แวมไพร์
แวมไพร์ (อังกฤษ: Vampire) เป็นผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป ในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันแก่และตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, อีกา, หมาป่า และ หมอก เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน รวมถึงสามารถบังคับสิ่งของให้เคลื่อนที่ด้วยอำนาจของตนได้ด้วย[1] สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง
ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง
เรื่องราวของแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของ บราม สโตกเกอร์ ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu : A Symphony of Horror ในปี ค.ศ. 1922 เป็นต้น
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องของแวมไพร์ที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ อาจมีที่มาจากที่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ มีค้างคาวขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Desmodontinae มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งค้าวคาวในวงศ์นี้ก็ได้มีการเรียกชื่อสามัญว่า แวมไพร์ เช่นกัน
ศัพทมูลวิทยา
แก้พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ระบุการปรากฏครั้งแรกของคำว่า แวมไพร์ ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1734 ในสารคดีท่องเที่ยวที่ชื่อ Travels of Three English Gentlemen ตีพิมพ์ในหนังสือ Harleian Miscellany ในปี 1745[2][3] ในวรรณกรรมเยอรมันได้มีการถกกันเรื่องแวมไพร์มาแล้ว[4] หลังจากที่ออสเตรียเพิ่มการควบคุมเซอร์เบียเหนือและ Oltenia ในปี ค.ศ. 1718 เจ้าหน้าที่บันทึกเกี่ยวกับร่างที่ขุดมาจากหลุมศพ และ "แวมไพร์ที่ตายแล้ว"[4] รายงานนี้เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1725 ถึง ค.ศ. 1732 และได้รับรู้สู่สาธารณะ[4]
ในภาษาอังกฤษคำนี้มาจาก เป็นไปได้ว่าเพี้ยนจากภาษาฝรั่งเศส vampyre ซึ่งมาจากภาษาเยอรมันว่า Vampir ซึ่งอาจมาจากภาษาเซอร์เบียในต้นคริสตวรรษที่ 18 คำว่า вампир/vampir.[5][6][7][8][9] ตามรูปแบบภาษาเซอร์เบียซึ่งคล้ายกับภาษากลุ่มสลาวิก มีการใช้คือ: ภาษาบัลแกเรีย вампир (vampir), ภาษาเช็กและสโลวัก upír, ภาษาโปแลนด์ wąpierz และ (บางทีอาจะรับอิทธิพลจากสลาวิกตะวันออก) upiór, ภาษารัสเซีย упырь (upyr'), ภาษาเบลารุส упыр (upyr), ภาษายูเครน упирь (upir'), ซึ่งมาจากภาษารัสเซียโบราณ упирь (upir') (หมายเหตุ ภาษาเหล่านี้มักยืมรูปแบบของ "vampir/wampir" จากทางตะวันตกที่เป็นคำดั้งเดิมท้องถิ่น) แต่ที่มาของคำนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามาจากภาษาอะไร[10]
ในบรรดา รูปแบบสลาวิกดั้งเดิม *ǫpyrь และ *ǫpirь[11] มีความเป็นไปได้ว่ามีรากศัพท์ความหมายของคำว่า "ค้างคาว" (เช็ค netopýr, สโลวัก netopier, โปแลนด์ nietoperz, รัสเซีย нетопырь / netopyr' - ชนิดของค้างคาว), คำในภาษาสโลวักอาจมีรากจากภาษาอินโดยูโรเปียนดั้งเดิม จากคำว่า "บิน"[11] ทฤษฎีที่เก่ากว่านี้ที่ว่าว่า ภาษาสลาวิกขอยืมคำจากภาษาเตอร์กิก คำว่า "แม่มด" (เช่นคำว่า Tatar ubyr)[11][12]
ความเชื่อท้องถิ่น
แก้ความเชื่อเกี่ยวกับแวมไพร์มีมานานกว่าพันปี ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอย่าง เมโสโปเตเมีย, ฮิบรู, กรีกโบราณ และโรมัน มีเรื่องเล่าของปีศาจและวิญญาณที่ตีความว่าเป็นที่มาของแวมไพร์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ดูเหมือนสิ่งมีชีวิตคล้ายแวมไพร์ ในสมัยโบราณ ความเชื่อในรูปธรรมที่เรารู้ในปัจจุบันของต้นกำเนิดแวมไพร์ มักมาจากต้นศตวรรษที่ 18 ทางแถบตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป[13] เมื่อประเพณีการเล่าขานของคนหลายเผ่าพันธุ์ต่างบันทึกและตีพิมพ์ ในกรณีส่วนมาก แวมไพร์คือผีในรูปแบบปีศาจ, เหยื่อฆ่าตัวตาย, หรือผู้ใช้เวทมนตร์คาถา หรือถูกสร้างมาด้วยอำนาจวิญญาณความชั่วร้ายที่ครอบงำศพ หรือถูกกัดโดยแวมไพร์ ความเชื่อต่าง ๆ ในตำนานกระจายไปทั่วท้องที่ที่ก่อให้เกิดความผวาหวาดกลัวและมีการบังคับตามกฎหมายของคนที่เชื่อว่าเป็นแวมไพร์[14][15]
คุณลักษณะ
แก้เป็นการยากที่จะอธิบายถึงความหมายเพียงความหมายเดียวของความเชื่อเรื่องแวมไพร์ ถึงแม้ว่ามีหลายองค์ประกอบที่เหมือนกันในบางตำนานในยุโรป แวมไพร์มักมีการรายงานว่ามีลักษณะพอง มีเนื้อหนังเป็นสีม่วงหรือเข้ม จากลักษณะนี้ทำให้มีมีคุณสมบัติที่จะดื่มเลือด ซึ่งเลือดมักจะซึมออกจากปากหรือจมูกเมื่อพบในผ้าห่อศพหรือโลงศพ และมักมีตาซ้ายเปิด[16] มักแต่งตัวในผ้าห่อศพจากผ้าลินิน และมีฟัน ผมและเล็บงอกออกมาเหมือนเขี้ยวสัตว์[17]
คุณลักษณะอื่นมาจากวัฒนธรรมสู่วัฒนธรรม แวมไพร์บางพวก อย่างเช่นในเรื่องเล่าแถบทรานซิลเวเนีย แวมไพร์จะผอมแห้ง ซีด และมีเล็บนิ้วยาว ขณะที่ในบัลแกเรียมีโพรงจมูกรูเดียว[18] และในแวมไพร์ในบาวาเรีย หลับโดยขัดนิ้วโป้งและมีตาเปิดหนึ่งข้าง[19] แวมไพร์ในมอเรเวีย จะทำร้ายต่อเมื่อเปลือยเท่านั้น และในเรื่องเล่าชาวอัลบาเนียจะสวมรองเท้าส้นสูง[19] เรื่องเล่าต่าง ๆ ของแวมไพร์ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกส่วนของโลก ทั้งในอเมริกาและทุกที่ และในบางครั้งก็มีการอธิบายแวมไพร์ที่แปลกพิสดาร อย่างแวมไพร์เม็กซิกัน จะมีกะโหลกเปล่าแทนหัว[19] ในบราซิล แวมไพร์ มีเท้าที่มีขนยาวมาจากเทือกเขาร็อกกี้ จะดูดเลือดจากทางจมูกโดยดูดจากทางหูของเหยื่อ[19] ลักษณะทั่วไป ในบางครั้งจะอธิบายเช่น มีผมสีแดง[19] ในบางรายงาน สามารถแปลงร่างเป็น ค้างคาว หนู สุนัข สุนัขจิ้งจอก แมงมุม หรือแม้กระทั่งผีเสื้อกลางคืน[20] ในตำนานที่หลากหลาย อย่างเช่นผลงานวรรณกรรมอย่างเช่น แดรกคูลา และผู้กระหายเลือดทางประวัติศาสตร์อย่างเช่น Gilles de Rais, อลิซาเบธ บาโธรี่, และ วลาด เทเปซ แวมไพร์ก็พัฒนาออกมาในรูปแบบแบบแผนสมัยใหม่[14][19]
การเกิดแวมไพร์
แก้สาเหตุของการสืบสายสายพันธุ์แวมไพร์ มีหลากหลายรูปแบบตามความเชื่อท้องถิ่น ในสลาวิกและความเชื่อจีน หากศพที่มีสัตว์กระโดดข้ามโดยเฉพาะหมาหรือแมว จะเกรงว่าจะทำให้ศพไม่ตาย[21] ร่างที่มีบาดแผลที่ไม่ได้รับการรักษาโดยน้ำเดือดก็เสี่ยง ในความเชื่อรัสเซีย แวมไพร์มักถูกเคยเชื่อว่าเป็นพ่อมดหรือคนที่ขบถต่อโบสถ์ในขณะที่พวกเขามีชีวิตอยู่ มีการเกิดแวมไพร์ ขึ้นเมื่อครั้งอดีตกาล ปัจจุบันเขายังคงมีชีวิตอยู่ [19]
การปฏิบัติทางสังคมมักเกิดขึ้นจากความพยายามป้องกันการกลับมาของคนตาย การฝังศพคว่ำลงก็แพร่ขยายไปทั่วและฝังไปกับสิ่งของของมนุษย์ อย่างเช่น เคียวด้ามยาวหรือเคียวเกี่ยวข้าว[22] ไว้ใกล้กับหลุมศพ เพื่อเอาใจเหล่าปีศาจที่จะเข้ามาในร่างหรือเพื่อระงับความตายที่จะไม่ทำให้พวกเขาลุกขึ้นจากหลุมศพ วิธีนี้ดูคล้ายกับวิธีปฏิบัติของชาวกรีกโบราณ ที่จะใส่โอโวลอส (เหรียญเงินเล็ก ๆ) ในปากศพ เป็นค่าธรรมเนียมในการข้ามแม่น้ำสติกซ์ในโลกหน้า แต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียง ไฟจะช่วยขจัดวิญญาณร้ายเข้าสู่ร่างกายและนี่อาจเป็นอิทธิพลให้กับความเชื่อพื้นบ้านเกี่ยวกับแวมไพร์ ธรรมเนียมนี้ยังคงมีอยู่ในประเพณีของกรีกสมัยใหม่เกี่ยวกับ vrykolakas ที่จะมีกางเขนทำจากขี้ผึ้งและชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่จารึกไว้ว่า "Jesus Christ conquers" วางบนศพเพื่อป้องกันการกลายเป็นแวมไพร์[23]
วิธีปฏิบัติอื่นในยุโรป เช่น การแยกเส้นเอ็นที่หัวเข่า หรือ ใช้ท่อนไม้หรืออิฐยัดเข้าไปในปาก[24] หรือการวางเมล็ดต้นป็อปปี้, ข้าวฟ่าง หรือทรายบนพื้นดินของหลุมศพที่เชื่อว่าเป็นแวมไพร์ เพื่อเป็นการป้องกันแวมไพร์ในช่วงกลางคืน โดยการนับเมล็ดข้าวที่ร่วงโรย[25] คล้ายกับเรื่องเล่าของชาวจีนที่ว่า ถ้าแวมไพร์ของจีนกระโดดข้ามกระสอบข้าว จะต้องนับข้าวทุกเมล็ด เช่นเรื่องราวในนิทานของอินเดียและอเมริกาใต้ ที่เป็นเรื่องเล่าของพ่อมดและปีศาจหรือวิญญาณชั่วร้าย[26]
การจำแนกแวมไพร์
แก้มีพิธีกรรมมากมายที่จะสามารถระบุถึงแวมไพร์ได้ หนึ่งในวิธีนั้นคือการหาหลุมศพของแวมไพร์ โดยนำม้าผู้บริสุทธิ์เดินผ่านสุสานหรือพื้นโบสถ์กับพ่อม้าบริสุทธิ์ - ม้ามักจะหยุดกะทันหันในที่ที่สงสัย[19] โดยทั่วไปจะใช้ม้าดำ แต่ในอัลบาเนียจะใช้ม้าขาว[27] หลุมที่ปรากฏบนพื้นมักจะมีลางว่าเกี่ยวข้องกับแวมไพร์[28]
ศพที่จะเป็นแวมไพร์มักจะอธิบายว่าจะดูมีสุขภาพกว่าที่จะเป็น จะดูอ้วนและดูไม่มีสิ่งที่บ่งว่าจะเน่าเปื่อย[29] ในบางกรณี เมื่อหลุมศพที่น่าสงสัยถูกเปิดออก ชาวบ้านก็เล่าว่า ศพดูมีเลือดไหลเวียนที่มาจากเหยื่อไปทั่วหน้า[30] หลักฐานที่พบว่ามีแวมไพร์อยู่อย่างเช่น การตายของวัวควาย, แกะ หรือเพื่อนบ้านเอง เรื่องเล่าเกี่ยวกับแวมไพร์ทำให้รู้สึกได้ว่ามีส่วนร่วมผีที่ส่งเสียงหลอกหลอนคน อย่างเช่น หินที่ขว้างปามาโดนหลังคาหรือการเคลื่อนไหวของของในบ้าน[31] หรือความรู้สึกอึดอัดของคนเมื่อนอนหลับ[32]
อ้างอิง
แก้- ↑ บราม สโตเกอร์. แดร็กคูล่า. กรุงเทพฯ : เม็ดทราย, [ม.ป.ป.]. หน้า 52. ISBN 974-7668-71-8
- ↑ J. Simpson, E. Weiner, บ.ก. (1989). "Vampire". Oxford English Dictionary (2nd ed.). Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-861186-2.
- ↑ Johnson, Samuel (1745). "IV". Harleian Miscellany. London: T. Osborne. p. 358.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Barber, Vampires, Burial and Death, p. 5.
- ↑ "Deutsches Wörterbuch von Jacob Grimm und Wilhelm Grimm. 16 Bde. (in 32 Teilbänden). Leipzig: S. Hirzel 1854-1960" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2006-06-13.
- ↑ "Vampire". Merriam-Webster Online Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2006-06-13.
- ↑ "Trésor de la Langue Française informatisé" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2006-06-13.
- ↑ Dauzat, Albert (1938). Dictionnaire étymologique de la langue française (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Librairie Larousse. OCLC 904687.
- ↑ Weibel, Peter. "Phantom Painting - Reading Reed: Painting between Autopsy and Autoscopy". David Reed's Vampire Study Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-02-23.
- ↑ Tokarev, Sergei Aleksandrovich (1982). Mify Narodov Mira. Sovetskaya Entsiklopediya: Moscow. OCLC 7576647. ("Myths of the Peoples of the World"). Upyr' (รัสเซีย)
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "Russian Etymological Dictionary by Max Vasmer" (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2006-06-13.
- ↑ Mladenov, Stefan (1941). Etimologičeski i pravopisen rečnik na bǎlgarskiya knižoven ezik. (บัลแกเรีย)
- ↑ Silver & Ursini, pp. 22-23.
- ↑ 14.0 14.1 Cohen, Encyclopedia of Monsters, pp. 271–274.
- ↑ William of Newburgh; Paul Halsall (2000). "Book 5, Chapter 22–24". Historia rerum Anglicarum. Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-19. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 41-42.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 2.
- ↑ Bunson, Vampires Encyclopedia, p. 35.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 Reader's Digest Association (1988). "Vampires Galore!". The Reader's Digest Book of strange stories, amazing facts: stories that are bizarre, unusual, odd, astonishing, incredible ... but true. London: Reader's Digest. pp. 432–433. ISBN 0-949819-89-1.
- ↑ Silver & Ursini, The Vampire Film, pp. 38-39.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 33.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, pp. 50-51.
- ↑ Lawson, John Cuthbert (1910). Modern Greek Folklore and Ancient Greek Religion. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 405–06. OCLC 1465746.
- ↑ รายการสำรวจโลก ทางทีวีไทย ตอน แวมไพร์แห่งเวนิส : 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 49.
- ↑ Jaramillo Londoño, Agustín (1986) [1967]. Testamento del paisa (ภาษาสเปน) (7th ed.). Medellín: Susaeta Ediciones. ISBN 958-95125-0-X.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, pp. 68-69.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 125.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 109.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 114-15.
- ↑ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 96.
- ↑ Bunson, Vampire Encyclopedia, pp. 168-69.
บรรณานุกรม
แก้- Barber, Paul (1988). Vampires, Burial and Death: Folklore and Reality. New York: Yale University Press. ISBN 0-300-04126-8.
- Bunson, Matthew (1993). The Vampire Encyclopedia. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-27748-6.
- Silver, Alain; James Ursini (1993). The Vampire Film: From Nosferatu to Bram Stoker's Dracula. New York: Limelight. ISBN 0-87910-170-9.