เทศบาลนครยะลา
เทศบาลนครยะลา เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครเมื่อ พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ 19.4 ตารางกิโลเมตร[2][3] ใน พ.ศ. 2562 มีประชากรทั้งหมด 60,617 คน[1] ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดเมืองเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ตอนล่าง[4][5]
เทศบาลนครยะลา | |
---|---|
ภาพถ่ายทางอากาศตัวเมืองยะลา | |
คำขวัญ: สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน สร้างสังคมให้โปร่งใส สร้างสานใจร่วมพัฒนา นครยะลาสู่สากล | |
พิกัด: 6°32′33″N 101°16′59″E / 6.54250°N 101.28306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยะลา |
อำเภอ | เมืองยะลา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19 ตร.กม. (7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[1] | |
• ทั้งหมด | 60,617 คน |
• ความหนาแน่น | 3,190.36 คน/ตร.กม. (8,263.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03950102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000 |
โทรศัพท์ | 0 7322 3666 |
โทรสาร | 0 7321 5675 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลนครยะลามีชื่อเสียงด้านความสวยงามของผังเมือง มีถนนกว่า 400 สายตัดเชื่อมติดต่อกัน เป็นวงเวียนใยแมงมุมซ้อนกันสามวงอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยถนนทุกสายจะมุ่งไปยังวงเวียนหลักเมือง ถนนบางส่วนตัดเป็นตารางหมากรุกอย่างเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐ ทั้งยังมีการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็นย่านสถานศึกษา ย่านสถานที่ราชการ ย่านที่พักอาศัย และย่านพื้นที่สีเขียวประจำเมือง[3] อันเกิดจากแนวคิดของพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองยะลา (พ.ศ. 2480–2488) โดยมีที่ปรึกษาชาวอังกฤษ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และดึงดูดผู้คนจากถิ่นอื่น ๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้าในเมืองยะลา[6]
ประวัติ
แก้เทศบาลนครยะลาเป็นที่ตั้งของตำบลสะเตง ซึ่งตั้งตามชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งตัวเมืองยะลาเดิมคือบ้านสะเตง[7] โดย "สะเตง" เป็นคำมลายูแปลว่าไม้ถ่อเรือหรือไม้ถ่อแพ[8] ต่อมามีการย้ายศูนย์กลางเมืองจากเดิมที่บ้านสะเตงไปบ้านนิบง ไปสร้างศาลากลางจังหวัดยะลา ที่ทำการอำเภอเมืองยะลา และสถานีรถไฟยะลาย่านบ้านนิบง[7] (นิบงแปลว่าต้นหลาวชะโอน)[8] บริเวณดังกล่าวมีความเจริญเพิ่มขึ้น หลังเมืองปัตตานีซบเซาลง ก็มีประชากรต่างถิ่นโยกย้ายอยู่อาศัยในชุมชนดังกล่าวเป็นจำนวนมาก[9] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[10] ขณะนั้นเทศบาลเมืองยะลามีพื้นที่ทั้งหมด 16 ตารางกิโลเมตร[3] ด้วยตัวเทศบาลตั้งอยู่ที่บ้านนิบง ประชาชนรุ่นก่อนจึงเรียกตัวเมืองยะลาว่านิบง[9]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองยะลา ขยายพื้นที่ครอบคลุมเขตตำบลสะเตงทั้งหมด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2509[11] มีพื้นที่ทั้งหมด 19.4 ตารางกิโลเมตร[3] และต่อมามีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลเมืองยะลา เป็นเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538[12] มีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กันยายนปีเดียวกัน[7]
ที่ตั้ง
แก้เดิมตามราชกิจจานุเบกษาจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา ประกาศเล่มที่ 52 หน้า 1223 ตรา ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีเนื้อที่แรกเริ่มประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ขยายพื้นที่เป็น 19.4 ตารางกิโลเมตรซึ่งครอบคลุมตำบลสะเตงทั้งหมด[3] มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และติดต่อกับอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ประชากรศาสตร์
แก้ประชากรเทศบาลนครยะลา (รายปี) | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | 2547 | 2548 | 2549 | 2550 | 2551 | 2552 | 2553 | 2554 | 2555 | 2556 |
ประชากร | 67,842 | 65,503 | 64,684 | 63,775 | 63,370 | 62,896 | 62,991 | 62,378 | 62,110 | 61,507 |
±% | — | −3.4% | −1.3% | −1.4% | −0.6% | −0.7% | +0.2% | −1.0% | −0.4% | −1.0% |
ที่มา: [13] |
ชาติพันธุ์
แก้ประชากรในเทศบาลนครยะลามีหลายเชื้อชาติ ใน พ.ศ. 2562 มีประชากรทั้งหมด 60,617 คน[1] ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู, ชาวไทยเชื้อสายจีน[14] และชาวไทยพุทธ หลังจากเกิดเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ชุมชนในตัวเมืองยะลาได้มีการแบ่งชุมชนออกเป็นสองข้างคือพุทธและมุสลิม โดยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ต่างจากในอดีตที่ชาวพุทธเคยอยู่ร่วมกับชุมชนมุสลิมมาอย่างยาวนาน[15] โดยสามารถแบ่งประชากรในเทศบาลนครยะลาตามกลุ่มชาติพันธุ์ได้ดังนี้[16][17]
