แขวงหนองค้างพลู

แขวงในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

หนองค้างพลู เป็นเขตการปกครองระดับแขวงแห่งหนึ่งในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ตอนบนของท้องที่เป็นเขตเกษตรกรรม ส่วนตอนล่างเป็นเขตที่อยู่อาศัยเนื่องจากมีเส้นทางคมนาคมสายหลักตัดผ่าน

แขวงหนองค้างพลู
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Nong Khang Phlu
ถนนทวีวัฒนา
แผนที่เขตหนองแขม เน้นแขวงหนองค้างพลู
แผนที่เขตหนองแขม เน้นแขวงหนองค้างพลู
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตหนองแขม
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด17.036 ตร.กม. (6.578 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด74,639 คน
 • ความหนาแน่น4,381.25 คน/ตร.กม. (11,347.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10160
รหัสภูมิศาสตร์102303
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่มาของชื่อแขวง

แก้

ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดเกี่ยวกับที่มาของชื่อ "หนองค้างพลู" แต่มีคำอธิบายที่หลากหลายจากผู้อาวุโสในพื้นที่แขวงหนองค้างพลูและเขตหนองแขมดังนี้

  • พื้นที่แถบนี้ในอดีตตั้งอยู่บนเส้นทางลำเลียงพลู โดยชาวบ้านจะเดินทางหาบพลูจากนครชัยศรีซึ่งเป็นแหล่งปลูกพลูแหล่งใหญ่ไปขายแถบตลาดพลูและบางกอกน้อย เมื่อถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ก็จะแวะพักหรือค้างคืน ผู้คนจึงเรียกหนองน้ำแห่งนั้นว่า "หนองค้างพลู"[3]
  • ในอดีตมีการกินหมากพลูกันอยู่ทั่วไป แต่ละบ้านนิยมปลูกพลูไว้กินเองโดยสร้าง "ค้าง" หรือไม้หลักสำหรับให้เถาพลูเกาะเลื้อยขึ้นไป หนองน้ำที่อยู่ใกล้กับชุมชนที่สร้างค้างพลูไว้จึงมีชื่อเรียกว่า "หนองค้างพลู"[4]
  • ในอดีตเมื่อชาวบ้านแถบนี้ต้อนวัวควายไปเลี้ยงตามทุ่งนาจะเอาพลูใส่ซองแล้วแขวนไว้ที่ต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้กับหนองน้ำแห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็จะนัดพบกันตรงที่แขวนหมากพลูค้างไว้แล้วหยิบหมากพลูมากิน หนองน้ำแห่งนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า "หนองค้างพลู"[4]
  • มีผู้ไปพบซองใส่พลูที่มีผู้อื่นวางไว้หรือทำตกไว้แถวหนองน้ำแห่งหนึ่ง จึงถือเอาบริเวณที่พบซองพลูนั้นเป็นจุดนัดหมายกันและเรียกหนองน้ำแห่งนั้นว่า "หนองซองพลู" ภายหลังชื่อได้เพี้ยนเป็น "หนองค้างพลู"[4]
  • ในสมัยที่นายจัน มหาศร เป็นนายอำเภอหนองแขม ได้สั่งให้ขุดคลองมหาศรเชื่อมระหว่างคลองบางไผ่กับคลองภาษีเจริญ เมื่อขุดมาชนกับคลองภาษีเจริญก็พบซองโลหะสำหรับใส่พลูตกหล่นกระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่า "หนองซองพลู" ภายหลังชื่อได้เพี้ยนเป็น "หนองค้างพลู"[4] (อย่างไรก็ตาม บริเวณที่คลองมหาศรบรรจบกับคลองภาษีเจริญในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่แขวงหนองแขม)

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

แขวงหนองค้างพลูตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ด้านเหนือของเขตหนองแขม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[5]

การคมนาคม

แก้

ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู ได้แก่

ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู ได้แก่

  • ซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 2
  • ซอยเพชรเกษม 69 (อินทาปัจ)
  • ซอยเพชรเกษม 77 (จัดสรรมหาดไทย)
  • ซอยเพชรเกษม 114

อ้างอิง

แก้
  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1023&rcodeDesc=เขตหนองแขม 2566. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. สำนักงานเขตหนองแขม. "ข้อมูลทั่วไปของเขต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://webportal.bangkok.go.th/nongkhame/page/sub/108/ข้อมูลทั่วไปของเขต. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 ธันวาคม 2564.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 สำราญ ผลดี. "ชุมชนหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร." ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โดยคณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. เข้าถึงได้จาก: https://www.orst.go.th/pdfjs/web/viewer.html?file=/FILEROOM\CABROYINWEB\DRAWER004\GENERAL\DATA0004/00004536.PDF. 2564. สืบค้น 30 ธันวาคม 2564.
  5. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงหนองค้างพลูและแขวงหนองแขม เขตหนองแขม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 37–41. 24 ธันวาคม 2540.