แจ้ง คล้ายสีทอง
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ[1][2][3] มีความเชี่ยวชาญในการขับร้องเพลงไทย และขับเสภา หนึ่งในตำนานศิลปินพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี
แจ้ง คล้ายสีทอง | |
---|---|
แจ้ง คล้ายสีทอง (ขวามือ) | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 แจ้ง คล้ายสีทอง |
เสียชีวิต | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (74 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | นางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2538 - สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) |
ประวัติ
แก้นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกิด วันอาทิตย์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 ปีจอ ที่ บ้าน ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรชายคนเดียว ของนาย หวัน และนางเพี้ยน คล้ายสีทอง มีพี่น้อง ท้องเดียวกันทั้งหมด 4 คน คือ
- นางทองหล่อ ขาวเกตุ
- นางฉลวย คงศิริ
- นายแจ้ง คล้ายสีทอง
- นางอร่าม จันทร์หอมกุล
ชื่อแจ้งนี้ มารดาเล่าว่านาย แจ้ง ตกฟากตอนพระอาทิตย์ขึ้นพ้นดวงพอดี บิดาเลยตั้งชื่อว่าแจ้ง
นาย แจ้ง คล้ายสีทอง สมรสกับนางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ บุตรีของกำนันสนิท กับนางลำจียก โพธิหิรัญ ซึ่งประกอบอาชีพปี่พาทย์ นายแจ้งและนางบุญนะ มี บุตร ธิดา ทั้งสิ้น จำนวน 6 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 4 คน ได้แก่
- นางสาวคะนึงนิจ คล้ายสีทอง
- นางสาวเพ็ญพรรณ คล้ายสีทอง
- นายสาธิต คล้ายสีทอง
- นางสาวขณิษฐา คล้ายสีทอง
- นายประทีป คล้ายสีทอง
- นางสาววัลภา คล้ายสีทอง
วัยเด็กที่สุพรรณบุรี
แก้นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกิดในตระกูลศิลปิน คุณตา เป็นนักสวดคฤหัสถ์ บิดาเป็นผู้แสดงโขน พากย์โขน และเป็นตลกโขนที่มีชื่อเสียงในคณะโขนวัดดอนกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาเป็นนักร้องเพลงไทยเดิม และแม่เพลงพื้นบ้านผู้มีน้ำเสียงไพเราะยิ่ง รวมทั้งญาติพี่น้องอื่น ๆ ก็เป็นศิลปินพื้นบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยกันทั้งหมด นาย แจ้ง คล้ายสีทองติดตาม บิดา มารดา ไปตามงานแสดงต่าง ๆ และเริ่มการแสดงตั้งแต่ยังเยาว์วัย
เมื่อถึงวัยศึกษาเล่าเรียน บิดาได้ส่งไปเป็นลูกศิษย์คุณตาที่ วัดโบสถ์ดอนลำแพน และเรียนหนังสือจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด ของโรงเรียนในขณะนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรม มารดาได้กลับมาอยู่ที่บ้านเดิม ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี นายแคล้ว คล้ายจินดา ครูดนตรีไทย เจ้าของวงดนตรีปี่พาทย์ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้มาติดต่อกับมารดาเพื่อจะขอรับนายแจ้ง คล้ายสีทอง ไปเป็นลูกศิษย์เพราะเห็นว่ามีชอบและพรสวรรค์ด้านดนตรีไทย นายแจ้งเล่าว่า"ครูแคล้วเขาเห็นเวลามีปี่พาทย์ ฉันจะนั่งหลังวงดูเขาตีบรรเลง พอกลับบ้านก็หากะลามาทำเป็นวงฆ้องเคาะไปเรื่อย"
