เรื่องเล่าเช้านี้

รายการเล่าข่าวภาคเช้าโดยสรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางช่อง 3
(เปลี่ยนทางจาก เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง)

เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ภาคเช้าประเภทเล่าข่าว โดยมี สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ประกาศข่าวหลัก ผลิตโดยฝ่ายข่าวของช่อง 3 ร่วมกับบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ของสรยุทธ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546

เรื่องเล่าเช้านี้
ประเภทข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน
เสนอโดย
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างสรยุทธ สุทัศนะจินดา
อังคณา วัฒนมงคลศิลป์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอชั้น 10 อาคารมาลีนนท์
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน145 นาที
บริษัทผู้ผลิตปัจจุบัน
ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี
บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด
อดีต
บริษัท ไร่ส้ม จำกัด
เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
บางกอกการละคอน
ออกอากาศ
เครือข่ายปัจจุบัน
ช่อง 3 เอชดี (โทรทัศน์)
วิทยุครอบครัวข่าว (วิทยุ)
อดีต
อีซี่เอฟเอ็ม 105.5 (ปัจจุบัน คือ อีซี่เอฟเอ็ม 102.5)
ออกอากาศ2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 –
ปัจจุบัน

ปัจจุบันมีการแบ่งรายการในกลุ่มเรื่องเล่าออกเป็น 4 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06:00 - 08:25 น., เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:15 - 12:15 น., เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 05:30 - 06:00 น. โดย 3 รายการนี้ออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งช่องทางสื่อสังคมของเรื่องเล่าเช้านี้ และ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ หลังจบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยเผยแพร่ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมของสรยุทธ

ประวัติ แก้

จุดเริ่มต้นของรายการนี้มาจากการที่ สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับละครจากค่ายบางกอกการละคอน ในเครือบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) นำสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวจากเนชั่น แชนแนล ในขณะนั้น มาเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์รายการใหม่ของตน ชื่อว่า "กล่องวิเศษ Magic Box" ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 ทำให้ประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหารช่อง 3 ในขณะนั้น เกิดแนวคิดในการผลิตรายการภาคเช้าในรูปแบบของสรยุทธ[1]

ในช่วงเริ่มแรก ช่อง 3 ต้องการให้สรยุทธทำหน้าที่จัดรายการภาคเช้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละครึ่งชั่วโมง ก่อนไปจัดรายการ "เก็บตกจากเนชั่น" ทางเนชั่น แชนแนลต่อ แต่ปรากฏว่า บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์เนชั่น แชนแนล ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 สรยุทธจึงลาออกจากการเป็นพนักงานของเนชั่น แชนแนล เพื่อมาทำหน้าที่ในรายการดังกล่าวเต็มรูปแบบ[2] ส่วนชื่อรายการ สรยุทธเล่าว่า เดิมเกือบตั้งชื่อรายการว่า "คุยคุ้ยข่าว" (ซึ่งต่อมาเป็นชื่อรายการที่สรยุทธทำกับกนก รัตน์วงศ์สกุล ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี) และอีกหลากหลายชื่อที่มีคำว่า "เช้า" เข้ามาผสม จนกระทั่งลงตัวที่ชื่อรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มบีอีซีเวิลด์ ได้ขายหุ้นทั้งหมด 59.99% ที่ถืออยู่ในบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นมูลค่า 15 ล้านบาท ให้กับไบรอัน ลินด์เซ มาร์การ์ กรรมการผู้จัดการของบีอีซี-เทโร บีอีซี-เทโร จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในการผลิต การบริหาร รวมถึงโอนพนักงานในรายการข่าวในกลุ่มเรื่องเล่าทั้ง 3 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง และเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของช่อง 3 และกลุ่มบีอีซีเวิลด์ เนื่องจากเป็นรายการข่าวที่เป็นรูปแบบของช่อง 3 อย่างชัดเจน ส่งผลให้ปัจจุบันทั้ง 3 รายการ ผลิตโดยฝ่ายข่าวของช่อง 3 เป็นหลัก[4]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2565 บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ปิดกิจการ[5] ทำให้บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ซึ่งเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่สรยุทธก่อตั้ง เป็นผู้ร่วมผลิตรายการเรื่องเล่าเช้านี้ในส่วนที่สรยุทธร่วมผลิตแทน

รูปแบบรายการ แก้

ปัจจุบันรายการในกลุ่มเรื่องเล่ามีทั้งหมด 4 รายการ ดังนี้

เรื่องเล่าเช้านี้ แก้

เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ภาคเช้าประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม ปัจจุบันออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06:00 - 08:25 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของเรื่องเล่าเช้านี้ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]

รูปแบบรายการเป็นการจัดรายการคู่กันระหว่างสรยุทธ สุทัศนะจินดา กับผู้ประกาศข่าวหญิงซึ่งได้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์, มีสุข แจ้งมีสุข, สู่ขวัญ บูลกุล, กฤติกา ขอไพบูลย์ และปัจจุบันคือพิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ[6] ส่วนการนำเสนอข่าว เป็นรายการข่าวรายการแรกของประเทศไทยที่ไม่ได้ใช้รูปแบบการอ่านข่าวแบบเดิม แต่ใช้การเล่าข่าว คือนำเสนอข่าวให้เห็นภาพโดยที่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องเห็นภาพ ไม่มีสคริปต์ และไม่มีการเรียงลำดับของข่าว (Run down) ดังนั้นการนำเสนอข่าวในแต่ละวันจะแตกต่างกัน และมีจุดเด่นที่การนำเสนอข่าวของสรยุทธที่ทำให้เป็นที่จดจำของผู้ชม รวมถึงโครงการช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ ที่เรื่องเล่าเช้านี้จัดขึ้น ซึ่งเริ่มแรกจะมีการแบ่งรายการเป็นช่วง ๆ เช่น เรื่องเล่าเช้านี้เด็ก, ข่าวต่างประเทศ (ปัจจุบันถูกย้ายไปอยู่ในเรื่องเล่าหน้าหนึ่ง), ข่าวกีฬา และ ครอบครัวบันเทิง (ปัจจุบันแยกออกมาเป็นรายการออนไลน์ ในชื่อ "ครอบครัวบันเทิงออนไลน์")[7]

ภายหลังจากสรยุทธประกาศยุติการจัดรายการทุกรายการในช่อง 3 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 ฝ่ายข่าวช่อง 3 ได้ปรับรูปแบบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ให้พิชญทัฬห์เป็นผู้ประกาศข่าวหลัก โดยคู่กับกฤติกา ขอไพบูลย์[8], เจก รัตนตั้งตระกูล[9], พิภู พุ่มแก้วกล้า[10] และภาษิต อภิญญาวาท[11] ตามลำดับ ก่อนจะกลับไปใช้รูปแบบเดิมหลังจากสรยุทธกลับมาจัดรายการอีกครั้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 มาจนถึงปัจจุบัน

เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ แก้

เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์
ประเภทข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน
เสนอโดย
ประเทศแหล่งกำเนิด  ไทย
ภาษาต้นฉบับ  ไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างสรยุทธ สุทัศนะจินดา
อังคณา วัฒนมงคลศิลป์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอชั้น 10 อาคารมาลีนนท์
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน120 นาที
บริษัทผู้ผลิตปัจจุบัน
ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี
บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด
อดีต
บริษัท ไร่ส้ม จำกัด
เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
บางกอกการละคอน
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 3 เอชดี (โทรทัศน์)
วิทยุครอบครัวข่าว (วิทยุ)
ออกอากาศ2 ตุลาคม พ.ศ. 2547 –
ปัจจุบัน

เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม แบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 (พ.ศ. 2547 - 2549) แก้

เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ เดิมเป็นรายการข่าวที่ บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ บางกอกการละคอน ผลิตขึ้น เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมข่าวสารในวันหยุด ออกอากาศตั้งแต่เวลา 07:00 น. เป็นต้นไป ดำเนินรายการโดย กฤษณะ ละไล, อรอุมา เกษตรพืชผล และแอนดรูว์ บิ๊กส์ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และออกอากาศในรูปแบบนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 หลังจากนั้น ช่อง 3 ได้ปรับรูปแบบรายการเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ให้มีรูปแบบเดียวกับเรื่องเล่าเช้านี้ โดยนำสรยุทธมาจัดรายการเป็นแกนหลักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และย้ายไปออกอากาศในช่วงสายค่อนไปทางกลางวัน ส่วนเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ รูปแบบเดิม ได้ปรับเปลี่ยนเป็น "ก๊วนข่าวเช้าวันหยุด", "คิดเช่นเห็นต่าง" และ "ข่าวเช้าวันหยุด" ตามลำดับ

