เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักในนาม เจ้ายาย[1] (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 – 2 มกราคม พ.ศ. 2566[2]) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ และนักสังคมสงเคราะห์ชาวไทย เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับการประกาศสดุดีเกียรติคุณให้เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558 โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยที่ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับการบันทึกชื่อให้เป็นบุคคลสำคัญในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยล้านนาเพื่อเป็นเกียรติประวัติและอนุสรณ์แห่งคุณความดี (เจ้ายายมิได้เป็นบุคคลในครอบครัวของผู้สืบสายสกุล ณ เชียงใหม่ สายตรงและไม่ได้เป็นบุคคลในครอบครัวของประธานราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เจ้ายายเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่สืบเชื้อสายเจ้านายฝั่ง ณ ลำพูน ตามบิดาของท่าน คือเจ้าเมืองชื่น ณ ลำพูน ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ณ เชียงใหม่ โดยพระราชานุมัติในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าประเทศราชนพบุรีศรีนครพิงค์ และเจ้าเมืองชื่นได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าราชภาคินัย ในกาลต่อมา)
เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 2 มกราคม พ.ศ. 2566 (93 ปี) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
คู่สมรส | พิรุณ อินทราวุธ |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | ราชวงศ์ทิพย์จักร |
เป็นที่รู้จักจาก | เจ้านายฝ่ายเหนือ |
ชื่อเล่น | เจ้ายาย |
เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างในการเป็นพลเมืองที่ดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติและสังคมส่วนรวมมีความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด สมกับที่เป็นสตรีสูงศักดิ์ งามพร้อมด้วยกริยามรรยาทแบบกุลสตรีไทย ทั้งยังได้ดำรงเกียรติแห่งวงศ์ตระกูลได้อย่างสมบูรณ์ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ โปรดการแต่งกายแบบไทยล้านนาและรักที่จะส่งเสริมให้คนไทยรุ่นใหม่รักในความเป็นไทยและหวงแหนรักษ์ในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน
เจ้ายายเป็นที่รักใคร่และนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป
อนึ่ง ในปีพุทธศักราช 2564 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติโดย พณฯ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่อง เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ให้เป็นบุคคล "ค่าแห่งแผ่นดิน" ในด้านการส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม
ประวัติ
แก้เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เกิดในวันวิสาขบูชาซึ่งเป็นวันเพ็ญจึงได้รับขนานนามว่า "ดวงเดือน" เป็นธิดาคนที่สามในเจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) ผู้เป็นโอรสในเจ้าราชภาติกาวงศ์ (เจ้าบัวรวงศ์) กับเจ้าฟองนวล [3] เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมอุทรหม่อมมารดา หม่อมเทพ หรือ หม่อมจันทร์เทพ ณ เชียงใหม่ ตามลำดับ คือ เจ้าอาทิตย์ เจ้านิภาพันธุ์ และเจ้าประเวศ ณ เชียงใหม่
ตั้งแต่เยาว์วัย เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับความเมตตาและอนุบาลเป็นอย่างดีจาก เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นพระราชธิดาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร กับ แม่เจ้าจามรีวงศ์ ณ เชียงใหม่ หรือ เจ้าจามรีวงศ์ โดยเจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ได้ทรงรับเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นพระธิดาบุญธรรมและทรงให้ความรักและอภิบาลเป็นอย่างดี เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับการฝึกอบรมด้านการเรือนอย่างเคร่งครัดจากคุ้มหลวง ได้ศึกษาการทำอาหาร การทำยาสมุนไพร และเรียนการฟ้อนรำ ขับกล่อมเพลงแบบราชสำนักสยามล้านนาเพื่อต้อนรับราชอาคันตุกะ[4] เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย (ป.1-3) โรงเรียนวัฒโนทัยนอก ปัจจุบันคือ โรงเรียนคำเที่ยงอนุสรณ์ (ป.4-ม.3) โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ (ม.4-5) และโรงเรียนดาราวิทยาลัย (ม.6) ขณะอายุประมาณ 18-19 ปี เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ สมรสกับพิรุณ อินทราวุธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[5] มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ
- ภาคินี ณ เชียงใหม่
- ภาคินัย ณ เชียงใหม่
- เดือนเพ็ญ ภวัครานนท์
- พ-วงเดือน ยนตรรักษ์
การเสียชีวิต
แก้เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566 สิริอายุ 93 ปี 7 เดือน[6][7] มีพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และพิธีส่งสการตานคาบเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ วัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
การทำงาน
แก้เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ สอบเข้าเป็นผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชน ได้ในปี พ.ศ. 2513 และเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสียงเชียงใหม่ ทั้งเป็นนักจัดรายการวิทยุ ได้รับรางวัล Voice of America ที่ต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8] เป็นผู้ส่งเสริมกิจการการทอผ้าในกลุ่มสตรีภาคเหนือโดยริเริ่มกิจการฝ้ายดวงเดือนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานสภาอุตสหกรรมภาคเหนือ และยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่คนแรกในประเทศไทย เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ที่มีความรักในท้องถิ่นวัฒนธรรมไทยล้านนาอย่างแรงกล้า มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นที่ยิ่ง เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ได้อนุรักษ์และส่งเสริมการแต่งกายของสตรีในภาคเหนือด้วยผ้าไทยและจัดให้มีการนำเอาประเพณีการทานข้าวบนขันโตกแบบไทยล้านนากลับมาเผยแพร่จนได้รับความนิยมอีกครั้งในสมัยปัจจุบัน เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ โปรดอุทิศตนเพื่อการสังคมสงเคราะห์ การสาธาณกุศล และการศาสนกุศลอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ผลงานและตำแหน่ง
แก้- เป็นผู้เริ่มโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- ผู้เริ่มจัดงานไม้ดอกไม้ประดับ หรือ งานบุปผาชาติ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ยุคนั้น ซึ่งงานนี้ได้ยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเป็นเจ้านายสตรีฝ่ายเหนือเพียงคนเดียวในยุคนั้นที่เป็นตัวแทนสตรี ส่วนภูมิภาคนอกนครหลวงของประเทศ
- ผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นสตรีคนแรกที่นั่งบัลลังก์ในฐานะตุลาการในศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่
- กรรมการกลางของชาติในโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
- ผู้อำนวยการสำนักงานสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยภาคเหนือ
- ประธานประสานงานส่วนภูมิภาคของสภาสังคมสงเคราะห์ ภาค 5
- นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 16 ปี
- ประธานชมรมไม้ดอกไม้ประดับคนแรกของเชียงใหม่
- อุปนายกพุทธสมาคมเชียงใหม่
- อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ ภาคเหนือ
- อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ส่วน ภูมิภาค
- นักหนังสือพิมพ์ อดีตเจ้าของ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “เสียงเชียงใหม่”
- นักจัดรายการวิทยุที่ได้รับเหรียญ VOICE OF AMERICA (V.O.A)
- กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่
- เลขานุการสมาคมสตรีศรีลานนาไทย
- ประธานสภาวัฒนธรรมคนแรกของเชียงใหม่และคนแรกของประเทศไทย
- ประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
- ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมเขลางค์ จังหวัดลำปาง
- ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เครือข่ายสังคมสร้างสรรค์
- ได้รับการประกาศสดุดีเกียรติคุณให้เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558 โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิกองทุนเพื่ออนุรักษ์ดอยอินทนนท์
- ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นบุคคล "ค่าแห่งแผ่นดิน" ในด้านการส่งเสริมศาสนา และวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2564 โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ประกาศสดุดีเกียรติคุณ
แก้- พุทธศักราช 2558 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมี พณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ประกาศเกียรติคุณสดุดี เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ให้เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2558 และได้รับเชิดชูเกียรติให้เป็น คนดีศรีแผ่นดิน เพื่อเป็นเกียรติประวัติแห่งคุณความดีในฐานนะที่เป็นพลเมืองที่ดีและเป็นผู้สูงอายุที่ทรงคุณค่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
- พุทธศักราช 2564 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่อง เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นบุคคล "ค่าแห่งแผ่นดิน" ในด้านการส่งเสริมศาสนา และวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2564 โดยมี พณฯ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในประกาศคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เรื่อง ผลการคัดเลือกบุคคลหน่วยงานและโครงการ เพื่อประกาศเกีรติคุณ "ค่าแห่งแผ่นดิน"
มูลนิธิเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
แก้ในปี พ.ศ. 2558 ได้จัดตั้งมูลนิธิเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อยกย่องเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- เพื่อเป็นองค์กรแกนนำหลักในการจัดงานเชิดชูเกียรติในวันคล้ายวันเกิดของ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ วันที่ 22 พฤษภาคม ของทุกปี
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และผู้สูงอายุ
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และผู้สูงอายุ
- เพื่อยกย่องเชิดชูบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจักษ์ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และผู้สูงอายุ
- เพื่อปกป้องดูแลและเชิดชูกิจกรรมใดๆอันเกี่ยวเนื่องกับ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
- เพื่อดำเนินการสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์การจัดตั้งของมูลนิธิ ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[9]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[10]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "'เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่' กับความหลังครั้งเก่าก่อน". MGR Online. 5 มิถุนายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อาลัยรัก! "เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่" บุคคลค่าแห่งแผ่นดิน ถึงแก่กรรม". pptvhd36. 2023-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-02.
- ↑ ประวัติบุคคลสำคัญ
- ↑ "ประกาศสดุดีเกียรติคุณ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2558". มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 8 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ "อาลัยรัก! "เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่" บุคคลค่าแห่งแผ่นดิน ถึงแก่กรรม". pptvhd36. 2023-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-02.
- ↑ "อาลัย เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ จัดพิธีศพแบบล้านนา". ไทยรัฐออนไลน์. 2023-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-02.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-09-27.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ หน้า 50 เล่ม 97 ตอนที่ 63 ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2523
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