- ชาวไทยเชื้อสายมลายู เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม ใช้ภาษามลายูปัตตานี นับถือศาสนาอิสลาม โดยมากประกอบอาชีพเชิงเกษตรกรรม มีบรรพบุรุษอพยพมาจากอำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี อาศัยอยู่ย่านตลาดเก่าระหว่างเขตทางรถไฟเรื่อยไปจนถึงเขตแดนอำเภอยะรัง บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่แถบถนนสิโรรสช่วงโรงพยาบาลยะลาเรื่อยไปจนถึงเขตสะเตง
- ชาวไทยสยาม เป็นประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมากเป็นข้าราชการ มีทั้งคนพื้นถิ่นดั้งเดิมและที่อพยพมาจากต่างจังหวัด เช่นจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง ตั้งถิ่นฐานแถบถนนธนวิถี ถนนเทศบาล 1 ถึง ถนนเทศบาล 10 ถนนผังเมือง ถนนสายย่อยระหว่างถนนสิโรรสกับแม่น้ำปัตตานี และบริเวณรอบวัดเมืองยะลา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน คือบุคคลที่มีเชื้อสายจีน ทั้งอพยพมาจากประเทศจีน หรือเป็นคนจีนที่เกิดในไทย สามารถแยกแยะได้จากหน้าตาหรือสีผิว โดยมากนับถือศาสนาพุทธพร้อมไปกับพิธีกรรมแบบศาสนาพื้นบ้านจีน โดยมากประกอบกิจเชิงพาณิชยกรรม ตั้งถิ่นฐานย่านสถานีรถไฟยะลา ถนนสิโรรส ถนนพิพิธภักดีจนถึงถนนวงเวียน 3 และบริเวณโรงเรียนยะลาบำรุง
- ชาวไทยมุสลิม คือคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมากเป็นผู้อพยพมาจากส่วนอื่นของประเทศ เช่น จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง หรือกรุงเทพมหานคร ประกอบอาชีพเชิงพาณิชยกรรม อาศัยในย่านตลาดเก่า
- ชาวจีนมุสลิม คือบุคคลที่สืบเชื้อสายจากการสมรสระหว่างชาวมลายูกับจีน โดยมากมีรูปพรรณอย่างคนจีนแต่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้คนในท้องถิ่นจะเรียกว่า คนกรือเซะ
- ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย คือชาวอินเดียที่นับถือศาสนาซิกข์ อพยพมาจากประเทศอินเดียเกือบร้อยปีก่อน มีประชากรไม่เกิน 50 คน ผู้ชายไม่โพกศีรษะ ส่วนผู้หญิงนุ่งส่าหรี อาศัยกระจัดกระจายในเขตเทศบาล มีศาสนสถานเพียงแห่งเดียวคือวัดสิริคุรุสิงห์สภา ถนนรวมมิตร แต่ปัจจุบันชาวซิกข์จำนวนไม่น้อยโยกย้ายออกจากพื้นที่
ศาสนา
แก้จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 55, ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 43 และที่เหลือนับถือศาสนาอื่น ๆ[15][19] ได้แก่ ศาสนาคริสต์, ซิกข์ และฮินดู มีมัสยิด 10 แห่ง, วัดพุทธ 5 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 5 แห่ง และคุรุดวารา 1 แห่ง[20][21] จากสัดส่วนจะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของเขตเทศบาลนครยะลานับถือศาสนาพุทธ (คือชาวไทยและจีน) เป็นชนกลุ่มใหญ่ในเทศบาล[17] ต่อมาใน พ.ศ. 2559 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ในเทศบาลนครยะลานับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 51.77, ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 48 และที่เหลือนับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.23[18]
จำนวนผู้นับถือศาสนาในเทศบาลนครยะลา[22] | ||
---|---|---|
แบ่งตามศาสนา | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2550 |
อิสลาม | 28,376 | 28,001 |
พุทธ | 36,269 | 35,740 |
คริสต์ | 1,104 | 640 |
อื่น ๆ | 195 | 639 |
การศึกษา
แก้โรงเรียนมัธยมศึกษา
แก้สพม.ยะลา
- โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
- โรงเรียนสตรียะลา
สช.ยะลา
- โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
- โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ
- โรงเรียนพัฒนาวิทยา
โรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษา
แก้สพป.ยะลา เขต 1
- โรงเรียนอนุบาลยะลา
- โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์
เทศบาลนครยะลา
- โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง)
- โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านมลายูบางกอก)
- โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ)
- โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี)
- โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า)
- โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)
สช.ยะลา
- โรงเรียนอนุบาลปราณีต
- โรงเรียนอนุบาลศรีบำรุง
- โรงเรียนยะลาบำรุงผดุงประชา
- โรงเรียนมานะศึกษา
- โรงเรียนนิบงพิทยาคาร