รูปแบบที่ 2 (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) แก้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ช่อง 3 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ให้มีรูปแบบรายการแบบเดียวกับเรื่องเล่าเช้านี้ แต่ปรับเป็นการจัดรายการคู่กันระหว่างสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวหลักจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ร่วมกับผู้ประกาศข่าวอีก 1 คน เพื่อเว้นให้ผู้ประกาศข่าวหญิงจากเรื่องเล่าเช้านี้ได้พักผ่อน[6] เช่น สู่ขวัญ บูลกุล[12], ภาษิต อภิญญาวาท[13], กฤติกา ขอไพบูลย์[14] เป็นต้น (โดยจะมีเพียงบางครั้ง ที่ผู้ประกาศข่าวหญิงของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ มาจัดรายการคู่กับสรยุทธ) ทำให้บริษัท ไร่ส้ม จำกัด และบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ของสรยุทธ เข้ามามีบทบาทในการร่วมผลิตรายการนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็นช่วงสายค่อนไปทางกลางวัน โดยรูปแบบใหม่นี้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2550[12] ปัจจุบันสรยุทธจัดรายการคู่กับปรินดา คุ้มธรรมพินิจ (วันเสาร์) และอริสรา กำธรเจริญ (วันอาทิตย์) ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10:15 - 12:15 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมของเรื่องเล่าเช้านี้

เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง แก้

เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เป็นรายการภาคเช้าประเภทนำเสนอข่าวที่แยกออกมาจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 (โดยที่สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ร่วมผลิตรายการนี้ ในขณะที่ผันตัวมาทำเบื้องหลัง) โดยเน้นการสรุป "ข่าวเด่น ประเด็นสำคัญ สำหรับคนตื่นเช้า" จากพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เป็นหลัก[15] แต่ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

  • Headline News: สรุปข่าวเด่นจากพาดหัวหนังสือพิมพ์
  • เรื่องเล่ารอบโลก: สรุปข่าวต่างประเทศ
  • เรื่องเล่าการเมือง: สรุปข่าวการเมือง

เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 05:30 - 06:00 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมของเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งในช่วงแรกจะดำเนินรายการโดยผู้ประกาศข่าวของเรื่องเล่าเช้านี้ เช่น อรชุน รินทรวิฑูรย์, พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ, ภาษิต อภิญญาวาท และเมจกา สุพิชญางกูร ปัจจุบันดำเนินรายการโดย เมจกา สุพิชญางกูร (ประจำวันจันทร์-พฤหัสบดี), อติรุจ กิตติพัฒนะ (ประจำวันจันทร์-พุธ, ศุกร์) และ ประวีณมัย บ่ายคล้อย (ประจำวันพฤหัสบดี-ศุกร์)

กรรมกรข่าวคุยนอกจอ แก้

กรรมกรข่าวคุยนอกจอ เป็นรายการภาคเช้าประเภทเล่าข่าวที่แยกออกมาจากเรื่องเล่าเช้านี้ มาออกอากาศเฉพาะทางสื่อสังคม เพื่อให้สรยุทธสามารถแสดงความคิดเห็นในข่าวต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก โดยไม่มีข้อจำกัดของการจัดรายการทางโทรทัศน์มาควบคุม และทำให้การนำเสนอข่าวในช่วงนี้ของสรยุทธมักถูกพูดถึงในสื่อสังคมอยู่เสมอ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ หลังจบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่องทางสื่อสังคมของสรยุทธในชื่อ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว[16] เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566 โดยเดิมมีการทดลองออกอากาศในชื่อ กรรมกรข่าวเปิดอกคุย ซึ่งเป็นรายการเฉพาะกิจที่เป็นการพูดคุยระหว่างสรยุทธกับแขกรับเชิญซึ่งเป็นนักการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 7, 11, 12, 18 และ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 และมีการทดลองออกอากาศในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับกรรมกรข่าวคุยนอกจอในปัจจุบันเมื่อวันที่ 19 เมษายน โดยออกอากาศทางยูทูบ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว และเฟซบุ๊กเรื่องเล่าเช้านี้

การตอบรับ แก้

รายการเรื่องเล่าเช้านี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศ เนื่องจากการที่สรยุทธนำสาระมาสอดแทรกในแต่ละข่าว มุกตลกที่ดึงดูดผู้รับชม รวมถึงการเกลี่ยข่าวแบบไม่ลำดับความสำคัญ โดยเน้นเรื่องที่ชาวบ้านสนใจก่อน ทำให้เรื่องเล่าเช้านี้มีเรตติ้งผู้รับชมเป็นอันดับที่ 1 ในบรรดารายการภาคเช้าทั้งหมด และทำให้มีการขึ้นค่าโฆษณาในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศเป็นจำนวน 3 ครั้ง คือ จากเดิมที่เริ่มต้นที่ 50,000 บาท ขยับขึ้นเป็น 80,000 บาท, 100,000 บาท และ 135,000 บาทตามลำดับ[6] ส่งผลให้เรื่องเล่าเช้านี้สามารถสร้างรายได้ให้กับช่อง 3 ได้ถึง 200-300 ล้านบาทต่อปี จนกลายเป็นรายการที่สร้างรายได้มากที่สุดในกลุ่มรายการข่าวที่ออกอากาศในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ นำรายการข่าวมาออกอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับรูปแบบรายการภาคเช้าประเภทข่าวเพื่อแข่งขันกับเรื่องเล่าเช้านี้โดยเฉพาะ[3]

อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดสรยุทธในคดีที่ตนและ บจก.ไร่ส้ม สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของ บมจ.อสมท ยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันและสมาชิก 40 องค์กรเอกชน จึงได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังช่อง 3 ให้พิจารณาการทำหน้าที่ของสรยุทธ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะถอนโฆษณาออกจากรายการของสรยุทธทั้งหมด และมีบริษัทเอกชนขนาดใหญ่จำนวน 4 ราย ยกเลิกการซื้อเวลาโฆษณาในรายการของสรยุทธตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556[17] แต่ช่อง 3 ก็ยังคงให้สรยุทธจัดรายการตามปกติ[18] และภายหลังจากเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกสรยุทธเป็นเวลา 13 ปี 4 เดือน แต่ช่อง 3 ยังคงให้สรยุทธจัดรายการตามปกติ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่ามีสินค้าบางรายการ ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และกลุ่มธนาคาร ขอถอนโฆษณาออกจากรายการของสรยุทธเพิ่มเติม[19] อย่างไรก็ตาม ในที่สุด สรยุทธก็ได้ประกาศยุติการจัดรายการทุกรายการในช่อง 3 รวมถึงเรื่องเล่าเช้านี้ด้วย มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[20] ซึ่งต่อมามีการเปิดเผยว่าเป็นผลจากการสั่งการของ บมจ.อสมท ที่เป็นโจทก์ของสรยุทธ แต่เป็นการสั่งการในฐานะคู่สัญญากับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในการดำเนินกิจการช่อง 3 แอนะล็อกในขณะนั้น[21]

อย่างไรก็ตาม จากการประกาศยุติการจัดรายการของสรยุทธ ส่งผลกระทบต่อรายการเรื่องเล่าเช้านี้โดยตรง เนื่องจากทำให้เรตติ้งและรายได้จากการขายโฆษณาของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ลดลงตามไปด้วย[9] ทำให้ต่อมาช่อง 3 ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการลดเวลาออกอากาศรายการเรื่องเล่าเช้านี้ลง[22] รวมถึงการแยกรายการออกมาเป็น "เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง" ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น[15]

ภายหลังจากสรยุทธได้รับการพักโทษในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์ของกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลช่อง 3 โดยตรง เปิดเผยว่า ช่อง 3 ได้ปรับผังรายการใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มเวลารายการเรื่องเล่าเช้านี้ เพื่อรองรับการกลับมาจัดรายการอีกครั้งของสรยุทธโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นบุคลากรสำคัญของฝ่ายข่าวของช่อง 3[23] ซึ่งการปรับผังในครั้งนี้ส่งผลในทางบวกต่อเรตติ้งโดยรวมของรายการข่าวช่อง 3 ทั้งหมด[24] รวมถึงทำให้มีอัตราขายโฆษณาในรายการเหล่านี้มากขึ้น[25] มีรายการข่าวบางรายการที่ขายโฆษณาได้เต็มรายการ และส่งผลดีต่อผลประกอบการโดยรวมของช่อง 3 โดยตรง ทำให้ช่อง 3 เพิ่มเวลารายการข่าวอีกครั้งในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ในรายการข่าวที่ออกอากาศในวันเสาร์ - อาทิตย์ ซึ่งเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ของสรยุทธ ก็ได้เวลาออกอากาศเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 10-15 นาที[26]

พิธีกร แก้

พิธีกรหลัก แก้

ปัจจุบัน แก้

ชื่อ วัน ระยะเวลา รายการในปัจจุบัน
สรยุทธ สุทัศนะจินดา จันทร์-อาทิตย์ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[27]
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[28] – ปัจจุบัน
  • เรื่องเล่าเช้านี้
  • กรรมกรข่าวคุยนอกจอ
  • เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์
พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ จันทร์-ศุกร์ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน
  • เรื่องเล่าเช้านี้
  • กรรมกรข่าวคุยนอกจอ
เอกราช เก่งทุกทาง พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน
  • เรื่องเล่าเช้านี้ (ข่าวกีฬา)
ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ เสาร์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
  • เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์
อริสรา กำธรเจริญ อาทิตย์ 24 เมษายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
เมจกา สุพิชญางกูร จันทร์-พฤหัสบดี 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[29] – ปัจจุบัน
  • เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง
อติรุจ กิตติพัฒนะ จันทร์-พุธ, ศุกร์ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
ประวีณมัย บ่ายคล้อย พฤหัสบดี, ศุกร์ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

อดีต แก้

เฉพาะกิจ แก้

รางวัล แก้

เป็นรางวัลเฉพาะตัวรายการ ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล

ปี รางวัลที่ได้เข้าชิง รางวัล/สาขา ผล
พ.ศ. 2547 ท็อปอวอร์ด 2004 รายการวาไรตี้ – ทอล์คโชว์ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2549 ท็อปอวอร์ด 2006 รายการวาไรตี้ – ทอล์คโชว์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2553 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 รายการข่าวยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2554 ดาราเดลี่ เดอะ เกรท อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 รายการโทรทัศน์ที่สุดแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2555 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 3 รายการข่าวยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2558 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 6 รายการข่าวยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2561 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 รายการเล่าข่าวยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2565 Thailand Zocial Awards 2022 Best Entertainment Performance on Social Media สาขา Thai News Program (สาขารายการข่าว) ได้รับรางวัล
พ.ศ. 2566 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 14 รายการเล่าข่าวยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ""เดอะงัด"แมวมองค้นคนข่าว". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เบื้องหลัง"สรยุทธ"หัก"เนชัน"ซบช่อง 3-โชว์เข้าตา"มิ่งขวัญ" เรียกตอบแทน". สำนักข่าวอิศรา. 19 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "เดอะวินเนอร์…เรื่องเล่าเช้านี้". Positioning Magazine. 5 กันยายน 2005. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Techasriamornrat, Sirarom (2020-12-09). "เปิดเบื้องหลังปิดดีลขาย 'BEC-TERO' ไบรอันยกสิทธิ 'เรื่องเล่า' คืนช่อง 3 ลุ้นสรยุทธคืนจอปีหน้า". สำนักข่าวทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 2023-07-17.
  5. "'สรยุทธ' เลิกแล้ว บ.ไร่ส้มคดี 138 ล.! ร่วมทุน 'เสี่ยตัน' ทำธุรกิจอสังหาฯ". สำนักข่าวอิศรา. 15 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 "การกลับมาของสรยุทธ ในฐานะนักข่าวเบอร์หนึ่งของประเทศไทย". The Modernist. 15 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ดีสุวรรณ, ภูษิต; มุทิตาเจริญ, ประไพพิศ. "กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ กรณีศึกษา: สรยุทธ สุทัศนะจินดา" (PDF). Media and Communication Inquiry. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 3 (2): 72–81 – โดยทาง ฐานข้อมูลคติชนไทยภาคเหนือ.
