ฟาริสี
ฟาริสี (ฮีบรู: פְּרוּשִׁים, อักษรโรมัน: Pərūšīm; อังกฤษ: Pharisees) เป็นขบวนการทางสังคมของชาวยิวและสำนักคิดในลิแวนต์ช่วงศาสนายูดาห์สมัยพระวิหารที่สอง หลังการทำลายพระวิหารที่สองใน ค.ศ. 70 วิถีของชาวฟาริสีได้กลายเป็นพื้นฐานของศาสนายูดาห์แบบรับบีในเวลาต่อมา
ฟาริสี פרושים | |
---|---|
ผู้นำในอดีต | |
ก่อตั้ง | 167 ปีก่อน ค.ศ. |
ถูกยุบ | ค.ศ. 73 |
ที่ทำการ | เยรูซาเลม |
อุดมการณ์ | |
ศาสนา | Rabbinic Judaism |
การเมืองยูเดีย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ความขัดแย้งระหว่างฟาริสีกับสะดูสีที่มาอย่างยาวนาน ทั้งในบริบททางสังคมและศาสนาของชาวยิวในวงกว้าง กลับรุนแรงมากขึ้นจากการพิชิตของโรมัน[2] ในด้านวัฒนธรรม แบ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนการแผลงเป็นกรีก (สะดูสี) และกลุ่มที่ต่อต้านสิ่งนี้ (ฟาริสี) ส่วนด้านกฎหมายศาสนา แบ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อวิหารด้วยพิธีและการรับใช้ และอีกกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อกฎหมายของโมเสสอื่น ๆ ประเด็นความขัดแย้งทางศาสนาที่เฉพาะเจาะจงระหว่างทั้งอสงกลุ่มเกี่ยวข้องกับการตีความโทราห์ที่แตกต่างกันและการนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันของชาวยิวในอย่างไร โดยพวกสะดูสียอมรับเฉพาะโทราห์และปฏิเสธNevi'im, Ketuvim และคำสอนอย่างโทราห์มุขปาฐะและการฟื้นคืนชีพหลังความตาย
โยเซพุส (ป. ค.ศ. 37 – 100) ผู้ที่นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าเป็นฟาริสี คาดคะเนว่าก่อนที่พระวิหารที่สองจะถูกทำลาย มีฟาริสีอยู่ราว 6 พันคน[3] และอ้างว่าได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากสามัญชนจนถึงขั้นถ้าพวกเขาพูดอะไรก็ตามที่ขัดต่อกษัตริย์หรือนักบวชชั้นสูงก็เป็นที่เชื่อถือ[4] ต่างจากชาวสะดูสีที่เป็นพวกชนชั้นสูง นอกจากนี้ชาวฟาริสียังอ้างว่าตนมีอำนาจหน้าที่แท้จริงในการวินิจฉัยตีความกฎหมายยิว[5]
ชาวฟาริสีเชื่อเรื่องทูตสวรรค์ วันสิ้นโลก เมสสิยาห์เชื้อสายดาวิด และเชื่อว่าผู้ชอบธรรมจะมีชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์ ส่วนคนบาปจะถูกลงโทษนิรันดร์ในนรก[6]
นอกจากนี้ คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างชาวฟาริสีกับพระเยซูหลายแห่ง แต่ก็มีรายงานฟาริสีที่เป็นเชื่อตัวพระองค์ด้วย เช่น นิโคเดมัสที่กล่าวว่า พระเยซูเป็นครูผู้มาจากพระเจ้า[7] โยเซฟชาวอาริมาเธียผู้เป็นลูกศิษย์[8] และ "ผู้เชื่อบางคนซึ่งอยู่ในกลุ่มพวกฟาริสี" ที่ไม่ทราบจำนวน[9] เปาโลอัครทูต ศิษย์ของกามาลิเอล[10] ผู้เตือนในสภาแซนเฮดรินว่า การหยุดยั้งผู้ติดตามพระเยซู จะทำให้พวกเขาเป็นผู้ต่อสู้กับพระเจ้า[11] และเขาก็กลายเป็นอัครสาวกของพระเยซู[12][13]
อ้างอิง
แก้- ↑ Roth, Cecil (1961). A History of the Jews. Schocken Books. p. 84. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ Sussman, Ayala; Peled, Ruth. "The Dead Sea Scrolls: History & Overview". www.jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ Antiquities of the Jews, 17.42
- ↑ Josephus, Flavius. The Antiquities of the Jews, 13.288.
- ↑ Ber. 48b; Shab. 14b; Yoma 80a; Yeb. 16a; Nazir 53a; Ḥul. 137b; et al.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552. 734 หน้า. หน้า 423. ISBN 978-616-7073-03-3
- ↑ John 3:2
- ↑ John 19:38
- ↑ Acts 15:5
- ↑ "Acts 22:3 Greek Text Analysis". biblehub.com.
- ↑ Acts 5:39
- ↑ "Acts 23:6 Greek Text Analysis". biblehub.com.
- ↑ Philippians 3:5
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Resources > Second Temple and Talmudic Era > Jewish Sects The Jewish History Resource Center – Project of the Dinur Center for Research in Jewish History, The Hebrew University of Jerusalem
- Jewish Encyclopedia: Pharisees
- Driscoll, James F. (1913). สารานุกรมคาทอลิก. .
- New International Encyclopedia. 1905. .
- Letchford, Roderick R., Pharisees, Jesus and the Kingdom (2001), Australian National University.