เบริลเลียม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เบริลเลียม (อังกฤษ: Beryllium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Be และเลขอะตอม 4 เป็นธาตุไบวาเลนต์ที่มีพิษ น้ำหนักอะตอม 9.0122 amu จุดหลอมเหลว 1287°C จุดเดือด (โดยประมาณ) 2970°C ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 1.85 g/cm3 เลขออกซิเดชันสามัญ + 2 เบริลเลียมเป็นโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ มีสีเทาเหมือนเหล็ก แข็งแรง น้ำหนักเบา แต่เปราะ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นตัวที่ทำให้โลหะผสมแข็งขึ้น (โดยเฉพาะทองแดงเบริลเลียม)
เบริลเลียม | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||
เบริลเลียมในตารางธาตุ | ||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะปรากฏ | ||||||||||||||||||||||||||||
โลหะแข็งสีเทาขาว![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม | เบริลเลียม, Be, 4 | |||||||||||||||||||||||||||
การออกเสียง | /bəˈrɪliəm/ bə-ril-ee-əm | |||||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท | |||||||||||||||||||||||||||
หมู่ คาบและบล็อก | 2 (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท), 2, s | |||||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอมมาตรฐาน | 9.0121831(5) | |||||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [He] 2s2 2, 2 | |||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||
การค้นพบ | Louis Nicolas Vauquelin (1797) | |||||||||||||||||||||||||||
การแยกครั้งแรก | Friedrich Wöhler & Antoine Bussy (1828) | |||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติกายภาพ | ||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | ของแข็ง | |||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) | 1.85 g·cm−3 | |||||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดหลอมเหลว | 1.690 g·cm−3 | |||||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | 1560 K, 1287 °C, 2349 °F | |||||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 2741 K, 2468 °C, 4474 °F | |||||||||||||||||||||||||||
จุดวิกฤต | (extrapolated) 5205 K, MPa | |||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการหลอมเหลว | 12.2 kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | 297 kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความจุความร้อนโมลาร์ | 16.443 J·mol−1·K−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความดันไอ | ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติอะตอม | ||||||||||||||||||||||||||||
สถานะออกซิเดชัน | 2, 1[1] (amphoteric oxide) | |||||||||||||||||||||||||||
อิเล็กโตรเนกาติวิตี | 1.57 (Pauling scale) | |||||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน | ค่าที่ 1: 899.5 kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ค่าที่ 2: 1757.1 kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||||||
ค่าที่ 3: 14848.7 kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม | 112 pm | |||||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 96±3 pm | |||||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 153 pm | |||||||||||||||||||||||||||
จิปาถะ | ||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | เฮกซะโกนัลปิดบรรจุ | |||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นแม่เหล็ก | ไดอะแมกเนติก | |||||||||||||||||||||||||||
สภาพนำไฟฟ้า | (20 °C) 36 nΩ·m | |||||||||||||||||||||||||||
สภาพนำความร้อน | 200 W·m−1·K−1 | |||||||||||||||||||||||||||
การขยายตัวจากความร้อน | (25 °C) 11.3 µm·m−1·K−1 | |||||||||||||||||||||||||||
ความเร็วเสียง (thin rod) | (ที่ r.t.) 12890[2] m·s−1 | |||||||||||||||||||||||||||
มอดุลัสของยัง | 287 GPa | |||||||||||||||||||||||||||
โมดูลัสของแรงเฉือน | 132 GPa | |||||||||||||||||||||||||||
โมดูลัสของแรงบีบอัด | 130 GPa | |||||||||||||||||||||||||||
อัตราส่วนปัวซอง | 0.032 | |||||||||||||||||||||||||||
ความแข็งของโมส์ | 5.5 | |||||||||||||||||||||||||||
ความแข็งวิกเกอร์ส | 1670 MPa | |||||||||||||||||||||||||||
ความแข็งของบริเนลล์ | 600 MPa | |||||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7440-41-7 | |||||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปเสถียรที่สุด | ||||||||||||||||||||||||||||
บทความหลัก: ไอโซโทปของเบริลเลียม | ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง |
รากศัพท์ แก้ไข
เดิม Louis-Nicolas Vauquelin ตั้งชื่อว่า กลูซิเนียม ( สัญลักษณ์อดีด Gl, glucinium ) มาจากภาษากรีก glykys แปลว่า “หวาน” เนื่องจากสารประกอบเบริลเลียมมีความหวาน ในปี ค.ศ. 1828 Martin Heinrich Klaproth ตั้งชื่อว่า เบริลเลียม ตามชื่อแร่ เบริล ( Beryl, ภาษากรีก Beryllos )
การค้นพบ แก้ไข
ในการวิเคราะห์ช่วงแรก แร่เบริลกับมรกตพบสารที่คล้ายคลึงกัน จึงสรุปผิดเป็นอะลูมิเนียมซิลิเคต และนักแร่วิทยา René Just Haüy พบว่าแร่สองชนิตนี้มีโครงสร้างผลึกที่คล้ายกันมาก จึงพบนักเคมี Louis-Nicolas Vauquelin เพื่อวิเคราะห์แร่ทางเคมี ในปี ค.ศ. 1797 Vauquelin แยกสารประกอบเบริลเลียมออกจากอะลูมิเนียมโดยนำแร่เบริลปฏิกิริยากับเบสจนเกิดการหลอมเหลวของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์[3]
ปี ค.ศ. 1828 Friedrich Wöhler[4] และ Antoine Busy[5] ต่างก็สามารถแยกธาตุเบริลเลียมด้วยวิธีปฏิกิริยาโลหะโพแทสเซียมกับเบริลเลียมคลอไรด์
วิธีนี้สามารถสร้างได้แค่เม็ดโลหะเบริลเลียมขนาดเล็กเนื่องจากผลิตโพแทสเซียมด้วยวิธีการแยกด้วยไฟฟ้าจากสารประกอบโพแทสเซียมจึงไม่สามารถสร้างแท่งโลหะเบริลเลียมด้วยวิธีหล่อหรือวิธีตีรูป[6] ปี ค.ศ. 1898 Paul Lebeau เก็บตัวอย่างโลหะเบริลเลียมบริสุทธิ์ด้วยวิธีการแยกด้วยไฟฟ้าของสารละลายเบริลเลียมฟลูออไรด์และโซเดียมฟลูออไรด์ [7]ในศตวรรษที่ 19 เมื่อพบสารประกอบเบริลลียมใหม่ นอกจากรายงานจุดหลอมเหลวกับค่าการละลายแล้วยังรายงานรสชาติเป็นเรื่องปกติ[8]
การผลิตเบริลเลียมมีตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่เริ่มผลิตปริมาณมากในต้นทศวรรษ 1930 ปริมาณผลิตของเบริลเลียมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากความต้องการของโลหะผสมเบริลเลียมที่แข็งแรงและสารเรืองแสงบนหลอดฟลูออเรสเซนต์เพิ่ม หลอดฟลูออเรสเซนต์ช่วงแรกใช้สารออร์โทซิงค์ซิลิเคตที่ผสมเบริลเลียมแต่หลังจากพบความเป็นพิษ ใช้สารประเภทฮาโลฟอสเฟตเป็นสารเรืองสารแทน[9] การใช้เบริลเลียมในช่วงแรกยังใช้เป็นเบรกของเครื่องบินทหารเนื่องจากมีความแข็ง จุดหลอมแหลวสูง และมีความสามารถในการระบายความร้อนสูง แต่ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจึงแทนเป็นวัสดุอื่น ๆ[10]
ลักษณะ แก้ไข
เบริลเลียมผลิตจากแร่ธาตุอย่างแร่เบริล แร่เบริลเป็นแร่รัตนชาติที่มีชื่อเรียกอื่นว่า อะความารีน และ มรกต ตามสีที่เกิดจากสิ่งเจือปนในแร่ โครงสร้างผลึกที่เสถียรสุดในอุณหภูมิและความดันปกติคือ Hexagonal close-packed โลหะบริสุทธิ์มีสีเทาขาว และเมื่ออยู่ในอากาศจะเกิดชั้นออกไซด์ ทำให้อยู่อย่างเสถียร มีค่าความแข็งในระดับ 6 ถึง 7 ในมาตราโมสซึ่งแข็งและเปราะในอุณหภูมิห้อง และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความเหนียวจะเพิ่มขึ้น สามารถละลายในทั้งสภาวะกรดและเบส ไอโซโทปที่เสถียรของเบริลเลียมไม่ได้สังเคราะห์ด้วยการสังเคราะห์นิวเคลียสในดาวฤกษ์แต่สังเคราะห์จากการแตกเป็นเสี่ยงโดยรังสีคอสมิกของธาตุหนักอย่างคาร์บอนและไนโตรเจน
ในตารางธาตุ เบริลเลียมจัดอยู่ในธาตุหมู่ 2 แต่มีสมบัติคล้ายกับอะลูมิเนียมที่อยู่ในธาตุหมู่ 13 มากกว่าแคลเซียมและสตรอนเซียมที่อยู่ในหมู่เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น แคลเซียมและสตรอนเซียมเมื่อตรวจสีเปลวไฟจะมีสีแต่เบริลเลียมไม่มีสี[11] จึงมีบางครั้งไม่จัดเบริลเลียมอยู่ในธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ถึงแม้จัดอย่ในธาตุหมู่ 2 นอกจากนั้นสารประกอบไบนารีของเบริลเลียมมีโครงสร้างคล้ายกับของสังกะสี
สมบัติทางกายภาพ แก้ไข
เบริลเลียมมีไอโซโทปที่เสถียรอยู่ 2 ไอโซโทป และในอุณหภูมิและความดันปกติ ( ที่อุณหภูมิและความดันปกติมาตรฐาน ) มีโครงสร้างผลึกที่เสถียรที่สุดคือ Hexagonal close-packed ซึ่งมีค่าคงที่แลตทิซเป็น a=2.268Å, b=3.594Å เมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูง โครงสร้างผลึกแบบ Body-centered cubic จะเสถียรมากที่สุด มีค่าความแข็งในระดับ 6 ถึง7 [12]ในมาตราโมสเป็นค่าที่แข็งสุดในธาตุหมู่ 2 แต่เปราะจนสามารถทำเป็งผงโดยการทุบตีได้ อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความเหนียวจะเพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถทางเครื่องกลสูง เหมาะสำหรับการใช้ในงานที่อุณหภูมิสูงอย่างเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่น แต่ใช้ในงานเช่นนี้ กรณีอุณหภูมิต่ำกว่า 400°C สมบัติความเหนียวจะต่ำลงถึงขั้นมีปัญหาในการใช้งาน ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.816 จุดหลอมเหลวเท่ากับ 1,284°C จุดเดือดเท่ากับ 2,767°C
เบริลเลียมมีค่ามอดูลัสของยังเท่ากับ 287GPa เป็นค่าที่มากกว่าค่ามอดูลัสของยังของเหล็กถึง 50 ดังนั้นมีความทนทานต่อการหักงอสูง ค่ามอดูลัสของยังที่สูงแสดงถึงความแข็งแกร่งของเบริลเลียมดีมาก และมีความเสถียรสูงในสภาวะที่ภารทางความร้อนมากจึงนิยมใช้เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างของยานอวกาศและอากาศยาน นอกจากนั้นค่ามอดูลัสของยังที่สูงและเบริลเลียมมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ทำให้สมบัติการนำเสียงสูงถึงประมาณ 12.9 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งค่านี้เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม จากสมบัตินี้นิยมใช้เป็นแผ่นสั่นของลำโพงหรือเครื่องเสียงอื่น ๆ[13]
