อำเภอบางปะหัน
บางปะหัน เป็นอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ "อำเภอนครใน"[1] ต่อมาปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บางปะหัน"[2] ปัจจุบันเป็นอำเภอปริมณฑลที่เป็นพื้นที่ขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของนครพระนครศรีอยุธยา
อำเภอบางปะหัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Pahan |
คำขวัญ: งอบสวยวิจิตร อิฐทนทาน มันเทศหอมหวาน งามตระการ บ้านทรงไทย เมืองชัยพระเจ้าตาก | |
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางปะหัน | |
พิกัด: 14°27′45″N 100°32′41″E / 14.46250°N 100.54472°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 121.9 ตร.กม. (47.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 41,197 คน |
• ความหนาแน่น | 337.96 คน/ตร.กม. (875.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 13220 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1407 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางปะหัน เลขที่ 139 หมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบางปะหัน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอมหาราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนครหลวงและอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระนครศรีอยุธยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางบาลและอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง)
ประวัติ
แก้อำเภอบางปะหัน เดิมชื่อว่า อำเภอนครใน เคยตั้งอยู่ริมคลองบางนางร้า บริเวณหลังวัดอินกัลยา (ปัจจุบันคือ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านลี่) พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำลพบุรี ฝั่งตะวันออกในท้องที่ตำบลเกาะเลิ่งขณะนี้ (ปัจจุบัน คือหมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางปะหัน ประมาณ 100 เมตร ไปทางทิศใต้เพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ แลเพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมในสมัยนั้น ซึ่งแต่เดิมต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางรูปแบบของอำเภอเป็นแบบปั้นหยา ทรงเตี้ยเสาก่อด้วยอิฐ แบบอาคารสมัยรัชการที่ 5 และยังคงใช้ชื่อว่า “อำเภอนครใน”ตามเดิม
พ.ศ. 2459 ในสมัยรัชการที่ 6 ได้เปลี่ยนคำว่า ”เมือง” ให้เป็น “จังหวัด” แบ่งจังหวัดเป็นอำเภอ และแบ่งอำเภอออกเป็นตำบลให้เหมาะสม ตำบลเกาะเลิ่งซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ตำบล โดยถือแนวคลองเกาะเลิ่งเป็นแนวเขตแบ่งตำบล ฝั่งตะวันออกของคลอง ที่อยู่ฝั่งเดียวกับหมู่บ้านบางปะหัน ให้เป็นตำบลบางปะหัน ตำบลเกาะเลิ่งเดิมนั้นยกเลิก ไม่เป็นตำบลอีกต่อไป ส่วนชื่ออำเภอ ทางราชการมีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อตามตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอนครใน มาเป็นอำเภอบางปะหัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2464 ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าชำรุดทรุดโทรม และได้สร้างใหม่ในบริเวณใกล้เคียง ห่างจากที่เดิมไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร (คือที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน) และได้รื้อหลังเก่าออก เพื่อใช้เป็นที่สร้างบ้านพักของข้าราชการ ดังปัจจุบัน คือ บางปะหัน เป็นชื่อเก่าแก่ของหมู่บ้าน ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอตามชื่อดังกล่าวข้างต้น พ.ศ. 2536 อำเภอได้รับงบประมาณจากกรมการปกครองให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในที่เดิม[4]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนครใน จังหวัดกรุงเก่า เป็น อำเภอบางปะหัน[2]
- วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางนางร้า ไปขึ้นกับตำบลทับน้ำ กับโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางนางร้า ไปขึ้นกับตำบลบ้านลี่ และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลหันสัง ไปขึ้นกับตำบลตานิม[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลขยาย แยกออกจากตำบลบางเดื่อ และตำบลโพธิ์สามต้น ตั้งตำบลบ้านลี่ แยกออกจากตำบลขวัญเมือง ตั้งตำบลบ้านม้า แยกออกจากตำบลทับน้ำ ตั้งตำบลตานิม แยกออกจากตำบลบางนางร้า ตั้งตำบลทางกลาง แยกออกจากตำบลเสาธง ตั้งตำบลตาลเอน แยกออกจากตำบลบ้านขล้อ ตั้งตำบลบางเพลิง แยกออกจากตำบลบ้านขล้อ และตำบลเสาธง[6]
- วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2496 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางปะหัน ไปขึ้นกับตำบลเสาธง กับโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตาลเอน ไปขึ้นกับตำบลบ้านขล้อ และโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลขยาย ไปขึ้นกับตำบลบางเดื่อ[7]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางปะหัน ตำบลบางนางร้า และตำบลขวัญเมือง[8][9]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทเลา ในท้องที่ตำบลพุทเลา[10]
- วันที่ 3 พฤศจิกายน 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางปะหัน[11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 15 มิถุนายน 2519 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลขวัญเมือง ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลบ้านลี่[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบางปะหัน เป็น เทศบาลตำบลบางปะหัน[13] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลทางกลาง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ยุบสภาตำบลตาลเอน และสภาตำบลบางเพลิง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ ยุบสภาตำบลบางนางร้า รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตานิม[14]
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลขวัญเมือง รวมกับเทศบาลตำบลบางปะหัน[15] ยุบสภาตำบลบ้านม้า รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ[16]
- วันที่ 11 กรกฎาคม 2548 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลขยาย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น[17]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบางปะหันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางปะหัน | (Bang Pahan) | 7 หมู่บ้าน | 10. | ทับน้ำ | (Thap Nam) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | ขยาย | (Khayai) | 6 หมู่บ้าน | 11. | บ้านม้า | (Ban Ma) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | บางเดื่อ | (Bang Duea) | 6 หมู่บ้าน | 12. | ขวัญเมือง | (Khwan Mueang) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | เสาธง | (Sao Thong) | 5 หมู่บ้าน | 13. | บ้านลี่ | (Ban Li) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | ทางกลาง | (Thang Klang) | 4 หมู่บ้าน | 14. | โพธิ์สามต้น | (Pho Sam Ton) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | บางเพลิง | (Bang Phloeng) | 3 หมู่บ้าน | 15. | พุทเลา | (Phutlao) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||
7. | หันสัง | (Hansang) | 7 หมู่บ้าน | 16. | ตาลเอน | (Tan En) | 3 หมู่บ้าน | ||||||||
8. | บางนางร้า | (Bang Nang Ra) | 5 หมู่บ้าน | 17. | บ้านขล้อ | (Ban Khlo) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||
9. | ตานิม | (Ta Nim) | 4 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบางปะหันประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางปะหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขวัญเมืองทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลบางปะหันและตำบลบางนางร้า
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปะหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปะหัน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางปะหัน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดื่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงและตำบลทางกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหันสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันสังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตานิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตานิมทั้งตำบลและตำบลบางนางร้า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางปะหัน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับน้ำและตำบลบ้านม้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านลี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขยายและตำบลโพธิ์สามต้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพุทเลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุทเลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเพลิง ตำบลตาลเอน และตำบลบ้านขล้อทั้งตำบล
สถานศึกษา
แก้- โรงเรียนบางปะหัน สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางเป็นโรงเรียนประจำอำเภอบางปะหัน
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วัดไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหันสัง จากตัวเมืองไปประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ (ปากทางเข้าจะมีป้ายสัญลักษณ์เป็นรูปลิง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมากลายเป็นวัดร้างภายหลังจากการเสียกรุงแก่พม่า ประมาณปีพ.ศ. 2535 มีพระสงฆ์มาบูรณะและตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และในปีพ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัด และให้ชื่อว่า “วัดไก่” เนื่องจากมีไก่โดนโรคระบาดตายไปจำนวนมาก ส่วนฝูงลิงป่าที่อาศัยอยู่ที่วัดนี้ไม่มีใครบอกว่าอยู่มาตั้งแต่เมื่อใดเป็น ลิงแสม หรือลิงกัง มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่เป็นลิงที่มีนิสัยน่ารัก เชื่องไม่ดุร้าย
- วัดตาลเอน สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑๕ เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด การเดินทางไปวัดตาลเอนสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะหันแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 3196 (สายบางปะหัน-บ้านแพรก-ลพบุรี) อีกประมาณ 5 กิโลเมตร ปากทางเข้าวัดจะอยู่ทางขวามือและเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร
- วัดโคก ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนอยุธยา – อ่างทอง หมู่ที่ 4 ตำบลพุทเลา อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองพุทเลา สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง” นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ชาวบ้านเรียกกันในนาม “หลวงพ่อนาค” จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ประจวบ นาคเหาะ วัดโคกสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2290 นับว่าเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วนับตั้งแต่ พ.ศ. 2300 ตามหลักฐานที่ปรากฏ บริเวณวัดโคกอดีตเป็นป่าพุด ใช้การสัญญาจรไปมาทางน้ำ บริเวณหน้าวัดมีคลองพุทเลาไหลผ่าน ด้านหลังวัดเป็นหนองวง และมีลำรางขึ้นศพในสมัยก่อน วัดโคกมีพระพุทธรูปที่สำคัญประกอบด้วย พระพุทธรูปปางนาคปรก หรือที่ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อนาค หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 31 นิ้ว เดิมเป็นพระประธานในอุโบสถเดิม ในเทศกาลตรุษ – สงกรานต์ ชาวบ้านจะนำออกมาให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อเป็นศิริมงคลเป็นประจำ ในสมัยโบราณหากฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านตำบลพุทเลาและบริเวณใกล้เคียง จะขอให้ทางวัดนำเอาหลวงพ่อนาค ขึ้นเสลี่ยง ทำพิธีแห่ไปรอบๆเขตชุมชนเพื่อขอฝน และก็เป็นที่น่าอัศจรรย์มากที่ทุกครั้งที่ทำพิธีขอฝน ฝนก็จะตกลงมาให้ความชุ่มช่ำร่มเย็นแก่ชาวบ้านโดยทั่วไป จะมีประชาชนจากต่างถิ่นแดนไกลเดินทางมานมัสการ หลวงพ่อนาค และบนบานศาลกล่าว ขอโชคลาภ และธุรกิจการค้าต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และก็จะได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ และกลับมาแก้บนอยู่เสมอ ๆ ในกาลก่อน หลวงพ่อนาค ได้เคยถูกมารศาสนาลักขโมยไปจากวัดถึงสองครั้ง แต่ไม่สามารถที่จะนำหลวงพ่อนาค ออกนอกเขตตำบลพุทเลาไปได้ นำท่านไปวางทิ้งไว้ชายป่าข้างคลอง จะด้วยเหตุอันใดไม่ทราบได้ ทำให้โจรที่นำท่านไปทิ้งองค์ท่านไว้แล้วหนี้ไป ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ได้มีกลุ่มมารศาสนาได้เที่ยวลักขโมยพระพุทธรูป และวัตถุโบราณต่างๆ ขึ้นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และทุกครั้งที่พระพุทธรูปหรือวัตถุโบราณอื่นๆ ที่ถูกโจรกรรมหายไปจากวัด ก็จะไม่สามารถที่จะจับคนร้ายหรือติดตามของที่ถูกโจรกรรมคืนมาได้เลย จนกระทั่ง คืนวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ทางวัดได้มีงานพิธีศพขึ้นที่ภายในวัด รุ่งเช่าวันที่ ๑๗ พฤษภาคม คุณครูโชติ ศรโชติ มานมัสการพ่อนาค จึงได้รู้ว่า “หลวงพ่อนาค” ได้หายไปจากที่ประดิษฐานภายในหอสวดมนต์ ซึ่งมีกรงเหล็กล้อมรอบอย่างแข็งแรงป้องกันอยู่ นับจากวันที่ “หลวงพ่อนาค” จากวัดไปก็ยังความเศร้าโศรกร้อนใจ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก จากนั้นประมาณ สามเดือนครึ่ง ด้วยความสามารถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อนาค อาจจะเรียกว่าปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบจับผู้ที่รับซื้อ หลวงพ่อนาคไว้ ได้ที่กรุงเทพฯ และขยายผลจนสามารถจับคนร้ายที่เข้ามาโจรกรรมที่วัดโคกได้ทั้งหมดเป็นแก๊งอยู่ในเขตอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี พร้อมทั้งพระพุทธรูปโบราณถูกโจรกรรมไปจากวัดต่างๆในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกจำนวนหนึ่งกลับมาวัดที่ สภอ.บางปะหัน เพื่อให้วัดที่ถูกโจรกรรมพระพุทธรูปได้นำกลับไปวัดเดิม ตามคำบอกเล่า(สารภาพ)ของกลุ่มคนร้าย ได้เล่าว่าพวกเขาได้พยายามที่จะหล่อปูนหุ้มองค์หลวงพ่อ เพื่อแปลงโฉมตบตาผู้อื่น แต่เมื่อหล่อเสร็จแล้วปูนที่หล่อหุ้มไว้ก็แตกออกเอง ซึ่งได้ทำการหล่อหุ้มอยู่ถึงสี่ครั้งและทุกครั้งปูนที่หล่อหุ้มไว้ก็แตกออกทุกครั้ง กลุ่มคนร้ายจึงนำหลวงพ่อนาคไปล้างด้วยน้ำยาเคมีให้แลดูผิดแผกไปจากเดิม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อท่านเจ้าอาวาสได้ไปพบครั้งแรก ก็ยังจำหลวงพ่อนาคได้ดี เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ที่หลวงพ่อนาคก็ได้ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการได้รวดเร็ว และได้ตัวคนร้ายทั้งหมด พร้อมทั้งยังได้พระพุทธรูปองค์อื่นๆ คืนกลับมาด้วยอีกจำนวนมาก เมื่อได้ หลวงพ่อนาค กลับคืนสู่วัด ทางวัดและชาวบ้านได้ทำบุญ-ฉลองรับขวัญ หลวงพ่อนาค อย่างเอิกเกริก และมีประชาชนทั่วทุกสารทิศใกล้ไกล มาสักการะกราบไหว้บูชาอย่างมากมาย พร้อมทั้งนำเครื่องบนบานศาลกล่าวต่างๆ มาแก้บนกันมากกว่าที่เคยมีมา ท่านเจ้าอาวาส จึงได้ทำการปิดทององค์พระ พร้อมทั้งปรับปรุงซ่อมแซม หอสวดมนต์ใหม่ และประดิษฐานไว้ที่หอสวดมนต์พร้อมทั่งติดตั้งกล้องวงจรปิด และระบบกันขโมย หลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง เป็นพระประธานในอุโบสถวัดโคกเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องดอกลายพิกุล เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ สมัยต้นกรุงรัตนโกสิน ฯ ขนาดหน้าตักกว้าง 42 นิ้ว สูง 56 นิ้ว ไม่พบประวัติการสร้าง จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ประจวบ นาคเหาะ เล่าว่าได้ทราบข้อมูลจากคนเก่าแก่ทราบว่าได้มาจากกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 4 อาราธนามาประดิษฐานในอุโบสถเป็นพระประธานแทนหลวงพ่อนาค ซึ่งที่เศียรของหลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทองสามารถเปิดออกได้ โดยที่เศียรของหลวงพ่อเป็นโพรงและมีหยดน้ำเล็กๆซึมออกมา แต่ไม่มาก ซึ่งคลายกับที่วัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามหลักวิทยาศาสตร์อาจเกิดจากความเย็นภายในเศียรและอากาศภายนอกจึงเกิดเป็นหยดน้ำ แต่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเกศแก้วพิกุลทอง ทุกวันพระใหญ่ทางวัดจะตักน้ำลงมาผสมน้ำที่ตุ่มหน้าฐานชุกชี และสวดบทพระพุทธคุณ สวดบทพระปาฏิโมกข์ เพื่อที่ชาวบ้านที่จะนำไปปะพรมบ้านเรือน ร้านค้า หรือผสมน้ำอาบ เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งน้ำที่เศียรของหลวงพ่อมีการเล่ากันต่อๆมาจากอดีตโดยคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ประจวบ นาคเหาะ ได้เล่าว่าสมัยก่อนมีการเล่ากันว่ามีคนวิกลจริตมาอาศัยหลับนอนในวัด และเปิดเศียรพระดื่มน้ำแก้กระหาย แต่ปรากฏว่าจากคนวิกลจริตกลับหายเป็นคนปกติดังเดิม จนเป็นที่กล่าวถึงกันและนำน้ำศักดิ์ไปผสมน้ำอาบ กิน เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย(ความเชื่อส่วนบุคคล)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศข้าหลวงเกษตร ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน อำเภอนครใน แขวงกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (40 ง): 683. วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2446
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 119 ง): 81–119. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540
- ↑ [1] เก็บถาวร 2020-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอำเภอบางปะหัน (Amphoe Bang Pahan)
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15 ง): 718–719. 24 กุมภาพันธ์ 2496.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-48. 28 พฤศจิกายน 2499.
- ↑ "แก้คำผิด ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (19 ง): 602. 26 กุมภาพันธ์ 2500.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. 1 มีนาคม 2501.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (107 ง): 2708–2709. 3 พฤศจิกายน 2507.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (84 ง): 1455–1457. 15 มิถุนายน 2519.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–3.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. 15 กันยายน 2547.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. 15 กันยายน 2547.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลขยายกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น" (PDF). 11 กันยายน 2548: 1.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)