สาธิตของมหาวิทยาลัย
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สถาบันอุดมศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
- วิทยาสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
เศรษฐกิจ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การขนส่ง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานที่สำคัญ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชุมชน
แก้เทศบาลนครยะลา มีการปกครองครอบคลุมชุมชนทั้งหมด 40 ชุมชน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้[3]
- ชุมชนหลังวัดเมืองยะลา
- ชุมชนเวฬุวัน
- ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย
- ชุมชนบ้านร่ม
- ชุมชนหัวสะพานสะเตง
- ชุมชนคุปตาสา
- ชุมชนคูหาภิมุข
- ชุมชนประชานุกุล
- ชุมชนร่วมใจพัฒนา
- ชุมชนมุสลิมสัมพันธ์
- ชุมชนจารูนอก
- ชุมชนจารูพัฒนา
- ชุมชนหลังโรงเรียนเทศบาล 5
- ชุมชนตลาดเก่าซอย 8
- ชุมชนสันติสุข
- ชุมชนสามัคคี
- ชุมชนวัดยะลาธรรมาราม
- ชุมชนเมืองทอง
- ชุมชนหลังโรงเรียนจีน
- ชุมชนดารุสสลาม
- ชุมชนวิฑูรอุทิศ 10 (ศาลเจ้าพ่อบู้เต็กโฮ้ว)
- ชุมชนธนวิถี
- ชุมชนธนวิถีพัฒนา
- ชุมชนมะลิสัมพันธ์
- ชุมชนหลังกองร้อย
- ชุมชนการเคหะ
- ชุมชนเบอร์เส้งนอก
- ชุมชนตลาดเกษตร
- ชุมชนอุตสาหกรรมสามหมอ
- ชุมชนมณโฑ 18
- ชุมชนพิทยนิโรธ
- ชุมชนหน้าศูนย์แม่และเด็ก
- ชุมชนคนรักถิ่น
- ชุมชนอยู่ดี มีสุข
- ชุมชนประชารัฐ
- ชุมชนผังเมือง 4
- ชุมชนเสรี
- ชุมชนตลาดเมืองใหม่
- ชุมชนเบญจมิตรสัมพันธ์
- ชุมชนสะพรั่ง
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ 2.0 2.1 "ข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลนครยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครยะลา" (PDF). เทศบาลนครยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายชื่อเหยื่อ จยย.บอมบ์ ตลาดสดยะลา ใบปลิวปลุกระดมว่อน!". อิศรา. 22 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิด "ช่องโหว่" บึ้มตลาดยะลา...เขย่าขวัญใต้สันติสุข!". อิศรา. 23 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นิพัทธ์ ทองเล็ก, พลเอก (21 ตุลาคม 2562). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : เมืองงามสง่า ผังเมืองดี…อยู่ที่ 'ยะลา'". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 "ประวัติการจัดตั้งเทศบาล". เทศบาลนครยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "ชื่อบ้านนามเมืองภาษามลายูในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย" (PDF). ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2546). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 82-83.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0ก): 1220–1223. 14 กุมภาพันธ์ 2479.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ๒๕๐๙". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. 5 มีนาคม 2509. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 15–19. 24 กันยายน 2538.
- ↑ "สถิติการบริการด้านการทะเบียนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-14. สืบค้นเมื่อ 2015-06-19.
- ↑ "ไหว้เจ้ายะลาคึกคัก บางส่วนปิดบ้านหนีร่วมฉลองตรุษจีน ตจว" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 22 มกราคม 2555. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 15.0 15.1 ชลัท ประเทืองรัตนา (1 พฤศจิกายน 2553). "โครงการวงดนตรีออร์เคสตร้า เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา" (PDF). สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เกรียงไกร เกิดศิริและคณะ (2560). "ความเป็นมลายู" ความหมายที่สัมพัทธ์กับประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา รัฐ และความรู้สึก (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 31-34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
- ↑ 17.0 17.1 แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2546). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 7-8, 36-44.
- ↑ 18.0 18.1 เทศบาลนครยะลา (สิงหาคม 2559) (PDF). 2559. p. 24.
- ↑ แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2546). "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สมาคมไทยซิกข์แห่งประเทศไทย. พระศาสนสถานคุรุดวารา - วัดซิกข์ เก็บถาวร 2013-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
- ↑ มหาวิทยาลัยมหิดล. ศาสนสถานในศาสนาซิกข์ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
- ↑ จำนวนผู้นับถือศาสนารายเทศบาลนครยะลา - อำเภอเมืองยะลา[ลิงก์เสีย]