สมบัติทางเคมี แก้ไข
ธาตุเบริลเลียมมีความสามารถในการปฏิกิริยารีดักชันสูง ศักยภาพการเกิดรีดักชันE0มีค่าเท่ากับ -1.85V ซึ่งค่านี้เกิดจากแนวโน้มเกิดเป็นไอออนที่สูงกว่าอะลูมิเนียมจึงคาดว่ามีความสามารถในปฏิกิริยา แต่พื้นผิวจะเกิดชั้นออกไซด์ที่เสถียรจึงไม่เกิดปฏิกิริยากับน้ำและออกซิเจน แต่เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะเกิดปฏิกิริยาเผาไหม้และได้สารผสมเบริลเลียมออกไซด์และเบริลเลียมไนไตรด์[14]
เบริลเลียมที่มีชั้นออกไซด์จะมีความต้านทานกับกรด แต่เมื่อเบริลเลียมที่เอาชั้นออกไซด์ออกแล้วปฏิกิริยากับกรดที่มีความสามารถในการออกซิเดชันน้อยจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว ถ้าปฏิกิริยากับกรดที่มีความสามารถในการออกซิเดชันมากจะปฏิกิริยาช้า และปฏิกิริยากับเบสแก่จะเกิดไอออน และแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งมีสมบัติคล้ายกับอะลูมิเนียม[15] เบริลเลียมยังสามารถปฏิกิริยากับน้ำเกิดไฮโดรเจนและเบริลเลียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเบริลเลียมไฮดรอกไซด์มีค่าการละลายต่ำและติดกับผิวเบริลเลียมจึงไม่เกิดปฏิกิริยาต่อเมื่อเบริลเลียมบริเวณพื้นผิวปฏิกิริยาทั้งหมด
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของเบลิเลียมคือ[He]2s2 เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงเมื่อเทียบกับขนาดอะตอม เบริลเลียมจึงยากที่จะเกิดเป็นไอออนและทำให้สารประกอบของเบริลเลียมเกิดพันธะโคเวเลนต์[16] สาเหตุอีกอย่างคือเกิดจากความหนาแน่นประจุสูง จากFajans' rules ไอออนบวกที่ขนาดเล็กและมีความหนาแน่นประจุสูงจะดึงเวเลนซ์อิเล็กตรอนของไอออนบวก ( เรียกว่าโพลาไรซ์ ) ทำให้เกิดพันธะโคเวเลนต์ เบริลเลียมมีขนาดเล็กและมีประจุ 2+ จึงเกิดพันธะโคเวเลนต์[17] ธาตุในคาบที่ 2 มีแนวโน้มของพลังงานไอออไนเซชันตามมวลอะตอม แต่เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าโบรอนที่มีมวลมากกว่า สาเหตุเกิดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนของเบริลเลียมอยู่ในออร์บิทัล2s และเวเลนซ์อิเล็กตรอนของโบรอนอยู่ในออร์บิทัล2p อิเล็กตรอนในออร์บิทัล2pจะรับผลกระทบจากปรากฏการณ์การบังของอิเล็กตรอน(Shielding effect)ทำให้พลังงานไอออไนเซชันของอิเล็กตรอนในออร์บิทัล2pลดลง แต่อิเล้กตรอนในออร์บิทัล2sจะไม่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการดังกล่าวจึงมีพลังงานไอออไนเซชันมากกว่าอิเล็กตรอนในออร์บิทัล2p เป็นสาเหตุที่เบริลเลียมมีพลังงานไอออไนเซชันมากกว่าโบรอน[18]
สารเชิงซ้อนโคออร์ดิเนชันหรือไอออนเชิงซ้อนโคออร์ดิเนชันของเบริลเลียมส่วนใหญ่เกิด4พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ ยกตัวอย่างเช่น , EDTAจะเกิดเป็นลิแกนด์ของเบริลเลียมเกิดสารเชิงซ้อนทรงแปดหน้ามากกว่าลิแกนด์อื่นๆจึงนิยมใช้ในการวิเคราะห์สาร เช่น เมื่อเติมEDTAลงในสารเชิงซ้อนอะซิติลอะซิโตนกับเบริลเลียม EDTAจะเกิดสารเชิงซ้อนแทนที่อะซิติลอะซิโตนและอะซิติลอะซิโตนจะหลุดออก สามารถสกัดเบริลเลียมด้วยสารละลายได้ วิธีนี้อาจจะถูกรบกวนโดยไอออนบวกอื่นๆเช่นAl3+[19]
การประยุกต์ใช้ แก้ไข
- ใช้ในหลอดไฟเรืองแสง
- สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys)
- โลหะผสมนิกเกิล–เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด
- ใช้เป็นประโยชน์และวัตถุโครงสร้างของเท็คโนโลยีทางอวกาศ
- ใช้เป็นตัวโมเดอเรเตอร์ (moderator) และ reflector ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- ใช้ทำหน้าต่างพิเศษสำหรับหลอดรังสี -X
- โลหะเจือ Be–Cu ใช้เติมในเชื้อเพลิงจรวด
ความอันตราย แก้ไข
เมื่อร่างกายได้รับเบริลเลียมจะมีความอันตรายจึงเป็นอุปสรรคต่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เบริลเลียมมีการกัดกร่อนเนื้อเยื่อจนเกิดโรคเบริลเลียมเรื้อรังที่อันตรายถึงเสียชีวิต
ผลกระทบต่อร่างกาย แก้ไข
เบริลเลียมเป็นสารที่มีความอันตรายสูง ก่อโรคร้ายแรงต่อบริเวณปอดที่รู้จักกันในชื่อ Berylliosis โรคเบริลเลียมเรื้อรัง เบริลเลียมเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและเป็นสารกัดกร่อนเนื้อเยื่อ เมื่อสูดดมสารประกอบที่ลาลายได้จะก่อโรคเบริลเลียมเฉียบพลันเป็นโรคกลุ่มปอดบวมทางเคมีเมื่อสัมผัสกับผิวโดยตรงเกิดอักเสบ
โรคเบริลเลียมเรื้อรัง (CBD) มีระยะฟักตัวตั้งแต่อาทิตย์ถึง 20 ปี อัตราเสียชีวิต 37%[20]และถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์จะมีอัตรามากกว่า โดยทั่วไปแล้วโรคเบริลเลียมเรื้อรังเป็นโรคภูมิต้านตนเอง คาดมีคนที่รู้สึกโรคได้ต่ำกว่า 5% กลไกเกิดโรคคือ เบริลเลียมส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ทำให้ยับยั้งการแบ่งเซลและเมแทบอลิซึม โรคโรคเบริลเลียมเรื้อรังมีอาการคล้ายกับโรค Sarcoidosis จึงแยกโรคนี้เป็นสำคัญต่อการวินิฉัยโรค
โดยทั่วไปแล้วโรคเบริลเลียมเฉียบพลันเป็นโรคปอดบวมทางเคมี มีกลไกเกิดโรคที่แตกต่างจากโรคเบริลเลียมเรื้อรังมีนิยามว่าเป็น "โรคปอดที่เกิดจากเบริลเลียมใน 1 ปี" และปริมาณเบริลเลียมที่ได้รับกับความหนักของอาการมีความสัมพันธ์กัน ทราบว่าเกิดโรคเมื่อมีความเข้มข้นเบริลเลียมสูงกว่า 1000μg/m3และ ไม่เกิดโรคเมื่อต่ำกว่า 100μg/m3
ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคโรคเบริลเลียมเฉียบพลันลดลงเนื่องจากมีการแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานและตั้งเกณฑ์ แต่ยังเกิดโรคเบริลเลียมเรื้อรังจำนวนมากในอุตสาหกรรมที่ใช้เบริลเลียม พบว่ามีผู้ป่วยโรคในโรงงานที่รักษาเกณฑ์และคนที่ไม่ได้อยู่ในโรงงานยังได้รับเบริลเลียมจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล
องกรณ์ IARC ภายใต้ WHO ประกาศว่าเบริลเลียมและสารประกอบเบริลเลียมเป็นสารก่อมะเร็ง (Type1)[21] สำนักงานประเมินความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยรัฐแคลิฟอร์เนีย(OEHHA)ได้คำนวณค่าเกณฑ์ความปลอดภับว่า 1μg/L และหน่วยงานสารพิษและทะเบียนโรคได้คำณวนเกณฑ์ความเสี่ยงต่ำสุดเท่ากับ 0.002 mg/kg/วัน[22] เบริลเลียมไม่ได้เมตาบอลิซึมในร่างกายจึงเมื่อเข้าไปแล้วถ่ายออกได้น้อยและส่วนใหญ่สะสมในกระดูกและถ่ายออกทางปัสสวะ[23]
ประวัติศาสตร์โรคเบริลเลียม แก้ไข