นายแจ้งได้ย้าย ไปอยู่ที่บ้านนายแคล้ว คล้ายจินดา เพื่อจะได้มีเวลาเรียนดนตรีอย่างเต็มที่ เริ่มแรกได้ฝึกเรียนฆ้องวง ต่อมาได้ฝึกเรียนเครื่องดนตรีอื่น ๆ จนสามารถบรรเลงได้ทุกชนิด ต่อมา ในวงดนตรีของ นายแคล้ว ขาดนักร้อง เด็กชายแจ้งจึงมีโอกาสได้เริ่มฝึกหัดขับร้องเพลงกับ นายเฉลิม คล้ายจินดา ซึ่งเป็นบุตรชายของนายแคล้ว โดยเริ่มจากเพลง 2 ชั้น และเพลงตับราชาธิราช ตอนสมิงพระรามหนี
เมื่อนายแจ้ง อายุได้ 14 ปี มารดาก็ตามกลับบ้าน อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังติดต่อและร่วมงานกับนายแคล้ว อยู่เป็นประจำ และได้เป็นนักร้องวงดนตรีของนายแคล้ว โดยเป็นนักร้องที่อายุน้อยกว่านักร้องท่านอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งอยุ่ในวัยเดียวกันกับมารดา การร้องเพลงในสมัยก่อนนั้นนายแจ้งค่าตัว 6 สลึง ผู้ใหญ่ได้ค่าตัว 2 บาท แต่นายแจ้งมักได้รางวัลจากคนดูต่างหาก เสร็จงานแล้วบางคืนได้ถึง 30-40 บาท ซึ่งในสมัยนั้นทองราคาเพียงบาทละ 600 บาท
เริ่มเข้ากรุงเทพ
แก้เมื่อนายแจ้งอายุได้ 16 ปี ได้ติดตามนายสนิท โพธิ์หิรัญ บิดาของภรรยาเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เพราะทำนาแล้วล้ม ๆ ลุก ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง เมื่อเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ก็ได้มาทำงานในคลังแสง กองยกกระบัตร สะพานแดง บางซื่อ ซึ่งการทำงานครั้งนั้นต้อง งดรับงานร้องเพลงและงานบรรเลงดนตรีทั้งหมด แต่ก็ได้มีโอกาสต่อเพลง "ต้นวรเชษฐ์" กับครูดนตรี แต่ต่อได้ท่อนเดียว
พออายุครบ 21 ปี นายแจ้ง คล้ายสีทอง เข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าประจำการหน่วยเสนารักษ์ ไปเป็นทหารอีก 1 ปี 6 เดือน แถว ๆ กองพันทหารราบ 11 ทำให้ห่างจากปี่พาทย์ไปเป็นปี ๆ นายแจ้งเล่าว่า ตอนนั้นยังไม่คิดถึงดนตรีปี่พาทย์ เพราะยังไม่เอาจริงเอาจัง ร้องเล่น ๆ เท่านั้น แต่ทำปี่พาทย์วิทยุด้วย ในระยะนั้นเมื่อมีเวลาว่างหรือได้ลาพักผ่อน ก็มักติดตามนายสืบสุด (ไก่) ดุริยประณีต [4] และ จ.ส.อ.สมชาย (หมัด) บุตรชายนาย ชั้น ดุริยประณีต [5] นางแถม ดุริยประณีต เป็นประจำ เมื่อผู้บรรเลงเครื่อง ดนตรีบางชิ้นว่างลงหรือไม่มา นายแจ้ง คล้ายสีทอง จะบรรเลงแทน และสามารถบรรเลงได้ดีทุก ๆ หน้าที่ ตั้งแต่การบรรเลงเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะจนถึงระนาดเอก และระนาดทุ้ม ในการบรรเลงแต่ละครั้งได้รับเงินค่าจ้างประมาณ 40-50 บาท เมื่อปลดประจำการเป็น ทหารกองหนุนแล้ว นายสืบสุด ดุริยประณีต ได้ชักชวนให้เข้าเป็นนักดนตรีวงดุริยะประณีตหรือวงบ้านบางลำพู [6]
ในช่วงที่ครูแจ้งอยู่วงดนตรีดุริยประณีตนั้น ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้แสดงลิเก ซึ่งได้เปลี่ยนเรียกว่า นาฏดนตรี มีการแสดงสดส่งกระจายเสียงตามวิทยุต่าง ๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ลิเกหลายคณะได้ใช้วงปี่พาทย์วงดุริยประณีต หรือวงบ้านบางลำพูในการบรรเลง ต่อมาครูแจ้งก็ได้เลื่อนเป็นนายวง และเป็นคนตีระนาดเอกเอง ส่วนใหญ่จะแสดงประจำสถานีวิทยุที่กรมการรักษาดินแดนและเมื่อคณะลิเกขาดตัวแสดงตัวใดตัวหนึ่ง ครูแจ้งก้จะมักเป็นผู้แสดงแทน ซึ่งครูแจ้งสามารถแสดงได้ดีทุกตัว จนบางคณะต้องติดต่อให้ครูแจ้งแสดงเป็นพระเอก โดยใช้ชื่อในการแสดงลิเกว่า "อรุณ คล้ายสีทอง"
ในยุคแรก ๆ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม วงดนตรีดุริยประณีตได้มีโอกาสบรรเลงดนตรีไทยออกอากาศอยู่เป็นประจำ มีนายสุพจน์ ( ปื๊ด ) โตสง่า [7] นางแม้น โตสง่า สามี นาง ดวงเนตร (น้อย) [14] เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บุตรสาวนางแช่มช้อย ดุริยประณีต@1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [15]– นายเหนี่ยว ดุริยพันธ์ [16]และเป็นบิดาของ ณรงค์ฤทธิ์ (ปอง) โตสง่า ขุนอิน [17] เก็บถาวร 2008-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [18] เก็บถาวร 2009-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และชัยยุทธ (ป๋อม) โตสง่า เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก ในการร้องบรรเลงการสวมรับ และการส่งร้องเพลงบุหลันเถา เฉพาะในตอน 2 ชั้น และชั้นเดียว ปรากฏว่าผู้ร้องไม่มา นายแจ้ง คล้ายสีทอง จึงได้ร้องเพลงแทน [ ข้อมูลบางแห่งระบุว่าร้องอยู่ที่บ้านดุริยประณีต ] มีครูผู้ใหญ่นั่งฟังกันหลายคน และได้กล่าวชมน้ำเสียงขับร้องว่าเหมาะสม แต่ควรปรับปรุงวิธีการรร้องและ ลีลาการร้อง ครูโชติ ดุริยประณีต [19] ได้ยินเข้าก็บอกว่า "แจ้งเสียงดี ฉันจะปั้นแจ้งนี่ล่ะ" แล้วครูโชติก็ให้กับ ครูสุดา (เชื่อม) เขียววิจิตร [20] ต่อเพลงให้ร้อง วันรุ่งขึ้นนายแจ้งเอาดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ครูเชื่อม ครูให้ต่อเพลง โดยเพลงแรกที่ฝีกร้องก็คือเพลง "เขมรราชบุรีสามชั้น" ตอนที่ฝึกตอนแรก ๆ เฉพาะท่อน "ชะรอยกรรมจำพราก" ท่อนเดียวร้องอยู่เกือบเดือน พอได้แล้วค่อยไปอีกหน่อย ทั้งเพลงใช้เวลาเดือนกว่า เพราะถ้าร้องไม่ได้อารมณ์ ครูไม่ต่อเพลงให้ ต่อจากนั้นก็ได้มีการต่อเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง จนสามารถนำไปร้องเข้ากับวงดนตรีในงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และมีความไพเราะ เนื่องจากมีพรสวรรค์ทางด้านเสียงอยู่แล้ว เมื่อได้รับการ ฝึกหัดอย่างถูกวิธี ก็ฝึกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขับร้องได้ดีมากขึ้น
หลังจากต่อเพลงได้มา 4-5 เพลง ในปี 2506 ครูแจ้งก็เล่าว่าก็มีคนส่งเข้าประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุ ว.ป.ถ.กรมการทหารสื่อสาร ใช้ชื่อว่า "อภัย" เข้าไปอัดเสียงอยู่ 2 หน 4 เพลง ให้กรรมการฟังเสียง เคาะเป๊งต้องร้องให้ตรงเสียง ผิดเสียงไม่ได้ โดนตัดคะแนน ครั้งนั้นครูแจ้งได้ที่ 1 พอประกวดได้ที่ 1 ก็มีชื่อเสียงเป็นที่โด่งดัง ทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ มาติดต่อครุแจ้งให้ไปเข้าวงดนตรี ครุแจ้งจะไปแล้วแต่พอครูโชติรู้เข้าก็บอกว่าอย่าไป และไปฝากไว้กับ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ครูโชติบอกว่าไม่ต้องการให้ไปอยู่วงเพลงไทยสากล โดยอธิบายว่าถ้าไปก็ร้องได้แต่เพลงเถา ร้องส่งปี่พาทย์ไม่ได้อะไร ถ้าอยู่กรมศิลปากรจะได้หมดทั้ง โขน ละคร ฟ้อน รำ เห่ ขับ กล่อม
รับราชการในกรมศิลปากร
แก้พ.ศ. 2508 นายแจ้ง ให้เข้ามารับราชการ ที่กรมศิลปากร และเมื่อเวลานาย ธนิต อยู่โพธิ์ไปราชการที่ใด ท่านก็จะเอาทั้งอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 สาขาศิลปการแสดง ศิลปการละคร[8] และนายแจ้งไปไหนมาไหนด้วยตลอดกันตลอดไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย หรือจะเป็นต่างประเทศ
นายแจ้งเริ่มต้นเข้ารับราชการในตำแหน่งคีตศิลปินจัตวา หรือตำแหน่งขับร้องเพลงไทย แผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร เมื่อเข้ามาอยู่ที่กรมศิลปากรซึ่งมีแต่ครูชั้นเลิศทั้งนั้น มีทั้งครูที่สอนนายแจ้งมาก่อน และยังมีครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ น้องเขยครูโชติและพ่อตานายสุพจน์ โตสง่า ครูท้วม ประสิทธิกุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย[9][10][11][12][ลิงก์เสีย] ครูนิภา อภัยวงศ์[13][14] ครูสงัด ยมะคุปต์ สามีครูลมุล ยมะคุปต์ ครูเสรี หวังในธรรม เข้าไปต้องฝึกหมดทุกอย่าง แต่ไม่ต้องเก่งหมด เพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกด้าน
การทำงานในระยะแรก นายแจ้งต้องปรับปรุงการร้องเพลงใหม่ เพราะจะต้องร้องให้เข้ากับบทบาทตัวละครที่กำลังแสดง เมื่อเข้าไปต้องฝึกหมดทุกอย่าง แต่ไม่ต้องเก่งหมด เพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกด้าน ด้วยความอุตสาหะและ เอาใจใส่ก็สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยัง พยายามฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยการฝึกหัดร้องเพลงและศึกษาการขับร้องของ ครูดนตรีรุ่นเก่า ที่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นแนวทางการ ขับร้องให้ดียิ่งขึ้น บุคคลที่นายแจ้ง คล้ายสีทอง ให้ความเคารพนับถืออีกท่านหนึ่ง คือนายเสรี หวังในธรรม ผู้ให้การสนับสนุนแนะนำวิธีการร้องต่าง ๆ แก่นายแจ้งตลอดมา
ช่วงชีวิตในขณะที่รับราชการครูแจ้งฯ มีภารกิจที่รัฐบาลได้ส่งไปทำงานเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ และบางครั้งก็ได้มีโอกาสเดินทางไปปักกิ่ง ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 สาขาวรรณศิลป์[15] เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรม กับประเทศจีน ที่นั่น ได้ไปร้องโขน ร้องละครโชว์
การพูดของครูแจ้ง จะมีจังหวะจะโคน เพราะจะค่อย ๆ พูด เป็นคนอารมณ์อ่อนไหว ต้องพยายามควบคุมตัวเอง สมัยก่อนครูแจ้งก็ใจร้อน เคยด่าอธิบดีมาก่อน ครูแจ้งเคยทำละครร่วมกันกับ ครู ส.อาสนจินดา ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533 สาขาศิลปการแสดงภาพยนตร์และละคร[16] ส่วนพระเอกจะเป็น ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2541 สาขาศิลปการแสดงดนตรีสากล[17] ส่วนว่าถ้าเป็นบทเข้าพระเข้านาง ก็จะเป็นหน้าที่ของ ชรินทร์ฯ แต่ถ้าเป็นบทตอนเวลาออกรบ ครู ส.จะออกรบแทน ครูแจ้งเคยแนะนำ ครู ส.อาสนจินดา ถึง ละครที่สร้าง เมื่อกรมศิลปากรมีการจัดการแสดงเรื่อง "ผู้ชนะสิบทิศ" ครูแจ้งก็เคยแนะนำ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ให้ร้องละคร และแนะนำให้ อาจารย์ เสรี ว่าเวลาร้องละครผู้ชนะสิบทิศ ควรจะร้องให้น้อยหน่อย พูดมากหน่อย แนะนำและให้คิดบทพูดเอาเอง แทนที่จะเป็นการท่องบท ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน เลยมีบทพูดมากกว่าร้อง จริง ๆ อ.เสรี จะเป็นคนดื้อ ไม่ฟังใคร แต่ครูแจ้งจะพูดเฉย ๆ จะเชื่อหรือไม่เชี่อก็แล้วแต่ แต่ทำไปแล้วก็ทำให้คนดูละครชอบมาก
กลับไปอยู่สุพรรณบุรี
