เทศกาลของชาวยิว

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

เทศกาลของชาวยิว[1](อังกฤษ: Jewish festival) หรือ วันสำคัญในศาสนายูดาห์ เป็นเทศกาลทางศาสนาของชาวยิวบางเทศกาลเกี่ยวข้องกับฤดูการทำไร่ทำนา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการเลี้ยงดูของพระเจ้าตลอดปีที่ผ่านมา และเป็นโอกาสที่จะถวายคืนแด่พระเจ้า บางเทศกาลเป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าปลดปล่อยพวกเขา เทศกาลเหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่ชาวยิวจะชื่นชมกับสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ ขณะเดียวกันก็เป็นเวลาที่ร่วมกันสารภาพบาปและชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วย

เทศกาลปัสคา แก้

เทศกาลปัสคา มีในวันที่ 14 เดือนนิสาน (อาบีบ) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินของยิว (ตรงกับเดือนมีนาคม/เมษายนในปฏิทินสากล)

เทศกาลปัสคาเป็นงานฉลองที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดี ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ภายใต้การนำของโมเสส ในสมัยพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ ทุกครอบครัวจะฆ่าลูกแกะก่อนวันปัสคาหนึ่งวัน หลายคนเดินทางมาที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มเพื่อการเฉลิมฉลองนี้ แต่การกินเลี้ยงปัสคานั้น ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันก็เป็นงานเลี้ยงแบบครอบครัว อาหารที่รับประทานกันในงานล้วนเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นทาสในอียิปต์ และการหนีจากอียิปต์ทั้งสิ้น คนในครอบครัวจะเล่าเรื่องที่ทูตสวรรค์ของพระเจ้าละเว้นไม่ฆ่าลูกหัวปีในบ้านชาวยิวที่มีเลือดแกะทาไว้หน้าบ้าน แต่ฆ่าลูกหัวปีของคนอียิปต์ทั้งหมด

ในปัจจุบันคนสะมาเรียเท่านั้นที่ฆ่าลูกแกะบูชาแบบดั้งเดิมในเทศกาลปัสคา พวกยิวไม่ทำเช่นนั้นแล้วตั้งแต่ทหารโรมันทำลายพระวิหารในปี ค.ศ. 70[2]

เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ แก้

เทศกาลนี้ฉลองตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 21 เดือนนิสาน (อาบีบ ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคม/เมษายนในปฏิทินสากล) เป็นเวลา 7 วัน ตอนที่พวกยิวหนีออกจากอียิปต์ พวกผู้หญิงไม่มีเวลารอให้ขนมปังฟูขึ้น ดังนั้นขนมปังในงานเลี้ยงปัสคาและมื้ออื่น ๆ ตลอดอาทิตย์นั้นจะเป็นขนมปังไร้เชื้อทั้งสิ้น คือเป็นขนมปังที่ไม่ใส่ยีสต์ สัปดาห์ต่อจากเทศกาลปัสคาจึงถือเป็นเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ[3]

เทศกาลถวายผลแรก แก้

จัดขึ้นหลังจากวันสะบาโตหนึ่งวันในช่วงเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ (เราไม่รู้วันที่แน่นอนเพราะชาวยิวนับวันตามจันทรคติ จึงทำให้วันของเทศกาลนี้เปลี่ยนไปทุกปี) ในวันนี้จะมีการถวายข้าวบาร์เลย์ฟ่อนแรกที่ได้จากการเก็บเกี่ยว จึงถือเป็นเทศกาลถวายผลแรก[4]

เทศกาลเพนเทคอสต์ (ฉลองการเก็บเกี่ยว) แก้

บางครั้งเรียกว่าเทศกาลสัปดาห์ จัดขึ้นหลังจากเทศกาลปัสคาห้าสิบวัน (คำว่า เพนเทคอสต์ มีรากศัพท์มาจากคำภาษา

บทความนี้เกี่ยวข้องกับ
ศาสนายูดาห์

  สถานีย่อย

 
พระเป็นเจ้า
อโดนาย (ยฮวฮ)
ศาสดา
โมเสส
คัมภีร์
คัมภีร์ทานัค (โทราห์ผู้เผยพระวจนะปรีชาญาณ) • คัมภีร์ทาลมุด
บุคคลสำคัญ
อับราฮัมอิสอัคยาโคบโมเสสอาโรนดาวิดซาโลมอนซาร่าห์รีเบคก้าราเชลลีอาห์
ประวัติ
ประวัติศาสนายูดาห์ :
วงศ์วานอิสราเอลแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ปัญหาชาวยิวเกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซีการต่อต้านยิว
นิกาย
ยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ (HarediHasidicยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ดั้งเดิม) • ยูดาห์อนุรักษนิยมยูดาห์ปฏิรูป
พิธีกรรม
สุหนัตสะบาโตปัสคาเซเดอร์
สังคมศาสนายูดาห์
ธรรมศาลายิวปฏิทินฮีบรูวันสำคัญปุโรหิต (รับบีฟาริสีสะดูสี) • ชาวยิวศิลปะสัญลักษณ์
ดูเพิ่มเติม
ศาสนายูดาห์ในประเทศไทย
อภิธานศัพท์ศาสนายูดาห์
  ดูหมวดหมู่

กรีกที่แปลว่า "ห้าสิบ") ชาวยิวจะถวายขนมปังสองก้อนที่ทำด้วยแป้งข้าวใหม่พร้อมกับเครื่องธัญญบูชาแด่พระเจ้า เป็นเทศกาลฉลองหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวสาลีเสร็จแล้วเพื่อขอบคุณพระเจ้าสำหรับพื้นแผ่นดินและผลิตผลอันเป็นของประทานมาจากพระองค์ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 100 ชาวยิวถือว่าวันเพนเทคอสต์เป็นวันที่พระเจ้าประทานธรรมบัญญัติจากภูเขาซีนาย และในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ก็ถือว่าวันนี้เป็นวันที่พระเจ้าได้ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่บรรดาผู้เชื่อ[5][6]

เทศกาลเสียงแตร (ฉลองปีใหม่) แก้

โดยปกติในวันแรกของแต่ละเดือนและแต่ละเทศกาล จะมีการเป่าแตรเป็นสัญญาณ แต่ในวันแรกของเดือนที่เจ็ด (เดือนกันยายน/ตุลาคม) จะเป่าแตรฉลองเป็นพิเศษ เป็นวันแห่งการพักผ่อนและนมัสการ จะมีการถวายสัตวบูชาเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดือนเจ็ดเป็นเดือนที่สำรวมที่สุดของปี หลังจากสมัยที่เคยเป็นเชลยของบาบิโลน ชาวยิวเปลี่ยนเทศกาลนี้ให้เป็นการฉลองปีใหม่ แต่ยังนับเดือนนิสาน (เดือนมีนาคม/เมษายน) เป็นเดือนแรกในปีปฏิทินเหมือนเดิม จุดประสงค์ของเทศกาลนี้ก็เพื่อจะถวายชนชาติอิสราเอลต่อพระเจ้า ให้เป็นที่โปรดปรานต่อพระพักตร์พระองค์ [7]

เทศกาลวันลบมลทิน แก้

ในวันที่สิบเดือนที่เจ็ดเป็นวันลบล้างมลทินบาป เป็นวันฉลองพิเศษประจำปีที่คนทั้งชาติจะสารภาพบาปของตน และขอให้พระเจ้าอภัยโทษและชำระล้างพวกเขาให้สะอาดอีกครั้ง พวกเขาจะอดอาหารตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันที่เก้าไปจนถึงวันที่สิบ มหาปุโรหิตจะใส่เสื้อคลุมพิเศษแล้วจะถวายตัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปสำหรับตนเองและครอบครัวของเขา เขาจะพรหมเลือดวัวบางส่วนลงบนหีบพันธสัญญา ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาเดียวตลอดปีที่เขาได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอภิสุทธิสถานของพลับพลาหรือพระวิหาร ที่ซึ่งเก็บหีบพันธสัญญา เขาจะฆ่าแพะเพื่อไถ่บาปของประชาชน และจะไล่แพะตัวที่สองออกไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นการแสดงว่าบาปของพวกเขาถูกรับเอาไปแล้ว[8]

เทศกาลอยู่เพิง แก้

เทศกาลอยู่เพิงมีขึ้นหลังจากเทศกาลลบบาปห้าวัน คือในวันที่ 15 ของเดือนเจ็ด (เอทานิมหรือทิชรี ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน/ตุลาคม) เทศกาลนี้เฉลิมฉลองจากการเก็บพืชผลจากสวน (ไม่ใช่จากไร่นา) ซึ่งจะใช้เวลาเจ็ดวัน คือเมื่อชาวไร่เก็บมะกอกเทศและองุ่นแล้ว ประชาชนจะใช้กิ่งไม้ทำเพิงสำหรับตัวเอง พวกเขาจะระลึกถึงเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในถิ่นทุรกันดารหลังจากออกจากอียิปต์ และเป็นการขอบคุณพระเจ้าสำหรับผลิตผลที่เกิดขึ้นในแผ่นดินคานาอัน[9]

เทศกาลฉลองพระวิหาร หรือ เทศกาลคันประทีป แก้

เทศกาลนี้รำลึกถึงการชำระและถวายพระวิหารในปี 165 ก่อนคริสต์ศักราช ที่มียูดาสแมคคาบีเป็นผู้นำ เพราะอันทิโกอัสเอฟินาเนสแห่งซีเรียได้ทำให้พระวิหารเป็นมลทินในปี 168 ก่อนคริสต์ศักราช โดยการนำหมูเข้าไปถวายเป็นสัตวบูชาแก่พระซุสในพระวิหาร งานฉลองนี้ยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลคันประทีป เนื่องจากมีการจุดคันประทีปที่บ้านและธรรมศาลาทุกคืน ทุกวันนี้ชาวยิวก็ยังฉลองเทศกาลนี้อยู่โดยเรียกว่าเทศกาล "ฮานุคคาห์"[10]

เทศกาลปูริม แก้

เป็นเทศกาลระลึกถึงการที่เอสเธอร์และโมรเดคัยได้ช่วยชาวอิสราเอลที่อยู่ในเปอร์เซีย ให้พ้นจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยพระราชาอาหะสุเอรัส คำว่า "ปูริม" เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า "เปอร์" หมายถึงสลาก เพราะการทอดสลากเป็นวิธีที่ฮามานใช้เลือกวันล้างผลาญชาวยิวเทศกาลนี้ฉลองกันในวันที่ 14 - 15 ของเดือนสิบสอง หรือ อาดาร์ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์/มีนาคม)[11]

เทศกาลปีเสียงเขาสัตว์ (ปีที่ 50) แก้

ธรรมบัญญัติระบุว่าในทุกห้าสิบปี (ปีที่ถัดจากปีสะบาโตที่เจ็ด) ทั้งที่ดินและทรัพย์สมบัติ (ยกเว้นบ้านเรือน) ต้องคืนให้กับเจ้าของที่ดินดังเดิม ปล่อยทาสชาวอิสราเอลให้เป็นอิสระ ยกเลิกหนี้สินทั้งหมด และให้แผ่นดินได้พัก แต่เท่าที่ทราบชาวอิสราเอลไม่เคยรักษากฏของปีเสียงเขาสัตว์[12][13] ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาต้องตกเป็นทาสในบาบิโลน 70 ปี[14]

อ้างอิง แก้

  1. วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  2. เทศกาลปัสกา, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  3. เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  4. เทศกาลถวายผลแรก, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  5. หนังสือกิจการของอัครทูต บทที่ 2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  6. เทศกาลเพนเทคอสต์ (ฉลองการเก็บเกี่ยว), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  7. เทศกาลเสียงแตร (ฉลองปีใหม่), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  8. วันลบบาป, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  9. เทศกาลอยู่เพิง, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  10. เทศกาลฉลองพระวิหาร หรือ เทศกาลโคมไฟ, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  11. เทศกาลปูริม, วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  12. หนังสือพงษ์ศาวดาร ฉบับที่ 2 36:21, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  13. หนังสือเยเรมีห์ 25:12 ; 34:8-22, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  14. ปีเสียงเขาสัตว์ (ปีที่ 50), วันเทศกาลของชาวยิว, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
  • หนังสืออพยพ 11; 12:1-20,43-51; 23:15; 23:16
  • หนังสือเลวีนิติ 23:9-14,15-21; 16; 23:24; 23:33-36; 25:8-17; 23-55
  • หนังสือกันดารวิถี 10:10; 29:1-6
  • หนังสือเอสเธอร์ 3; 7; 9:24-26
  • จดหมายของนักบุญยอห์น 10:22