เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์
ศาสตราจารย์พิเศษ เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (77 ปี) |
พรรคการเมือง | นำไทย |
คู่สมรส | นวลนาถ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ประวัติ
แก้เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 เป็นบุตรของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางธำรงนาวาสวัสดิ์ (แฉล้ม ธารีสวัสดิ์) เป็นบุตรคนที่ 2 และเขาสมรสกับนวลนาถ (สกุลเดิม อัชราชทรงสิริ) มีบุตรสามคน[1] หนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์ ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เถลิง เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493[2] เขาสำเร็จการศึกษาระดัปริญญาตรีสาขาเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน รัฐวิสคอนซิน
เถลิง รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3] เป็นประธานคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเป็นเวลา 15 ปี ซึ่งตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง ดร.เถลิง มีส่วนช่วยจัดตั้งอุทยานแห่งชาติกว่า 80 แห่ง โดยจำนวน 12 แห่งในนั้นเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล[4]
ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[5]
การเมือง
แก้เถลิง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515 ภายหลังการปฏิวัติตัวเองของ จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติอีกครั้ง[6]
ในปี พ.ศ. 2517 เถลิงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์[7] จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 หลังการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน
เถลิง ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2520 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[8]
นอกจากนั้น เถลิง ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2535[9] เป็นกรรมการบริหารพรรคนำไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคเมื่อ พ.ศ. 2537 และเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ในปี พ.ศ. 2548[10]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เถลิง ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สิริอายุ 77 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ สิริ เปรมจิตต์. ชีวิตและงาน ของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2532, หน้า 18-19
- ↑ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. ส่งต่อเพื่อสืบทอด. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์. 2551
- ↑ เขาพนมเบญจา
- ↑ "Optimise Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/074/2450.PDF
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- ↑ "มติคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