แก้ปัจจุบันนี้ นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกษียณอายุราชการกลับไปใช้ชีวิตแบบวิถีชาวชนบท ที่บ้านไม้ 2 ชั้น เลขที่ 108 หมู่ 12 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ริมแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสมัยที่ครูแจ้งรับราชการใหม่ ๆ ได้รับเงินเดือน 3 พันบาท ซึ่งก็พออยู่ได้ ไม่ค่อยมีปัญหา และนางบุญนะภริยาทำของกินและขายข้าวเหนียวปิ้งตั้งวางแผงขาย แถว วัดครุใน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
ตอนนั้นนายแจ้งและภรรยาเช่าบ้านอยู่แถวปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ นางบุญนะขายของ 2 รอบ เช้ากับเย็น ตื่นตี 5 ติดไฟย่างตอนตี 5 ครึ่ง แม่ค้าที่ขายในโรงงานมารับ ของขายก็ห่อมาจากบ้าน นับว่าทำกันเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ลูก ๆ ต่างก็ช่วยกัน ช่วงเวลานั้นมีเงินเก็บเป็นแสน มีเงินก็ซื้อทองเก็บไว้ เก็บได้เกือบประมาณ 30 บาททีเดียว ที่เหลือก็เก็บสะสมจนสามารถซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านหลังนี้ได้ ในการรับงานการแสดงส่วนใหญ่ นางบุญนะจะต้องเป็นคนรับงานเอง รับงานขับเสภาทั่วไป ในพิธีต่าง ๆ ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานศพ หลังจากนั้นก็เลยไม่ได้ขายของ อีก
ทุกวันนี้ครูแจ้งยังมีภารกิจที่ต้องสอนหนังสือในสถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่ง ทั้งวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี[18] มหาวิทยาลัยราชภัฎต่าง ๆ ในวิชา "คีตศิลป์” หลายแห่งเป็นประจำ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และจิตวิญญาณด้านคีตศิลป์ ให้อนุชนรุ่นหลัง แล้วก็จะมีนักศึกษาที่จะต้องทำวิทยานิพนธ์ ด้านคีตศิลป์ สอนเรื่องการใช้ภาษาไทย วรรณคดี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเป็นวิชาที่ครูแจ้งสอนสอนประจำ
การขับเสภา
แก้การขับและขยับกรับเสภา นายแจ้งสามารถขับร้องได้อย่างไพเราะพร้อมการขยับกรับไปด้วยกัน โดยนายแจ้งได้ครูโชติ ดุริยประณีต เป็นผู้ฝึกหัดให้ เริ่มตั้งแต่วิธี จับไม้กรับเสภา ซึ่งมีอยู่ 4 อัน หรือ 2 คู่ โดยถือไว้ในมือด้านละ 1 คู่ เริ่มขยับเสียงสั้นไปหาเสียงยาวคือเสียงกรด เสียงสั้นคือเสียงก๊อก แก๊บ เสียงยาวคือเสียงกรอ ขยับจนคล่องดีแล้ว จึงตีเสียงกร้อ แกร้ (เสียงกรอ) ต่อจากนั้นตีไม้สกัดสั้น ได้แก่เสียงแกร้ แก๊บ และไม้สกัดยาวคือเสียงกร้อ แกร้ กร้อ แกร้ แก๊บ ใช้สำหรับตอนหมดช่วงของการขับเสภา และในระหว่างขับ ส่วนไม้กรอใช้สำหรับ ขับครวญเสียงโหยไห้และใกล้หมดช่วงของขับเสภา นายแจ้งฝึกจนสามารถ ขับและขยับกรับเสภาได้ โดยขับในละครเรื่อง ไกรทองแต่ยังไม่ทันได้ต่อไม้เสภาอื่น ๆ ต่อไป นายโชติ ดุริยะประณีต ก็ถึงแก่กรรม
และต่อมานายแจ้งได้เรียนขยับกรับกับอาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย[19] ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมศิลปากร อ.มนตรีท่านได้กรุณาบอกไม้เสภาที่ยังไม่ได้ ได้แก่ ไม้รบ ใช้สำหรับบทดุดันหรือการต่อสู้ และไม้สอง ใช้สำหรับชมธรรมชาติหรือดำเนินทำนองเพลง 2 ชั้น และบทดำเนินเรื่อง