ค.ศ. 1933 มีรายงานว่าปอดบวมทางเคมีครั้งแรกที่เยอรมนี และต่อมา ค.ศ. 1946 มีรายงานโรคเบริลเลียมเรื้อรังที่สหรัฐอเมริกา โรคนี้พบมากในโรงงานผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์และโรงงานสกัดเบริลเลียมใน ค.ศ. 1949 จึงยกเลิกใช้เบริลเลียมในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์[24]และต้นทศวรรษ 1950 มีการตั้งเกณฑ์ความเข้มข้นสูงสุดเป็น 25μg/m3 มีการแก้ไขสภาพแวดล้อมดังกล่าว จำนวนผู้ป่วยโรคเบริลเลียมเฉียบพลันลดลงอย่างรวดเร็วแต่ยังมีการใช้เบริลเลียมในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และอากาศยานและยานอวกาศ โลหะผสม การผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ. 1952 สหรัฐอเมริกาเริ่มมีระบบจดทะเบียนโรคเบริลเลียมและก่อนปี ค.ศ. 1983 ได้จด 888 อาการ ในระบบนี้มีเกณฑ์วินิฉัย 6 เกณฑ์และถ้าตรงกับ 3 เกณฑ์จะถูกวินิฉัยเป็นโรคเบริลเลียมเรื้อรัง ในปี ค.ศ. 2001 ใช้เกณฑ์ที่ 3 เกณฑ์คือตรวจสอบทางจุลพยาธิวิทยาโดยการตัดเนื้อเยื่อในปอดและตรวจ ตรวสสอบ lymphocyte blast–transformation และตรวจระยะเวลาที่อยู่กับเบริลเลียม
เบริลเลียมนิยมใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ในระเบิดปรมณูจึงมีนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระเบิดปรมณูหลายคนเสียชีวิตด้วยโรคเบริลเลียมเช่น นักฟิสิกส์สหรัฐอเมริกา Herbert L. Anderson ที่เกี่ยวข้องกับโครงการแมนฮัตตัน[25]
ความสามารถการระเบิด แก้ไข
เบริลเลียมมีชั้นออกไซด์ห่อหุ้มจึงเป็นโลหะที่ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยา แต่มีสมบัติที่เมื่อเกิดติดไฟแล้วจะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความเสี่ยงต่อเกิดการระเบิดฝุ่นเมื่อมีผงเบริลเลียมกระจายในอากาศ
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- ATSDR Case Studies in Environmental Medicine: Beryllium Toxicity U.S. Department of Health and Human Services
- It's Elemental – Beryllium
- MSDS: ESPI Metals
- Beryllium at The Periodic Table of Videos (University of Nottingham)
- National Institute for Occupational Safety and Health – Beryllium Page
- National Supplemental Screening Program (Oak Ridge Associated Universities)
รายการอ้างอิง แก้ไข
- ↑ "Beryllium: Beryllium(I) Hydride compound data" (PDF). bernath.uwaterloo.ca. สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
- ↑ Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 14.48. ISBN 1439855110.
- ↑ Vauquelin, Louis-Nicolas (1798), “De l'Aiguemarine, ou Béril; et découverie d'une terre nouvelle dans cette pierre”, Annales de Chimie (26): 155-169
- ↑ Wöhler, Friedrich (1828), “Ueber das Beryllium und Yttrium”, Annalen der Physik 89 (8): 577-582, Bibcode: 1828AnP....89..577W, doi:10.1002/andp.18280890805
- ↑ Bussy, Antoine (1828), “D'une travail qu'il a entrepris sur le glucinium”, Journal de Chimie Medicale (4): 456-457
- ↑ Genso o shiru jiten : Sentan zairyō eno nyūmon. Masato Murakami, 雅人 村上. Tōkyō: Kaimeisha. 2004. ISBN 4-87525-220-X. OCLC 674895549.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Weeks, Mary Elvira (2003). The discovery of the elements. [Whitefish, Mont.]: Kessinger Pub. ISBN 0-7661-3872-0. OCLC 71322678.
