เหม เวชกร
เหม เวชกร (17 มกราคม พ.ศ. 2446 – 16 เมษายน พ.ศ. 2512) เป็นศิลปินและนักเขียนชาวไทย เขาเป็นที่รู้จักจากภาพประกอบของเขาจากปกนิยายขนาด 10 สตางค์ที่ส่งอิทธิพลต่อศิลปินและนักวาดภาพประกอบชาวไทยรุ่นต่อมา และรวมถึงเรื่องผีของเขาด้วย[1] คาดว่าเขาผลิตงานศิลปะมากกว่า 50,000 ชิ้น เช่น ภาพวาดด้วยปากกาและดินสอ สีน้ำ สีโปสเตอร์ และ สีน้ำมัน เขาพรรณาถึงชีวิตในชนบทประวัติศาสตร์ไทยและตัวละครจากวรรณคดีไทย ผลงานของเขาได้รับการทำซ้ำบนแสตมป์ไทย[2] และนำเสนอในหอศิลป์
เหม เวชกร | |
---|---|
เกิด | หม่อมหลวงเหม 17 มกราคม พ.ศ. 2446 จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2512 (66 ปี) อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย |
การศึกษา | โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ |
มีชื่อเสียงจาก | ภาพประกอบนิยายผี |
ผลงานเด่น | ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกมังกรกรรฐ์ (พ.ศ. 2473) |
คู่สมรส | แช่มชื่น คมขำ |
บิดามารดา |
|
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้ครูเหมเกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุได้ 11 ปี เขาได้ไปอาศัยอยู่กับหม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ลุงของเขาซึ่งเป็นสถาปนิกที่ดูแลศิลปินและสถาปนิกชาวอิตาลีที่ทำงานในการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ครูเหมจึงได้รู้จักกับศิลปิน คาร์โล รีโกลี สถาปนิก มารีโอ ตามัญโญ และวิศวกร เอมิลิโอ จีโอวานนี โกลโล ครูเหมพบว่าตนเองสนใจงานในพระที่นั่ง และรีโกลีซึ่งเป็นผู้ออกแบบตกแต่งภายในจึงอนุญาตให้เขาลงสี
ชีวิตในวัยรุ่นของเขา นับเป็นช่วงเวลาที่ตกยากที่สุด ทั้งพ่อและแม่ที่ต่างผลัดกันแย่งยื้อตัวเขาไว้ก็ไม่มีใครได้เลี้ยงดูจริงจัง ตามประวัติกล่าวว่าเขาเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญ แต่ก็คงได้เพียงชั่วเวลาสั้นๆ จากนั้นเหมต้องกลายเป็นคนซัดเซพเนจรไปหลายที่ แม้แต่นามสกุล "เวชกร" ที่ใช้มาตลอดชีวิตก็เป็นนามสกุลของครอบครัวขุนประสิทธิ์เวชการ (แหยม เวชกร) อดีตนายแพทย์สาธารณสุขประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยให้การอุปถัมภ์เขาไว้ครั้งหนึ่ง[3]
ช่วงที่ชีวิตผกผัน เหมต้องเร่ร่อนไปทำงานหลายอย่าง นับแต่เป็นนายท้ายเรือโยงขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นช่างเครื่องจักรไอน้ำ แล้วผันตัวไปเป็นช่างเครื่องในงานสร้างเขื่อนพระรามหก เมื่อเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก กระทรวงกลาโหม และพร้อมกับมีอาชีพเสริมด้วยการเล่นดนตรีไทย งานเล่นดนตรีคลอประกอบการฉายหนังเงียบในโรงภาพยนตร์ แต่ต่อมาอาชีพนักดนตรีเริ่มฝืดเคือง เริ่มงานเขียนปกนวนิยาย เป็นงานหลักหาเลี้ยงชีพ
ปลายปี พ.ศ. 2478 เหม เวชกรและเพื่อนได้ร่วมกันเปิดสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ พิมพ์นิยายราคาถูก ปกเป็นภาพเขียนฝีมือของเหม พิมพ์สอดสีสวยงาม ราคา 10 สตางค์ นอกจากนี้ เหมยังมีผลงานวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องผีด้วย[4]
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ แช่มชื่น คมขำ แห่งสำนักวังหลานหลวงของกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ โดยไม่มีทายาท แต่ได้รับบุตรบุญธรรมไว้คนหนึ่งชื่อดาบตำรวจสุชาติ สมรูป
เหมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2512[5] ณ บ้านพักแหล่งสุดท้ายของเขาที่ซอยตากสิน 1 เขตธนบุรี ขณะอายุได้ 66 ปี
ผลงาน
แก้- เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกมังกรกรรฐ์ ที่ระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ห้องที่ 69 เมื่อ พ.ศ. 2473 (ภาพนี้ได้รับการเขียนซ่อมโดย พ.ต.ท อำพัน ศิรสงเคราะห์ เมื่อ พ.ศ. 2515)
- เขียนภาพปกภาพประกอบนวนิยายที่สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ต้นกำเนิดนิยาย 10 สตางค์ เมื่อประมาณปี 2474
- เขียนภาพปกภาพประกอบ แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม
- งานชุดประวัติศาสตร์ไทย ชีวประวัติสุนทรภู่ ชุดนางในวรรณคดีชุดกากี
- ผลงานจิตรกรรมพุทธประวัติที่สร้างอุทิศแก่พุทธศาสนา คือภาพปฐมสมโพธิ 80 ภาพ และชุดเวสสันดร 40 ภาพ
- วรรณกรรมแนวสยองขวัญ หรือเรื่องผี ถึง 101 เรื่อง
- ภาพประกอบให้ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ลงในคอลัมน์ “จากย่ามความทรงจำ ของ เหม เวชกร” หนังสือฟ้าเมืองไทย
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเหม เวชกร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Pichayapat Naisupap. "Hem Vejakorn's Ghost Stories: A Social and Cultural History of Thailand, 1932-1970." MA Thesis, Chulalongkorn University, 2018.
- ↑ Hem Vejakorn's painting postage stamps, SiamStamp.com.
- ↑ ศรัณย์ ทองปาน. (2543, ต.ค.). เหม เวชกร จิตรกรไร้สำนักเรียน ช่างเขียนนอกสถาบัน. สารคดี [ออนไลน์].
- ↑ พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ. (2561). เรื่องผีของเหม เวชกร: ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513). วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ "นิทรรศการภาพวาดวิจิตรครูเหม เวชกร (2539)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.