ในงานพิธีไหว้ครูประจำปีของแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร ครั้งหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (พระองค์ชายกลาง) องค์อุปถัมภ์ศิลปิน ได้เสด็จมาในงานพร้อมด้วยนายเจือ ขันธมาลา ผู้มีความสามารถในการขับร้องและขยับกรับเสภา นายเจือเป็นหลานและศิษย์ของ ท่านครูหมื่นขับคำหวาน ท่านพระองค์ชายกลาง ได้มีพระเมตตาฝากฝังนายแจ้งให้เรียนเสภากับนายเจือ นายแจ้งจึงได้ วิธีการขับเสภาไหว้ครู รวมทั้งเกร็ดย่อยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น และมีความชำนาญเชี่ยวชาญมากขึ้น จนได้รับสมญาว่า"ช่างขับคำหอม"
นายแจ้งได้เริ่มขับเสภาอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 30 ปี นอกจากเรียนกับครูโชติ ครูสงัด ครูมนตรี แล้วก็ยังฟังเทปครูเหนี่ยว กับครูหลวงเสียงเสนาะกรรณพัน มุกตวาภัย[20]ขับเสภา แล้วคอยจำเทคนิคไว้ ไปที่บ้านครูเจือ ขันธมาลา ฟังครูเจือบอกไม้กรับ ฟังครูหมื่นขับคำหวานขับเสภา ครูหมื่นขับคำหวานท่านขับเสภาตลก ครูหลวงเสียงเสนาะกรรณจะขับเสภาเพราะหวานหู บทเข้าพระเข้านางต้องครูหลวงเสียงฯ ส่วนครูเหนี่ยวขับแบบนักเลง กระโชกโฮกฮาก เป็นบทหยิ่งผยอง
นอกจากนี้ยังได้รับความ กรุณาจากนางท้วม ประสิทธิกุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย[21] และนาย ประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2532 สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย [22] แนะวิธีปลีกย่อยให้นายแจ้ง จนได้มีโอกาสแสดงความสามารถและได้รับคำชมไปทั่ว จนภายหลังได้รับการยกย่องว่า "เสียงดี ตีกรับอร่อย"
เพลงหลัก ๆ ที่มีชื่อเสียงนั้นก็คือ การขับเสภาในละครเรื่อง “ขุนช้าง ขุนแผน” ซึ่งนายแจ้งจะร้องเอง ขับเสภาเองหมด การขับเสภาของนายแจ้งนั้น นายแจ้งจะดูบท และเอาแบบของครูแต่ละท่านมาใช้ให้ถูกจุด ครูแจ้งเล่าว่า”อย่างร้องถึงคำว่า "แหวกม่าน" ต้องทำเสียงจินตนาการว่าค่อย ๆ แหวกม่าน ไม่ใช่พรวดพราดแหวกม่าน นางตกใจตายกันพอดี” การขับเสภาเป็นเรื่องของการใช้เสียงแสดงอารมณ์บอกเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้น นายแจ้งเคยขับเสภาตอน "กำเนิดพลายงาม" ขับเสร็จหันไปดูคนฟัง ปรากฏว่านั่งร้องไห้กันหลายคน นั่นคือการขับเสภาไปกระทบใจเขา
นายแจ้งเคยร้องเอาเนื้อความเป็นใหญ่ สัมผัสลดน้อยลงไป แต่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2530 สาขาวรรณศิลป์กวีนิพนธ์[23] ท่านบอกว่า ไม่ได้ ไม่งั้นคนไทยจะมีกลอนทำไม ต้องอ่านให้สัมผัสถึงจะเป็นกลอน ถ้าเอาเนื้อความเป็นใหญ่เขียนร้อยแก้วเสียก็หมดเรื่องเลยต้องเอาสัมผัสเป็นตัวตั้ง ความอยู่ทีหลัง ช่วงที่ มล.ปิ่น มาลากุลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันคล้ายวันเกิดของท่านทุก ๆ ปี ครูแจ้งมีหน้าที่ต้องไปอ่านบทกลอนของ มล.ปิ่นให้ท่านฟัง ที่ หออัครศิลปิน ท่านมักจะชอบเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ครูแจ้งฟัง
บทที่ใช้ในการขับเสภานั้น นายแจ้งเอามาจากวรรณคดีทั้งหมด ต้องอ่านวรรณคดีทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องไหนไม่เคยอ่าน หรือพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็นำมาขับเสภาได้ บางครั้งก็มีแต่งบทเสภาขึ้นใหม่ การขับเสภาสามารถขับได้ทุกงาน ใช้ขับได้ทั้งงานมงคล และอวหมงคล ตั้งแต่งานวันเกิด งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส งานฉลองต่าง ๆ จนถึงงานตอนตายคืองานศพนั่นแหละ ซึ่งก็ ต้องแต่งหรือนำบทขับเสภาในวรรณคดี ที่มีอยู่แล้ว นำเอามาใช้ขับให้เหมาะกับงานนั้น ๆ เช่น ถ้างานศพ ก็จะบอกถึงคุณความดี ประวัติต่าง ๆ ของผู้ตาย
