เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอท
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท (อังกฤษ: MCOT Television Satellite Station) เป็นสถานีเครือข่ายโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 30 ปี
ประเทศ | ไทย |
---|---|
พื้นที่แพร่ภาพ | ประเทศไทย |
เครือข่าย | เครือข่ายโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 63/1 ซอยพระราม 9 7 (ทวีมิตร) ถนนพระรามที่ 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576ไอ (16:9 คมชัดมาตรฐาน) 1080ไอ (16:9 ภาพคมชัดสูง) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) |
บุคลากรหลัก | เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ |
ช่องรอง | ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เอ็มคอตแฟมิลี วิทยุ อสมท |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 9 เมษายน พ.ศ. 2550 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www www |
ออกอากาศ | |
ทีวีดาวเทียม | |
พีเอสไอ | เอ็มคอตวัน: ช่อง 227 เอ็มคอตเวิลด์: ช่อง 223 |
สื่อสตรีมมิง | |
MCOT 1 | ชมรายการสด |
MCOT World | ชมรายการสด |
HipTV | ชมรายการย้อนหลัง |
ประวัติ
แก้เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท ได้เริ่มทดลองออกอากาศจำนวน 2 ช่องรายการ ทั้ง MCOT1 และ MCOT2 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ เฉพาะระบบดิจิตอล ทางช่อง26-27 จนถึงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 ทั้ง2ช่องได้เริ่มออกอากาศจริงอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มแรกมี2ช่องรายการ ทั้ง MCOT1 ช่องรายการข่าวและสาระ จากสำนักข่าวไทย ทั้งรายการข่าวที่ถ่ายทอดสัญญาณออกอากาศรายการข่าวจากสำนักข่าวไทยทุกช่วง ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี มาออกอากาศทางช่องเอ็มคอทวัน และรายการสาระน่ารู้ สารคดี เป็นต้น และ MCOT2 ช่องรายการบันเทิง กีฬา เด็กและเยาวชน โดยได้นำรายการโทรทัศน์ ที่เคยแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ มาออกอากาศซ้ำเป็นบางส่วน ทางช่อง MCOT2ด้วย
จากนั้นวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทรูวิชั่นส์ได้ทำการเรียงช่องสัญญาณใหม่ ให้ช่อง MCOT1 และ MCOT2 ย้ายไปอยู่ลำดับช่องที่101-102 นอกจากนั้นวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้ย้ายไปอีกครั้ง ไปอยู่ลำดับช่องที่78-79 ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ช่องรายการ MCOT1 และ MCOT2 จะเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่ พร้อมกันนี้ช่องรายการ MCOT1 และ MCOT2 ได้เริ่มออกอากาศทางจานดาวเทียม Thaicom 2 C-Band ความถี่ 3888 H 15625 และหลังจากนั้นช่อง MCOT2 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น MCOT Variety Channel แต่ยังเป็นช่องรายการบันเทิงจาก อสมท เช่นเดิม รวมทั้งในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 อสมท ได้เปิดเพิ่มช่องรายการใหม่ ใช้ชื่อว่า MCOT HD เป็นช่องรายการที่ออกอากาศด้วยสัญญาณภาพระบบ HD คมชัดที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย ที่ออกอากาศทางจานดาวเทียม C-Band แล้วต่อมา KU-Band
ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ช่องรายการ MCOT Variety Channel จะเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง MCOT Asean TV แต่จะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรายการโทรทัศน์ของคนอาเซี่ยน ที่ออกอากาศทาง MCOT2 ขณะที่ช่อง MCOT1 จะเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง MCOT TV แต่จะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นช่องข่าวและรายการต่างๆจาก อสมท พร้อมกันนี้ได้ยกเลิกช่องรายการ MCOT1 ผ่านทางจานดาวเทียม C-Band แต่ช่อง MCOT1 เหลือเพียงช่องทางเดียว คือทางทรูวิชั่นส์ ช่อง78 เท่านั้น ต่อมาวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ทางทรูวิชั่นส์ได้ทำการเรียงช่องใหม่อีกครั้ง ส่งผลทำให้ช่อง MCOT TV และ MCOT2 ต้องย้ายไปออกอากาศทางช่อง 98-99 จากนั้นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ทาง อสมท ได้ย้ายส่งสัญญาณไปอยู่ดาวเทียม Thaicom 5 C-Band และย้ายไปอยู่ความถี่ใหม่คือ 3520 H 15625 จากนั้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอทได้เปลี่ยนชื่อเป็น MCOT Network พร้อมกับการเปลี่ยนค่า Symbol Rate ใหม่เป็น 3520 H 20000 รวมทั้งมีการเพิ่ม5ช่องรายการซึ่งเป็นช่องที่ผลิตร่วมกับที่อื่นอีกด้วย ทั้ง Farm Channel , Miracle , M Channel , Cartoon Club Channel และ T-Sports Channel
ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ที่สถานีฯ ใช้ในระหว่างการออกอากาศ เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ MCOT1 และ MCOT2 ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอภาพ เริ่มใช้ตั้งแต่วันทดลองออกอากาศ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 จนกระทั่งวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT2 จะเป็นเป็นตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT Variety Channel จากนั้นวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 เมื่อเปิดเพิ่มช่องใหม่คือ MCOT HD จะมีตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT HD ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอ ที่ออกอากาศทางช่องใหม่อีกด้วย ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สัญลักษณ์ของช่อง MCOT Variety Channel จะเปลี่ยนเป็นตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT Asean TV แถมด้านล่าง มีคำว่า www.aseantv.net อยู่ด้านล่างของโลโก้ ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอเช่นกัน และล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หลังจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท ได้เปลี่ยนชื่อเป็น MCOT Network แล้ว ทำให้ MCOT ได้เปิดเพิ่มอีก5ช่องใหม่ ซึ่งตราสัญลักษณ์ที่ใช้มี2อัน ได้แก่ โลโก้ช่องรายการ MCOT Network จะปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอ ขณะที่มุมบนขวาของจอ จะมีโลโก้แต่ละช่องรายการอีกด้วย
ช่องรายการในอดีต
แก้- เอ็มคอตวัน (MCOT 1) เป็นช่องรายการที่นำเสนอรายการต่างๆ และชมการถ่ายทอดสด ผ่านระบบดาวเทียมครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 (ยุติออกอากาศ วันที่ 1 มกราคม 2560) [2]
- เอ็มคอตเวิลด์ (MCOT World) เป็นช่องรายการที่นำเสนอข่าวสาร, บันเทิง และสารคดี (ภาคภาษาอังกฤษ) ออกอากาศทางดาวเทียมไทยคม ออกอากาศครั้งแรก วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (ยุติออกอากาศ วันที่ 15 ตุลาคม 2559) [3]
- เอ็มคอตนิวส์ ทเวนตีโฟร์ (MCOT News24) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สถานีรัฐธรรมนูญ ออกอากาศทางทรูวิชันส์ ช่อง 8 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ในโอกาสที่ประเทศไทย มีการร่าง และลงประชามติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง บมจ.ทรูวิชั่นส์ ผู้เช่าสัมปทาน และ บมจ.อสมท เจ้าของสัมปทาน ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 ออกอากาศทางช่องนิวส์ ทเวนตีโฟร์ ซึ่งเป็นช่องข่าวในวาระพิเศษของทรูวิชันส์ และสิ้นสุดการออกอากาศในปีเดียวกัน โดยในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นช่องทีเอ็นเอ็น 2 ของทรูวิชันส์
- เอ็มคอตทู (MCOT 2) เป็นช่องรายการที่นำเสนอรายการต่างๆ และชมการถ่ายทอดสด ผ่านระบบดาวเทียมครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยเปิดสถานีฯในวันเดียวกันกับทางช่องเอ็มคอตวัน แต่ในปี พ.ศ. 2552 สถานีฯได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาเซียนทีวี (ASEAN TV) และออกอากาศภาษาอังกฤษเป็นหลัก ที่ในเวลาต่อมาใช้ชื่อว่า เอ็มคอตเวิลด์
- เอ็มคอตเอชดี (MCOT HD) เป็นช่องรายการที่นำเสนอรายการต่างๆ ผ่านระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงเป็นช่องแรกของประเทศไทย ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว และทางบมจ.อสมท นำชื่อนี้ไปใช้ในการออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยคู่ขนานกับโมเดิร์นไนน์ทีวี (แอนะล็อกและชื่อของสถานีภาคพื้นดินในขณะนั้น) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557
- ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและเคเบิลโดยสังกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- เอ็มคอตวัน→เอ็มคอตทีวี→เอ็มคอตนิวส์ - เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 และยุติการออกอากาศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560
- เอ็มคอตทู→เอ็มคอตวาไรตีแชนแนล→อาเซียนทีวี→เอ็มคอตเวิลด์ - เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 และยุติการออกอากาศ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- เอ็มคอตนิวส์ 24 (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สถานีรัฐธรรมนูญ) - เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2550 และยุติการออกอากาศ เมื่อปีเดียวกัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวผ่านร่างเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน ยังมีกำลังออกอากาศอยู่ช่องรายการข่าวดังกล่าว เปลี่ยนเป็น ทีเอ็นเอ็น 2 ในกล่องรับสัญญาณดาวเทียมทรูวิชันส์ ช่อง 784 (ช่องหมายเลขในปัจจุบัน)
- เอ็มคอตเอชดี - เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 และยุติการออกอากาศ เมื่อปีเดียวกัน และ กลับมาออกอากาศอีกครั้งหลังจากการประมูลทีวีดิจิตอลในหมวด HD หมายเลข 30 ในนาม ช่อง 9 MCOT HD
- ซี๊ดแชนแนล - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- วาไรตีพลัส - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- เมท แชนแนล - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- คิดส์ แชนแนล - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- มหานคร แชนแนล - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- โนว์เลจทีวี - เริ่มออกอากาศที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553
- เอ็มคอตแฟมิลี - ยุติการออกอาศตั้งแต่ช่วงวันที่ 16 กันยายน 2562 เป็นต้นไป
- ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและเคเบิลโดยสังกัดอื่น
- ซีแชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย กระทรวงพาณิชย์ และปัจจุบันก็ยุติการออกอากาศไปแล้ว โดยไม่ทราบวันที่
- แอนิแมกซ์เอเชีย - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT2 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย โซนี พิคเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เทเลวิชัน เน็ตเวิร์ก เอเชีย (ในเครือโซนี ประเทศญี่ปุ่น) และสิ้นสุดสัญญาการออกอากาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 ปัจจุบัน ยุติออกอากาศแล้ว
- ไทยอาเซียนนิวส์เน็ตเวิร์ก - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท ไทยเดย์ ดอตคอม จำกัด (หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ ในเครือผู้จัดการ) และยุติการออกอากาศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
- ฟาร์ม แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT3→MCOT4 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (ในเครือกันตนา)
- มิราเคิล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT4→MCOT5 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (ในเครือกันตนา)
- เอ็ม แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT5→MCOT6 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติง จำกัด (โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในเครือเมเจอร์ ร่วมกับ กันตนา)
- การ์ตูนคลับ แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT6 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท การ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด (ในเครือเอฟฟ์)
- ที-สปอร์ต แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT7→MCOT8 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท สยามสปอร์ต เทเลวิชัน จำกัด (กลุ่มสยามสปอร์ต ในเครือการกีฬาแห่งประเทศไทย) และบริษัท อาดามัส เวิลด์ จำกัด (ในเครืออาดามัส)
- ช้อป แชนแนล→ช้อปไทยแลนด์ - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT7 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (ในเครือทีวีไดเร็ค) และปัจจุบันก็ยุติการออกอากาศไปแล้ว โดยไม่ทราบวันที่
- วันแชนแนลเอเชีย - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT9 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท เดอะ วัน คลับ จำกัด และปัจจุบันก็ยุติการออกอากาศไปแล้ว โดยไม่ทราบวันที่
- เอชพลัส แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT10 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท เอเชีย เทเลวิชัน แอนด์ มีเดีย จำกัด
- บางกอก ซิตี แชนแนล - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT11 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย กรุงเทพมหานคร และปัจจุบันก็ยุติการออกอากาศไปแล้ว โดยไม่ทราบวันที่
- โทรทัศน์ครู (ไทยทีชเชอร์ทีวี) - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT12 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท ไทย ทีชเชอร์ ทีวี จำกัด (สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเครือกระทรวงศึกษาธิการ) และบริษัท ทีซีบีเอ็น จำกัด (เดอะไชนาบิสสิเนสเน็ตเวิร์ก ประเทศจีน)
- เดอะไชนาบิสสิเนสเน็ตเวิร์ก (ทีซีบีเอ็น) - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT12 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท ทีซีบีเอ็น จำกัด (เดอะไชนาบิสสิเนสเน็ตเวิร์ก ประเทศจีน) และปัจจุบันก็ยุติการออกอากาศไปแล้ว โดยไม่ทราบวันที่
- สถานีวิทยุโทรทัศน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT13 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ช้อปแอนด์โชว์ - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT14 เมื่อปี พ.ศ. 2555 และปัจจุบัน ย้ายความถี่ 4040 V 30000
- เวทีไท→สถานีเวทีไท - เริ่มออกอากาศในช่องรหัส MCOT15 เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท เอเชีย เทเลวิชัน แอนด์ มีเดีย จำกัด (เคยออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เมื่อปี พ.ศ. 2540-2547, ทีแชนแนล เมื่อปี พ.ศ. 2547-2549 และ ททบ.5 เมื่อปี พ.ศ. 2549-2554)
- ยูทูเพลย์ทีวี - ผู้ผลิตสถานีฯ โดย บริษัท คอนแทงโก จำกัด (ในเครือเว็บไซต์ยูทูเพลย์) แต่เริ่มออกอากาศในช่องรหัสที่ถูกยกเลิกไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน ยังมีกำลังออกอากาศอยู่จนถึงปลายปี พ.ศ. 2558
- TCNN 47
- ออนซอนทีวี
- ดารา เดลี่
- มารวย ทีวี
- ช่อง 2
- Variety Hit
- True Plookpanya
- มายา แชาแนล
- RS Mall
- TV Market
- Kaset Num Thai
- Kaset TV HD
- ช่อง 5 HD
- ยูนนาน ทีวี
- O Shopping
- ช่อง 8
เกร็ดข้อมูล
แก้- เว็บไซต์เอ็มคอตทีวี ยังไม่มีให้บริการบนเว็บไซต์ ปัจจุบันยังสามารถรับชมรายการสดบนเว็บไซต์ของ อสมท.
- วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ช่องรายการ MCOT Variety Channel จะเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง MCOT Asean TV แต่จะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรายการโทรทัศน์ของคนอาเซี่ยน ที่ออกอากาศทาง MCOT2 ขณะที่ช่อง MCOT1 จะเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง MCOT TV แต่จะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นช่องข่าวและรายการต่างๆจาก อสมท พร้อมกันนี้ได้ยกเลิกช่องรายการ MCOT1 ผ่านทางจานดาวเทียม C-Band แต่ช่อง MCOT1 เหลือเพียงช่องทางเดียว คือทางทรูวิชั่นส์ ช่อง78 เท่านั้น ต่อมาวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ทางทรูวิชั่นส์ได้ทำการเรียงช่องใหม่อีกครั้ง ส่งผลทำให้ช่อง MCOT TV และ MCOT2 ต้องย้ายไปออกอากาศทางช่อง 98-99 จากนั้นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ทาง อสมท ได้ย้ายส่งสัญญาณไปอยู่ดาวเทียม Thaicom 5 C-Band และย้ายไปอยู่ความถี่ใหม่คือ 3520 H 15625 จากนั้นวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอทได้เปลี่ยนชื่อเป็น MCOT Network พร้อมกับการเปลี่ยนค่า Symbol Rate ใหม่เป็น 3520 H 20000 รวมทั้งมีการเพิ่ม5ช่องรายการซึ่งเป็นช่องที่ผลิตร่วมกับที่อื่นอีกด้วย ทั้ง Farm Channel , Miracle , M Channel , Cartoon Club Channel และ T-Sports Channel
- ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ที่สถานีฯ ใช้ในระหว่างการออกอากาศ เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ MCOT1 และ MCOT2 ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอภาพ เริ่มใช้ตั้งแต่วันทดลองออกอากาศ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 จนกระทั่งวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT2 จะเป็นเป็นตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT Variety Channel จากนั้นวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 เมื่อเปิดเพิ่มช่องใหม่คือ MCOT HD จะมีตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT HD ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอ ที่ออกอากาศทางช่องใหม่อีกด้วย ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สัญลักษณ์ของช่อง MCOT Variety Channel จะเปลี่ยนเป็นตราสัญลักษณ์ของช่อง MCOT Asean TV แถมด้านล่าง มีคำว่า www.aseantv.net อยู่ด้านล่างของโลโก้ ปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอเช่นกัน และล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หลังจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท ได้เปลี่ยนชื่อเป็น MCOT Network แล้ว ทำให้ MCOT ได้เปิดเพิ่มอีก5ช่องใหม่ ซึ่งตราสัญลักษณ์ที่ใช้มี2อัน ได้แก่ โลโก้ช่องรายการ MCOT Network จะปรากฏอยู่มุมบนซ้ายของจอ ขณะที่มุมบนขวาของจอ จะมีโลโก้แต่ละช่องรายการอีกด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.lyngsat.com/muxes/Thaicom-6_SE-Asia-C_3760-H.html
- ↑ http://www.infosats.com/content/6810/ยุติออกอากาศ-mcot1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-14. สืบค้นเมื่อ 2014-09-21.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- เอ็มคอตวัน เก็บถาวร 2015-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอ็มคอตเวิลด์ เก็บถาวร 2016-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน