คนุต ลาวาร์ด
เจ้าชายคนุต ลาวาร์ด (เดนมาร์ก: Knud Lavard) (12 มีนาคม ค.ศ. 1096 - 7 มกราคม ค.ศ. 1131) เป็นเจ้าชายเดนมาร์ก ทรงเป็นดยุกแห่งชเลสวิชพระองค์แรก และเป็นเจ้าชายเดนมาร์กพระองค์แรกที่เป็นทั้งขุนนางศักดินาในเดนมาร์กและเยอรมนีพร้อมกัน นำไปสู่ตำแหน่งคู่ทางประวัติศาสตร์ในจัตแลนด์ใต้ พระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยพระญาติคือ เจ้าชายมักนุสแห่งเดนมาร์ก (ต่อมาคือ พระเจ้ามักนุสที่ 1 แห่งสวีเดน ราวค.ศ. 1106 - ค.ศ. 1134) ผู้ทรงเห็นว่าเจ้าชายคนุตเป็นคู่แข่งในการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก เจ้าชายคนุต ลาวาร์ดทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญใน ค.ศ. 1170[1][2]
เจ้าชายคนุต ลาวาร์ด | |||||
---|---|---|---|---|---|
ดยุกแห่งจัตแลนด์ใต้ (ชเลสวิช) เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก | |||||
ภาพเฟรสโกนักบุญคนุต ลาวาร์ดในโบสถ์วีเกอสเต็ด ใกล้ริงสเต็ด | |||||
เอิร์ล/ดยุกแห่งจัตแลนด์ใต้ | |||||
ครองราชย์ | 1120-1131 | ||||
ก่อนหน้า | โอลาฟ | ||||
ถัดไป | มักนุส นีลส์เซน | ||||
ประสูติ | 12 มีนาคม ค.ศ. 1096 รอสคิลด์, เดนมาร์ก | ||||
สวรรคต | 7 มกราคม ค.ศ. 1131 ริงสเต็ด, เกาะเชลลันด์, เดนมาร์ก | (34 ปี)||||
ฝังพระศพ | โบสถ์นักบุญเบ็งท์, ริงสเต็ด | ||||
คู่อภิเษก | อิงเงอบอร์กแห่งเคียฟ | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | แอสตริดเซน | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชมารดา | บอดิล ทูร์โกต์สแด็ทเทอร์ | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พระองค์ทรงเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เดนมาร์กสายราชสกุลวัลเดมาร์ (Valdemarerne) และสายสันตติวงศ์สืบทอดต่อมา เจ้าชายคนุต ลาวาร์ดเป็นพระบิดาในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (Valdemar den Store) และทรงเป็นสมเด็จปู่ในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (Valdemar Sejr)[3][4][5][6]
พระราชประวัติ
แก้เจ้าชายคนุต ลาวาร์ดทรงเป็นพระราชโอรสตามกฎหมายเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ที่ประสูติแต่พระราชินีบอดิล ทูร์โกต์สแด็ทเทอร์ เมื่อพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1103 ด้วยความที่เจ้าชายยังทรงพระเยาว์ พระองค์จึงถูกมองเข้าในการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ ค.ศ. 1104 พระองค์เติบโตขึ้นจากการดูแลใกล้ชิดจากขุนนางตระกูลไวด์ ซึ่งต่อมาจะเป็นผู้สนับสนุนพระองค์อย่างยิ่ง ในค.ศ. 1115 พระเจ้านีลส์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จอาของเจ้าชาย ได้แต่งตั้งเจ้าชายเป็นยาร์ลแห่งชเลสวิช (jarl af Sønderjylland) เพื่อให้พวกชนเผ่าสลาวิกโอบอทริเทสหยุดโจมตีเดนมาร์ก ในช่วงสิบห้าปีต่อมา เจ้าชายคนุตได้ทรงสร้างสันติภาพในเขตชายแดนจนประสบความสำเร็จ พระองค์ได้รับตำแหน่งดยุกแห่งฮ็อลชไตน์ (Hertug af Holsten) และเป็นขุนนางในสังกัดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[7]
ดูเหมือนว่าพระองค์จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กพระองค์แรก ผู้ทรงถูกดึงดูดด้วยวัฒนธรรมคติแห่งอัศวินของเยอรมนีในยุคกลาง บ่งบอกด้วยการที่ทรงเปลี่ยนชื่อตำแหน่งของพระองค์เป็นดยุกแห่งชเลสวิช (Hertug af Slesvig) ภาพลักษณ์ของพระองค์ได้รับความนิยม และอาจจะได้เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ของสมเด็จอา แต่พระองค์ก็ยังทรงมีศัตรูที่ทรงอำนาจในหมู่เจ้าชายและขุนนางเดนมาร์ก ซึ่งได้ตั้งคำถามต่อความจงรักภักดีของพระองค์ที่มีต่อจักรพรรดิโลทาร์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงยอมรับให้พระองค์เป็นผู้ปกครองชาวเวนด์ตะวันตก[8][9]
ทั้งกษัตริย์นีลส์และพระโอรสของพระองค์คือ พระเจ้ามักนุสที่ 1 แห่งสวีเดน หรือ มักนุสผู้แข็งแกร่ง ทรงตื่นตระหนกที่เจ้าชายคนุตได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิโลทาร์ที่ 3 ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1131 เจ้าชายคนุตทรงถูกล่อลวงให้มาติดกับที่ป่าฮารัลด์สเต็ด (Haraldsted Skov) ใกล้เมืองริงสเต็ดบนเกาะเชลลันด์ พระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยมักนุส โบสถ์ริงสเต็ดซึ่งเป็นโบสถ์คณะเบเนดิกตินแห่งแรกๆ ในเดนมาร์ก ได้เป็นสถานที่ฝังพระศพของเจ้าชายคนุตที่แรก ในค.ศ. 1157 พระศพของเจ้าชายได้ถูกย้ายไปฝังที่หอสวดมนต์ใหม่ของโบสถ์นักบุญเบ็งท์ในริงสเต็ด หอสวดมนต์นี้ (Knut Lavards Kapel) ได้ถูกสร้างขึ้นบริเวณที่พระองค์สิ้นพระชนม์แต่หอสวดมนต์นี้ก็หายสาปสูญไปหลังการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ซากโบราณสถานได้ถูกค้นพบใน ค.ศ. 1883 ต่อมาใน ค.ศ. 1902 มีอนุสรณ์สถานรูปไม้กางเขนขนาด 4 เมตรถูกสร้างขึ้นใกล้สถานที่สิ้นพระชนม์ของเจ้าชายคนุต ลาวาร์ด[10][11]
หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายคนุต ลาวาร์ด ดินแดนของโอบอทริเทสถูกแบ่งระหว่างพรีบิสลาฟแห่งวาเกรียและนิคล็อต (ค.ศ. 1090-1160) ทั้งสองเป็นหัวหน้าเผ่าโอบอทริเทส บางแหล่งข้อมูลพิจารณาว่าการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายคนุตเป็นการวางแผนฆาตกรรมที่พระเจ้ามักนุสก่อขึ้น แต่บางแห่งก็อ้างว่าเป็นแผนการของกษัตริย์นีลส์เอง การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเป็นระลอกจนถึง ค.ศ. 1157 เมื่อจบลงด้วยชัยชนะของพระโอรสของพระองค์ที่ประสูติหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว คือ พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ชะตากรรมของเจ้าชายคนุต กอปรกับชัยชนะของพระโอรสเป็นแรงผลักดันให้เจ้าชายคนุตได้รับการประกาศเป็นนักบุญใน ค.ศ. 1170 ตามการรณรงค์ของกษัตริย์วัลเดมาร์ วันสมโภช (Knutsdagen) คือวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ คือวันที่ 7 มกราคม[12][13]
พระโอรสธิดา
แก้นักบุญคนุต ลาวาร์ด | |
---|---|
มรณสักขี | |
เกิด | 12 มีนาคม ค.ศ. 1096 รอสคิลด์, เดนมาร์ก |
เสียชีวิต | 7 มกราคม ค.ศ. 1131 ริงสเต็ด, เกาะเชลลันด์, เดนมาร์ก | (34 ปี)
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เป็นนักบุญ | ค.ศ. 1169 โดย สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 |
วันฉลอง | 7 มกราคม |
สัญลักษณ์ | อัศวินถือพวงมาลา หอกและถ้วยซีโบเรียม |
องค์อุปถัมภ์ | เกาะเชลลันด์, เดนมาร์ก |
เจ้าชายคนุต ลาวาร์ดเสกสมรสกับเจ้าหญิงอิงเงอบอร์กแห่งเคียฟ พระราชธิดาในมิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟกับเจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน[14] ทั้งสองพระองค์มีโอรสธิดา 4 พระองค์
- มาร์เกรเธอ คนุตสแด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก เสกสมรสกับสติก วิททาเล็ด
- คริสตินา คนุตสแด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก (ประสูติ ค.ศ. 1118) เสกสมรส ค.ศ. 1133 กับพระเจ้ามักนุสที่ 4 แห่งนอร์เวย์[15]