การขับเสภาของคนรุ่นปัจจุบันนี้ ครูแจ้งเล่าว่า
แต่ก่อนฉันต้องเรียนขับเสภาอย่างละเอียด อักษรอย่างนี้ คำอย่างนี้ ต้องใช้อารมณ์อย่างไร ขับเสภาแบบไหน ขับได้กี่อย่าง แต่เดี๋ยวนี้คนขับไม่รู้ก็ขับส่งเดช วรรณคดีมีอารมณ์ของเขาอยู่ ต้องตีให้ออก ถามถึงคนรุ่นนี้กับการขับเสภาหรือ..ฉันคิดว่าการขับเสภาไม่หายไปหรอก เขาเรียนกันเยอะไป แต่เรียนไม่ละเอียด เป็นแค่พอผ่าน จะเรียนจริงจังหายากเต็มทน อีกอย่างหาคนส่งเสริมการขับเสภาไม่ค่อยมี ศิลปินไทยจะแย่เอาคราวนี้ ที่ว่ากันว่าขับทำนองเสนาะ ตอนนี้ฉันเห็นว่าได้แต่ขับทำนอง ส่วนความเสนาะหาได้ยากเหลือเกิน
เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ
แก้นายแจ้ง คล้ายสีทอง ได้ขับร้องเพลงถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักเรือนต้นและที่อื่น ๆ เนื่องในงาน พระราชทานเลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์เสมอ ๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะมีพระราชเสาวนีย์ให้นายแจ้ง ร้องเพลงที่โปรดเป็นพิเศษ อันได้แก่ เพลงลาวครวญ ลาวดวงเดือน ลาวคำหอม เป็นต้น และมีพระราชกระแสรับสั่งชมเชยว่าร้องเพราะเสียงดี ยังมีความปลาบปลื้มแก่นายแจ้ง คล้ายสีทองเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญราชรุจิ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวขับไม้ประกอบ ซอสามสายในพระราชพิธีขึ้นระวาง สมโภชพระศรีนรารัฐราชกิริณี ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2520 และได้รับพระราชทานเหรียญ รัตนาภรณ์ในงานพระราชพิธีขึ้นระวาง และสมโภชช้างสำคัญ 3 เชือกที่จังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2521 นับว่าเป็นผู้ขับร้องเพลงไทย คนสำคัญอีกคนหนึ่งของประเทศไทย
จากการที่ นาย แจ้ง คล้ายสีทอง ได้ทำงานสร้งสรรค์ศิลปะตลอดเวลา โดยการถ่ายทอดอารมณ์จากการตีกรับขับเสภาอันถือว่าเป็นงานละเอียดยิ่ง จากประวัติชีวิตและผลงานดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายแจ้ง คล้ายสีทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538
นายแจ้ง คล้ายสีทองเคยได้รับรางวัลดีเด่นในด้าน การอนุรักษ์ภาษาไทยจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความสามารถด้านนี้ นายแจ้งบอกว่าก็เพราะการที่ได้เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิอยู่บ้านตา จึงได้มีโอกาส ฝึกด้านการใช้ภาษา และการเปล่งเสียงมาตั้งแต่เด็ก ๆ
เมื่อวันที่ 5 มิย พ.ศ. 2551 นายแจ้ง คล้ายสีทอง ได้ขับเสภาหน้าพระที่นั่ง ในการแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 53 พรรษา พุทธศักราช 2551 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน เนื่องในโอกาส ทรงเจริญพระชนมายุ 53 พรรษา ในปี พ.ศ. 2551 โดยได้แสดงในชุดการแสดงที่ 1 การขับเสภา "กราบรำลึกถึงองค์แก้วกัลยา" โดยมี ผศ.ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา และ ผศ.สุรพล สุวรรณ ร้อยกรองบท และขับร้องในการแสดงชุดที่ 5 เดี่ยวซอด้วง "เพลงกราวใน" โดยมี ครูโกวิทย์ ขันธศิริ เป็นผู้เดี่ยวซอด้วง ครูอนันต์ ดุริยพันธ์ - เครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ และครู สมพงษ์ ภู่ศร - ฉิ่ง
