เป็ดหางแหลม
ตัวผู้Call
ตัวเมีย (สีน้ำตาล) เคียงข้างตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anatinae
สกุล: Anas
สปีชีส์: A.  acuta
ชื่อทวินาม
Anas acuta
Linnaeus, 1758
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วทั้งโลก (สีเขียวอ่อน-สถานที่ทำรัง
สีน้ำเงิน-สถานที่พบในฤดูหนาว
สีเขียวเข้ม-พบได้ทั้งปี
สีแดง-สถานที่เร่ร่อน)
ชื่อพ้อง
  • Anas acuta acuta Linnaeus, 1758[2]
  • Dafila acuta
Anas acuta

เป็ดหางแหลม หรือ เป็ดหอม[3] (อังกฤษ: Pintail duck, Northern pintail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anas acuta) เป็นนกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Anatidae

มีคอยาวกว่าเป็ดชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ลำตัวป้อมกลม มีปลายหางแหลมจนเห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อ ปากและขามีสีเทา ตัวผู้หัวมีสีน้ำตาลเข้ม คอด้านหน้าและอกสีขาว ลำตัวสีเทา สีข้างมีแถบสีเหลือง ขณะที่ตัวเมียมีขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล และมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้พอสมควร

มีขนาดความยาวประมาณ 56 เซนติเมตร มีพฤติกรรมตอนกลางวันมักลอยตัวรวมกับเป็ดน้ำชนิดอื่น ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หากินโดยใช้ปากไช้ตามผิวน้ำ และมุดน้ำโผล่หางแหลมชี้ขึ้นมาให้สังเกตได้ชัดเจน เป็นเป็ดที่วิ่งได้ไกลมาก และสามารถบินขึ้นจากน้ำได้เร็วและคล่องแคล่ว

มีการกระจายพันธุ์กว้างไกล ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ จนถึงอเมริกากลาง, บางส่วนในแอฟริกา, ทวีปยุโรป, เอเชียเหนือ และเอเชียกลาง, ตะวันออกกลาง, อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์

สำหรับในประเทศไทย ถือเป็นนกอพยพในช่วงฤดูหนาว และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 [4] [5]

อ้างอิง

แก้
  1. BirdLife International (2013). "Anas acuta". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. เป็ดหางแหลม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. "วงศ์นกเป็ดน้ำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-23. สืบค้นเมื่อ 2012-07-05.
  5. เป็ดหางแหลม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anas acuta ที่วิกิสปีชีส์