อิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
อิงเงอบอร์ก อีริคสด็อทเทอร์ (ราว ค.ศ. 1244 - 24/26 มีนาคม ค.ศ. 1287) ทรงเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก พระนางได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามักนุสที่ 6 แห่งนอร์เวย์ จึงได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ต่อมาทรงดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง และทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองในช่วงที่พระราชโอรสคือ พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ[1]
อิงเงอบอร์ก อีริคสด็อทเทอร์แห่งเดนมาร์ก | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก | |||||
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1263–1280 | ||||
ก่อนหน้า | ริกิสซา บีร์เกอร์สด็อทเทอร์ | ||||
ถัดไป | มาร์กาเร็ตแห่งสกอตแลนด์ | ||||
ประสูติ | ราว ค.ศ. 1244 | ||||
สวรรคต | 24/26 มีนาคม ค.ศ. 1287 (พระชนมายุราว 42-43 พรรษา) | ||||
คู่อภิเษก | พระเจ้ามักนุสที่ 6 แห่งนอร์เวย์ | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | แอสตริดเซน (โดยประสูติ) สแวร์เรอ (โดยเสกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชมารดา | จัตตาแห่งแซกโซนี | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พระราชประวัติ
แก้เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับจัตตาแห่งแซกโซนี เจ้าหญิงมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษาในช่วงที่พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ สมเด็จพระพันปีหลวงจัตตา พระราชมารดาได้เสด็จกลับแซกโซนีและเสกสมรสใหม่กับบูร์ชาดที่ 8 เคานท์แห่งเคอร์ฟูร์ต-โรเซินบูร์ก เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก พร้อมพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาอีก 2 พระองค์ ต้องประทับในราชสำนักของพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ผู้เป็นสมเด็จอา และสมเด็จพระราชินีมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย พระมเหสีของพระองค์ เจ้าหญิงทั้งสี่เป็นทายาทสืบที่ดินมากมายในเดนมาร์ก ซึ่งจะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องมรดกคืนของพระนางอิงเกอบอร์กซึ่งเป็นสิทธิที่พระนางควรได้รับจากพระราชบิดาที่ถูกปลงพระชนม์ จะทำให้นอร์เวย์เกิดความขัดแย้งกับเดนมาร์กเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษต่อมา
เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กได้รับสัญญาการเสกสมรสจากคณะสำเร็จราชการเดนมาร์ก ที่จะให้เจ้าหญิงเสกสมรสกับเจ้าชายมักนุส องค์รัชทายาทในพระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเสด็จมาถึงเมืองทึนแบร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 หลังจากเสด็จกลับมาจากการอบรมสั่งสอนของกษัตริย์โฮกุนในอารามที่เมืองฮอร์เซนส์ ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1261 พระนางได้เสกสมรสกับเจ้าชายมักนุสที่เมืองบาร์เกิน เจ้าชายมักนุสและเจ้าหญิงอิงเงอบอร์กทรงได้รับการสวมมงกุฎทันทีหลังพิธีเสกสมรส เจ้าชายมักนุสทรงได้รับดินแดนศักดินารีฟีลเคอเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ การเสกสมรสครั้งนี้มีการระบุว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีความสุข[2]
ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1263 พระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตขณะทรงสู้รบกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์ในกรณีพิพาทหมู่เกาะเฮบริดีส และทำให้เจ้าชายมักนุสได้เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินี พระนางอิงเงอบอร์กไม่ทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองมากนัก พระโอรสองค์ใหญ่ 2 พระองค์ คือ เจ้าชายโอลาฟ (ค.ศ. 1262 - 15 มีนาคม ค.ศ. 1267) และเจ้าชายมักนุส (ค.ศ. 1264) สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ แต่พระราชโอรสองค์เล็กทั้งสองพระองค์ได้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมาคือ พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์