- ↑ Muki kagaku. Geoffrey Rayner-Canham, T. Overton, hiroshi Nishihara, shigeru Takagi, hiroshi Moriyama, 寛 西原. 東京化学同人. 2009. ISBN 978-4-8079-0684-0. OCLC 1022213386.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Revolution in lamps : a chronicle of 50 years of progress. Raymond Kane, Heinz Sell (2nd ed.). Lilburn, GA: Fairmont Press. 2001. ISBN 0-88173-378-4. OCLC 49570059.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Materials. P. Beiss, R. Ruthardt, Hans Warlimont, K. Yagi. Berlin: Springer. 2006. ISBN 978-3-540-42942-5. OCLC 320545181.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ "無機化学. 上巻 - 国立国会図書館デジタルコレクション". dl.ndl.go.jp. doi:10.11501/1377674.
- ↑ Lawrence A. Warner et al.. “Occurrence of nonpegmatite beryllium in the United States”. U.S. Geological Survey professional paper (United States Geological Survey) 318: 2
- ↑ Materials. P. Beiss, R. Ruthardt, Hans Warlimont, K. Yagi. Berlin: Springer. 2006. ISBN 978-3-540-42942-5. OCLC 320545181.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Greenwood, N. N. (1997). Chemistry of the elements. A. Earnshaw (2nd ed.). Boston, Mass. ISBN 0-585-37339-6. OCLC 48138330.
- ↑ Advanced inorganic chemistry. F. Albert Cotton, F. Albert Cotton (6th ed.). New York. 1999. ISBN 0-471-19957-5. OCLC 39147745.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Advanced inorganic chemistry. F. Albert Cotton, F. Albert Cotton (6th ed.). New York. 1999. ISBN 0-471-19957-5. OCLC 39147745.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Muki kagaku. Geoffrey Rayner-Canham, T. Overton, hiroshi Nishihara, shigeru Takagi, hiroshi Moriyama, 寛 西原. 東京化学同人. 2009. ISBN 978-4-8079-0684-0. OCLC 1022213386.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Butsuri kagaku. 002. Kazuaki Itō, 伊藤和明. Kyōto: Kagakudōjin. 2008. ISBN 4-7598-1085-4. OCLC 836103057.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Okutani, Tadao.; Tsuruta, Yasuhiro.; Sakuragawa, Akio. (1993-05-01). "Determination of a trace amount of beryllium in water samples by graphite furnace atomic absorption spectrometry after preconcentration and separation as a beryllium-acetylacetonate complex on activated carbon". Analytical Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 65 (9): 1273–1276. doi:10.1021/ac00057a026. ISSN 0003-2700.
- ↑ Hardy, Harriet L. (1965-11-25). "Beryllium Poisoning — Lessons in Control of Man-Made Disease". New England Journal of Medicine (ภาษาอังกฤษ). 273 (22): 1188–1199. doi:10.1056/NEJM196511252732205. ISSN 0028-4793.
- ↑ "Beryllium and Beryllium Compounds". IARC Monograph. 58. International Agency for Research on Cancer. 1993. Retrieved 05 April 2021.
- ↑ NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0054". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ Luckey, T. D. (1977). Physiologic and Chemical Basis for Metal Toxicity. B. Venugopal. Boston, MA: Springer US. ISBN 978-1-4684-2952-7. OCLC 851759882.
- ↑ Emsley, John (2001). Nature's building blocks : an A-Z guide to the elements. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-850341-5. OCLC 46984609.
- ↑ "Photograph of Chicago Pile One Scientists 1946". Office of Public Affairs, Argonne National Laboratory. 19 June 2006. Retrieved 05 April 2021.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-10.