- คาทารีนา คนุตสแด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก เสกสมรสกับพริสลาฟ-ไฮน์ริช โอรสในนิคล็อต เจ้าชายแห่งโอบอทริเทส[16]
- พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก (ประสูติ ค.ศ. 1131)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Knud Lavard". Danmarks Konger. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-14. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ Carl Frederik Bricka. "Magnus (Nielsen), 1106-1134". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ May 1, 2018.
- ↑ "Valdemarstiden 1157-1241". Aarhus University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ "Valdemar den Store". Kings of Denmark.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ "Valdemar Sejr". Kings of Denmark.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ "Kong Valdemar Sejr". Danmarks Konger. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-07. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ "Knud Lavard, ca. 1096-1131". Aarhus University. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ "Knud Lavard". Wiki - Ringstedhistorie. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ "Ved hellig Knuds lidelse". Heimskringla.no. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ Haraldsted Sø (Sol og Strand Feriehusudlejning A/S) เก็บถาวร สิงหาคม 17, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Knud Lavards Kapel". Visit Ringsted. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ Murder at Haraldsted (The Scandinavian Remedy) เก็บถาวร 2012-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Den hellige Knut Lavard (~1096-1131)". Den katolske kirke. สืบค้นเมื่อ May 1, 2018.
- ↑ "Ingeborg". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ May 1, 2018.
- ↑ Nils Petter Thuesen. "Magnus 4 Sigurdsson Blinde". Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
- ↑ Susanne Schurr (1992). "Knud Lavard, Jarl in Schleswig". ใน Bautz, Traugott (บ.ก.). Biographisch-Bibliographisches Kirchenlexikon (BBKL) (ภาษาเยอรมัน). Vol. 4. Herzberg: Bautz. cols. 183–186. ISBN 3-88309-038-7.
แหล่งข้อมูล
แก้- Susanne Schurr (1992). "Knud Lavard, Jarl in Schleswig". ใน Bautz, Traugott (บ.ก.). Biographisch-Bibliographisches Kirchenlexikon (BBKL) (ภาษาเยอรมัน). Vol. 4. Herzberg: Bautz. cols. 183–186. ISBN 3-88309-038-7.
- Attwater, Donald and Catherine Rachel John (1993) The Penguin Dictionary of Saints. 3rd edition. (New York: Penguin Books) ISBN 0-14-051312-4
- Mortensen, Lars Boje (2006) The Making of Christian Myths in the Periphery of Latin Christendom (Ca. 1000-1300) (Museum Tusculanum Press) ISBN 978-87-635-0407-2
เว็บไซต์อ้างอิง
แก้- Sankt Knud Lavard skole
- Sankt Knud Lavard Kirke
- Crucifix for Knud Lavard[ลิงก์เสีย]
- Piotr Boroń, Kanut Laward - Rex Obodtitorum. Kontrowersje wokół tytulatury duńskiego księcia, władcy słowiańskich plemion
ก่อนหน้า | คนุต ลาวาร์ด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โอลาฟ | เอิร์ล/ดยุกแห่งจัตแลนด์ใต้ (ค.ศ. 1120 - ค.ศ. 1131) |
มักนุส นีลส์เซน |