ในปีค.ศ. 1280 พระนางทรงตกพุ่มหม้าย สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเป็นผู้นำประเทศคนสำคัญในช่วงที่กษัตริย์อีริคที่ 2 ยังทรงพระเยาว์ แม้ว่าพระนางจะไม่ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ อิทธิพลทางการเมืองของพระนางมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสทรงบรรลุนิติภาวะใน ค.ศ. 1283 พันธมิตรทางการเมืองหลักของพระนางคือ อัลฟ์ เออลิงส์สัน ซึ่งเป็นพระญาติของกษัตริย์มักนุสที่ 6 พระสวามีของพระนางและดำรงตำแหน่งผู้ว่าการบอร์การ์ซิสเซลซึ่งปัจจุบันคือ เอิตโฟลด์
ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระญาติของพระนาง สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเริ่มมีกรณีพิพาทในเรื่องพระราชมรดกของพระนาง ซึ่งพระนางไม่ทรงเคยได้รับเลย ความบาดหมางครั้งนี้สร้างความเกลียดชังกันระหว่างนอร์เวย์และสันนิบาตฮันซาในเยอรมัน และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับเดนมาร์ก ขุนนางหลายคนในเดนมาร์ก รวมถึงเคานท์จาค็อบแห่งฮัลลันด์ ได้เข้าอยู่ฝ่ายพระนางเพื่อต่อต้านเดนมาร์ก แต่สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กกลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่เรื่องพิพาทนี้สิ้นสุด
พงศาวลี
แก้16. คนุต ลาวาร์ด | ||||||||||||||||
8. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก | ||||||||||||||||
17. อิงเงอบอร์กแห่งเคียฟ | ||||||||||||||||
4. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก | ||||||||||||||||
18. โวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์ | ||||||||||||||||
9. โซเฟียแห่งมินสก์ | ||||||||||||||||
19. ริเชซาแห่งโปแลนด์ | ||||||||||||||||
2. พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก | ||||||||||||||||
20. พระเจ้าอาฟงซูที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||||||||||||||||
10. พระเจ้าซังชูที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||||||||||||||||
21. มาทิลดาแห่งซาวอย | ||||||||||||||||
5. บึเร็งการียาแห่งโปรตุเกส | ||||||||||||||||
22. ราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา | ||||||||||||||||
11. ด็อลซาแห่งอารากอน | ||||||||||||||||
23. เปโตรนิยาแห่งอารากอน | ||||||||||||||||
1. อิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ | ||||||||||||||||
24. อัลเบร็ชท์ เดอะ แบร์ | ||||||||||||||||
12. แบร์นฮาร์ทที่ 3 ดยุกแห่งแซกโซนี | ||||||||||||||||
25. โซฟีแห่งวินเซนบวร์ค | ||||||||||||||||
6. อัลเบร็ชท์ที่ 1 ดยุกแห่งแซกโซนี | ||||||||||||||||
26. ดยุกมิเอสโกที่ 3 แห่งโปแลนด์ | ||||||||||||||||
13. ยูดิธตาแห่งโปแลนด์ | ||||||||||||||||
27. แอร์เฌแบ็ตแห่งฮังการี | ||||||||||||||||
3. จัตตาแห่งแซกโซนี | ||||||||||||||||
28. เลโอพ็อลท์ที่ 5 ดยุกแห่งออสเตรีย | ||||||||||||||||
14. เลโอพ็อลท์ที่ 6 ดยุกแห่งออสเตรีย | ||||||||||||||||
29. อิโลนาแห่งฮังการี | ||||||||||||||||
7. อักเนสแห่งออสเตรีย | ||||||||||||||||
30. ไอแซค โคมเนนอส วาตัทเซส | ||||||||||||||||
15. เธโอโดรา แองเจลินา | ||||||||||||||||
31. แอนนา โคมเนเน แองเจลินา | ||||||||||||||||
อ้างอิง
แก้- Koht, Halvdan Norske dronningar (1926)
ก่อนหน้า | อิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ริกิสซา บีร์เกอร์สด็อทเทอร์ | สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1263–1280) |
มาร์กาเร็ตแห่งสกอตแลนด์ |