ถึงแก่กรรม
แก้ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาคีตศิลป์ ถึงแก่กรรมโดยสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช ประมาณ 9 นาฬิกา ใน วันอังคาร 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลาประมาณ 09.00 น. ด้วยอาการโรคหัวใจแทรกซ้อนและเส้นเลือดตีบฉับพลัน สิริอายุ 74 ปี
หลังจากที่ล้มป่วยก่อนหน้านี้ด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบจนเป็นอัมพฤกษ์ ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสุพรรณบุรีและย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ทางครอบครัวจะนำศพไปทำพิธีทางศาสนาที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร [24][25] เลขที่ 249 หมู่ที่ 2 ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ทางฝั่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ หรือ แม่น้ำท่าจีน
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพนายแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์ไทย) ณ ฌาปนสถาน วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[26]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[27]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[28]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[29]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[30]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [1]
- ↑ [2] ไปในงานบรรเลงปี่พาทย์ของวงดุริยะประณีต หรือวงบ้านบางลำพู ของนาย ศุข @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ [3] [4][ลิงก์เสีย]
- ↑ [5] เก็บถาวร 2008-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้มีฉายาระนาดน้ำค้าง บุตรนายพุ่ม @2928, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%e2%b5%ca%a7%e8%d2&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [6] [7]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ @2363, ^, @17, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b7%e9%c7%c1+%bb%c3%d0%ca%d4%b7%b8%d4%a1%d8%c5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ [8] [9]
- ↑ [10]
- ↑ [11]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [12]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [13] เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-16.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๐
- แจ้ง คล้ายสีทอง [21] [22][23][24][ลิงก์เสีย]
- สูจิบัตรการแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๓ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๑ วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ณ.ศุนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย [ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551], [25] เก็บถาวร 2009-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน