ว่ากองกำลังชาวนาทั้งหมดจะยอมจำนน แต่พวกเขายังคงปฏิเสธที่จะจ่ายทศางค์ ดังนั้นกษัตริย์วัลเดมาร์จึงให้ประชาชนเปลี่ยนมามอบของกำนัลและบริจาคแก่โบสถ์แทน พวกเขาไม่ต้องจ่ายทศางค์แต่สามารถจ่ายด้วยอย่างอื่นใดๆ แทน มีข้อเสนอเดียวที่พระองค์ยอมรับคือ ทรงยอมให้เปลี่ยนผู้ว่าการเป็นชาวสคาเนีย[10] การให้สัมปทานนี้แกชาวสคาเนีย เป็นเหมือนกฎของชาวจัตในจัตแลนด์และกฎรือเกียนในรือเกิน ซึ่งได้รับการปรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในแต่ละพื้นที่ สิ่งนี้ช่วยอย่างมากในการรักษาความสงบภายในราชอาณาจักรและอาณาจักรที่ได้รับการขยายดินแดนในภายหลัง

พระองค์สวรรคตที่ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1182 ขณะมีพระชนมายุ 51 พรรษา พระเจ้าคนุตที่ 6 แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อ

พระโอรส-ธิดา แก้

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโซเฟียแห่งมินสก์ พระราชธิดาในริเชซาแห่งโปแลนด์ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งสวีเดนกับโวโลดาร์ เกรโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์ พระประมุขแห่งมินสก์ โซเฟียแห่งมินสก์เป็นพระขนิษฐาต่างบิดาของกษัตริย์คนุดที่ 5 กษัตริย์วัลเดมาร์และสมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงมีพระราชโอรสธิดาร่วมกันดังนี้

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
- เจ้าหญิงโซเฟีย เคานท์เตสแห่งไวมาร์-ออร์ลามุนด์ ค.ศ. 1159 ค.ศ. 1208 อภิเษกสมรสกับ
ซิกฟีดที่ 3 เคานท์แห่งไวมาร์-ออร์ลามุนด์
มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
อัลเบิร์ตที่ 2 เคานท์แห่งไวมาร์-ออร์ลามุนด์
แฮร์มันน์ที่ 2 เคานท์แห่งไวมาร์-ออร์ลามุนด์
  พระเจ้าคนุดที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1163 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1202 อภิเษกสมรส กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1177 กับ
เจ้าหญิงเกอร์ทรูดแห่งบาวาเรีย
ไม่มีพระโอรสธิดา
- เจ้าหญิงมาเรียแห่งเดนมาร์ก ราวค.ศ. 1165 ไม่ปรากฏหลักฐาน ไม่อภิเษกสมรส
ดำรงเป็นนางชีที่รอสคิลด์ ในปีค.ศ.1188
- เจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก ราวค.ศ. 1167 ราวค.ศ. 1205 ไม่อภิเษกสมรส
ดำรงเป็นนางชีที่รอสคิลด์ ในปีค.ศ.1188
  พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1170 28 มีนาคม ค.ศ. 1241 อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 ค.ศ. 1205 กับ
เจ้าหญิงดักมาร์แห่งโบฮีเมีย
มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
วัลเดมาร์ยุวกษัตริย์
พระโอรสตายคลอด

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1214 กับ
เจ้าหญิงเบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกส
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงโซฟีแห่งเดนมาร์ก
พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์ก
พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
บุตรตายคลอดไม่ทราบเพศ
  เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1174 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1237 อภิเษกสมรส 15 สิงหาคม ค.ศ. 1193 กับ
พระเจ้าฟีลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
ไม่มีพระโอรสธิดา
- เจ้าหญิงเฮเลนา ดัชเชสแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ราวค.ศ. 1180 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1233 อภิเษกสมรส ค.ศ. 1202 กับ
วิลเลียมแห่งวินเชสเตอร์ ลอร์ดแห่งลุนเอนบูร์ก
มีพระโอรส 1 พระองค์ ได้แก่
อ็อทโทที่ 1 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
  เจ้าหญิงริเชซา สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน ราวค.ศ. 1180 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1220 อภิเษกสมรส ค.ศ. 1210 กับ
พระเจ้าอีรีคที่ 10 แห่งสวีเดน
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงโซเฟีย อีริคสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน
เจ้าหญิงมาร์ธา อีริคสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน (ถูกกล่าวอ้าง)
เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์ก อีริคสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน
เจ้าหญิงมาเรียนนา อีริคสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน (อาจเป็นไปได้)
พระเจ้าอีริคที่ 11 แห่งสวีเดน
- เจ้าหญิงวัลบูร์กิส ดัชเชสแห่งพอเมอเรเนีย ไม่ปรากฏหลักฐาน ค.ศ. 1177 อภิเษกสมรส กับ
บอกุสเลาว์ที่ 1 ดยุกแห่งพอเมเรเนีย
มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
ราติบอร์แห่งพอเมเรเนีย
วอร์ทิสเลาว์ที่ 2 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย

มีบันทึกว่าสมเด็จพระราชินีโซเฟียเป็นสตรีที่ทรงพระสิริโฉม ทรงมีพระอำนาจเหนือกษัตริย์และมีอุปนิสัยโหดเหี้ยม ตามพงศาวดารดั้งเดิมระบุว่า สมเด็จพระราชินีทรงสั่งสังหาร ฟรีลี โทเว พระสนมในกษัตริย์วัลเดมาร์ และทรงทำร้าย เคิร์ชเทน ขนิษฐาของกษัตริย์จนบาดเจ็บ แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้มีการยืนยันตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์[11] หลังจากกษัตริย์วัลเดมาร์สวรรคต สมเด็จพระพันปีหลวงโซเฟีย พระมเหสี ทรงอภิเษกสมรสใหม่กับลุดวิกที่ 3 แลนด์เกรฟแห่งทือริงเงิน ในปีค.ศ. 1184

กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงมีพระโอรสนอกสมรสกับ ฟรีลี โทเว มีพระโอรส 1 พระองค์คือ

  • คริสโตเฟอร์แห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 1150-1173) เป็นโอรสองค์โตของกษัตริย์วัลเดมาร์ และได้เป็นดยุกแห่งจัตแลนด์ (dux Iuciae[12]) ราวค.ศ. 1170 - 1173

พระราชตระกูล แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าสเวนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. ไม่ปรากฏนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. เจ้าชายคนุด ลาวาร์ด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. ธูร์ก็อต อูล์ฟสัน ฟาเกอร์ไคน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. บอเอดิล ธูร์ก็อตสแด็ทเทอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. ธอร์กุนนา วักน์สแด็ทเทอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12. วลาดิเมียร์ที่ 2 โมโนมักห์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. มิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. ไกธาแห่งเวสเซกซ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าอิงเงอร์ที่ 1 แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอร์สด็อทเทอร์แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
15. เฮเลนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง แก้

  1. "Valdemar Den Store 1131-1182". Danmarks Historien. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Asser (Rig), 1151". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  3. "Asser Rig". Den Store Danske, Gyldendal. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  4. "Absalon". Den Store Danske, Gyldendal. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  5. "Slaget på Grathe Hede 1157". Danmarks Historien. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  6. "Slaget på Grathe Hede 1157". Danmarks Historien. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.
  7. Pratt, Fletcher (1950). The Third King. New York: William Sloane Associates, INC. pp. 101–105. ISBN DBJ098983. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  8. Pratt, Fletcher (1950). The Third King. New York: William Sloane Associates, Inc. pp. 108–110. ISBN DBJ098983. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  9. "About Vordingborg Castle (Museerne.dk)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
  10. Pratt, Fletcher (1950). The Third King. New York: William Sloane Associates, Inc. pp. 130–131.
  11. Smith-Dampier, Eleanor. Danish Ballads, pp. 15-24 (Cambridge U. Press 1920).
  12. Esben Albrectsen, "Das Abel-Geschlecht und die Schauenburger als Herzöge von Schleswig", Marion Hartwig and Frauke Witte (trls.), in: Die Fürsten des Landes: Herzöge und Grafen von Schleswig, Holstein und Lauenburg [De slevigske hertuger; German], Carsten Porskrog Rasmussen (ed.) on behalf of the Gesellschaft für Schleswig-Holsteinische Geschichte, Neumünster: Wachholtz, 2008, pp. 52–71, here p. 52. ISBN 978-3-529-02606-5
ก่อนหน้า พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าอีริคที่ 3    
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ร่วมกับ
พระเจ้าสเวนที่ 3
(1146-1157)
พระเจ้าคนุดที่ 5
(1146-1157)

(ค.ศ. 1146 - ค.ศ. 1182)
  พระเจ้าคนุดที่ 6