  8. "ช่อง 3 ดึง "กุ๊ก-กฤติกา" เสียบแทน "สรยุทธ" รายการเรื่องเล่าเช้านี้". ไทยพีบีเอส. 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 ""เรื่องเล่าเช้านี้" เมื่อ "น้องไบรท์" เอาไม่อยู่". ผู้จัดการออนไลน์. 1 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ผ่านมั้ย? "ต๊ะ พิภู" นั่งแท่นพิธีกรเรื่องเล่าเช้านี้คนใหม่คู่ "ไบรท์"". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "เรื่องเล่าเช้านี้ ปรับโฉมใหม่อีกครั้ง ดึง ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เสริมทัพ". กระปุก.คอม. 2 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 "ทีวีปี' 50 สู้สนุก - คนเนชั่นขายดี - "ปลื้ม" นั่งจ้อเรื่องเล่าฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 3 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023. แต่ที่เป็นที่สนใจของคนส่วนใหญ่ก็คือข่าวลือของการเข้ามานั่งเก้าอี้ตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายข่าวของ "สรยุทธ สุทัศนะจินดา" รวมไปถึงการที่เจ้าตัวได้เวลาไปทำรายการ "เรื่องเล่า - เสาร์ อาทิตย์" ในเวลา 11.00 น. คู่กับ "สู่ขวัญ" เพิ่มขึ้นมา{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ภาษิต อภิญญาวาท ดาวดวงใหม่ของช่อง 3". Positioning Magazine. 5 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "กุ๊ก กฤติกา กลับมาแล้ว คืนจอเล่าข่าวคู่ สรยุทธ". สนุก.คอม. 1 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "ช่อง 3 ทนเรตติ้งข่าวเช้าร่วงไม่ไหว ผ่าเวลา เรื่องเล่าเช้านี้ เป็น 2 ช่วง". Positioning Magazine. 3 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "สรยุทธ เผย สาเหตุกรรมกรข่าวปลิว เพราะอะไร ตอนแรกนึกว่าตึง ที่จริงเส้นผมบังภูเขา". กระปุก.คอม. 25 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "4 บริษัทยักษ์นำทีมแบน "สรยุทธ" ถอนโฆษณาเรื่องเล่าเช้านี้". สนุก.คอม. 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ช่อง3ไม่ถอดสรยุทธ ยันไม่มีสปอนเซอร์ถอนตัว". สนุก.คอม. 17 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ ยืนยันสินค้าบางรายการถอนโฆษณา หลังช่อง 3 ปล่อย "สรยุทธ" จัดรายการ". ไทยพีบีเอส. 1 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ""สรยุทธ" ประกาศยุติทำหน้าที่พิธีกร ช่อง 3 เผยยังไม่มีแผนหาคนนั่งแทนใน "เรื่องเล่าเช้านี้"". ไทยพีบีเอส. 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "เบื้องหลังที่เพิ่งเปิดเผย ทำไม ช่อง 3 สั่ง สรยุทธ์ หยุดจัดรายการ". สนุก.คอม. 20 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "ช่อง 3 หั่นเวลา'เรื่องเล่าฯ' นำ'ผู้หญิงถึงผู้หญิง'เสียบ คาดเรตติ้งตกหลัง'สรยุทธ'ยุติบทบาท". มติชน. 30 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. Jan (13 มีนาคม 2021). ""สรยุทธ" คัมแบ็ค "ช่อง 3" เตรียมขยายเวลาข่าวโกยเรตติ้ง โบรกฯ ชี้ปีนี้เห็นกำไร". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. Jan (22 เมษายน 2021). ""สรยุทธ" รีเทิร์น! ช่อง 3 เขย่าเรตติ้งรายการข่าวทีวีเปลี่ยนมือ จับตาดูดผู้ชมคืนจากช่องไหน?". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. Jan (1 พฤษภาคม 2021). "วันแรก "สรยุทธ สุทัศนะจินดา" คืนจอช่อง 3 โฆษณาแน่น "เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์"". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. Jan (9 มีนาคม 2022). "โฆษณาแน่น! 'ช่อง 3' ขยายเวลารายการข่าว ประเดิมเสาร์-อาทิตย์ โบรกฯคาดปีนี้ฟาดกำไร 1,000 ล้าน". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "14 ปีแห่งความทรงจำ สรยุทธ สุทัศนะจินดา อำลาเรื่องเล่าเช้านี้". สนุก.คอม. 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
  28. "เปิดเรตติ้ง "สรยุทธ"คืนจอ "เรื่องเล่าเช้านี้-เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์" ดันโฆษณารายการข่าวช่อง 3 พุ่ง 50%". Brand Buffet. 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
  29. "เซน เมจกา คนสวยอ่านข่าวที่น่ารัก เสียงหวานที่สุดแห่งปี 2558". บล็อกเกอร์. 8 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้