เชิงชาย ชมเชิงแพทย์
พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารชาวและนักการเมือง อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 343 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย |
ถัดไป | พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย |
ถัดไป | พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55 วิททยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61 |
ชื่อเล่น | จอร์จ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเรือเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือ |
ประวัติ
แก้พล.ร.อ. เชิงชาย เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506[1]
การศึกษา
แก้พล.ร.อ. เชิงชาย จบการศึกษาดังนี้[2][3]
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่นที่ 50
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 22
- โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 79 (หัวหน้านักเรียนนายเรือ)
- โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55
- วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41
- หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 16
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61
รับราชการ
แก้พล.ร.อ. เชิงชาย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือหลวงสุโขทัย และผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
จากนั้นจึงเป็นผู้อำนวยการทหารกองนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมยุทธการทหารเรือ และเสนาธิการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ ก่อนจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทัพภาคที่ 3 และออกจากกองทัพเรือ มาเป็นรองเสนาธิการ กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อนจะกลับมากองทัพเรืออีกครั้ง และขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพเรือในเวลาต่อมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พล.ร.อ. เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ อวยพรวันคล้ายวันเกิด ผบ.ทร.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
- ↑ กองทัพเรือส่งมอบตำแหน่ง ผบ.ทร. คนใหม่ ‘พล.ร.อ. เชิงชาย ชมเชิงแพทย์’ นับเป็น ผบ.ทร. คนที่ 56 ของไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๓๑, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๓ เมษายน ๒๕๔๙
- ↑ ผบ.ทร.เยือนสิงคโปร์ รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ เชิดชูเกียรติด้านการทหาร. Siam Hotline News. 16 สิงหาคม 2566
- ↑ ISTIADAT PENGURNIAAN DARJAH KEPAHLAWANAN ANGKATAN TENTERA (DKAT) TAHUN 2023